เรียนรู้เรื่องลิ้นจากภาพ[+English]


 

...

เว็บไซต์ 'kidshealth' มีคำแนะนำสำหรับเด็กและผู้ปกครองดีหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งคือ มีภาพประกอบคำอธิบายอวัยวะต่างๆ ผู้เขียนขอนำเรื่องลิ้นมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เราได้เรียนภาษาอังกฤษไปพร้อมกันครับ [ kidshealth ]

...

 [ kidshealth ]

ภาพที่ 1: ลิ้น (tongue) ประกอบด้วยตุ่มรับรส (taste buds; taste = รส; buds = ตุ่ม), เดิมเราเชื่อว่า ตุ่มรับรสน่าจะมีอยู่ 4 กลุ่มได้แก่ รสหวาน (sweet), รสเค็ม (salty), รสเปรี้ยว (sour), และรสขม (bitter) ดังแถบสีในภาพ > Thank [ kidshealth ]

คลิกที่ลิ้งค์ > คลิกลำโพงหรือธงชาติ > ฟัง + ออกเสียงตาม 3 รอบ + ย้ำเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แต้มสี-ตัวอักษรหนา-ขีดเส้นใต้

  • 'tongue' > [ ทั่ง ] = ลิ้น > [ Click ]
  • 'sweet' > [ s - วีท - t ] = หวาน > [ Click ]
  • 'salty' > [ เซ้า - ถี่ ] = เค็ม > [ Click ]
  • 'sour' > [ เซ้า - เอ่อ ] = เปรี้ยว > [ Click ]
  • 'bitter' > [ บิ๊ท - เถ่อ ] = ขม > [ Click ]

...

 [ unsw.edu ]

ภาพที่ 2: ตุ่มรับรส (taste buds; taste = รส รสนิยม; buds = ตุ่ม) มีร่องให้อาหารกับของเหลว เช่น น้ำลาย ฯลฯ ไหลลงไปในร่อง (taste pores; pore = รู) เพื่อสัมผัสกับประสาทรับรส > Thank [ unsw.edu ]

ตุ่มรับรสมีหลายรูปทั้งแบบสูง-ผอมทางด้านข้าง, เตี้ย-กว้างทางด้านหลัง, และรูปร่างกลางๆ ทางด้านหน้า

...

การรับรสของคนเราจะทำร่วมกับประสาทรับกลิ่น ซึ่งถ้าเราเป็นหวัดหรือภูมิแพ้ของโพรงจมูก อาจทำให้การรับรู้รสต่ำลง กินอาหารไม่อร่อย เพราะได้กลิ่นน้อยลง ตรงกันข้ามอาหารที่อุ่นหรือร้อนทำให้กลิ่นฟุ้งกระจายได้ดีขึ้น

...

 [ unsw.edu ] 

ภาพที่ 3: อ.ดร.มาร์ค ฮิลล์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรับรส มหาวิทยาลัยนิวเซาต์เวลส์ ออสเตรเลียกล่าวว่า > Thank [ unsw.edu ]

ผลการศึกษาในปี 2549 พบว่า คนเราใช้พื้นที่รับรู้รสต่างๆ ร่วมกัน ไม่ได้แยกกันเป็นแผนที่ (map) แบบที่เชื่อกันมาแต่เดิม (Nature 444,288-294. 16 November 2006) และมีการค้นพบรสชาดใหม่คือ 'unami' คำนี้มาจากภาษาญี่ปุ่น = อร่อย

  • 'unami' > [ อู - น้า - หมี่ ] = รสอร่อย > [ Click ]

...

 [ unm.edu ]

ภาพที่ 4: ตุ่มรับรัสมีรูปร่างคล้ายดอกบัว > Thank [ unm.edu ]

... 

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

 > Thank [ kidshealth ]; [ unsw.edu ]; [ unm.edu ]

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >  > 21 กรกฎาคม 2552.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 278799เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2009 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจวิธีการทำให้เรื่องที่ยากซับซ้อน กลายเป็นง่าย โดยการใช้รูปในการอธิบายครับ

 

 

น่าสนใจวิธีการทำให้เรื่องที่ยากซับซ้อน กลายเป็นง่าย โดยการใช้รูปในการอธิบายครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท