28.ต่อจากฉบับที่เเล้ว ..สรุปบทเรียนการนำแนวคิดมิติจิตวิญญาณลงพื้นที่สู่ bereavement care


สรุปบทเรียนจากการขึ้นเวทีเเลกเปลี่ยนโครงการ SHA ภาคต่อ

ต่อจากฉบบับที่เเล้ว......หลังจากที่ท่านอาจารย์สุรชัย สรุปบทเรียนเรื่องเเนวคิดมิติจิตวิญญาณที่ฉันได้เล่าไปในเบื้องต้นโดยที่อาจารย์ก็นำเรื่องเล่าที่ชี้ให้เห็นถึงคนที่อยู่ในสภาวะเจ็บป่วยเปรียบเหมือนคนที่ขาดซึ่งจิตวิญญาณ ขาดพลังในการที่จะดำเนินชีวิต เพราะฉะนั้นเราทีมสุขภาพมีหน้าที่อะไร..อาจารย์หันมาทางฉัน ฉันจึงสรุปปิดท้ายว่าหน้าที่ของเราคือเติมเต็มจิตวิญญาณให้เขา เติมพลังให้เขา  

              พอวางฐานในเรื่องเเนวคิดมิติจิตวิญาณเรียบร้อยเเล้วและมั่นใจว่าผู้ฟังเริ่มมองเห็นเเละเข้าใจ concept แล้ว อาจารยสุรชัย จึงปูทางต่อเพื่อให้พี่น้อง SHA เตรียมตั้งรับว่าเรื่องที่จะเล่าต่อไป จะเป็นเรื่องเศร้าเพราะเราจะตามไปดูการดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสียซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่เป็นการดูเเลด้วยจิตวิญญาณ

ถ่ายภาพคู่กับท่านอาจารย์สุรชัย  วิทยากรคู่สะท้านโลก (เเม่ต้อยตั้งให้ เขินนน จังเลย)

 

             ฉันทบทวนความหมายของ  grief  , bereavement และ bereavement care ให้กับพี่น้อง SHAได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

 grief หมายถึง ความเศร้า ความเจ็บปวดที่เกิดจากการสูญเสีย

 Bereavement หมายถึงกระบวนการผ่านการเศร้าโศกหรือกระบวนการซ่อมแซมบาดแผลแห่งความพลัดพราก

Bereavement  Care หมายถึง:  การช่วยเหลือเพื่อให้ผ่านพ้นความเศร้าโศก

             เมื่อมีสูญเสีย( loss) ก็จะต้องมี grief ตามมา ถ้าไม่ grief  ถือว่าผิดปกติเนื่องจากอยู่ในพื้นที่การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายเวลาที่ไปพูดที่ไหนฉันมักจะยกตัวอย่าง ว่าหากเด็กน้อยคนหนึ่งมีโอกาสได้กล่าวคำอำลาต่อเราทีมการดูแล ประโยคสั่งลาสุดท้ายที่เด็กน้อยคนนั้นอยากจะพูด ฉันเชื่อว่าเขาคงอยากบอกเราพูดกับเราว่า ถ้าหนูจากไป ช่วยดูแลใจพ่อเเม่หนูด้วย   การดูแลจึงไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อเด็กตายหรือคนไข้ตาย คนที่อยู่ข้างหลังต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง เวลาที่เราดูหนัง พระเอกตายหนังก็จบ เเต่ถ้าเป็นระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย Bereavement care คือหนังตอนจบเพราะฉะนั้นเป้าหมายของBereavement care ก็คือ

                         1.เพื่อให้ครอบครัวและคนที่อยู่ข้างหลังเข้าใจธรรมชาติของความเศร้าโศกและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

                         2. เพื่อให้ความมั่นใจเเก่ผู้เศร้าโศกว่าเป็นกระบวนการอันปกติ

                         3.  เพื่อให้เข้าใจอุปสรรคที่อาจพบหลังสูญเสียและวิธีการจัดการ

                        4. ช่วยเหลือในการหาวิธีการเผชิญกับความเศร้าโศกได้อย่างเหมาะสม

                        5. เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การยอมรับความเป็นจริง

การที่จะไปให้ถึงเป้าหมายของการดูแลพยาบาลเเละทีมการดูแลรักษาเราก็ต้องทราบเเละมีความรู้ในเรื่อง กระบวนการความเศร้าโศก ( grief process) จำง่ายๆการดำเนินไปของกระบวนการความเศร้าโศกต้องผ่านการไต่บันได 4 ขั้นดังนี้นะคะ     

            1.   บันไดของความงุนงง shock ยากที่จะยอมรับ

            2.  บันไดขั้นนี้เป็นความโหยหาอยากได้คืน

            3.  บันไดเเห่งการเสียสมดุลย์  สิ้นหวัง

          4. บันไดขั้นนี้เริ่มดี สามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะปกติ เเละดำเนินชีวิตโดยปราศจากผู้จากไปได้ ทั้ง4 ขั้นนี้จะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไมค้างอยู่ที่ขั้นใด

ขั้นหนึ่ง

 บรรยากาศบนเวทีกับท่านอาจารย์สุรชัย

 

              จากนั้นฉันจึงเล่าความเป็นมาของ Bereavement care program ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมของทีมนำทางคลินิกกุมารเวชกรรม ว่าเกิดขึ้นจากที่เราพัฒนาโครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่มีท่านอาจารย์ พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุลเป็นประธาน

             และเราทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบไปด้วย เเพทย์ Primary physician ( ongcologist)  คือท่านอาจารย์สุรพล เวียงนนท์ ที่เป็น key หลักและเรา Fogus ในเด็กมะเร็ง มี Nurse co- ordinator คือ คุณเกศนี บุณยวัฒนางกุล มีครูโครงการ มีนักสังคมสงเคราะห์ นักกายภาพบำบัด  เภสัชกร  case managerตัวเองจะอยู่ในส่วนของ ward nurse เเละทำหน้าที่ Bereavement co- ordinator

            โปรเเกรมเเรกที่ทำคือ โครงการจดหมายคลายทุกข์ กำลังใจเเด่น้อง ซึ่งริเริ่มขึ้นโดยการเขียนจดหมายถึงครอบครัว ครอบครัวผู้ป่วยเด็กที่เสียชีวิตเป็น 1ใน 4 กลุ่มเป้าหมายที่เขียนถึง หลังจากมีโครงการจดหมายก็ทำให้เราเห็นความทุกข์ยากของครอบครัวที่สูญเสียซึ่งเกิดเป็นเเรงบันดาลใจที่ทีมได้สานต่อ และเกิด Bereavement care program อีกหลายโปรเเกรมจึงเกิดขึ้นตามมาของทีมนำของเราได้แก่

            1. โครงการภาพประทับใจ

           2. beravement risk assessment 

           3. ไปร่วมงานศพ

          4. เเจกคู่มือปฏิบัติตัวปฏิบัติใจเพื่อรับมือกับความเศร้าโศกจากการสูญเสีย

          5. โครงการรำลึกถึงน้องผู้จากไป memorial service

          6. ติดตามให้การดูแลและให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 1 ปี

           7. โครงการในอนาคตคือ เยี่ยมบ้าน

จบตรงนี้ฉันจึงขอยกกรณีตัวอย่างครอบครัวสูญเสียครอบครัวหนึ่งที่ต้องสูญเสียหลานรักไปด้วยวัยเพียง 9 ขวบ เเละคุณตา suffer ที่สุดเเกร้องไห้คร่ำครวญถึงหลานเเละถ่ายทอดออกมาเป็นบทกลอนที่เรียกว่ากลอนลำ ครอบครัวนี้เราอยากชี้ให้เห็นถึงกระบวนการที่ทีมเราได้เข้าไปให้การช่วยเหลือ bereavement care เราเข้าตั้งเเต่ breaking bad news  เรามอบภาพประทับใจไว้ให้เป็นความทรงจำเเด่ครอบครัว งานศพทีมได้ไปร่วม และ หลังจากนั้นก็ติดตามเขียนจดหมาย ส่งการ์ดเเสดงความเสียใจ ประเมินความสามารถในการปรับตัว ส่งคู่มือดูแลใจ นัดครอบครัวมาทำกลุ่ม  เพื่อนช่วยเพื่อน และติดตามดูแลต่อเนื่องจนกว่าจะครบ 1 ปี  จึงถือเป็นอีกหนึ่ง ความสำเร็จของ  bereavement care ของทีมเรา...................

               ก่อนดูท่านอาจารย์สุรชัยบอกพี่น้อง SHA เตรียมกระดาษทิชชูไว้ให้ดี มองลงไปจากเวทีก็เห็นหลายท่านเตรียมหาจริงๆ สุดท้ายก็เป็นไปตามที่คิด หลายท่านต้องเสียน้ำตาให้กับ เรื่องราวที่ฉันได้เล่าผ่าน slide multivision ขอขอบคุณทีมนำทางคลินิกกุมารเวชกรรม

  1. รศ.อรุณี เจตศรีสุภาพ หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์

  2. รศ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล  ประธานโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย รพ. ศรีนครินท์

  3. รศ.สุรพล   เวียงนนท์  ประธานทีมนำทางคลินิกกุมารเวชกรรม ( Oncologist )

  4. รศ.พัชรี  คำวิลัยศักดิ์ ( Oncologist )

  5. นางสาวชูศรี    คูชัยสิทธิ์  หัวหน้างานบริการพยาบาล

  6. นางสุชีลา   เกษตรเวทิน ผู้ตรวจการเเผนกการพยาบาลกุมารเวชกรรม

  7. นางสาวสุดารัตน์  สุภาพงษ์ หัวหน้าหอผู้ป่วยเด็ก 3ง

  8. นางสาวเกศนี  บุณยวัฒนางกุล  Nurse co-ordinator  โครงการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย

  9. นางไพพร   ศรีประย่า  พยาบาล case manager

  10. นางศิริพร    นานอก     ครูโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตเด็กป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์

  11. นายภูริทัศน์    คู่ชัยภูมิ   นักสังคมสงเคราะห์

น้องเหมียว งานเวชนิทัศน์ ที่กรุณาสร้างสรรค์ multimedia  อุตส่าห์มาทำให้ในวันหยุด  สุดท้ายขอขอบคุณครอบครัวน้องนิ้ง (ครอบครัวเยาะสูงเนิน) ที่เปิดโอกาสให้เราได้ทำสิ่งดีๆเเละร่วมเรียนรู้ไปพร้อมกับครอบครัว

จบเเล้วค่ะ

เจอกันอีกครั้งวันที่ 25 มิ.ย. 52 ที่เชียงใหม่ค่ะ....

          

        

หมายเลขบันทึก: 269542เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

พี่กุ้งจ๋า อิอิ

เดี๋ยวมีคนมาแซว ว่าสั้นอีกนะคะ อิอิ

ถ้าเติมจิตวิญญาณให้ผู้ป่วยได้ มหา ก็ขอเติมให้

สวัสดีครับ กุ้งนาง เป็นจิตรวิญญาณที่ผ่านประสบการณ์ตรงจึงถ่ายทอดออกมาเป็นธรรมชาติ

ขอบคุณทีมชงชา ที่นำทางความคิดในมิติของจิตรวิญญาณครับ

สวัสดีค่ะน้องกุ้ง

สุดยอดเลยค่ะ

วิทยากร สะท้านโลกของแม่ต้อย...

ขอใหโชคดี...ในเส้นทางที่ตั้งใจไว้

 

P พอลล่า วันนี้ไม่มีใครมาเเซว อิอิ บันทึกเสร็จเเล้วเย

เจอกันวันที่ 24 นะจ๊ะที่เชียงใหม่เจ้า

P ขอบคุณลุงมหาที่มาเเวะเยี่ยม

P ใช่แล้วค่ะลุงเวลาที่เราไปพูดที่ไหนหากเราได้ลงมือทำกับมือเรามักจะถ่ายทอดให้ผู้ฟัง ฟังได้ค่อนข้างชัดเจน การที่กุ้งนางได้มีโอกาสได้อยู่ตรงจุดให้การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย  จึงถือว่าเราได้พัฒนาระดับจิตวิญญาณของเราให้สูงขึ้น ไปพร้อมๆกับการดูแลผู้ป่วย มิติจิตวิญญาณเป็นมิติขององค์รวมที่มีความจำเป็น มีความสำคัญ เเละต้องการที่สุดของตัวผู้ป่วยเด็กและครอบครัว ในระยะสุดท้าย เเต่ไม่ใช่ว่ากลุ่มอื่นจะไม่สำคัญสำคัญเหมือนกันเเต่มากที่สุดคือผุ้ป่วยระยะสุดท้าย เราจึงเรียนรู้การดูแลในมิติวิญญาณได้จากบทเรียนที่เราไดให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ค่ะ

P ขอบคุณค่ะพี่เเดง ยังต้องบอกว่าเป็น้องใหม่ไต่ดาวอยู่ เกรงใจเเม่ต้อยและอาจารย์สุรชัย ที่ให้ตำเเหน่งวิทยากรสะท้านโลกนี้มา

เเต่ก็ขอบคุณค่ะ

P

.น.ส. surg BI สวัสดีค่ะ พี nu 19 มข. เหรอคะดีใจที่ได้เจอรุ่นพี่พยาบาลมข.ที่นี่ คงได้เเลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันนะคะ

สวัสดีคะ

แม่ต้อยตั้งใจให้น้องแดงเป็นวิทยากรสะเทือนโลกันต์ อีกคนนะคะ

ดีไหมคะ เพราะว่าน้องแดงมีเรื่องราวดีดี มากมายเช่นกันคะ

พี่เกศก็สุดยอดนะคะเเม่ต้อย กุ้ง พี่เเดง พี่เกศ เราอยู่ในทีมเดียวกันค่ะ

พี่เกศเป็นเหมือนครูคนหนึ่งของกุ้งเลยค่ะเราทำงานประสานกัน พี่เกศเป็น Nurse co- ordinator เก่งทุกอย่างบรรยายทีคนฟังก็น้าตาไหลเช่นกันค่ะ ความสามารถเกินบรรยายค่ะ ถ้าไปทั้งทีม พี่เกศจะชัดเจนและลงลึกมากๆ เรื่อง psychosocial support กุ้งก็จะรับผิดชอบ spiritual care และ bereavement care

ขอบคุณมากคะ

ในความเห็นพี่กุ้ง

แพทย์ควรมีบทบาทอย่างไรใน Bereavement care คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท