Dr.aon
ดร. อรนรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา

การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview)


คุณจะเขียนงานวิจัยเชิงคุณภาพได้ดี..ถ้าปราศจากอคติ

สวัสดีค่ะ..ทุกท่านยังสบายดีกันรึเปล่าคะ???

อ้อนมาบล๊อกนี้พร้อมกับมีเรื่องการสัมภาษณ์เชิงลึก(Indepth Interview)ติดมือมาฝากค่ะ!!..

ความหมายของการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview)

การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการสัมภาษณ์ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยการใช้ประเด็น/แนวคำถามกว้างๆเพื่อกระตุ้นให้คู่สนทนาเล่าเรื่องราวอย่างมีเป้าหมาย ผู้สัมภาษณ์มักมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์ในลักษณะเป็นคู่สนทนา ใช้ทักษะการสื่อสาร สร้างการสนทนาอย่างมีเป้าหมาย

การสัมภาษณ์เชิงลึกจึงแตกต่างจากการสัมภาษณ์เชิงสำรวจ ซึ่งเป็นการถามเพื่อให้ตอบมากกว่า  การสนทนา..และผู้ตอบจะให้ข้อมูลไปตามโครงสร้างคำถามที่เตรียมไว้แล้วเท่านั้น ขณะที่การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นการใช้คำถามนำไปสู่การสนทนา ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลาย สบายๆและเป็นส่วนตัว

ขั้นตอนการสัมภาษณ์เชิงลึก

1. สร้างบรรยากาศ ทักทาย (small talk)

2. ชี้แจง แนะนำตัว/อธิบายวัตถุประสงค์การวิจัย/แจ้งผู้ให้ข้อมูลทราบว่าเขามีความสำคัญอย่างไร

3. ดำเนินการสนทนาตามประเด็นวิจัย

4. แสดงความเข้าใจเรื่องของเขา

5. สนทนาให้ได้ความจริง

6. การตั้งคำถามที่ผู้ตอบจะไม่ตอบในภาวะปกติ..ทั้งนี้ผู้เก็บข้อมูลต้องเคารพต่อความจริงที่ถูกเปิดเผยขึ้น

7. การลดระดับอารมณ์ความรู้สึกหลังพูดคุยแล้ว

8. ปิดการสนทนา ก่อนยุติการสนทนา ควรย้ำถึงการรักษาความลับ และขออนุญาตติดต่อกลับมาในกรณีต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

                                                             

 

บางครั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกอาจช่วยให้เราเห็นมุมมองชีวิตที่ต่างออกไป..และได้ข้อคิดกับตัวเองในการดำเนินชีวิต..ซึ่งคุณจะนำข้อมูลมาเขียนงานวิจัยเชิงคุณภาพได้ดี..ถ้าคุณปราศจากอคติ

 

สำหรับการบันทึกข้อมูลจากการสัมภาษณ์..เน้นว่า..ให้เก็บข้อมูลเป็นคำพูดคำต่อคำ(Verbatim)ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด ผู้ช่วยที่ดีคือ เทป..ที่สามารถบันทึกการสนทนาได้ แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับผู้ให้สัมภาษณ์ว่าจะอนุญาตให้ใช้เทปหรือไม่ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ต้องสอบถามก่อนบันทึกทุกครั้ง

เป็นอันว่า..เราก็ทราบหลักการกันแล้วนะคะ..เพราะการสัมภาษณ์เชิงลึกต่างจากการสัมภาษณ์เชิงสำรวจ..การเป็นผู้ที่มีทักษะในการสื่อสาร จึงเป็นสิ่งจำเป็น..แต่ก็เชื่อว่าคงไม่ยากเกินความสามารถของเราที่จะทำ...วันนี้ลาไปก่อนนะคะ..

                                                                  

ขอบคุณข้อมูลดีๆบางส่วนจากหนังสือวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ1
                             ขอบคุณภาพจาก    spicecomments.com
                                                           ขอบคุณผู้อ่านที่แวะเข้ามาเยียมเยียนค่ะ
                                                                                จากใจ อ้อน-แอ้น 9/08/52
 
หมายเลขบันทึก: 285191เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2009 02:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ

@ เคยเจอกรณีกำลังสัมภาษณ์แล้วผู้ถูกสัมภาษณ์บ่นๆๆ เรื่องส่วนตัว ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการ

@ คงต้องปล่อยเลยตามเลย แล้วค่อยวกเข้าประเด็น

@ ส่วนลำดับขั้นตอนการสัมภาษณ์ ประเด็นวิจัย อาจจะไม่สามารถเรียงลำดับจาก ๑ ไป ๒ ไป ๓ เสมอไป หากผู้ถูกสัมภาษณ์พูดประเด็นนั้นๆ เราสามารถเชื่องโยงประเด็นวิจัยได้เลย

@ ค่อยมาถอดบทสัมภาษณ์จากเทปอีกครั้ง

@ ขอเป็นกำลังใจให้กับว่าที่ ดร.ครับ

 

สวัสดีค่ะคุณ ไทบ้านผ่า

ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะค๊ะ ^^

ขอบคุณค่ะ น้อง อ.อ้อน...

พี่กะปุ๋มยังคิดถึงอยู่เลยว่าน้อง อ.อ้อนหายไปไหนน้า...หลายวัน

ดีใจที่มาแล้วมีเรื่องดีดีมากฝากกันอีกแล้ว

(^__^)

 

เมื่อ..อ้อน..คิดว่าทำได้..ก็เท่ากับสำเร็จแล้วขอรับ..

สู้ๆๆจะเป็นกำลังใจให้ขอรับ..

สวัสดีค่ะพี่ ดร.กระปุ๋ม

ไม่ได้หายไปไหน..แก้งานวิจัยอยู่ค่ะ.(^__^)

คิดถึงอยากแจม r2r เลยแว๊บมาหน่อย

ขอบคุณพี่กระปุ๋มค๊า..คิดถึงๆ

กราบขอบพระคุณท่านธรรมฐิตด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ พอดีมีการบ้านเกี่ยวกับงานวิจัยเชิงคุณภาพแล้วก็มาเจอบล๊อกคุณพี่

เป็นประโยชน์มากมายเลยค่ะ ^____^

ขอบคุณมากค่ะ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์มาก เพราะพรุ่งนี้จะไปนำเสนอหัวข้อ เขียนได้เข้าใจง่ายมากค่ะ

การสัมภาษณ์กลุ่มย่อย คืออะไรคะ มีวิธีอย่างไร และแตกต่างจากการสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างไรคะ

ขอคุณค่ะ

สวัสดีครับ พอดีเข้ามาอ่านพบ ได้เพิ่มความรู้ ขอบคุณครับ

ได้ความรู้เพิ่มหลายประเด็น มีประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท