ahs
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตัวบ่งชี้เฉพาะ : ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ของคณะสหเวชศาสตร์


ตัวบ่งชี้เฉพาะ   

          เมื่อ  วันที่ 22 – 24 ธันวาคม 2551 บุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้ร่วมกันกำหนดอัตลักษณ์ของคณะ ใน "กิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา"  ณ โบทานิกรีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่           และ ได้ผลสรุปสุดท้ายของอัตลักษณ์ คณะสหเวชศาสตร์ ดังนี้  

"เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสหสาขาวิชา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง"

          และ ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2552  คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้ร่วม "กิจกรรมจัดการความรู้สู่เป้าประสงค์ร่วมในแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวของคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อค้นหาตัวชี้วัดอัตลักษณ์ของคณะสหเวชศาสตร์"  ณ ห้องประชุม 1 อาคารบริหารและบริการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ได้ผลสรุปสุดท้ายของตัวชี้วัดอัตลักษณ์ และเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ 

ระดับความสำเร็จของการพัฒนาวิธีปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กรให้เป็นองค์กรเรียนรู้

ชนิดของตัวบ่งชี้ :  กระบวนการ

เกณฑ์การประเมิน  :

  1. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงด้วยตนเอง และมีแนวทางให้บุคลากรสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของงานได้
  2. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรรู้จักวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดความรู้จากปฏิบัติการที่ดีของผู้อื่น (Team Learning)
  3. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรสามารถคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) มีการใช้ข้อมูลและสถิติเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
  4. คณะมีนวัตกรรมหรือมีการริเริ่มแนวทางใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนหรือลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือพัฒนาคุณภาพของผลงานตามภารกิจอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement)
  5. บุคลากรของคณะสามารถถ่ายทอดหรือเผยแพร่ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกไปเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

  มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก 

  มีการดำเนินการ 3-4 ข้อแรก   มีการดำเนินการครบทุกข้อ

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  คณบดี เบอร์โทรภายใน: 6257 E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: อนุวัทย์  เรืองจันทร์ เบอร์โทรภายใน:  6225 E-mail :  

ruengchan2000@hotmail.com

 

ผลการดำเนินงาน

ระดับ

ผลการดำเนินงาน 

หลักฐาน

1. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงด้วยตนเอง และมีแนวทางให้บุคลากรสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของงานได้

          มีระบบบริหารงานวิจัยที่ชัดเจน ทั้งการสนับสนุนงบประมาณในกองทุนวิจัย  การส่งเสริมศักยภาพการทำงานวิจัย  การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำงานวิจัย  การสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัย  การให้รางวัลจูงใจ ฯลฯ โดยมีคณะกรรมการวิจัยของคณะ ตลอดจนรองคณบดีฝ่ายวิจัยแลประกันคุณภาพ เป็นกลไกขับเคลื่อนบุคลากรทุกระดับและทุกประเภท  ทั้งที่เป็นอาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน และนิสิต ให้  ทำงานวิจัย  เพื่อให้บุคลากรมีการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงด้วยตนเอง 1.  2.  3.  4.  5.   

       

 

 

 

 

 

 

 

 

          พร้อมกันนี้  คณะฯ จะคอยกระตุ้นให้การทำงานต่างๆ ของบุคลากร ทั้งที่เป็นงานเฉพาะบุคคล งานประจำ หรือ งานโครงการ /กิจกรรม ใช้ AAR : After Action Review   เป็นเครื่องมือทบทวนผลงาน  คิดหาทางแก้ไขข้อบกพร่องของงาน เพื่อพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง 6.  7.  8.  9.

1. ระบบบริหารงานวิจัยของคณะสหเวชศาสตร์

2. บันทึกบน Blog ของ รศ.มาลินี  ธนารุณ เรื่อง การสร้างบรรยากาศการวิจัย

3. บันทึกบน Blog ของอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของคณะสหเวชศาสตร์

4. บันทึกบน Blog ของอาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง เรื่องแผนพัฒนางานวิจัยสถาบัน

5. บันทึกบน Blog ของคุณสิริภัสณ์ ศิระนุภาพ เรื่อง การนำเสนอผลงานวิจัยต่อยอดที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ 

 

6. บันทึกบน Blog ของ รศ.มาลินี  ธนารุณ เรื่อง ดอกไม้รายทางบนถนนสาย KM สหเวชฯ 


7. ตัวอย่างรายงาน AAR ประเมินผลการจัดโครงการ/กิจกรรม ที่นำเข้าพิจารณา ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะทุกเดือน

8. บันทึกบน Blog ของคุณนันทิดา ทัพเกษม  เรื่องโครงการพัฒนาเทคนิคการให้คำปรึกษา ฯ (Counseling)

9. บันทึกบน Blog ของคุณขวัญเรือน  ศรีดี  เรื่อง AAR: ประชุมสัมมนาวิชากร " การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายค่าตอบแทนในการสอน"

2. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรรู้จักวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดความรู้จากปฏิบัติการที่ดีของผู้อื่น (Team Learning)

          มีระบบพัฒนาบุคลากรในทุกๆ ด้าน เป็นประจำ โดยกลไกที่ช่วยให้บุคลากรรู้จักวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดความรู้จากปฏิบัติการที่ดีของผู้อื่น คือ การเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) หรือ เพื่อนช่วยเพื่เอน (Peer Assist) ในโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  เพื่อให้บุคลากรรู้จักวิธีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดความรู้โดยวิธีลัด ไม่ต้องเริ่มต้นคิดเองใหม่  เช่น 

  • โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดูงานสำนักงานที่มีปฏิบัติการเป็นเลิศ 10.
  • กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับคณาจารย์ : เยี่ยมชม อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย 11.

10.  บันทึกบน Blog ของคุณอนุวัทย์ เรื่อง ลปรร.ดูงานสำนักงานเลขานุการ

11.  บันทึกบน Blog ของคุณสิริภัสน์ ศิระนุภาพ เรื่องกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยสำหรับคณาจารย์ ประจำปีงบประมาณ 2552 (ศึกษาดูงาน ณ สวทช)

3. คณะมีระบบและกลไกที่ช่วยให้บุคลากรสามารถคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) มีการใช้ข้อมูลและสถิติเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

          มีระบบจัดสรรงบประมาณรายได้ประจำปี  เพื่อส่งเสริมศักยภาพการวิจัยของบุคลากรทุกระดับ โดยใช้คณะกรรมการวิจัยของคณะเป็นกลไกดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยสร้างเสรืมความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานวิจัยอย่างถูกต้อง  เป็นการช่วยให้บุคลากรสามารถคิดอย่างเป็นระบบ เช่น

  • โครงการอบรมสถิติ SPSS แก่บุคลากรสายสนับสนุน 12. 
  • กิจกรรม journal club สำหรับคณาจารย์  13.1  13.2   13.3   13.4   13.5 

           

     

     

     

     

     

     

              นอกจากนี้ คณะฯ ยังใช้กลยุทธ์ ประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุนผ่านการบันทึกบน Blog และการทำ Sar on Blog  เป็นการกระตุ้นให้บุคลากรบันทึกผลงานของตนอย่างสม่ำเสมอ  ฝึกทักษะการเขียน การเรียบเรียงความคิด และการสื่อสารด้วยภาษาเขียนของบุคลากร ที่ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจได้  นั่นคือช่วยกระตุ้นความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบนั่นเอง 14.  15.  16.  17.  18.  19.  20.  21.  22.  23.  24.  25.  26.  27.  28.  29.  30.  31. 

12.  บันทึกบน Blog ของคุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์ เรื่อง อบรม spss

บันทึกบน Blog ของคุณสิริภัสณ์ ศิระนุภาพ เกี่ยวกับกิจกรรม Journal club ตลอดปีการศึกษา 2551

13.1 กิจกรรม Jounal Club ครั้งที่ 6/2551

13.2 กิจกรรม Jornal Club ครั้งที่ 1/2552

13.3 กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 2/2552

13.4  กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 3/2552

13.5 กิจกรรม Journal Club ครั้งที่ 4/2552

Blog ของบุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ ที่บันทึกเป็นประจำสม่ำเสมอ
14.  สำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ บอย สหเวช 
15.  งานบุคคลสหเวชศาสตร์ นิตา 
16. 
กิจการนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ นางสาว นันทิดา ทัพเกษม
17. 
งานกิจการนิสิต นางสาว นารีรัตน์ เหลี่ยมจุ้ย
18.  
งานธุรการ นายชรินทร์ รินทร์ ร่วมชาติ
19. 
ผู้หญิงคนหนึ่งกับตัวเลข -> AHs <-   ~ กมลพร ~ 
20. 
บัญชีสหเวชฯ นาย สำเริง ฟากฟื้น
21.  
พัสดุมน.-สหเวช2  นาง ขวัญเรือน ศรีดี
22.  
พัสดุมน.-สหเวช 1 นาง ดาวรุ่ง จันทร์เปรม
23. 
วิชาการสหเวช บุตระ
24.  
งานวิจัย คณะสหเวชศาสตร์   น.ส. สิริภัสณ์ ศิระนุภาพ
25.  
งานนโยบายและแผน สหเวชศาสตร์  darunee
26.  
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์คณะสหเวชศาสตร์  นาย สมภพ อังศุเกษตร
27.  
ประกันคุณภาพ นายวายุส์ แก้วฉิม
28.  AHS "Mobile Unit"  นางสาว สุวดี มีมาก 
29.  บันทึกงานวิจัยและประกันคุณภาพ-สหเวช-ม.นเรศวร  นางสาว ศุภวิทู สุขเพ็ง
30.  CVT-suwannat  ms สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์
31.  ธนารุณ บอก...Dhanarun's Blog  dhanarun 

4. คณะมีนวัตกรรมหรือมีการริเริ่มแนวทางใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนหรือลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือพัฒนาคุณภาพของผลงานตามภารกิจอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement)

          มีนวัตกรรมหรือมีการริเริ่มแนวทางใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และพัฒนาคุณภาพของผลงาน เช่น การประยุกต์โปรแกรมสำนักงานอัตโนมัติบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท E-Office ให้ใช้กับงานด้านอื่นๆ ได้อีก อาทิ

  • บริหารงานบุคคล 
  • การประชาสัมพันธ์ 
  • การยืมคืนวัสดุ ครุภัณฑ์ โสตทัศนูปกรณ์  ห้องเรียน ห้องประชุม ต่างๆ ได้ด้วย  32.

เป็นการประหยัดเวลา และกระดาษ ในการสื่อสารได้อย่างมาก 

          การประยุกต์ใช้ Blog Gotoknow สาธารณะ  เพื่อการทำ E-sar ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใช้เอง  33.

          การประยุกต์ใช้ Blog Gotoknow สาธารณะ  เพื่อการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนโดยอ้อม จากการอ่านบันทึกที่บุคลากรเขียนเป็นประจำ แทนการทำ Portfolio ที่มักไม่มีรายละเอียด และไม่เป็นปัจจุบัน  34.        

 

 

32. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ด้านต่างๆ โดยใช้ โปรแกรม e-office

 

33.   Planet รวม Blog AHS_SAR on Blog

34.  Planet รวม Blog AHS : Allied Health Sciences 

 

 

5. บุคลากรของคณะสามารถถ่ายทอดหรือเผยแพร่ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกไปเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          บุคลากรของคณะสามารถถ่ายทอดหรือเผยแพร่ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ออกไปเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย

  • ในเวทีเสมือน ที่สื่อสารด้วยระบบอินเตอร์เน็ท  บุคลากรสามารถเผยแพร่ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) ของตนเอง ออกไปเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) แก่บุคคลทั่วไปได้อย่างไร้ขีดจำกัดของระยะทาง สถานที่ และเวลา  ด้วยการเขียน Blog
  • ในเวทีจริง คณะฯ สนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนและผู้บริหาร  ถ่ายทอดความรู้จากการปฏิบัติงานของตน ด้วยการนำเสนอ หรือสาธิต วิธีทำงาน วิธีบริหารงาน แก่ผู้มาเยี่ยมชมคณะด้วยตนเอง เป็นประจำ   35.
  • บุคลากรของคณะ ทั้งที่เป็นอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรภายนอก เพื่อเผยแพร่ความรู้เป็นจำนวนมาก
  • มีหน่วยงานจากภายนอก มาขอศึกษาดูงานที่คณะสหเวชศาสตร์เป็นจำนวนมาก

35.  บันทึกบน Blog ของ รศ.มาลินี  ธนารุณ  เรื่องเรื่องเล่าดีดีวันละเรื่อง: ดูงาน "ขนมสอดไส้"

 

คะแนนการประเมินปีที่แล้ว คะแนนการประเมินครั้งนี้ คะแนนการประเมินปีต่อไป
   

การบรรลุเป้าหมาย  (1 = บรรลุ , 0 = ไม่บรรลุ)    
การมีพัฒนาการ     (1 = มี , 0 = ไม่มี)

การบรรลุเป้าหมาย :

         
พัฒนาการ     

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป

  • ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยรวมรวมความรู้จากการปฏิบัติงานของบุคลากร ในคณะสหเวชศาสตร์ อย่างเป็นระบบ เป็นคลังความรู้ที่นำกลับไปใช้งานใหม่ได้ หรือต่อยอดความรู้เดิมได้

หมายเลขบันทึก: 268049เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท