แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม


แผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม

การบูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

วิชาภาษาไทย

.  ชื่อหน่วยการเรียนรู้  ระยองของเรา                        

.  กลุ่มสาระการเรียนรู้  ภาษาไทย  รหัส ท๓๑๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  

                                           เวลา     ชั่วโมง โดย นางปัทมา  สาธุ 

.  วิเคราะห์ความสอดคล้องกับมาตรฐาน

          สาระที่    การเขียน

          มาตรฐาน    .  ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียน   เรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ                   

          สาระที่    เศรษฐศาสตร์

          มาตรฐาน  .  เข้าใจเกี่ยวกับระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

.  คำอธิบายหน่วยการเรียนรู้

          ในชีวิตประจำวัน เราจะพบว่ามีเรื่องราวต่างๆที่เราต้องการจะบอกเล่า อธิบาย แนะนำให้ผู้อื่น    เข้าใจความรู้ ความคิด ตลอดจนความรู้สึกของเรา การกระทำเช่นนั้นจะสำเร็จตามเป้าหมายได้ต้องอาศัยการเล่าเรื่องอย่างมีลำดับขั้นตอน

การเขียนเรียงความเป็นการนำถ้อยคำมาผูกเป็นประโยค เรียบเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อแสดงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้เขียนในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยสำนวนภาษาที่สละสลวยน่าอ่านและเกิดการจรรโลงสังคมอย่างยั่งยืน

 แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักเศรษฐกิจพอเพียง

. ชื่อหน่วยการเรียนรู้   การเขียนเรียงความ  เวลา    ชั่วโมง

๒. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

๑.     ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจหลักการเขียนเรียงความ 

๒.    ผู้เรียนมีทักษะการเขียนเรียงความที่ถูกต้อง

๓.    ผู้เรียนสามารถเขียนเรียงความถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง และยั่งยืน

๓. สาระการเรียนรู้

          .   หลักการเขียนเรียงความ และองค์ประกอบของการเขียนเรียงความ

          .  ศึกษารูปแบบของการเขียนเรียงความ

.  การวางโครงเรื่อง

.  เขียนเรียงความ เรื่อง “ระยองของเรา อยู่ดีกินดีด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง”

การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หลักความพอประมาณ

-         ผู้เรียนจัดสรรเวลาในการเขียนเรียงความได้อย่างเหมาะสม

-         กำหนดเนื้อหาเหมาะสมกับเกณฑ์การประเมินการเขียนเรียงความ

หลักความมีเหตุผล

-         เห็นคุณค่าของการเขียนเรียงความและเขียนสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน  และถูกต้อง

-         เขียนเนื้อหาของเรียงความได้อย่างถูกต้อง มีเหตุผล และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

หลักความมีภูมิคุ้มกัน

-         มีทักษะทางการเขียนเรียงความ อีกทั้งสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-         ผู้เรียนได้รับความรู้ที่ถูกต้อง พร้อมทั้งกำหนดเนื้อความได้ครบถ้วนตามหลักการเขียนเรียงความที่ดีและมีใจความที่สมบูรณ์

เงื่อนไขคุณธรรม

-         เขียนเรียงความได้อย่างมีมารยาท ละเอียด และรอบคอบ

-         เขียนเรียงความเพื่อจรรโลงสังคมให้ปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เงื่อนไขความรู้

-         ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดในการเขียนเรียงความ      

-         มีความรู้ ความเข้าใจในการเขียนเรียงความ

-         มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 4.  กิจกรรมการเรียนรู้

ชั่วโมงที่   

          .  ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้นักเรียนทราบ   

          .  ครูซักถามนักเรียนเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเขียนเรียงความว่ามีอะไรบ้าง

          ๔.   นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่    เรื่อง  การเขียนเรียงความ

          .  นักเรียนศึกษาตัวอย่างการวางโครงเรื่อง  ปัญหาการติดยาเสพติดของวัยรุ่นไทย”
                 ๖.    นักเรียนศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข มีกิน มีใช้ รู้จักรการใช้จ่ายอย่างประหยัด ซึ่งถือเป็นการออมอย่างหนึ่งที่นักเรียนควรยึดถือ และปฏิบัติ เพื่อการมีกิน มีใช้ในอนาคต แล้วสรุปสาระสำคัญลงใส่ กระดาษฟูลสแกร๊ฟ ความยาว      หน้ากระดาษ

ชั่วโมงที่ 

          . ครูถามความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยมีข้อความดังต่อไปนี้  “……คำว่า  พอ ก็เพียงพอ คนเราถ้าพอในความต้องการ  ก็มีความโลภน้อย  เมื่อมีความโลภน้อย  ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด  ทำอะไรต้องพอเพียง  หมายความว่า  พอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข หมายถึงอะไร

          . ครูสุ่มถามนักเรียนที่ได้ไปค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐิจพอเพียง จำนวน     คน ว่าหลังจากที่ได้ไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลนักเรียนได้รับความรู้อะไรเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ  พอเพียงบ้าง ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเนื้อหาของแต่ละคนอีกครั้ง

          ๓.  นักเรียนศึกษาใบความรู้ที่ 

หมายเลขบันทึก: 275182เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ 

  • ครูตาสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมอยู่ค่ะ 
  • เคยอ่านเรื่องการเยี่ยมชมโรงเรียนจากบล๊อกคุณเอกค่ะ
  • โรงเรียนชำค้อพิทยาคมโชคดีจังค่ะ  ที่มีท่านผอ.  และครูเก่ง ๆ เอาจริงเอาจัง 
  • เป็นกำลังใจให้ครูไทยเข้มแข็ง  และเด็กไทยจงเจริญค่ะ

น่าชื่นชมโรงเรียนชำฆ้อพิทยาคม ดีจริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท