ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

คำซ้อน คำซ้ำ


หลักภาษาไทย

คำซ้ำ คือ คำคำเดียวกันกล่าวซ้ำกัน เกิดเป็นคำใหม่ขึ้นโดยแสดงความหมายได้ดังนี้

ความหมายเน้นหนักขึ้น เช่น มองตรงๆ , ดูดีดี

ความหมายเป็นพหูพจน์ เช่น หนุ่มๆ , สาวๆ

ความหมายไม่เจาะจง เช่น แถวๆบ้านนอก

บอกจำนวนนับ เช่น คนเป็นพันๆไปสมัครงาน

 

 

 

 

คำซ้อน คือ เกิดจากการที่นำคำที่มีความหาย หรือเสียงที่ใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน ทำให้เกิดคำใหม่ขึ้น แบ่งเป็น ๒ ชนิด ได้แก่

- คำซ้อนเพื่อความหมาย ประกอบด้วย ๒ คำ หรือ ๔ คำ คำที่นำมาซ้อนอาจมีควมหมายเหมือนกัน ต่างกันเล็กน้อย หรือความหมายตรงกันข้ามก็ได้ เช่น ค่ำคืน ทอดทิ้ง จิตใจ ลูกหลาน เหนื่อยหน่าย ชั่วดี ดีเด่น ได้เสีย หมูเห็ดเป็ดไก่

 

 

คำซ้อนเพื่อเสียง มักมี ๒ พยางค์ มีความหมายเพียงพยางค์ใดพยางค์หนึ่ง หรือบางทีทั้ง

๒ พยางค์ แต่ละพยางค์มีสียงใกล้เคียงกัน เช่น เสื่อสาด ว่องไว ผันผวน ทอดถอน ทาบทาม โลเล เติบโต

รุ่งริ่ง ซุ่มซ่าม หรือทั้ง ๔ พยางค์ เช่น กระด้างกระเดื่อง ตุปัดตุป่อง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 272666เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณครับ คุณลีลาวดี
  • ที่แวะมาเยี่ยม  มาทักทาย
  • มีความสุขมากๆนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท