ข้อมูลเบื้องต้นของประท้อน


สวัสดีค่ะ พวกเราจากกลุ่มกระท้อน

จากแม่โจ้ค่ะ

เรื่องราวในบล็อกของพวกเรานั้นจะเป็นบล็อกที่พูดถึงเกี่ยวกับการเกษตร

เหตุผลก็เพราะว่า มหาวิทยาลัยของเรานั้น ขึ้นชื่อทางด้านการเกษตรค่ะ

และในเรื่องที่เราเจาะลึกลงไปก็คือผลไม้ที่ชื่อว่ากระท้อนค่ะ

เรามารู้จักกับเจ้ากระท้อนกันก่อนดีกว่านะคะ

     ชื่อ  กระท้อน

    ชื่ออื่น     เตียน ล่อน สะท้อน (ภาคใต้) มะต้อง (ภาคเหนือ-อุดรธานี) มะติ๋น (ภาคเหนือ) สตียา สะตู (มาเลเซีย-นราธิวาส) สะโต (มาเลเซีย-ปัตตานี)

    ชื่อวิทยาศาสตร์  Sandoricum indicum Cav. มีชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์ว่า S. Koetjape Merr.

    วงศ์   MELIACEAE

    ชื่อสามัญ   Sentul , Santol , Red Sentol , Yellow Sentol

    แหล่งที่พบ    พบตามทั่วไปของทุกภาค

   

    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-40 เมตร ลำต้นเปลาตรงแต่กิ่งก้านต่ำ  เปลือกสีเทาอมน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพู เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่ ทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทานุ่มๆ ทั่วไป

ใบ ใบประกอบออกเป็นช่อ ช่อยาว 20-40 ซม. ช่อจะติดเรียงเวียนสลับกันไป ช่อหนึ่งๆ ประกอบด้วย ใบย่อยรูปไข่หรือรูปร่างรีๆ แกมรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างจะติดตรงข้ามกันหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยวๆ ขนาดกว้าง 6-14 ซม. ยาว 10-22 ซม. ใบปลายช่อจะมีขนาดใหญ่กว่าใบคู่ล่าง โคนใบมนและมักเบี้ยว ปลายใบสอบเป็นติ่งแหลมทู่ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา ท้องใบมีขนสีนวลๆ นุ่มหนาแน่น ส่วนหลังใบมีขนสากๆ ประปราย และสีเข้มกว่าทางด้านท้องใบ เส้นแขนงใบมี 8-17 คู่ เส้นมักเหยียด ชี้ไม่โค้งอ่อน ขอบใบเรียบ ก้านช่อใบยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มๆ หนาแน่น ใบแก่จะมีสีแดงอมส้ม ใบแก่จัดจะออกสีแดงอิฐหรือสีแสด

ดอก มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือสีเขียวอ่อนอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกรวมกันเป็นช่อ ที่ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ๆ ปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปถ้วยปากกว้าง ขอบถ้วยแยกเป็นแฉกเล็กๆ 4-5 แฉก มีขนทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกติดกันเป็นรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็นแฉกรูปขอบขนาน 4 แฉก เมื่อดอกบานเต็มที่แฉกกลีบจะพับกลับย้อนไปทางโคนดอก เกสรตัวผู้จะติดกันเป็นหลอดห่อหุ้มรังไข่กลมหรือแป้นเล็กน้อย มีขนนุ่ม ภายในแบ่งเป็น 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย

ผล มีลักษณะกลมหรือค่อนข้างแบนเล็กน้อย อาจมีจุดประตามผิว อุ้มน้ำผลโต เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. ผิวผลมีขนนุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีเหลืองหรือเหลืองอมน้ำตาล มีรอยย่นเป็นเส้นๆ ที่ขั้วผล เนื้อในหนารูปไต เรียงตัวตามแนวตั้ง 5 เมล็ด รอบๆ เมล็ดเป็นเนื้อเยื่อสีขาวห่อหุ้ม รสหวาน หวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์

    ส่วนที่ใช้บริโภค     ผลแก่

    การขยายพันธุ์     เมล็ด การตอนกิ่ง ทาบกิ่ง

    สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม     เจริญเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ทนทานสภาพแห้งแล้งได้ดี

    ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์     มีนาคม - พฤษภาคม

อ้างอิง  st.mengrai.ac.th/users/9248/m22/web/p2.htm

เราก็ได้รู้จักกับเจ้ากระท้อนกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะ

คราวหน้าเราจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับกระท้อนในรูปแบบไหนมาฝากนั้น เพื่อนๆสามารถติดตามอ่านได้นะคะ

หมายเลขบันทึก: 281680เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 08:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาชม

มาอ่าน

เพราะชอบกินกระท้อนนะครับ

น่ากินจังครับ

ถ้ากระท้อนได้ใส่ปุ๋ยหมักจะดีไหมครับ

ราคาถูกด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท