ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ
ทพญ. ฉลอง ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ เอื้องสุวรรณ

การสื่อสารอย่างสันติ 2


ความต้องการ และความรู้สึก

ครั้งที่แล้ว เราได้พูดถึงการสังเกต ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นของการสื่อสารแบบสันติ ต่อจากนี้เราจะพูดถึง           

   แนวทางการตอบการสื่อสารเมื่อเราได้ยินคำกล่าวที่เป็นลบ

แบบที่ 1   ภาษาหมาป่าหูออก : เป็นภาษาที่กล่าวตำหนิต่อว่าผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกโกรธจะเกิดขึ้นหลังจากได้ยินคำพูด    จึงกล่าวตำหนิ    เช่น โง่, แย่มาก, น่าเบื่อมาก

แบบที่ 2   หมาป่าหูเข้า : เป็นภาษาที่กล่าวตำหนิต่อว่าตัวเอง ซึ่งมักจะทำให้เรารู้สึกผิด อาย และเก็บกดหรือ

           เครียด เช่น ฉันมันแย่, ฉันมันแก่แล้ว, ฉันมันหมดสภาพ

แบบที่ 3  ภาษายีราฟหูออก : เป็นภาษาที่เข้าใจความรู้สึก ความต้องการของผู้อื่น เช่น คุณรู้สึกเหนื่อย คุณ  

           ต้องการพักผ่อนใช่ไหม ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ทำให้เรามีสติอยู่ที่ความรู้สึกความต้องการของผู้อื่น

แบบที่ 4    ภาษายีราฟหูเข้า : เป็นภาษาที่เข้าใจความรู้สึกความต้องการของตนเอง เช่น ฉันรู้สึกเสียใจ, ฉัน

            ต้องการจะทำงานให้ดีกว่านี้   การกล่าวคำพูดนี้จะทำให้เรารู้สึกตัวมีสติอยู่ที่ความรู้สึกของตัวเอง ซึ่งขับมากจากความต้องการลึก ๆ ของเรา

 

    ภาษาหมาป่า  เป็นภาษาแห่งการตำหนิ ต่อว่าทั้งผู้อื่นและตัวเอง เป็นภาษาที่ผู้พูดไม่ได้ระมัดระวัง หรือไม่สามารถมองการณ์ไกลได้ว่า จะทำลายความรู้สึกของผู้ฟังมากน้อยแค่ไหน จึงมักจะทำให้ผู้ฟังมักต่อต้าน ไม่ทำตามอย่างเต็มใจ

                  ภาษายีราฟ  เป็นภาษาที่พูดด้วยหัวใจ มองการณ์ไกล ถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้ฟังหรือผู้พูด จึงสามารถพูดแสดงความเข้าใจต่อผู้อื่นได้

                   ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เกิดจากการใช้ภาษาหมาป่าในการพูด หรือตอบสนองต่อคำกล่าวที่เป็นลบ จึงคิดว่าในทุกสังคม ทุกระดับมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เราจึงปรากฏเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป

                   กิจกรรมฝึกการใช้ภาษา

               เราจะแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 5 คน ให้หนึ่งคนเป็นผู้กล่าวคำพูดที่เป็นลบและให้เพื่อนในกลุ่มโต้ตอบกลับมาทั้งสี่แบบและให้หมุนเวียนกันเป็นหมาป่าหูเข้า-หมาป่าหูออก และยีราฟหูเข้า-ยีราฟหูออก 

               เสียดายว่า เวลามีน้อยจึงไม่ได้ฝึกฝนกันเต็มที่ ก็ได้เพียงรู้แนวทางการใช้ภาษาบ้างเคร่า ๆ ซึ่งคิดว่าน่าจะเพิ่มเวลาให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ฝึกฝนกันมากกว่านี้ เพื่อฝึกความชำนาญในการใช้ภาษา

             ซึ่งพบว่าภาษาที่ฝึกฝนได้ยากคือ ภาษายีราฟ และภาษาที่ทุกคนโปรดปรานอยากจะได้ฟังคือ

ภาษยีราฟหูออก

                  หลายท่านก็บ่นว่าแล้วถึงเวลาจะใช้ภาษาเหล่านี้ จะมีเวลาให้นึกคิดหรือเปล่า หรืออาจจะพูดออกไปซะก่อนที่จะนึกถึงภาษาอย่างนี้ จากประสบการณ์ที่ฝึกฝนมา หนึ่งปีกว่าพบว่า การฝึกเจริญสติ เพื่อให้รู้เท่าทันตัวเอง สามารถทำให้มีการตระหนักตื่นรู้ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ก็จะทำให้ช้าลง และมีเวลาได้ไตร่ตรองคำพูดก่อนที่จะพูดออกไป ก็จะทำให้พูดภาษายีราฟได้มากขึ้น

                 สรุปขั้นตอนของการสื่อสารช่วงนี้ก็คิดว่า เมื่อสังเกตเห็น......เราต้องกลับมาที่ตัวเราก่อน สังเกตตัวเราว่า รู้สึกอย่างไร และเชื่อมโยงกับความต้องการของเรา แล้วจึงค่อย ๆ สื่อสารออกไปอย่างเป็นธรรมชาติ  เช่น รู้สึกโกรธเมื่อเธอทำผิดสัญญา เพราะว่าฉันต้องการจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเราให้ดียิ่งขึ้น

                 ขั้นตอนต่อไปของการสื่อสารคือความรู้สึก 

                  ครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงแนวทางการตอบการสื่อสาร เมื่อมีคำกล่าวที่เป็นลบต่อเรา ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการได้สังเกต ต่อไปคือการเข้าถึงความรู้สึก จึงแสดงถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้ทางกายและใจ อันเนื่องมาจากความต้องการที่ได้รับการตอบสนอง หรือไม่ได้รบการตอบสนอง เช่น

                 ความรู้สึกเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง เช่น ดีใจ ยินดี ร่าเริง สดชื่น เป็นสุข ซาบซึ้ง ภูมิใจ อุ่นใจ  เป็นต้น

                 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง เช่น กลัว เสียใจ ระแวง ตกใจ หนักใจ โกรธ รำคาญ กวนใจ ตกใจ ชิงชัง อิจฉา เป็นต้น

                 ในการสื่อสารอย่างสันติ เราจะระบุถึงความต้องการ ความปรารถนา หรือความคาดหวัง หรือการแสดงคุณค่าของผู้ฟังและผู้พูด ซึ่งไม่ได้รับการเติมเต็ม

                 ถ้าเราสามารถระบุหรือเชื่อมโยงได้ถึงความรู้สึกและความต้องการของเราเองให้ชัดเจน  มันจะง่ายมากในการที่จะตอบสนองออกไปอย่างกรุณา ซึ่งมาจากหัวใจ จะต่างจากกรตอบสนองเมื่อเรารู้สึกผิดที่ทำให้ใครต้องเจ็บปวด แล้วเราคิดที่จะเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อทำให้เขารู้สึกดีขึ้น เพื่อแก้ไขความรู้สึกผิดนั้น

                  ความต้องการนั้นเป็นรากฐานของความรู้สึก 

                 การตำหนิต่อว่า ตัดสินผู้อื่น แสดงถึงความต้องการของเราไม่ได้ตอบสนอง เช่น ถ้าภรรยาพูดต่อว่าสามีว่า คุณทำงานกลับดึกทุกวัน คุณรักงานมากกว่ารักฉัน ซึ่งหมายถึงหล่อนกำลังบอกว่า ความต้องการเรื่องความใกล้ชิด ระหว่างหล่อนกับสามีไม่ได้เติมเต็ม

                  ดังนั้นถ้าเราปรารถนาที่จะได้รับความกรุณาจากผู้อื่น เราต้องยกเลิกคำพูดที่แสดงความต้องการของเราด้วยการตำหนิ ต่อว่า หรือตัดสินผู้อื่น เพราะเมื่อเรากล่าวเช่นนั้นมันจะทำให้เขารู้สึกต่อต้านมากกว่าดังนั้นการหันมาพูดถึงความรู้สึกและความต้องการของตัวเราเองแทน จะง่ายที่จะทำให้เขาตอบสนองเราด้วยการแสดงความกรุณากลับมา

                   ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง สิ่งที่มาร์แชลมักจะถามทั้งสองฝ่ายด้วย 2 คำถาม คือ

                   1.  What is that you are needing ?

             2.  What would you like to request of the other in  relation to these needs ?

             ปัญหาคือว่า แต่ละฝ่ายมักจะพูดว่าผู้อื่นนั้นผิดอย่างไร  มากกว่าการที่จะบอกว่าตัวเองต้องการอะไร แต่เมื่อไรก็ตามที่แต่ละฝ่ายเริ่มพูดถึงความต้องการของตนเองมากกว่าการพูดถึงความผิดของผู้อื่นแล้ว เมื่อนั้นแหละ คือหนทางจะทำให้ความต้องการของทั้งสองได้มาพบกัน และก็จะเกิดสันติภาพขึ้นได้

                     สิ่งที่สำคัญในเรื่องความต้องการคือ ให้เราพยายามระบุความต้องการของเราให้ได้ก่อนเสมอ เพราะเป็นการยากสำหรับผู้อื่นได้เข้าถึงความต้องการของเรา

หมายเลขบันทึก: 268880เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

อบรมแล้วค่ะ "การสื่อสารอย่างสันติ" ที่บ้านเซเวียร์ กรุงเทพฯ ค่ะ ของ ผอ.นริศ มณีขาวค่ะ ช่วงที่อบรมก็เป็นยีราฟนะคะ แต่ไหงกลับมาที่ทำงานเป็นหมาป่าหูออกเหมือนเดิมไม่รู้ อิอิ

ขอบคุณค่ะ

"ขอขอบคุณ" คุณหมอ มากๆ ค่ะ ที่สรุปไว้ละเอียดเลย

citrus เพิ่งไปเรียนกับเสมสิกขาลัย ขั้น 2 เรียน 3 วัน กลับมาคิดว่า ต้องทำสรุปเสียหน่อย จะได้ไปต่อขั้น 3 ได้ เลยท่อง net มาพบกับบันทึก 2 ฉบับนี้ ดีใจมากๆ ค่ะ ที่ได้พบ ช่วยได้มากเลยค่ะ

ขอบคุณมากเลยครับ  ที่ช่วยนำมาขยายความเสรืมเติมเต็ม ผมเองเข้ารับการอบรมมาสองวัน  ยังต้องกลับมาคิดทบทวนอีกมากๆ เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท