สะกิดใจ: แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล


ค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปดูละครเวที แม่นาคพระโขนง เดอะมิวสิคัล ที่เมืองไทยรัชดาลัย เพราะปกติเป็นคนชอบ ความสด ของละครเวที แต่ไม่เคยดูในเมืองไทยเลยสักครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่ดูละครเวทีนอกมหาวิทยาลัยในเมืองไทย เพราะอยากดู แถมเพื่อนเลี้ยงอีกต่างหาก... ข้อหลังถ้าจะสำคัญกว่า

ถ้าไม่นับฉากโปรโมตทั้งหลายที่หาอ่านได้ตามบทความโฆษณาของละครเรื่องนี้แล้ว ผม รู้สึก และ ได้แง่คิด อะไรหลายอย่าง

ภาพจาก website หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/
  • เรามักจะชื่นชมกับผลงานของ นักแสดงที่อยู่แถวหน้า แต่ลืมไปว่า คนที่เก่งและทำงานหนักไม่แพ้กัน คือ ตัวประกอบ และโดยเฉพาะ คนที่อยู่เบื้องหลัง  ผมชอบ ดนตรีและคำร้อง ในละครเรื่องนี้มาก การใช้ถ้อยคำสั้นกระชับ เสียงประสาน อารมณ์ของเพลง จนต้องไปดูชื่อของคนประพันธ์ดนตรีและคำร้อง..สราวุธ เลิศปัญญาวุธ และ วิเชียร ตันติพิมลพันธ์  ส่วนฉากและแสงก็ทำได้ในระดับมาตรฐาน
  • ในละครเรื่องนี้ มีหลักธรรมแทรกอยู่ตลอดเรื่อง ฉากที่สะกดและสะกิดใจผมได้จนจำออกมาจากโรง เป็นฉากเล็กๆกลางๆเรื่องที่ดูไม่ค่อยสำคัญเท่าไร เป็นตอนที่ พระสอนให้ชาวบ้านรู้จักการให้อภัย ด้วยคำพูดคุ้นหูแต่มีพลัง .. อย่าได้จองเวรจองกรรมแก่กันเลย  ไม่รู้เป็นไง ประโยคนี้ มันทำให้ผม..หลุด..ออกนอกเรื่องราวที่อยู่บนเวทีไประยะหนึ่งนานทีเดียว ผมคิดถึงตัวเอง คิดถึงคนไข้ เพื่อน และเหตุการณ์ในบ้านเมืองของเรา เรียกได้ว่า หลุด..ไปไกลเลยทีเดียว
  • ความไม่เที่ยง เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมรู้สึก ทั้งๆที่เรื่องนี้ เรียกได้ว่าสว.แทบทุกคนจะรู้เนื้อเรื่องหมดว่าช่วงไหนแม่นาคจะทำอะไร ช่วงไหนแม่นาคจะยื่นมือยาวๆ  แล้วหนังผีก็ย่อมมีอะไรที่หักมุมให้เรารู้สึกเกินคาดเป็นมุกประจำ แต่ละครเรื่องนี้ทำให้ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเรื่อง และฉาก สนุกอยู่ดีๆกลายเป็นเศร้า ตลกกลายเป็นสยอง อารมณ์ความรู้สึกที่แปรเปลี่ยนฉับพลันตลอดเวลาทั้ง เศร้า โกรธ เกลียด สุข ทั้งของคนแสดงและผู้ดู    แต่ก็แปลก เพื่อนผมที่ไปดูละครด้วยกันคนหนึ่งกลับเก่งขึ้นไปอีกระดับ สามารถตามดูใจของตนเองได้ขนาดบอกว่า ไม่ค่อยรู้สึกอะไรเท่าไร เพื่อนผมคนนี้กำลังจะบรรลุธรรมแล้วครับ..ฮา
  • ความรัก เป็นพื้นฐานของความสุขความทุกข์ของคนเรา รวมทั้ง ผี ด้วย
หมายเลขบันทึก: 269463เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ

มาฟังเรื่องเล่าละครเวทีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อยากดูเหมือนกัน แต่เวลาไม่เอื้อ

เสียดาย เสียดาย เสียดาย

สวัสดีค่ะ

.ละครเวทีเรื่องนี้ให้แง่คิดในเรื่องการยึดมั่นถือมั่น ไม่ปล่อยวาง จึงเกิดเป็นความทุกข์นะคะ

.เข้ามาอ่านเรื่องราวดีๆจากละครค่ะ

P

  • คนไทยมีความสามารถไม่แพ้ใครครับ ถ้าเรามีโอกาสและภาษาอังกฤษเราดีกว่านี้

สวัสดีค่ะ อาจารย์

อากดูค่ะ แต่ไม่มีคนเลี้ยง อิอิ

แหมๆ น่าอิจฉาจัง อยู่กทม.กลับไม่ได้ดู จริงๆ อยากดูโขน แต่ชวนเพื่อนรุ่นเดียวกันไม่มีใครอยากดู เซ็งอารมณ์

  คุณหมอ เขียนว่า....พระสอนให้ชาวบ้านรู้จักการให้อภัย.....คำนี้ พี่ก็ชอบมากค่ะ....แต่จริงๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย...ส่วนใหญ่ ต้องใช้เวลาสักระยะ  พอให้ลืมๆ หรือ อารมณ์เย็นๆ เหมือนไฟที่มอดลงแล้ว...แต่พอให้อภัยได้แล้ว ก็โล่งนะคะ เหมือนเรา ได้ชัยชนะอะไร บางอย่าง คือ ชนะตัวเองค่ะ

2. ธนพันธ์ ชูบุญ

อาจารย์แป๊ะน่าจะพาน้องแป้งไปดู ละครผีอะไรไม่รู้ขำกลิ้ง

3. อุดมพันธ์

  • ครับ อะไรที่มันมากเกินไป ก็ไม่ดีทั้งนั้้น เรื่องนี้ ก็ รักมากไป

5. ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿

น้องพอลล่าคงต้องมาทำงานอยู่ต่างจังหวัด แล้วนานๆเข้ากรุงเทพฯสักทีอย่างผม เพื่อนๆจะได้เห็นใจพาไปเลี้ยง นะครับ

6. Little Jazz

น้องซูซาน คงต้องชวนคนรุ่นแม่ไป หรือไม่ก็..อ้างเด็ก..พาน้องทีมไปดู โอ็ยเด็กเต็มโรงเลยครับ และที่ดีคือ ไม่มีเสียงกวนเลยด้วย

ดู โขนจอเล็ก ไปพลางนะครับ

7. Sasinand

  • ครับพี่ หลวงพี่บอกว่า อภัยทาน ได้ผลกว่าทานอื่น แต่มันยากนะครับ

ไปดูทั้งครอบครัวเลยตั้งแต่รอบแรกๆ เลย ชอบมากๆ เด็กๆ เขาติดใจบอกว่า อยากดูอีก!!!

คิดถึงอาจารย์หมอเต็มค่ะไม่เห็นเเวะไปทักทายกุ้งที่เเท้เเอบไปดูเเม่นาคนี่เอง อยากดูเหมือนกันค่ะเเต่คงต้องรอดู VCD

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท