พื้นที่วิจัย ทำไมจึงเป็น"พัทลุง"


งานวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบพัฒนาสุขภาพของประเทศไทย

       เมื่อได้รับการติดต่อร่วมทำวิจัยภายใต้โครงการ "ไตรภาคีฯ" ใน จ.พัทลุง ดิฉันก็รีบดำเนินการหาข้อมูลศึกษาในเบื้องต้นว่า โครงการฯนี้ คือ อะไร ทำอะไร อย่างไร ดำเนินอะไรไปถึงไหนแล้ว และทำไมจึงเป็นที่จังหวัดพัทลุง แล้วมีความแตกต่างจากการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนอื่นอย่างไร

       เมื่อวิเคราะห์ตามแนวทางของการวิเคราะห์โครงการฯ จะเห็นได้ว่า "กระบวนการพัฒนาสุขภาพ" ของคนในชุมชนนี้มีความเข้มแข็ง และมีการดำเนินการพัฒนาภายใต้โครงการไตรภาคีฯ ซึ่งเป็นโครงการที่มีจุดแข็ง ตรงที่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการ และมีการประเมิน-วิเคราะห์ผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ทีมแกนนำทุกระดับในชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนหมุนเกลียว model ของโครงการทุกกระบวนการ และที่สำคัญมี sub-project ย่อยที่รวมอยู่ในโครงการหลัก(โครงการไตรภาคีฯ) อีกทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัยจากแหล่งทุนหลายแห่ง

       และเมื่อลงสู่พื้นที่ทั้งสองครั้งที่ผ่านมา จากการสังเกตการณ์ในเบื้องต้นของตัวผู้วิจัยร่วมกับทีมวิจัยในพื้นที่ พบว่าชาวบ้านมีกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง (กลุ่ม) เพื่อพัฒนาสุขภาพของตน และเมื่อได้ตามไปสัมภาษณ์เจาะลึกกับนักวิจัยผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้รับการยืนยันว่าผู้วิจัย เจ้าหน้าที่ หรือวิทยากรชุมชน ไม่ได้มีส่วนในการนำทางความคิด หากแต่ได้ให้อิสระแก่ชาวบ้านในการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเขาเอง แต่ก็มีบ้างเช่นกันที่เมื่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ระหว่างกันไม่เหมาะสม เขาก็ไม่สามารถสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นได้ แต่โดยสรุปว่าชาวบ้านล้วนมีปัญญาอยู่แล้วในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง แต่ตัวกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยังอาศัยช่วงจังหวะตามธรรมชาติ หากได้มีความรู้ว่าจะจัดให้เกิดเพื่อเป็นตัวเร่งกระบวนการได้อย่างไรแล้ว ก็จะยิ่งทำให้ชาวบ้านมีกระบวนการทางปัญญาที่เกิดจากการสร้างความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง (กลุ่ม) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องรอคอยความเหมาะสมตามธรรมชาติที่คาดหวังยากมาก

       ดังนั้น โดยส่วนตัวในฐานะบทบาทนักวิจัยคนหนึ่ง และรวมถึงบทบาทของความเป็นผู้ที่อยู่ในระบบสุขภาพ จึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า งานวิจัยครั้งนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อระบบพัฒนาสุขภาพของประเทศไทย จากการนำ model ที่ได้จากบริบทนี้ไปต่อยอดพัฒนาต่อไปทางด้านการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยอาศัย "ภูมิปัญญา" แห่งตนคนไทย...

 

 

หมายเลขบันทึก: 28376เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2006 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

คนพัทลุงดุ! จริงไหมครับ

  • ไม่จริงครับคุณ rc ดูคุณชายขอบ ใจดีมาก
  • ผมอยู่ภาคใต้ 4 ปีปรากฎว่ามีเพื่อนที่พัทลุงมากว่าจังหวัดอื่น แต่เพื่อนๆทำอะไรทำจริงๆ

เห็นด้วยคะคุณ"ขจิต"...คนพัทลุงไม่ดุเล้ยคะ...

เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเหมือนกัน อยากทำอย่างนี้บ้างแต่ชวนใครก็ไม่มีใครอยากจะทำ เพราะคิดว่าเกินหน้าที่
   อ่าน ติดตามอย่างละเอียดครับเพราะชอบ และทำให้คิดเทียบเคียงกับสิ่งที่นักวิจัย 37 โครงการทำอยู่ เกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ผมเป็นผู้ประสานงานกลางระดับประเทศ นับเป็นเรื่องยากนะครับถ้า ใจ และ วิญญาณ ของคนทำไม่เต็ม 100 เช่นคุณชายขอบและผองเพื่อน
     คนพัทลุงไม่ดุ อยากยืนยันครับ รักเพื่อนอย่างคุณขจิตเจอ พูดจาโผงผาง ตรงนี้เลยดูดุในมุมมองของผู้ฟังก็อาจจะเป็นได้
     คำถามคุณ "RR" อยากตอบมาก แต่ต้องใช้เวลาขอผัดไปก่อนนะครับ "ขอจริง ๆ"
     อาจารย์ Handy กล่าวถึงนักวิจัย 37 โครงการ ที่เกี่ยวกับเรื่องการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำให้ผมใคร่รู้เรื่องนี้แบบชนิด "อย่างแรง" เพราะน่าจะเชื่อมต่อกับสิ่งที่ผมคิดอยู่ ประมาณว่า "คิดใหญ่ ๆ ทำได้แต่เล็ก ๆ เท่านั้น" อยากรู้เรื่องนี้อย่างแรง อาจารย์จะให้ไปติดตามได้ที่ไหนบ้างครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท