ผู้ป่วยวัณโรค เอดส์ บางคน อาจจะได้ประโยชน์จากการทานยาสมุนไพร พร้อมยาต้านวัณโรค ลดการแพ้ยาวัณโรค เรียนรู้จากการแพทย์จีน และ อินเดีย


ผู้ป่วยวัณโรค  บางคน อาจจะได้ประโยชน์จากการทานยาสมุนไพร พร้อมยาต้านวัณโรค ลดปัญหาการแพ้ยาต้านวัณโรค

                                                                             เป็นบทความลงในสารสัมพันธ์ รพ หาดใหญ่ 

 

                ปัญหาการรักษาวัณโรค ด้านหนึ่ง คือ การเกิดอาการข้างเคียงจากยาวัณโรค  ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นทุกคน ที่ทานยามาตรฐานในการรักษาวัณโรค    แต่เกิดขึ้นในบางคน  โดยพบประมาณร้อยละ 10ของผู้ป่วย

                ผู้ป่วยวัณโรค ทางมุมมอง ของการแพทย์แผนจีน ระบุไว้ว่า  มีสาเหตุสำคัญ นอกจากการได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ยังเป็นเพราะร่างกายอ่อนแอ เสียภูมิต้านทานโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานของระบบภูมิต้านทาน และ แยกแยะการเสียสมดุลของร่างกาย หลักใหญ่ คือ การขาดความชุ่มชื้นของร่างกาย       เรียกตามศัพท์การแพทย์จีนว่า  เป็นกลุ่มของหยินพร่อง   ซึ่งยังแยกย่อยออกไปเป็นกลุ่มๆ       คือ 

 กลุ่มหยินของปอดพร่อง 

 กลุ่มหยินและพลังปราณพร่อง 

 กลุ่มไฟคุกโชนจากหยินพร่อง(น่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อตับอักเสบจากยาวัณโรคด้วย)   และ

 กลุ่มที่พร่องทั้งหยินและหยาง 

 

( ทั้งนี้ผป. ทุกกลุ่ม ล้วนจะรักษาโดยการบำรุงหยิน สารน้ำชุ่มชื้น เป็นพื้นฐานเหมือนกัน

แต่จะบำรุงส่วนอื่นต่างกัน ตามสภาพ เช่น พลังปราณพร่อง ก็บำรุงพลังปราณ

หยางพร่อง ก็ บำรุงเพิ่มหยาง หรือ ไฟธาตุร่วมด้วย 

หากธาตุไฟคุโชน   ก็เพิ่มยาที่ช่วยดับพิษร้อน

หากหยินปอดพร่อง ก็เพิ่ม ยาสมุนไพรให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด

นอกจากนี้หากไอออกเลือด มาก ก็เพิ่มยาที่ช่วยระงับเลือดออก )

 

          ดังนั้น อาการแสดงของผู้ป่วยวัณโรคปอด อาจจะแตกต่างกันไป ตามพื้นฐานของร่างกายแต่ละบุคคล   ตลอดจน อาการข้างเคียงจากยา ก็อาจจะเกิดขึ้นในบางกลุ่มของผู้ป่วย และ ไม่เกิดขึ้นในบางกลุ่มของผู้ป่วย    ทำให้การระวังป้องกันอาการข้างเคียงแต่เนิ่นๆ ทำได้ยาก    แต่มีแนวโน้มว่า   กลุ่มที่มีพื้นฐาน นอนดึก อดนอนบ่อย จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ง่ายขึ้น  รวมทั้งกลุ่มที่ดื่มสุราจนตับแข็ง  กลุ่มที่ติดเชื้อเอดส์มานาน จะมีโอกาสแพ้ยาได้ง่ายขึ้น ทั้งอาการทางผิวหนัง และ ทางตับ 

                นักวิจัยด้านวัณโรคที่อินเดีย ได้ศึกษาหาสมุนไพร ที่จะช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงจากยาวัณโรค หรือ ป้องกันปัญหาตับอักเสบ ที่อาจจะเกิดจากยา 

                มีการศึกษาวิจัย ที่ละขั้น เริ่มจากศึกษา ในหนูทดลอง จนมั่นใจมากขึ้น จึงศึกษาต่อในมนุษย์และตีพิมพ์รายงานผลการศึกษา เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์   โดยศึกษาการใช้ยาสมุนไพรเสริมเพิ่มจากยาแผนปัจจุบันที่ใช้เป็นมาตรฐานแก่ผู้ป่วยวัณโรค ผลพบว่า ช่วยลดอาการข้างเคียง และ ช่วยให้มีผลการรักษาวัณโรคดีขึ้น   

                สิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อยอด คือ  ขนาดยาแต่ละชนิด ที่เหมาะสม สำหรับคนไทย หรือ สมุนไพรอื่นๆ ที่ปลอดภัยหาได้ง่าย ตลอดจนเป็นสมุนไพรที่พอยอมรับได้ของวงการแพทย์ เภสัชกรรม  เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คุ้มค่า โดยไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยและ ระบบบริการ  หรือไม่เพิ่มความเสี่ยงด้านลบ เกินไปนัก 

                สมุนไพรที่มีการศึกษาในผู้ป่วยวัณโรคแล้ว ได้แก่ ขมิ้นชัน  ชิงช้าชาลี ( Tinospora cordifolia ) 

ซึ่งยาไทย เราใช้ บอระเพ็ด เทียบ ชิงช้าชาลี ว่า คุณเสมอกัน

 ส่วนสมุนไพรอื่นๆ ที่มีผลการศึกษาในหนูทดลอง ในการลดปัญหาตับอักเสบ จากสารเคมี  ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร  กะเม็ง

                ทั้งนี้ การใช้สมุนไพรในขนาดที่มากเกินและ นานต่อเนื่อง ก็ทำให้ตับอักเสบได้เช่นกัน  ดังนั้นการใช้สมุนไพร ก็คงต้องรอบคอบ และมีสติ มีข้อมูล พอสมควร   ควรศึกษา และสังเกต ขนาดของสมุนไพร ที่เหมาะสม กับ กลุ่มผู้ป่วย ด้วย   และ ควรจะรู้จักหยุดใช้บ้าง เมื่อไม่มีความจำเป็นต้องใช้ประโยชน์

 

  แถมพิเสษ 

      อนึ่งหากติดเชื้อเอดส์ ร่วมด้วย     กะเม็ง  ควรจะเป็นยา เลือกใช้ ผสมในการรักษา ปรับสมดุล ผป. วัณโรค ที่ติดเชื้อเอดส์

เพราะกะเม็ง ต้านเชื้อเอดส์ ได้แน่ ยืนยันจากการวิจัยของ  รศ ดร สุภิญญา ติ้วตระกูล  ม. สงขลานครินทร์  เป็นยาชุ่มเย็น ดีต่อตับ     ข้อดีของกะเม็งคือ ไม่มีโฆษณาขายแบบมะรุม  จึงไม่เสียเงินซื้อ   ขึ้นทั่วไปหาได้ง่าย   แต่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักมรดกภูมิปัญญานี้กัน      มีแต่โอทอปทำแชมพูกะเม็งขาย ช่วยให้ผมดำ

 

บางทีกะเม็ง  คนไทยต้องหัดเรียนรู้ ที่จะใช้ประโยชน์ อย่างที่รู้จัก ฟ้าทะลายโจร และ ขมิ้นขัน

 

กะเม็ง ปลูกเอง ขึ้นได้ง่าย  เป็นยาเย็น ลดพิษไฟ หรือ ลดการอักเสบ


 

ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง

หมายเลขบันทึก: 285404เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท