สรุปบทเรียน


ระบบสุขภาพ

สรุปบทเรียน
Health system Management

ระบบสุขภาพแห่งชาติในประเทศต่างๆส่วนใหญ่มีองค์ประกอบ 5 ประกอบ ได้แก่
1. ทรัพยากร (Resource)
2. องค์กร (Organization)
3. การบริหารจัดการ (Management)
4. การสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ( Economic Support)
5. การให้บริการสาธารณสุข ( Delivery of service )
องค์ประกอบต่างๆมีรายละเอียดดังนี้
1.
ทรัพยากร (Resource) ส่วนของการจัดองค์ประกอบทรัพยากรที่สำคัญที่สามารถให้บริการประชาชนได้ ซึ่งประกอบด้วย
 1. บุคลากรสาธารณสุข
 2. สิ่งอำนวยความสะดวกทาวสาธารณสุข
 3. เวชภัณฑ์หรือเครื่องมืออุปกรณ์
 4. องค์ความรู้ด้านสาธารณสุข
2.  องค์กร (Organization) การจัดโครงสร้างขององค์กร ได้แก่ หน่วยงานด้านสาธารณสุขในกระทรวงต่างๆ องค์กรอาสาสมัคร รัฐวิสาหกิจ และ เอกชน
3. การบริหารจัดการ (Management) ซึ่งประกอบไปด้วยหลายๆกระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การบริหาร การสร้างกฎระเบียบ และการออกกฎหมาย
4. การสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ( Economic Support) การดำเนินงานสาธารณสุขต้องอาศัยการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก
4.1 ภาษีรายได้
4.2 การประกันสังคม
4.3 การประกันแบบสมัครใจ
4.4 การบริจาคเพื่อการกุศล
4.5 การสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ
5. การให้บริการสาธารณสุข ( Delivery of service ) แบ่งตามโครงสร้างองค์สาธารณสุข เช่น การบริการขั้นพื้นฐานหรือปฐมภูมิ การบริการขั้นทุติยภูมิ  การบริการขั้นตติยภูมิ และการบริการเฉพาะโรค
การให้บริการทางด้านระบบสาธารณสุข ประเทศต่างๆปฏิบัติแบ่งได้ 4 ระบบด้วยกันคือ
1. ระบบสาธารณสุขแบบมีผู้ประกอบการ หรือ นายทุน เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ระบบสาธารณสุข แบบนี้ทั้งรัฐและเอกชนจ่ายค่าประกันสูงมาก แพทย์ส่วยใหญ่อยู่ในเมืองหลวง และบริการสาธารณสุขไม่ครอบคลุมเขตชนบท
2. ระบบสาธารณสุขแบบรัฐสวัสดิการ รัฐรับผิดชอบระบบสาธารณสุขของประชาชน เช่น ประเทศเยอรมัน การให้บริการสาธารณสุขครอบคลุมประชาชนทุกคนในประเทศ  ซึ่งเป็นแบบอย่างของประเทศอุตสาหกรรม โดย

2.1 รัฐรับผิดชอบดูแลสุขภาพประชาชนทั้งประเทศและดูแลประกันสังคมด้วย โดยงบประมาณส่วนใหญ่มาจากประกันสังคม
2.2 ยาจำหน่ายโดยร้านยาเอกชน และมีกฎหมายควบคุมโดยรัฐ
3. ระบบสาธารณสุขแบบเบ็ดเสร็จ ระบบนี้ 100%ของประชากรในชาติได้รับการดูแลด้านสุขภาพ งบประมาณส่วนใหญ่ได้มาจากภาษี ตัวอย่างเช่น ประเทศสหราชอาณาจักร และศรีลังกาเป็นต้น
4. ระบบสาธารณสุขแบบสังคมนิยม และรวมอำนาจ ระบบสาธารณสุขโดยหลักการมีลักษณะดังนี้
4.1 ทรัพยากรทั้งทางกายภาพและบุคลากรควบคุมโดยรัฐ
4.2 การให้บริการสาธารณสุขได้รับเท่าเทียบกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศโซเวียต รัสเซีย เป็นต้นการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
       สุขภาพหรือสุขภาวะทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญาณ การพัฒนาระบบสุขภาพจึงต้องพัฒนาตั้งแต่กาย จิต สังคม และจิตวิญาณ จะพัฒนาแบบแยกส่วนไม่ได้ เมื่อเราเอาสุขภาพเป็นตัวตั้งในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขไทย ดังนั้นมุมมองหรือทิศทางในการพัฒนาสาธารสุขมูลฐานในประเทศไทยจึงต้องเอาสุขภาพเป็นตัวตั้งในการพัฒนาและการปฏิรูประบบสุขภาพโดยอาจารย์ประเวศ วะสี ได้เสนอทฤษฎี “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ซึ่งได้แก่ พลังทางการเมือง พลังประชาคม และพลังวิชาการ ในการปฏิรูประบบสุขภาพไทย ซึ่ง
1. พลังทางการเมือง แนวคิดทางการเมืองในการปฏิรูประบบสุขภาพเริ่มต้นขึ้นจากคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของวุฒิสภาได้จัดตั้งกลุ่มศึกษาข้อจำกัดของระบบสุขภาพ และได้จัดทำเอกสารเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นนับว่าเป็นการแสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการปฏิรูประบบสุขภาพจากรัฐบาลโดยรัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ(คปรส)ขึ้น
2. พลังประชาคม จำแนกกลุ่มประชาคมที่มีบทบาทในการปฏิรูประบบสุขภาพได้ดังนี้
2.1 กลุ่มสนใจปัญหาสุขภาพสาธารณะ ประชาคมให้ความสนใจในปัญหา กลุ่มสนใจคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นต้น
2.2 กลุ่มอาชีพทางสาธารณสุข เนื่องจากความซับซ้อนของกลุ่มวิชาชีพยังมีอยู่มากจึงทำให้ยังไม่สามารถปรับตัวอยู่ในระดับประชาคมวิชาชีพเช่นกลุ่มแรกได้
2.3 กลุ่มอาชีพและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ
2.4 กลุ่มองค์กรชุมชนและท้องถิ่น
3. พลังวิชาการ มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวระบบสุขภาพเพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการปฏิรูประบบสุขภาพดังนั้นในการขับเคลื่อนดังกล่าวจึงเกิดพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติขึ้น

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 268462เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้ความรู้มากมายเลยครับ ให้กำลังใจครับ แต่ยังไงดูเงื่อนไขด้วยนะครับพี่สาว อาจารย์ให้แค่ 20 บรรทัดตอเรื่องเอง

  • ตามมาเยี่ยมให้กำลังใจครับผม
  • สู้ ๆ นะครับ
  • เพิ่งกลับมาจากการเดินทางล่องใต้ 
  • เดี่ยวจะเขียนสรุปมั่ง ได้ไหม?

ตามเข้ามาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้ด้วยคนครับผม

ขอบคุณที่รักกัน อิอิ

  • เข้ามาติดตามครับ
  • ไม่คิดจะตอบ คห.ใครเลยเหรอครับ
  • หยิ่งจัง (อิๆๆ)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท