Dr.aon
ดร. อรนรินทร์ ขจรวงศ์วัฒนา

การวิจัยเชิงคุณภาพ


การวิจัยเชิงคุณภาพ..กระบวนการแห่งการค้นหา..ธรรมชาติ

อ่านหนังสือว่าด้วยศาสตร์และศิลป์ในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ อยู่ค่ะเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเตรียมสอบ..จบ..(พูดอย่างมั่นใจนะเนี่ย) ในความชัดเจนของงานวิจัยที่เราทำ..บางครั้งจำเป็นต้องอ้างอิงภาพใหญ่ด้วยค่ะ..หมายถึงสำนักไหนเขาว่ายังไง..เพื่อให้เกิดการเทียบเคียงได้..การยึดมั่นสำนักเดียว..ไม่น่าจะเป็นผลดี...ท่านผู้รู้แนะนำอ้อนแอ้นด้วยนะคะ..

เริ่มด้วยเรื่อง..การวิจัยเชิงคุณภาพคืออะไร

John w. Creswell (1998) กล่าวว่า ;

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความเข้าใจบนพื้นฐานของระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งการค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม หรือปัญหาของมนุษย์ ในกระบวนการนี้ นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อน เป็นองค์รวม วิเคราะห์ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด และดำเนินการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ

อาจารย์ชาย โพสิตา บอกว่าจุดเน้นของCreswell อยู่ที่"ภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อน เป็นองค์รวม" ซึ่งหมายถึง การบรรยายรายละเอียดอันซับซ้อนของสิ่งที่ศึกษา เพื่อให้ผู้อ่านมองเห็นประเด็นของสิ่งนั้นในหลายๆด้าน โดยในแบบของ Creswell จะมี 5 แบบ(5 traditions) คือ

วิธีการศึกษาชีวประวัติบุคคล(Biograghical Approach)

วิธีการเชิงปรากฎการณ์วิทยา (Phenomenological Approach)

วิธีการวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูล ( Grounded Theory Approach)

วิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Approach)

วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach)

Rice and Ezzy (1999) มองว่า..

การวิจัยเชิงคุณภาพให้ความสำคัญกับการตีความหมาย มุ่งทำความเข้าใจกระบวนการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความหมายที่สลับซับซ้อนและละเอียดอ่อน จุดมุ่งหมายอยู่ที่การกรองเอาข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์หรือการกระทำ โดยคงไว้ซึ่งบริบทของเหตุการณ์หรือการกระทำเหล่านั้น

นิยามของ Rice and Ezzy เน้นการเข้าถึงความหมายของข้อมูล ภายในบริบทที่เป็นอยู่ค่ะ

Lincoln and Gube (1985) นิยามว่า..

เป็นการวิจัยที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเข้าถึงความหมายภายในบริบทที่ศึกษา และใช้มนุษย์(ผู้วิจัย)เป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล ซึ่งการวิจัยเชิงธรรมชาติมีหลักการ 4 ข้อ คือ 1.เลือกตัวอย่างสำหรับศึกษาอย่างเจาะจง 2.วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีอุปนัย 3. หาข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากข้อมูล 4.มีการออกแบบงานวิจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์เฉพาะหน้า(ออกแบบยืดหยุ่น)

***เน้นอีกหน่อยค่ะว่าเจ้าของแนวคิดLincoln and Gube ไม่สนับสนุนการดำเนินการวิจัยตามกรอบที่ เคร่งครัดนะคะ***

Denzin and Lincoln(2000) มองว่า..

เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่นักวิจัยเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกที่เขาศึกษา ประกอบด้วยการเก็บข้อมูลเพื่อตีความและแปรสภาพโลกหรือสิ่งที่นักวิจัยสังเกตให้อยู่ในรูปของการนำเสนอแบบตางๆ เช่นบันทึกภาคสนาม ข้อความจากการสัมภาษณ์ การสนทนา รูปภาพ และการบันทึกต่างๆ อาศัยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ ตีความเพื่อเข้าถึงโลกที่ถูกศึกษา

**เน้น 2 เรื่องค่ะ คือเรื่องการตีความ(Interpretation)กับการใช้วิธีการหลากหลายเพื่อเก็บข้อมูลและการตีความ**

มีหลายท่านนะคะที่กล่าวไว้..ในที่สุดอาจารย์ชาย โพสิตา ท่านก้อสรุปว่า...

การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ ใช้วิธีการศึกษาและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลหลากหลาย เครื่องมือที่สำคัญคือ ตัวนักวิจัยเอง การวิจัยแบบนี้มีการออกแบบที่ยืดหยุ่น ศึกษาและวิเคราะห์ด้วยหลักอุปนัย คือไม่ด่วนตั้งสมมติฐานก่อนที่จะได้ลงมือเก็บข้อมูลภาคสนาม...

 

หมายเลขบันทึก: 280137เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2009 19:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มารับความรู้ครับ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์บวร ขอบคุณค่ะที่อาจารย์แวะมาเยี่ยมเยียน

ดีจังเลยค่ะ...รบกวนอาจารย์ใส่คำสำคัญว่า R2R ด้วยได้ไหมคะ อยากให้เครือข่ายคนหน้างาน R2R ได้อ่านเรื่องราวดีดีเช่นนี้ด้วยค่ะ

 

และมาชวนไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องนี้ค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/280031

ขอบคุณค่ะ

กะปุ๋ม

ขอบคุณ อ.ka-poom ที่เข้ามาพูดคุยค่ะ

อ้อนจัดให้เลยค่ะ

^_^

ขอบคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ...

วันไหนได้เรื่องราวดีดีที่เกี่ยวกับการทำวิจัย  หรือได้บทเรียนดีดี...ขอความอนุเคราะห์ อ.อ้อนนำมาฝากเครือข่ายชาว R2R ด้วยนะคะ...^___^...

แวะมาอ้อนอีกครั้งค่ะ 5555

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท