ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

สวมบทบาทวาระสุดท้าย


“ทำอย่างไร สังคมไทยจะยอมรับ และพูดเรื่อง การตายดี ได้โดยไม่รู้สึกผิดหรือรู้สึกไม่ดี”

stone in the water

สถานการณ์จำลอง สื่อสารหนังสือแสดงเจตนา

นายแพทย์ชาตรี ให้ทุกกลุ่มช่วยกันลองเขียน

หนังสือแสดงเจตนาจากไปของแต่ละกลุ่มลงบนแผ่นกระดาษ จากนั้นให้เล่นบทบาทสมมติ โดยให้ผู้หนึ่งในแต่ละโต๊ะเป็นเสมือนผู้ป่วยที่ไม่อาจสื่อสารกับใครได้ และสมาชิกอีกคนในโต๊ะนั้นเป็นญาติที่ต้องคอยสื่อสารเจตนาของผู้ป่วยให้แก่ทีมแพทย์พยาบาล

เมื่อเลือกผู้ป่วยและญาติปร
ะจำกลุ่มแล้ว คนที่เหลือให้กระจายกันในนั่งตามโต๊ะต่าง ๆ ในฐานะแพทย์ พยาบาล หรือ ญาติคนอื่น ๆ ที่อาจไม่ได้รับการสื่อสารหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้าเพื่อการตายดีไว้ก่อน

ผู้ที่สวมบทบาทเป็นญาติผู้ป่
วยจากกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า “บางทีในเวลาเช่นนี้ เรารู้สึกเศร้าและแย่อยู่แล้วที่ญาติของเราป่วย ยังต้องมานั่งตอบคำถามมากมาย”

“การที่มีคนมาสอบถามความเห็
น ทวนความเข้าใจต่อหนังสือแสดงเจตนา หรือซักถามให้หายสงสัยเกี่ยวกับเจตนาของผู้ป่วย ทำให้เรารู้สึกแย่มาก”

สำหรับผู้ที่สวมบทเป็นผู้ป่
วยที่ไม่อาจสื่อสารได้ จะเห็นว่ามีอาการกระสับกระส่ายอ ยากพูดอย่างเห็นได้ชัด “รู้สึกว่า ญาติสื่อสารไม่ครบ ไม่หมด ไม่ตรงสักทีเดียว รู้สึกอึดอัดมาก อยากพูด แต่วิทยากรไม่ให้พูด อึดอัดมาก ๆ”

การทดลองบทบาทสมมติสื่อสารห
นังสือแสดงเจตนาเพื่อวาระสุดท้ายทำให้หลายคนเห็นเค้าลางของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ

“นับเป็นภาระหนักพอสมควรสำห
รับญาติที่นอกจากจะต้องแบกรับทุกข์ที่กำลังจะสูญเสียคนที่รัก ยังต้องเผชิญกับคำถามการตัดสินใจเรื่องยาก ๆ อีก” เสียงถอนใจจากผู้เข้าอบรมท่านหนึ่ง

“คนจะฟังญาติเราแค่ไหน” อีกคนที่สวมบทบาทเป็นผู้ป่ว
ยสะท้อนความกังวล

การลองจินตนาการสู่อนาคตที่แ
น่นอน คือ ความตาย แล้วสวมบทบาทบางต่าง ๆ ไม่ว่าผู้ที่กำลังจะจากไป ญาติ แพทย์ พยาบาล ทำให้หลายคนเห็น อุปสรรคในการจากไปอย่างสงบอยู่ตรงจุดใด และในวันนี้ที่ยังพอมีเวลา จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อขจัดหรือลดทอนอุปสรรคดังกล่าว

บ้างบอกว่าจะต้องเขียนหนังสื
อแสดงเจตนาของตนเพื่อวาระสุดท้ายให้ละเอียดขึ้น เพื่อไม่ให้ญาติต้องเผชิญกับภาวะเช่นนี้ และบ้างก็เห็นว่าการบันทึกเสียงอาจช่วยคลี่คลายปัญหาในการสื่อสารและทำความเข้าใจเนื้อความในหนังสือได้

“ทำอย่างไร สังคมไทยจะยอมรับ และพูดเรื่อง การตายดี ได้โดยไม่รู้สึกผิดหรือรู้ส
ึกไม่ดี”

“พอทำหนังสือแสดงเจตนาไว้แล้
ว รู้สึกเบาใจที่ให้คนอื่นรู้ รู้สึกว่าจะมีคนดูแลเราในช่วงชีวิตก่อนตาย” พยาบาลท่านหนึ่งใช้โอกาสนี้ในการร่างหนังสือแสดงเจตนาของตนจริง ๆ ขึ้นมาในช่วงทำกระบวนการ

ในหนังสือแสดงเจตนา (อย่างย่อ) ที่เธอแลกเปลี่ยนให้ผู้เข้า
ร่วมเวทีฟัง มีความว่า

ในหนังสือระบุถึงแพทย์ ว่าอยากให้แพทย์ช่วยรักษา แต่อย่าพันธนาการ อย่าใส่ท่อ แต่ให้ปล่อยกระบวนการตายไปต
ามธรรมชาติ ไม่เอาเครื่องมือแพทย์ แต่ถ้าเจ็บปวดก็ให้ช่วยบรรเทาความปวดกันด้วย

เธอยังระบุถึงพยาบาล ว่าให้ดูแลร่างกายของเธอให้
สะอาด ให้เธอใส่ชุดพยาบาล แขนยาว ถุงน่อง แต่งหน้าพองาม และเปิดเพลงธรรมะหรือเพลงเย็น ๆ ให้เธอฟังด้วย

ส่วนญาติ เธอสั่งไม่ให้ร้องไห้ฟูมฟาย
ให้ทำใจให้สงบ ไม่จัดงานศพหลายวัน และให้ใช้รูปงานศพที่เธอเตรียมไว้ เป็นรูปที่สวยที่สุดของเธอ
หมายเลขบันทึก: 268693เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2009 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบบทบาทสมมุติวิธีนี้มากครับ

จะขออนุญาตเอาไปใช้บ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท