การศึกษา คือ เครื่องมือของการพัฒนา "คน"


การพัฒนาระบบการศึกษาให้มีพื้นฐานบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

   การศึกษา คือ เครื่องมือของการพัฒนา "คน" 

                   ในยุคปัจจุบันมีการนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีการแข่งขันสู่มาใช้อย่างไม่รอบคอบ การกระตุ้นค่านิยมการบริโภคอย่างฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟื่อย และเป็นไปตามกระแสจนเกินไปโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ส่งผลให้คุณธรรมของผู้คนสังคมลดน้อยถอยลง และสภาพสังคมอ่อนแอ การพัฒนาระบบการศึกษาบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากเป็นการมุ่งมั่นพัฒนาคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสมดุล ทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย โดยใช้คุณธรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานหลักปรัชญาฯ เป็นตัวนำทางสำหรับการประยุกต์ใช้ปรัชญาฯ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาจะต้องปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนด้วย

                    หลักไตรสิกขา คือ ฝึกให้เด็กปฏิบัติตน มีระเบียบวินัย ไม่คิดทำอะไรเบียดเบียน ตนเอง และผู้อื่น (ศีล) ฝึกจิตใจให้ตั้งมั่นในความดีงาม ขยันหมั่นเพียร อดทนในการประกอบภารกิจให้ลุล่วงสำเร็จไปด้วยดี (สมาธิ) และฝึกคิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหา รู้จักผิดชอบชั่วดี มีหลักคิดที่ถูกต้อง (ปัญญา) รวมทั้งต้องมีปัจจัยภายนอกเอื้ออำนวย เช่น พ่อแม่ ครู อาจารย์ และเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร

                     ดังนั้น หากส่งเสริมการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีพื้นฐานบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเท่ากับการพัฒนาคนในประเทศให้มีคุณลักษณะที่ดีและเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า กล่าวคือ

                     1. เป็นผู้รู้จักความพอประมาณ โดยมีความพอประมาณตามศักยภาพของตนเองทั้งในการประกอบอาชีพ การลงทุน การใช้จ่ายส่วนตัว และการใช้เวลาเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ซ้ำจะทำให้ชีวิตรู้จักคำว่า "พอ" ในความต้องการ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

                     2. เป็นผู้มีเหตุผล ทั้งมีเหตุผลในการคิด การพูด และการตัดสินใจ ที่จะทำหรือไม่ทำอะไรโดยมีการใช้วิจารณญาณพินิจพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ทำตามอารมณ์ตนเอง

                     3. เป็นผู้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีการวางแผนการดำเนินชีวิต ดำเนินธุรกิจ หรือประกอบอาชีพใดๆ ด้วยความไม่ประมาท มีการลดความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงปลอดภัย รู้จักเจียมตัวพร้อมกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน และคำนึงถึงอนาคต เช่น การทำอาชีพเสริม การออม และการทำประกันภัย เป็นต้น 

                     4. เป็นผู้ที่มีความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) แสวงหาความรู้ ให้มีความรอบรู้ด้านต่าง ๆ เรื่องการประกอบอาชีพ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ที่มีความรู้ตัดสินใจในการกระทำใด ๆ โดยมีข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยลง และการเป็นผู้มีความรู้นอกจากจะสามารถนำประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเอง ยังสามารถช่วยเหลือสังคมส่วนรวมได้ด้วย 

                     5. เป็นผู้มีคุณธรรม รู้จักมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม โดยมีความมานะ พากเพียร อดทน มีสติ มีปัญญา รู้จักการให้ เสียสละ แบ่งปันเวลาและสิ่งของ ตลอดจนทรัพย์สินที่มีเกินพอให้แก่ผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสกว่าตนเอง ตัวเองก็จะไม่เดือดร้อน สังคมก็จะร่มเย็น

                                                                                                                                                                                     

หมายเลขบันทึก: 275162เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เขียนได้กินใจมากครับ

ยกนิ้วให้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท