สรุปความเห็น “การประยุกต์แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ในบริบท 3 จังหวัดชายแดนใต้”


            1.กรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือโจทย์ที่แท้จริงและท้าทายต่อนโยบายสร้างความมั่นคงของมนุษย์ ของรัฐบาลไทย และของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
            2. สถานการณ์และปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (“ทุกข์”) เป็นที่รับรู้กันอยู่เพียงพอแล้ว
            3. การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (“สมุทัย”) ควรใช้แนวที่คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้วิเคราะห์ไว้ โดยแบ่งสาเหตุเป็น 3 ชั้น คือ (1) ชั้นบุคคล     (2) ชั้นโครงสร้าง และ (3) ชั้นวัฒนธรรม
            4. การกำหนดเป้าหมายในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (“นิโรธ”) ควรถือว่า “ความมั่นคงของมนุษย์” เป็นเป้าหมายสุดท้าย ซึ่งมีชุดตัวชี้วัด 10 หมวด ได้แก่ (1) ที่อยู่อาศัย (2) สุขภาพอนามัย         (3) การศึกษา (4) การมีงานทำและรายได้ (5) ความมั่นคงส่วนบุคคล (6) ครอบครัว (7) การสนับสนุนทางสังคม (8) สังคม-วัฒนธรรม (9) สิทธิและความเป็นธรรม (10) การเมืองและธรรมาภิบาล (คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบชุดตัวชี้วัดนี้เมื่อ 30 สิงหาคม 2548)
            5. แนวทางสู่เป้าหมายในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (“มรรค”) ควรประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ประการดังนี้ (1) การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่นรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) การเชื่อมประสานพลังสร้างสรรค์ของฝ่ายต่างๆสู่เป้าหมายร่วมกัน (3) บทบาทเอื้ออำนวยของฝ่ายรัฐรวมถึงการมีกฎหมาย ข้อบังคับ โครงสร้าง และกลไกที่เหมาะสม (4) การใช้หลักการและกระบวนการแก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (หรือ “การสร้างสันติ” - Peace building) (5) การจัดการความรู้และพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
            ทั้งนี้ โดยมี “ชุดตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์” เป็น “ยุทธศาสตร์ของยุทธศาสตร์” พร้อมกับเป็น “แกนหลัก” และ “เป้าหมายสุดท้ายร่วมกัน” ของยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ประการ ดังแสดงด้วยภาพต่อไปนี้
                                         ยุทธศาสตร์แก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

            หมายเหตุ  เป็นสรุปความเห็นที่นำเสนอในการอภิปราย เมื่อ 9 พ.ค. 49 หัวข้อการประยุกต์แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ในบริบท 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาระดับชาติ เรื่องประเทศไทยกับความมั่นคงของมนุษย์ : จุดยืนและก้าวต่อไปจัดโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระหว่าง 8 - 9 พฤษภาคม 2549
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
11 พ.ค. 49

 

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาสังคม
หมายเลขบันทึก: 28066เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 17:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท