ผู้สร้างความรู้และนักจัดการความรู้ที่ข้าพเจ้าศรัทธาอย่างลงใจหาใครเทียบเทียมไม่ได้


เป็นความลงใจที่ข้าพเจ้าอยากจะเขียนเรื่องนี้มานานแสนนาน...นานตราบเท่าที่ข้าพเจ้าลงใจในเรื่องของการสร้างความรู้ที่ปรากฏขึ้นในมนุษย์ และเคลื่อนไปสู่กระบวนการจัดการความรู้ที่เกิดขึ้น...

การสร้างความรู้นี้ มีสิ่งมีชีวิตเดียวในสากลโลกนี้ที่สามารถทำได้นั่นคือ "มนุษย์"

ไม่มีสรรพสัตว์ใดสามารถสร้างความรู้ได้ นั่นน่ะเป็นเพราะความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ให้ความพิเศษแก่สัตว์ที่มีนามเรียกว่า "มนุษย์" นี้ จึงเหมือนของขวัญอันวิเศษที่ธรรมชาติประทานให้มนุษย์เป็นผู้เคลื่อนไปสู่การเรียนรู้อันเป็นกระบวนการของการสร้างความรู้...

บุคคลที่ข้าพเจ้าลงใจนอบน้อม ยกท่านเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่...ที่เป็นแบบอย่างของหนทางที่ก้าวไปสู่การสร้างความรู้ (วิชชา) อันมาจากบาทฐานที่มาจากความไม่รู้ (อวิชชา) ตลอดจนเป็นแบบอย่างของผู้ที่นำแนวทางของการจัดการความรู้ให้มนุษย์ทุกผู้ทุกนามได้ดูเป็นแบบอย่างที่ดี...

บุคคลท่านนั้น คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...

เมื่อเราศึกษาในพุทธประวัติ นั่นก็เริ่มเป็นร่องรอยของการเริ่มเคลื่อนเข้าสู่กระแสของการจัดการความรู้เกิดขึ้นแล้ว

ความไม่รู้ นำพาท่านไปสู่การแสวงหา "ความรู้" ความรู้อันเป็นความจริงของธรรมชาติ

องค์ความรู้ที่ปรากฏแรกและลงซึ้งในใจท่านนั่นคือ ความรู้ที่เป็นความจริงสี่ประการ..."อริยสัจจสี่"

เส้นทางการเรียนรู้ของท่านใช้เวลานานถึงหกปี ที่ทำให้ท่านได้เข้าใจในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งหาใครเทียบเทียมไม่ได้ ความรู้นี้เป็นความรู้ที่ท่านได้มาจากการลงมือปฏิบัติ ท่านได้ก้าวเดินไปในเส้นทางของการเรียนมากมายแต่นั่นก็ยังไม่ได้ทำให้ท่านเกิดเป็นความลงใจอย่างเป็นความรู้แจ้งได้ จนเมื่อท่านอาศัยการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ ท่านจึงได้เคลื่อนจากสภาวะแห่งความมืดมนทางปัญญา (อวิชชา) ==> เคลื่อนมาสู่ "ความรู้แจ้ง" ได้...

การตรัสรู้...ของพระองค์ท่าน จัดเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นในส่วนบุคคล (tacit knowledge)

เมื่อท่านได้เกิดสภาวะรู้แจ้งเกิดขึ้น ท่านปรารถนาที่จะถ่ายทอดความรู้นั้นสู่สรรพสิ่ง ครั้งแรกนั้นท่านมีความลังเลสงสัยว่ามันเป็นเรื่องที่ยากต่อการทำให้ผู้เกิดความเข้าใจได้ ท่านจึงคิดว่าเรื่องนี้เก็บไว้กับตัวท่าน แต่เมื่อท่านพิจารณาใคร่ครวญ หากท่านดับขันธ์ (ตาย) ไป สิ่งที่ท่านรู้และค้นพบนี้ก็ไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกไป ดังนั้นท่านจึงก้าวเดินไปสู่การเผยแพร่องค์ความรู้ที่ท่านค้นพบนี้ ... ด้วยความที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อ... จนองค์ความรู้ของท่านได้แผ่ไพศาล...ไปทั่วสากลโลก (Explicit Knowledge)

กระบวนการจัดการความรู้ของท่านได้เริ่มมีปรากฏขึ้น..ไม่ว่าจะทั้ง KC (Knowledge Construction) ==> KV (Knowledge Vision) ==> KS (Knowledge Sharing) แต่เมื่อการเผยแพร่ของท่านดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและเกิดผล (ปฏิเวท) พระสาวกของพระองค์เห็นว่าองค์ความรู้ของท่านอาจสูญหายหรืออาจบิดเบือนไปได้ตามเวลา หรืออาจมีการตีความผิดไป ดังนั้นเหล่าสาวกนำโดยพระสาลีบุตร ท่านเห็นว่าพระอานนท์นั้นท่านมีความจำที่ดีเลิศ รวมถึงเป็นผู้อุปัฏฐากรับใช้พระองค์...เหมาะที่จะเป็นผู้บันทึกและจดจำคำสอนของพระพุทธองค์ กระบวนการของ KA (Knowledge Assets) ก็เริ่มเกิดขึ้น

และเมื่อ...พระองค์ปรินิพพาน...

พระโมคคัลลานะและพระอานนท์...ได้เป็นผู้นำ...ของการนำคำสอนของพระองค์มาบันทึกเก็บไว้อย่างเป็นรูปแบบตามที่เรารู้จักในนามว่า "พระไตรปิฎก"

เมื่อข้าพเจ้าเข้ามาสู่การเรียนรู้ในหลักสูตรปริญญาเอกใบที่สองนี้ งานวิจัยของข้าพเจ้าทำมุ่งศึกษาในเรื่องของการสร้างความรู้ของมนุษย์...ซึ่งนักทฤษฎีใดใดก็ไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้ดั่งชัดเท่า

"พุทธประวัติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

คือ...ความยิ่งใหญ่แห่งความแจ่มชัดของเรื่อง การสร้างความรู้และการจัดการความรู้

การเรียนรู้ในเรื่องนี้ในสภาวะตามกรอบอันเป็นระบบของข้าพเจ้าได้เสร็จสิ้นลงใจแล้ว ตราบลมหายใจที่มีอยู่นี้คือ การก้าวเดินไปเรียนรู้อย่างปราศจากกรอบใดใดครอบงำ นอกเหนือจากกรอบแห่งความดี (ศีล) ที่นำไปสู่การเรียนรู้ของข้าพเจ้าตราบเท่าหน้าที่ของการหายใจนี้ยังมีอยู่และหมดไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 286428เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2009 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีคะ

วันแม่มีความสุขนะคะ ระลึกถึงพระคุณแม่คะ

สาธุ สาธุ สาธุ เป็นความรู้ที่งดงามทางสติปัญญายึ่งค่ะ

  • ครูต้อยเอาภาพบุญเหลือ สุนัข RIM ROAD
  • ที่ได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาลมหิดลมาฝากค่ะ
  • มันน่ารักมาก
  • เมื่อคืนฝนตกหนัก
  • เป็นครั้งแรกในชีวิตของบุญเหลือที่เจอฝน
  • หลังจากลืมตาดูโลก
  • ท่าทางมันตระหนกตกใจกับเสียงฟ้าร้อง ฟ้าแลบ
  • และเปียกปอนค่ะ
  • ครูต้อยก็ไม่ได้นอน กางร่มออกไปดูแลมัน
  • และชวนให้มานอนหลบฝนหน้าบ้าน
  • ซึ่งบุญเหลือก็ยอมตามมาแต่โดยดี
  • นี่อาจเป็นเพราะครูต้อยกับบุญเหลือ
  • เกี่ยวพันกันแต่ปางไหนไม่อาจทราบได้
  • http://gotoknow.org/blog/krutoiting/275995
  • และวันนี้บุญเหลือดีขึ้นเกือบปกติแล้ว
  • ชีวิต!!!

ขอบพระคุณนะคะที่พี่ครูต้อยได้เอื้อเกื้อหนุน

ให้บุญเหลือได้อิงอาศัย...

 

สวัสดีครับ กะปุ๋ม (ดร....หายไปแล้ว...อิอิ)

         นอกจากพระพุทธองค์จะเป็นผู้สร้างและจัดการความรู้ได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ในมุมมองเชิงสังคม ก็ยังเป็นนักปฏิวัติสังคมที่ทำให้ผู้คนเกิดความเสมอภาคมากขึ้นครับ

         ไม่ว่าใครจะมาจากวรรณะไหน (ในสังคมอินเดียยุคนั้น...หรือแม้กระทั่งยุคนี้ก็ตามที) เมื่อบวชแล้ว ก็เป็นพุทธบุตรเสมอกันหมด

         ถ้าพี่เข้าใจอะไรคลาดเคลื่อน หรือใช้คำไม่เหมาะสมก็ทักท้วงด้วยนะครับ ^__^

         .........................................................................    

         มีบันทึกแนวศาสนา-ปรัชญามาฝาก 2 เรื่อง ครับ แม้จะไม่ใช่เรื่องทางพุทธ แต่หากอ่านโดยพิจารณาอย่างแยบคาย ก็อาจจะเกิดประโยชน์ได้เช่นกัน

         เรื่องแรก :

            มหาวีระ - ศาสดาแห่งศาสนาเชน  ตอนที่ 1  ตอนที่ 2

         ไม่ได้มาชวนให้นับถือเชนนะครับ ;-) แต่การทำความเข้าใจศาสนาเชน ซึ่งเป็นศาสนาร่วมสมัยกับศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาล น่าจะทำให้เราชาวพุทธ ได้ฉุกคิดถึงแง่มุมอะไรหลายอย่างทีเดียว หรืออาจเข้าใจบางประเด็นคมชัดขึ้น

          อีกเรื่อง :

            เทพ คือ สัญลักษณ์แห่งชนชั้น? ตอนที่ 1  ตอนที่ 2

          เรื่องนี้เป็นทฤษฎีของนักมานุษยวิทยาท่านหนึ่งครับ ซึ่งถ้าจริง ก็จะช่วยให้เข้าใจสังคม-วัฒนธรรมของ กลุ่มชนอินโด-ยูโรเปียน (Indo-Europeans) ได้แจ่มชัดขึ้น

          พระพุทธองค์ถือกำเนิดขึ้นในสังคมของ อินโด-อารยัน (Indo-Aryan) ซึ่งเป็นสายหนึ่งของ อินโด-ยูโรเปียนครับ

         

           ไว้ถ้าได้อ่านเมื่อไร (ก็ได้) พี่ก็อยากรับฟังความคิดเห็นด้วยครับ ^__^

 

 

ขอบคุณค่ะพี่ชิว...ที่มาชวนไปอ่านไปคุยเรื่องราวดีดี ในอดีตกาลค่ะ

 

เพิ่งจะเข้าใจเรื่อง KM ก็วันนี้เอง ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท