เดิมเรียก "ห้องสมุด" แต่ปัจจุบันเรียก "ศูนย์วิทยบริการ" ... ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น..ขอความคิดเห็นหน่อยครับ ?


 

 

ปฐมเหตุของคำถามนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (6 มิ.ย.52) เดินทางไปต่างอำเภอเพื่อไปสอนนักศึกษาภาคพิเศษของมหาวิทยาลัยท้องถิ่นจากเชียงราย ระหว่างการนั่งพักอยู่ในห้องพักอาจารย์ ก็เหลือบไปเห็นป้ายของห้องสมุด ใช้ชื่อว่า "ศูนย์วิทยบริการ"

นึกในใจว่า ขนาดโรงเรียนประจำอำเภอที่มีขนาดใหญ่ยังเลือกใช้คำว่า "วิทยบริการ" แทน "ห้องสมุด" เลย นับประสาอะไรกับที่มหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่ผมทำงานอยู่ ก็เลือกใช้คำนี้อยู่เช่นกัน

ทำให้เกิดความสงสัยในใจว่า ทำไมต้องเปลี่ยนจากเรียก "ห้องสมุด" เป็น "ศูนย์วิทยบริการ" ?

เข้าใจว่า การที่ห้องสมุดมีแหล่งการค้นคว้าสมัยใหม่อยู่ มี Living Library ห้องสมุดมีชีวิต มีการสืบค้นหนังสือจากฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ทำให้บทบาทของห้องสมุดไม่ได้ดูแลเฉพาะหนังสือเพียงอย่างเดียว

แต่เรียก "ห้องสมุด" เหมือนเดิมไม่ได้หรือ ... เพียงแค่คือ สถานที่เดียวกัน แต่เปลี่ยนบทบาท จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อให้ดูทันสมัยและใช้คำใหม่ไปเลยหรือ ???

แล้วหัวใจของชาวบ้านร้านถิ่น ผมว่า เค้าก็เรียก "ห้องสมุด" นั่นแหละ เพราะความหมายคำว่า "ห้องสมุด" ของเขา ก็คือ "ศูนย์วิทยบริการ" ของนักวิชาการในปัจจุบัน

หรูเลิศอลังการ แต่รากเหง้าก็เหมือนเดิม

มีความคิดเห็นอย่างไรก็บ้างครับ ... ขอเสียงหน่อย :)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

หมายเลขบันทึก: 267118เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2009 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วมีความรู้สึกว่าเจ็บๆคันๆ....

ที่มข.ก็เป็นสำนักวิทยาการ....คงทำให้ดูดีมั้งคะ...

ทันสมัย....แต่ชอบแบบเดิม...ไปห้องสมุดกัน....

ผมคิดว่า ผู้บริหารต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง

คำเรียกก็เพื่อสะท้อนให้เห็นภาระกิจใหม่ ๆ ที่ต้องผลักดันและรับผิดชอบ

ห้องสมุด ผมคิดว่าจะเน้นมีหนังสือให้อ่าน แบบเรียง่าย

ศูนย์วิทยาบริการ ผมคิดว่าจะเน้น การบริการ เชิงรุก คือ ทำไงให้คนเข้ามาอ่าน

เข้ามาใช้ เข้ามาสร้างความรู้ (วิทยา)เป็นของตัวเอง ไงครับ

เหมือนการเปลี่ยนชื่อจาก วิยลัยครู... เป็น สถาบันราชภัฏ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ฉันใดก็ฉันนั้นครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

จะเรียกอะไร สวยหรูมากน้อยเพียงไหน ก็คือสิ่งเดิมค่ะ

แต่สิ่งที่ตามมาคือเมื่อเปลี่ยนชื่อให้สวยหรูแล้ว สิ่งที่อยู่ภายในต้องสวยหรูด้วย ต้องมีคุณค่าทัดเทียมกันค่ะ ไม่ใช่สวยแต่ชื่อภายในยังเท่าเดิม เดินเข้าห้องสมุดที่เปลี่ยนชื่อใหม่แล้ว แต่ยังได้ข้อมูลเมื่อ 30 ปีที่แล้ว อย่างนี้เปลี่ยนชื่อไม่มีประโยชน์ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เป็นแฟชั่น ทันสมัยมั้งคะ

แหม...ที ห้องสมุด ทำไมแต่ก่อนไม่เรียก ห้องหนังสือ ไปที่ไหนๆ ก็เห็นมีแต่หนังสือ ไม่มีสมุดสักหน่อย คำถามคันๆ ดีค่ะ

อันที่จริงถ้าอาจารย์เดินเข้าไปในห้องเล็กๆ ห้องนี้ อาจจะเหมือนหลุดเข้าไปอีกโลกหนึ่งก็ได้นะคะ ไม่มีหนังสือมากมาย หรืออนาคตไม่มีเลย...  แค่ชุดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารทันสมัย ก็อาจจะเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ กว้างใหญ่โดยคาดไม่ถึงก็ได้...^^

มีใครหลายคนอยากพบคนรักแมวค่ะ แต่แห้วววว

ศูนย์วิทยบริการ

เพื่อให้ดูใหญ่โตและน่าเกรงขามครับ

  • แบบเดิมดูอบอุ่นกว่าครับ
  • แบบใหม่..งง ๆ หมายถึงอะไร..

สวัสดีค่ะอาจารย์

ถ้าเป็นความเห็นของเดือนนะ..(เดือนไม่ได้เป็นครูหรือผู้รู้ เป็นพนักงานบริษัทที่เคยอยู่กับปู่-ย่า)

เดือนว่าห้องสมุดน่าจะเป็นคำโบราณ เพราะสังเกตว่าคนที่อายุ 30 Up น่ะ จะเรียกสมุดและหนังสือรวมๆ กันว่าสมุด ห้องสมุดก็เป็นห้องที่เก็บรวบรวมหนังสือไว้ให้เราอ่าน แต่ไม่ยักจะมีสมุด เค้าคงเปลี่ยนเพื่อให้ชื่อดูทันสมัยขึ้นมั๊งคะ

มาเรียนรู้ค่ะ

เรื่องง่าย...ชอบทำให้เป็นเรื่องยากค่ะ

ขอบคุณครับ พี่ แดง ... แอบเขียนบันทึกที่สงสัยเฉย ๆ ครับ อิ อิ ;)

ขอบคุณมากครับ คุณ หนุ่มลุ่มน้ำปิง สำหรับความคิดเห็นที่ได้แสดงไว้ ;)

เน้น "ประโยชน์" ใช่ไหมครับ น้อง สี่ซี่ ;)

ขอบคุณมากครับ

แล้วคนทำงานในห้องสมุดก็มา อิ อิ

ขอบคุณครับ พี่หม่อม ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี ;)

เออว่าแต่ ... "คนรักแมว" อะไรเหรอครับ ???

เหตุผลสั้น ๆ แต่หนักแน่นครับ ท่านรอง small man ;)

ขอบคุณครับ

ใช่ครับ ท่าน เกษตร(อยู่)จังหวัด ;) ... ต่างวิชาชีพก็ย่อมงง ๆ ครับ

ขอบคุณครับผม

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณ เดือนอ้วน มาก ๆ ครับ

โอกาสหน้าแวะมาอีกนะครับ ;)

ด้วยความอลังการน่ะครับ คุณ ครูอรวรรณ ;)

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ที่มหาวิทยาลัยเทียนน้อยก็เปลี่ยนมาใช้คำนี้เหมือนกันค่ะ

แต่พวกเราก็ยังคงชอบเรียกและชอบใช้ว่า ห้องสมุดคณะ

กับห้องสมุดใหญ่ หรือหอกลาง หรือห้องสมุดกลาง นะคะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

  • เดิมที่เรียกว่า "ห้องสมุด" เกิดจาก แต่เดิมเรายังไม่มีการจัดพิมพ์หนังสือ
  • เมื่อต้องการความรู้อะไร ก็ต้องทำการคัดลอกความรู้ลงสมุด
    (ในอดีต เราจึงมีคนทำหน้าที่เป็น "เสมียน" เอาไว้คัดลอกความรู้ต่างๆ)
  • แล้วจึงรวบรวมสมุดที่คัดลอกความรู้ต่างๆ แล้วเก็บไว้
  • เพื่อสืบทอด และส่งต่อความรู้ไปยังคนอื่นๆ
  • ดังนั้น ในอดีต เราจึงไม่มีห้องหนังสือ มีแต่ห้องสมุด
  • แต่จะว่าไป  ชื่อนั้นสำคัญไฉน  หากห้องสมุด หรือศูนย์วิทยบริการ
    ไม่ได้ทำหน้าที่ของตนให้สมตามเจตจำนง
  • เพราะห้องสมุด หรือศูนย์ฯ ดังกล่าว ก็ทำหน้าที่เพียงเป็นที่เก็บเอกสาร
    หรือหนังสือเก่าๆ โดยไม่ใส่ใจว่าควรจะมีความรู้อะไรบ้าง
    ความรู้เปลี่ยนแปลงไปถึงไหนๆ แล้ว
  • อย่างนั้นจะเรียกว่า "ห้องสมุดที่ตายแล้ว" ฉันใดก็ฉันนั้น

มาแลกเปลี่ยนค่ะ.

ขอบคุณเรื่องเล่าของน้องคุณครู เทียนน้อย ครับ ;)

สวัสดีครับ อาจารย์ pis.ratana ;)

เรื่องราวแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์ ทำให้บันทึกสมบูรณ์ขึ้นครับ

"ชื่อนั้นสำคัญ...สำหรับคนหลายคน" ไงครับ ... ภาพที่ออกมาจึงเป็นเช่นที่เห็น ;)

ขอบคุณครับ ;)

  • เป็นการปรับตัวไม่ให้สูญพันธุ์แบบไดโนเสาร์ค่ะ
  • ใครๆ ก็ชอบบอกว่าห้องสมุดคร่ำครึ โบราณ แม้จะบอกว่า ห้องสมุดและบรรณารักษ์ เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่นำไอทีมาใช้กับงาน และต้องปรับตัวตามอย่างมากแต่ก็ยังลบภาพโบราณไม่ได้ เลยต้องฉาบทาด้วยคำหรูๆ เพื่อให้คนได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ในห้องสมุด ไม่อย่างนั้นอคติในใจจะยังทำให้คนเข้าใจว่า เข้าห้องสมุดคือการเดินเข้าโบราณสถาน อคตินี้เป็นอุปสรรคอย่างแรงต่อการเรียนรู้ของคนในสังคมเราค่ะ
  • โปรดใช้วิจารณญาน ความเห็นส่วนบุคคลค่ะ

รับทราบความคิดเห็นนี้เลยครับ คุณ Wanpen ;)

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท