นาแบบนี้ น่าจะปลดหนึ้ได้นะ


น่าจะเป็นนาที่ช่วยปลดเปลื้องหนี้สินให้กับเกษตรกรได้ในห้วงเวลาที่ไม่นานนัก

ในภาคอีสานของไทย

มีนาหลายแห่งที่ปลูกยูคาลิปตัสบนคันนา

มีทั้งปลูกมาแล้วหลายสิบปี โค่นตัดขายไปแล้วหลายครั้ง

และที่เพิ่งปลูกใหม่ได้ปีสองปี

ครูวุฒิได้เฝ้าติดตามเก็บข้อมูลอย่างละเอียดมาตลอดกว่า 10 ปี

เพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนว่ามีผลเชิงบวกหรือลบ ทั้งในระยะสั้นและยาว

ที่นาแห่งนี้ อยู่ในเขตบ้านสมอ ต.สมอ อ.ปรางค์กู่ ศรีสะเกษ

เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ครูวุฒิและเด็กๆต้องลงไปเก็บข้อมูล (กลับจากอบรม ศก.พอเพียงโรงเรียนพอกพิทยาคม)

เพราะเป็นการปลูกบนคันนาที่ทำนาอย่างประณีต (แบบดำกล้าต้นเดียว)

และเป็นที่นาดอนตรงเผงกับนาตามหลักการ "นาป่า" นาที่ให้คุณค่าสูงสุดของโคกเพชร

 

ซึ่งครูวุฒิคิดและจินตนาการเอาเองว่า

น่าจะเป็นนาที่ช่วยปลดเปลื้องหนี้สินให้กับเกษตรกรได้ในห้วงเวลาที่ไม่นานนัก

เมื่อหนี้หมดหรือน้อยลง เกษตรกรก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนคันนาให้เป็นป่ายางนา ประดู่ ตะเคียนทอง ฯลฯ

ที่ให้คุณค่ามหาศาลต่อทั้งเกษตรกรเอง สังคมชุมชน และโลกกว้างทั้งใบได้

โดยอาจปลูกไปพร้อมๆกับยูคาฯนั่นเลย

แต่ตอนตัด เราก็ตัดโค่นขายเฉพาะก็แต่ยูคาฯ ส่วนไม่ป่าที่ให้คุณค่าในระยะยาวเกิน 10 ปี

เราก็คงเหลือไว้ให้เติบโตต่อไป

หากคนไทย เกษตรกรไทย และนักวิชาการไทยเข้าใจสาระสำคัญในส่วนนี้

ประเทศไทยก็จะมั่งคั่งด้วยทรัพยากรป่าไม้ในเวลาอันสั้น

ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน

ทั้งปัญหาด้านสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความมั่นคงของประเทศชาติ

และปัญหาเชิงซ้อนหรือปัญหาแฝงอื่นๆด้วย

หรือท่านว่าไงครับ?

***************

หมายเลขบันทึก: 280662เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2009 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับครู

  • สบายดีนะครับ ไม่ได้อ่านบันทึกท่านนานแล้ว คิดถึงครับ
  • เด็ก ๆ ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานนะครับ
  • เห็นภาพการปลูกยูคาลิปตัสบนครูนาแล้วคงตัดขายได้หลายบาทนะครับ ผมคิดอยู่นานเหมือนกันว่า ทำไมไม่ทำแบบนาตัวอย่างดังในภาพ จะได้มีรายได้เพิ่มกันครับ หรือมันจะติดปัญหาหรือมีผลกระทบอย่างอื่น ๆ หรือไม่ ?
  • ผมขออนุญาตคาดเดาเอาเองเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า น่าจะเกิดจากเจ้าของที่นาก็ไม่มั่นใจว่า จะมีผลกระทบอะไรบ้างหรือปล่าวก็เลยไม่กล้า
  • เป็นโชคดีของชาวนาเหลือเกินที่ท่านครูวุฒิ ติดตามศึกษาประเด็นนี้ครับ ขอขอบพระคุณแทนชาวนาด้วยครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์นิโรธ

  • คิดถึงเช่นเดียวกันครับ
  • แต่ภารกิจช่วงที่ผ่านมา ยุ่งแบบต่อเนื่องไปหน่อย ก็เลยห่างหายไปนาน  ทั้งๆที่มีเรื่องราวให้เขียนมากมาย แต่ก็ได้แค่คิดมือทำไม่ทัน
  • ว่าด้วยเรื่องยูคาฯ เท่าที่ผมมีข้อมูล ผมว่ามีผลกระทบเชิงลบน้อยมาก เขาเป็นไม้ที่เหมาะสำหรับไร่นามาก เพราะทรงพุ่มไม่กว้าง ในขณะเดียวกันเข้าก็เก็บธาตุคาร์บอนได้ดีและเร็วมาก
  • ปลูกร่วมป่ากับไม้อื่นได้ดีแบบไม่เห็นแก่ตัว ไม้อื่นขึ้นกับเขาได้ตามปกติ "สักทอง" ของเราซะอีกที่เห็นแก่ตัวสุดๆ ไม้อื่นขึ้นใต้ต้นไม่ได้เลย แม้แต่หญ้าคา เพราะทรงพุ่มกว้างและหนามาก แตดส่องไม่ถึงพื้นเลยครับ
  • ผมไม่มีส่วนได้เสียกับใครที่ไหนทั้งนั้น ด้วยความสัตย์จริง
  • เพียงแต่อยากหาทางช่วยให้แผ่นดินไทย อยู่กับลูกหลานเกษตรกรไทยไปตราบนานเท่านาน อย่าต้องล่อแหลมต่อการสูญเสียง่ายๆดังปัจจุบันนี้เลยครับ
  • ขอบคุณอย่างสุดซึ้ง สำหรับกำลังใจจากท่านอาจารย์
  • แวะมาอีกนะครับ
  • สวัสดีครับ

สวัสดีครับ ครูวุฒิ

*เริ่มติดตามงาน ท่าน ผอ. แล้วชอบแนวนี้ ครับ ชอบบทบาทครูนักพัฒนาที่ท่านดำรงบทบาทนี้

*ว่าแต่ ผลกระทบ ของยูคา ฯ ต่อ ผืนดิน แผ่นน้ำ มีหรือไม่ อย่างไรคับ ผอ. ผมจำได้ว่า เคย มีอดีต เสนาบดี. กระทรวงหนึ่ง เคย เสนอ แต่ไม่มีการตอบรับจากสังคมมากนัก นะคับ

น้อง Pประชามีสุข ครับ

  •  เท่าที่พี่เก็บข้อมูลมากว่า 10 ปี ไม่เห็นมีถึงกับทำให้เสียหายแบบปัจจุบันทันด่วน เพราะบ้านเรามีไม้อื่นช่วยได้
  • ที่พี่เสนอรูปแบบการทำนาแบบนี้ เพราะจะได้ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องหนี้สินได้
  • ถ้าหนี้สินไม่ร้อนแล้ว เราก็ค่อยๆปรับคันนาให้กลายเป็นทองคำด้วยต้นไม้ชนิดอื่นๆสิครับ
  • เมื่อนั้นประเทศไทยก็น่าจะมั่งคั่งและบริบูรณ์ด้วยต้นไม้มีค่า อนาคตอาจเป็นสินค้าส่งออกไปจีน เพื่อใช้สร้างบ้านที่ช่วยลดอันตรายจากภัยแผ่นดินไหวได้ด้วยนะ
  • ว่าไม๊ล่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท