คุณภาพโรงพยาบาลตอนที่2


            เล่าต่อเรื่องคุณภาพโรงพยาบาลในตอนที่แล้วพูดถึง 2 มาตรฐานที่มีความสำคัญและเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล(ณ ปัจจุบัน)คือมาตรฐานHA และมาตรฐานบริการสาธารณสุข

          เรื่องการรับรองโรงพยาบาล มาตรฐานHA มีระบบการรับรองว่าโรงพยาบาลผ่านมาตรฐานโรงพยาบาลแล้ว (ซึ่งแต่ก่อนการผ่านการรับรองเป็นเรื่องยาก แต่ปัจจุบันยากลดลง)

          ส่วนมาตรฐานบริการสาธารณสุขยังไม่มีระบบมารับรองว่าเป็นโรงพยาบาลคุณภาพ น่าจะตรงกับหลักการที่กลุ่ม QRTทราบมาแล้ว ว่ามาตรฐานบริการสาธารณสุขพัฒนาขึ้นมาโดยใช้แนวคิดและหลักการของTQMแบบตะวันออก คือไม่มีใบรับรอง แต่สามารถรู้ได้จากผู้รับบริการ (มีความรู้สึก ยอมรับ อยากได้ และชื่นชม)

          มาตรฐานบริการสาธารณสุข เป็นมาตรฐานของการบอกผลลัพธ์ของบริการ ซึ่งหากสามารถทำให้ผู้รับบริการได้ จะไปตอบสนอง  need และ Expectation(โดยเฉพาะ  Explicit  need เป็นส่วนสำคัญ) ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้น่าจะสามารถสร้างความรู้สึกของคุณภาพในใจของผู้รับบริการได้(ยอมรับ อยากได้ ชื่นชม)
          แต่ในกระบวนการที่จะให้ได้ผลลัพธ์ เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว เพราะตามหลักการของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐานบริการสาธารณสุข ได้ให้แนวทางของ TQM สายตะวันออกไว้ให้แก่ QRT ที่ไปอบรม แต่ปัญหาคือ QRT get ได้ไม่เท่ากัน ไม่มีรูปแบบตายตัว(แต่มีหลักการ) ผู้บริหารระดับสูงไม่เข้าใจ(ตั้งแต่ระดับกระทรวง[นโยบายไม่ชัด]ลงมาจนถึงระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาล) ทำให้เวลานำไปปฏิบัติไม่ประสบผล แต่หากมีทีมที่ดี โดยเฉพาะหากเป็นระดับจังหวัด(นำโดยท่านสาธารณสุขจังหวัด)ที่เข้าใจและนำไปปฏิบัติ(HNQA) ก็สามารถทำและเกิดผลลัพธ์ที่ดีได้
          ซึ่งถึงแม้ สปสช.จะระบุว่าโรงพยาบาลจะต้องทำ HA เท่านั้น แต่ในหนังสือที่สปสช.แจกกลับใช้มาตรฐานบริการสาธารณสุขตรวจสอบคุณภาพ

          มาตรฐาน HA ตอนนี้ไปไกลกว่ามาตรฐานบริการสาธารสุขมาก(ในรูปแบบของกระบวนการทำ) เพราะนำแนวคิดของ TQM มาใช้ได้อย่างครอบคลุม แต่น่าจะมีผู้บริหารระดับสูงสุดของโรงพยาบาลเข้าใจอย่างถ่องแท้ไม่มากนัก เพราะวิธีและแนวคิดเหล่านี้มีมานานแล้ว แต่ก็ไม่เห็นมีใครใส่ใจ หรือ get ได้มานานแล้ว

          ผมเขียนมากจะเหมือนว่าผมสู่รู้ไปซะทุกเรื่องความตั้งใจคงเป็นเพียงการหันมาที่ ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางเป็นหัวใจของการทำงาน( ซึ่งตามความจริงแล้วผมไม่ชอบเลยที่งานสาธารณสุขเป็นงานบริการ..ซึ่งจะกล่าวในตอนต่อไป)

 

หมายเลขบันทึก: 26970เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2006 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท