ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย


หากเรานิ่งๆ ที่จะทำ...ก็ย่อมจะทำให้เรารู้"ตน"มากขึ้นได้

       วันนี้ดิฉันมีประชุมวิชาการเรื่อง การใช้แบบประเมินในงานสุขภาพจิตและจิตเวช ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหิดลจัดขึ้น ในภาคเช้าหลังจากพิธีเปิดมีการบรรยายพิเศษ เรื่อง สถานการณ์การวัดและการประเมินสุขภาพจิตและจิตเวช โดย นพ.อภิชัย มงคล รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ท่านรองอธิบดีฯได้พูดถึงแบบวัดต่างๆ หลายชิ้นงาน...

       มีแบบวัดอันหนึ่งที่กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาขึ้น และมีคนนำไปใช้บ่อยมาก คือ ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Thai Mental Health Indicators: TMHI-66) แบบวัดนี้ที่ดิฉันหยิบยกมาพูดถึง ก็เพราะว่าเป็นแบบวัดที่ดูครอบคลุมเริ่มตั้งแต่สภาพจิตใจ สมรรถภาพของจิตใจ คุณภาพของจิตใจ และปัจจัยสนับสนุน ซึ่งแบบวัดนี้นำมาใช้เพื่อประเมินภาวะความสุขของคนไทยในประชาชนทั่วไป ที่มีอายุตั้งแต่ 15-16 ปีขึ้น แบบวัดนี้สามารถนำไปใช้ประเมินภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มคนในหน่วยงาน องค์กรต่างๆ หรือคนในชุมชนในช่วงเวลาที่ต่างกัน เพื่อดูภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มคนนั้นๆ เป็นการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจิตขององค์กรนั้นในอีกรูปแบบหนึ่ง และที่สำคัญเราสามารถใช้แบบวัดนี้ซ้ำได้อีกเมื่อหนึ่งเดือนผ่านไป

       ที่ดิฉันชอบมากในแบบวัดนี้ คือ องค์ประกอบในแต่ละด้าน เช่น ในด้านสภาพจิตใจ องค์ประกอบย่อยที่เราอยากรู้ว่าคนเรานั้นมีสภาพจิตเป็นอย่างไรนั้น ก็จะดูในเรื่อง ความรู้สึกในทางที่ดี ความรู้สึกในทางที่ไม่ดี การรับรู้ภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วยทางจิต ภาพลักษณ์และรูปร่างของเราเอง ส่วนในด้านสมรรถภาพของจิตใจนั้น ก็จะดูในเรื่อง สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความสามารถที่จะบรรลุความสำเร็จตามความคาดหมาย ความมั่นใจในการเผชิญปัญหา การควบคุมจิตใจตนเองไม่มีประสิทธิภาพ และการดำเนินชีวิตประจำวัน สำหรับด้านคุณภาพของจิตใจ ดิฉันชอบในองค์ประกอบย่อยมากเพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในตัวเราจริงตามคุณลักษณะที่ควรมีในคนไทยเรา ได้แก่ ความเมตตา การนับถือตนเอง ประสบการณ์ชีวิตที่มีค่าต่อจิตใจ ความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นในการดำเนินชีวิต และความเสียสละ

       และที่ลืมไม่ได้ทุกครั้งเวลาที่ทำงานด้านนี้หรือด้านไหน สิ่งที่ขาดไม่ได้และควรประเมินร่วมด้วยนั่นก็คือ ปัจจัยสนับสนุน โดยในแบบวัดนี้ประกอบด้วย การสนับสนุนทางสังคม การสนับสนุนจากครอบครัว ความปลอดภัยทางร่างกายและความมั่นคงในชีวิต การดูแลสุขภาพและความมั่นคงในชีวิต การดูแลสุขภาพและบริการสังคม การมีส่วนร่วมและมีโอกาสพักผ่อนหย่อนใจ และสภาพแวดล้อมเมื่อเราประเมินตนเองเสร็จก็จะมีการเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดไว้ด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าแบบประเมินนี้จะมีจำนวนข้อคำถามมากและใช้เวลาในการทำนาน หากเรานิ่งๆ ที่จะทำ...ก็ย่อมจะทำให้เรารู้"ตน"มากขึ้นได้นะคะ...ท่านใดสนใจลองเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ web site
ของกรมสุขภาพจิตได้ที่  http://www.jvkk.go.th


 

หมายเลขบันทึก: 27419เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     เคยคิดว่าจะวัดประเมินตนเอง แต่กลัว...เสียมวยครับ

คุณ"ชายขอบ"

แหม...มาเหมาะเจาะพอดีนะคะ...

ลองๆ กล้าๆ ทำดูเถอะคะ...

หากเสียมวยเมื่อไหร่...เดี๋ยวดิฉันส่งคนไปช่วยคะ

 

     หากเพียงจะส่งคนมาแทน เมื่อผมเสียมวย ยังไง ๆ ก็ไม่ประเมิน (ยากส์...)

สงสัย...ลงพื้นที่คราวนี้

อาจต้องลองให้คุณชายขอบประเมินดูนะคะ

(ด้วยตนเอง)

ได้ผลประการได้...ก็จะ...(ยิ้มๆๆ)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท