รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2551/2552


การที่นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ เรามักอ้างว่าเพราะเรามีปัญหาขาดแคลนครู โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ นั่นคงเป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่ที่วิชาภาษาไทย สังคมศึกษาก็อ่อนด้วย แสดงว่ามีปัญหาเรื่องการสอนการเรียนยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ

รายงานสภาวะการศึกษาไทย 2551/2552
1. การเมือง เศรษฐกิจ สังคมไทย และสถานะของประเทศไทยในระบบเศรษฐกิจโลก
          - การจัดการศึกษาให้ประชากรไม่ทั่วถึงและคุณภาพโดยเฉลี่ยต่ำ คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองไทยมีปัญหา
          - ไทยมีประชากรอันดับที่ 21 GDP รวมอยู่อันดับที่ 35 GDP ต่อหัวอยู่อันดับที่ 92 ความสามารถในการแข่งขันที่วัดโดย WORLD ECONOMIC FORUM อยู่อันดับที่ 34 ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของ UNDP อยู่อันดับที่ 81 อันดับความสามารถทางเศรษฐกิจสังคมของไทยลดลงจาก 5-10 ปีที่แล้ว (หลายประเทศไทยแซงหน้าไทยไป)
          2. การจัดการศึกษา งบประมาณและระดับการศึกษาของแรงงาน
          - สัดส่วนของผู้ได้เรียนต่อประชากรในทุกระดับการศึกษาในปี 2552 เพิ่มขึ้นจากปี 2550-51 เล็กน้อย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มจาก 79.89% เป็น 81.29% ของประชากรวัย 3-17 ปี แต่ระดับปฐมวัยและระดับมัธยมปลายยังมีสัดส่วนของผู้ได้เรียนต่ำ ปฐมวัยที่ต่ำ(61% ของประชากรวัยเดียวกัน) เพราะค่าใช้จ่ายสูง/พ่อแม่ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญมัธยมปลายที่ต่ำ(64% ของประชากรวัยเดียวกัน) เพราะปัญหาออกกลางคัน ทั้งจากปัญหายากจนและปัญหาอื่น ๆ
          ประชากรวัย 3-17 ปี ที่ไม่ได้เรียนมีราว 2.76 ล้านคน (18.71% ของประชากรวัยเดียวกัน ราว 14.79 ล้านคน)
          เด็กที่เข้า ป.1 ตอนปี 2540 ได้เรียนถึงชั้น ม.6/ปวช.3 ในปี 2551 เพียงร้อยละ 47.2 คือออกกลางคันไปกว่าครึ่งหนึ่ง คิดเป็นจำนวนคน 5.2 แสนคน
          - การศึกษาภาคบังคับ 9 ปี, รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เรียนฟรี 12 ปี, นโยบายพรรคประชาธิปัตย์ให้เรียนฟรี 15 ปี ไม่เกิดผลจริง เพราะไม่ได้สนใจ/แก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคันอย่างเป็นระบบองค์รวม
          - ปัญหาอื่น ๆ ยังคงอยู่ และบางอย่างตกต่ำลงด้วย ภาครัฐจัดมากกว่าภาคเอกชน (80.9 : 19.1) คนเลือกเรียนมัธยมสายสามัญสูงกว่าสายอาชีว (61 : 39) อุดมศึกษาสายสังคมมนุษย์สูงกว่าสายวิทย์ (70 : 30)
          - งบการศึกษาในปี 2552 ยังสูง(ราว 4% ของ GDP หรือ 20% ของงบประมาณทั้งหมด) แต่ประสิทธิภาพการใช้จ่ายอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เปรียบเทียบกับจีน เกาหลีใต้ ที่ใช้งบการศึกษาต่อ GDP ต่ำกว่าไทย เด็กได้เรียนมัธยมมากกว่า ผลสัมฤทธิ์โดยเฉลี่ยก็ดีกว่า
          แรงงานร้อยละ 54.2 (20.11 ล้านคน) ของแรงงานทั้งหมด 37 ล้านคน มีการศึกษาแค่ประถมและต่ำกว่า เนื่องจากปัญหาออกกลางคันมาก สัดส่วนแรงงานจบมัธยมปลายรวม 13.7% (โดยเฉพาะอาชีว 3.3%) ของแรงงานทั้งหมด ต่ำเกินไป เมื่อเทียบกับประเทศอื่น
          ผู้ว่างงาน 8.2 แสนคน จบอุดมศึกษามากที่สุด 2 แสนคน คนจบมัธยมศึกษาตอนปลายก็ว่างงานมาก แสดงว่าเราผลิตคนได้ไม่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน คนระดับต่ำกว่าประถมว่างงานน้อย เพราะไม่ค่อยเลือกงาน
          3. การประเมินคุณภาพ/ประสิทธิภาพการศึกษา โดยสมศ. และสกศ.
          - เด็ก 3-5 ปี มีโอกาสได้เรียนน้อยและสัดส่วนลดลงในรอบ 5 ปี, สถานศึกษาคุณภาพดีมีน้อย คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในทุกระดับมีความแตกต่างกันสูง คะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่นคะแนนจากการทดสอบในระดับช่วงชั้น ป.6 ม.3 ม.6 วิชาส่วนใหญ่ได้เฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 และส่วนใหญ่ตกต่ำลงจาก 5 ปีก่อน
          - ที่น่าห่วงคือ วิชาภาษาไทยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ไม่ว่าจะดูจากการอ่านออกเขียนได้ การสอบในประเทศหรือการทดสอบโดยกลุ่มประเทศOECD วิชานี้เป็นพื้นฐานที่จะไปเข้าใจวิชาอื่น ๆ ถ้าภาษาไทยอ่อน วิชาอื่นจะอ่อนตามไปด้วย
          - การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ของสมศ. มีสถานศึกษาที่ผ่านการรับรองเป็นสัดส่วนสูงกว่ารอบแรก(เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว) แต่มาตรฐานที่ยังได้คะแนนต่ำคือ ความสามารถของผู้เรียนในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
          - การประเมินด้านเป็นคนดี มีความสุขได้คะแนนสูง แต่ผลนี้ขัดแย้งกับการเรียนไม่เก่ง การประเมินของสมศ.อาจไม่แม่นยำ เพราะประเมินจากการเตรียมเอกสาร น่าจะต้องมีการประเมินเชิงคุณภาพเจาะลึกมากขึ้น และต้องมีข้อเสนอแนะและมีการร่วมมือหาทางแก้ไขอย่างจริงจังมากขึ้น
          - การที่นักเรียนไทยมีผลสัมฤทธิ์ต่ำ เรามักอ้างว่าเพราะเรามีปัญหาขาดแคลนครู โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ นั่นคงเป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่ที่วิชาภาษาไทย สังคมศึกษาก็อ่อนด้วย แสดงว่ามีปัญหาเรื่องการสอนการเรียนยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
          4. การประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาโดยบุคคลวงการต่าง ๆ
          - การปฏิรูปการศึกษายังไม่ค่อยก้าวหน้า เป็นเพียงปรับโครงสร้างการบริหารของระบบราชการ เปลี่ยนเฉพาะรูปแบบ ส่วนเนื้อหาการสอนการเรียนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยน นักเรียนนักศึกษายังไม่ค่อยเก่ง เป็นคนดี มีวินัย ความรับผิดชอบ
          - การจัดการศึกษายังกระจายอย่างไม่เป็นธรรม มีความแตกต่างด้านคุณภาพสูง โดยเฉลี่ยคือคุณภาพต่ำ การจัดการศึกษาตัดขาดจากชีวิตจริงและชุมชน เน้นทฤษฎีการท่องจำ, การเลียนแบบ ความรู้ทักษะที่จะไปปฏิบัติงานได้จริงยังจำกัด ไม่สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศได้อย่างมีคุณภาพ ต้องปฏิรูปด้านคุณภาพ/ประสิทธิภาพครูอาจารย์ ผู้บริหารการศึกษาอย่างจริงจัง
          5. การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
          - การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่สมดุล ไม่เป็นธรรม คนจนผู้มีรายได้น้อย 40% สุดท้าย มีโอกาสได้รับการศึกษาและพัฒนาตนเองได้น้อย
          - โครงการเรียนฟรี 15 ปีหรือช่วยออกค่าใช้จ่าย 5 อย่างสำหรับทุกคน ไม่ได้ช่วยคนจนได้แท้จริง ไม่ได้แก้ปัญหาเด็กออกกลางคัน ต้องมีทุนช่วยเหลือ ค่ากินค่าอยู่ ค่าเดินทางฯลฯ ให้คนจนด้วย และต้องพัฒนาครูและระบบโรงเรียนให้ช่วยแก้ป้องกัน/แก้ปัญหาเด็กที่มีแนวโน้มจะออกกลางคันให้ได้มากขึ้น
          - ยังขาดการวางแผนและการผลิตกำลังคนตอบสนองเศรษฐกิจได้ไม่ดีพอ จัดการศึกษาบางระดับบางประเภท เช่นมัธยมสายสามัญ อุดมศึกษาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์มากไป บางระดับบางประเภท เช่นช่าง อาชีวศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ยังขาดแคลน
          - แรงงานยังขาดความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นการรู้จักเรียนรู้ต่อด้วยตนเอง การมีวินัย ความกระตือรือร้นในการทำงาน ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร
          - ปัญหาการปฏิรูปการศึกษา ไม่ใช่แค่ปัญหาเทคนิคการจัดการ และการเพิ่มการลงทุน แต่ต้องแก้ไขพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองสังคมอย่างครบวงจรเป็นระบบองค์รวม ต้องมองอนาคตว่าสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้น วัยทำงานจะต้องแบกรับภาระคนที่ไม่ทำงานเพิ่มขึ้ เด็กวัยรุ่นและเยาวชนที่ได้รับบริการทางการศึกษาและการพัฒนาทางสังคมด้านต่าง ๆ ไม่ทั่วถึงและมีคุณภาพมากพอจะไปแข่งขันสู้ใครได้
          6. แนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคแบบคอขวดของการปฏิรูปการศึกษา
          1. - เปลี่ยนจากการพัฒนาตามแนวทางทุนนิยมผูกขาดที่เน้นการเติบโตของผลผลิต เป็นการพัฒนาแนวเศรษฐกิจแบบผสม ระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันที่เป็นธรรมและระบบสหกรณ์ ระบบรัฐสวัสดิการ ชุมชนสวัสดิการ
          - เปลี่ยนจากการจัดการศึกษาแบบแพ้คัดออก เป็นการจัดการศึกษาอย่างยืดหยุ่น ทั่วถึง มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคนทั้งประเทศตามศักยภาพอย่างเต็มที่ เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของประชาชน ชุมชนและประเทศ มากกว่าเน้นการเพิ่มของ GDP
          2. ปรับโครงสร้างอำนาจการบริหารแบบรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง(กระทรวงศึกษาฯ)เป็นสำนักงาน+คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีภาคี 4 ฝ่ายร่วมบริหารจัดการ คือกระทรวงศึกษาฯ องค์กรภาคประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิ ครูอาจารย์ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดอำนาจผูกขาดและวิธีบริหารแบบสั่งการจากบนลงล่าง เป็นการบริหารแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วม มุ่งสนองความต้องการและประโยชน์ของประชาชน ชุมชน มากกว่าเพื่อข้าราชการ
          3. การปฏิรูปครูอาจารย์ให้เป็นครูแนวใหม่ รักการอ่านและการวิจัย สอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็น
          4. ปฏิรูปการจัดหางบประมาณเพิ่มขึ้น เก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เพิ่มค่าสัมปทานคลื่นความถี่ การขุดน้ำมัน, แก๊สฯลฯ จัดสรรให้เป็นธรรม เช่นเพิ่มให้ระดับปฐมวัยโรงเรียนในชนบท และชุมชนแออัด ใช้จ่ายเงินทุกบาทอย่างมีประสิทธิภาพ(ต้นทุนผลตอบแทน) และโปร่งใส
          5. รณรงค์ให้ประชาชนทั้งประเทศตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาว่า ถ้าปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพทั้งประเทศไม่ได้ ประเทศไทยจะล้าหลังตกต่ำ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมอย่างเอาการเอางาน ถึงจะแก้ปัญหาวิกฤติและพัฒนาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืนอย่างแท้จริง

อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=11853&Key=hotnews

หมายเลขบันทึก: 287877เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2009 07:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท