"In" เข้าไปหรือเพียงแค่เข้าใจกัน


บทบาทของผู้ให้คำปรึกษา เราจะเลือกใช้ Empathy > Sympathy

       สมัยเมื่อเริ่มเข้าเรียนจิตวิทยาให้คำปรึกษาใหม่ๆ สิ่งสำคัญที่เราได้รับคำสั่งสอน..และเน้นย้ำจากท่านอาจารย์ให้ตระหนักอยู่บ่อยๆ คือ คำว่า Empathy กับคำว่า Sympathy คำว่า Empathy คือ การเข้าใจกรอบแห่งการรับรู้ของผู้อื่น ส่วนคำว่า Sympathy คือ ความเห็นอกเห็นใจ ในบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา เราจะเลือกใช้ Empathy > Sympathy

       หากเมื่อเล่าให้เนียนสู่ความเข้าใจยิ่งขึ้น Empathy ที่ว่าคือ ความเข้าอกเข้าใจ ภายใต้กรอบความเป็นตัวตนในคนหรือในสิ่งที่เรากำลังรับรู้ เช่น มี case มาปรึกษาปัญหาความท้อแท้ใจในชีวิต เราก็เลือกที่จะเข้าอกเข้าใจเขาตามบริบทหรือสภาพที่เขาเป็นอยู่...ว่าอะไรที่ทำให้เขารู้สึกเช่นนั้น...เพราะอะไรมีที่มาที่ไปอย่างไร..ฐานความคิดความเชื่อในการมอง"ชีวิต"ของเขามองอย่างไร...จึงทำให้ได้รู้สึก"ท้อแท้"ต่อตนเช่นนี้ และหากถ้าเป็น sympathy แล้วล่ะก็เรามักจะ In เข้าไปในเรื่องของเขา รับรู้อารมณ์อย่างกับเป็นเรื่องของตนเอง หรือบางทีอาจเผลอคิดไปในเรื่องตนเองเสียเลย บางครั้งเราอาจพบผู้ให้คำปรึกษาบางคน sympathy มากร้องห่มร้องไห้ไปกับเรื่องราวจนบางครั้งลืม "สติ" คิดไปว่าบทบาทเราคืออะไร...

       ดังนั้น...ในกระบวนการให้คำปรึกษา..เราๆ จึงมักได้รับการฝึกฝนและแยกแยะให้ออกระหว่างอารมณ์ความนึกคิดระหว่าง  Empathy กับ Sympathy หรือแม้แต่ในชีวิตจริงของการดำรงอยู่ก็เช่นเดียวกัน หากเมื่อใดก็ตามเราได้มีโอกาสเป็นที่พึ่งทางจิตใจของใครบางคน เราก็ควรจะมีเพียงในระดับ Empathy ที่มี"สติ" พร้อมรับฟังในเรื่อง "ทุกข์" ของเขา และร่วมด้วยช่วยกัน ให้เขายอมรับในทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น แล้วเราค่อยหาสาเหตุ และแนวทางแห่งการดับทุกข์ในใจนั้นของเขาต่อไป...

 

 

หมายเลขบันทึก: 28212เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2006 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
     ประเด็นนี้จำได้ว่าเคยได้ ลปรร.กันไว้ที่บันทึกหนึ่ง แต่หากวันนี้ยังไม่ได้คำตอบ ...ขอบคุณที่ไปทำให้ตกผลึกและนำมาเล่าต่อ จะได้ชัดเจนขึ้นครับ

คุณ"ชายขอบ"

เคยนำไปเสนอไว้ที่บันทึกของคุณ"โอ๋-อโณ"ค่ะ...หากแต่ก็ยัง..งงๆ...ว่าแทรกไปถูกที่ถูกทางหรือไม่ เพราะไปอ่านเจอในหนังสือ "Health today"...ก็ใช้คำว่า Sympathetic joy ในความหมายของคำว่า "มุทิตา"...จึงมาพิจารณาใหม่ว่า อาจจะพูดกันคนละเรื่องเดียวกัน..จึงนำมาเล่าใหม่ในที่ที่ถูกที่ควร"เป็น"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท