การนำ Balanced Scorecard มาใช้ในองค์กร


การนำ Balanced Scorecard มาใช้ในองค์กร

 

การนำ Balanced Scorecard มาใช้ในองค์กร

บทความนี้เป็นบทความของคุณสมชาย  หลักคงคา ซึ่งกล่าวถึงเรื่องของ การนำเครื่องมือทางการบริหาร  (Tools  of  Management)  มาใช้ในการบริหารจัดการ องค์กรสมัยใหม่  ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากได้แก่   BSC หรือ  Balanced Scorecard   ซึ่งหากแยกคำต่างๆ ออกเพื่อให้เกิดความเข้าใจในนิยามความหมายแบบง่ายขึ้นนั้น
                Balanced:  หมายถึง   ความสมดุล   ความสมดุล   
                Score:         หมายถึง   คะแนน 
                Card:           หมายถึง   บัตรหรือการ์ด

เมื่อนำมารวมกันทั้ง 3 คำ ก็จะได้ความหมายว่า  บัตรคะแนนแห่งความสมดุล  ซึ่งแบ่งเป็น   4  มุมมอง  คือ 

  1. มุมมองทางด้านการเงิน ( Financial Perspective )  
  2. มุมมองทางด้านลูกค้า ( Customer Perspective )
  3. มุมมองทางด้านกระบวนการภายใน ( Internal Process Perspective )
  4. มุมมองทางด้านการเรียนรู้และการเติบโต ( Learning and Growth Perspective )

                 ฝ่ายบริหารในหลายๆ องค์กร ที่นำเครื่องมือดังกล่าวนี้มาใช้ในการกำหนด การดำเนินธุรกิจขององค์กร และประสบความสำเร็จ  แต่ก็มีอีกหลายองค์กรที่นำ  Balanced Scorecard มาใช้แล้วไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งใจไว้ 

               Why Balanced Scorecard fail?   คำถามจากผู้บริหารในองค์กรที่นำเครื่องมือทางการบริหารชนิดนี้มาใช้   ซึ่งคำตอบจากผู้มีประสบการณ์ในการใช้  BSC และผ่านอุปสรรคดังกล่าวมาแล้ว ได้กล่าวว่า  ความล้มเหลวของ  BSC ไม่ได้เกิดจากกลยุทธ์หรือนโยบาย   แต่อยู่ที่การปฏิบัติการ ซึ่งพอจะสรุปประเด็นได้ ดังนี้ คือ

  1. มอง BSC เป็นแค่ตัวชี้วัดเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว BSC เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ( Change Project ) ในองค์กร
  2. มอง BSC เป็นเพียงโครงการที่มีระยะเวลาสิ้นสุด เมื่อออกแบบเสร็จแล้ว   ก็ให้ความสำคัญน้อยลง
  3. มอง BSC เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาปีละครั้ง ตอนสิ้นปี
  4. มอง BSC ว่าอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางลบกับตนเอง
  5. มอง BSC เป็นงานเสริม มากกว่างานประจำที่ต้องทำ

                เมื่อพนักงานในองค์กรหรือผู้บริหารในองค์กรมีความรู้สึกหรือความเข้าใจแบบนี้  ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว  และสิ่งที่ตามมาก็คือการที่องค์กรจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจกันใหม่ หรือนับหนึ่งใหม่ เกี่ยวกับ การใช้เครื่องมือ BSC   ในการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ                ผู้มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจโดยการนำหลัก  Balanced Scorecard   มาใช้ และประสบความสำเร็จ  คือ

  •  Mobilize  :  ผู้นำ / หัวหน้างาน จะต้องเป็นผู้นำในการจุดชนวน ความคิดและการเคลื่อนพล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • Translate  :  ผู้บริหารต้องมีการถ่ายทอดกลยุทธ์ / กระจายนโยบายให้เชื่อมโยง จากระดับบนลงสู่ระดับล่าง
  •  Alignment  :  ผู้บริหารต้องทำให้ทุกหน่วยงานมีการผสมผสาน กันเป็นหนึ่งเดียว
  •  Motivate  :  ผู้บริหารต้องสร้างแรงกระตุ้น ให้ทุกคน ทำตามเป้าหมายขององค์กร
  • Govern  :  ทุกฝ่ายในองค์กร ดูแลทุกอย่างที่ทำมาแล้วให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

    จากบทความนี้สรุปได้ว่า  การดำเนินธุรกิจโดยการนำ Balanced Scorecard  มาใช้  จะต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงานทุกระดับให้เห็นถึงประโยชน์ที่องค์กรและพนักงานจะได้รับในอนาคต  และทั้งหมดนี้จะต้องกระทำบนพื้นฐานของความสมดุลทั้ง 4 มุมมอง

 

หมายเลขบันทึก: 277393เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2009 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าจะทำไม่ยากนะ...อ่านแล้วใจเต้นแรงมาก บอกใครไม่ได้...เพราะยังไม่ถึงเวลา

Balanced Scorecard เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จร่วมกันทั้งผู้บริหารและพนักงานในองค์กร

                    

น้องหน่อยพี่แวะมาทักทายครับ บทความดีมากครับ

เยี่ยมมากเลยนะคะ พี่หน่อยที่น่ารักของหนู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท