แนวทางการปฏิบัติ ทะเบียนมูลนิธิ


แนวทางการปฏิบัติ ทะเบียนมูลนิธิ

แนวทางการปฏิบัติ ทะเบียนมูลนิธิ 

          ความหมาย มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศล สาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น โดยมิได้มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บ.ป.พ.มาตรา 110)

 

แนวทางในการปฏิบัติงานหรือดำเนินงาน

          ต้องมีบุคคล หรือคณะบุคคลตกลงยกทรัพย์สินของตนเองให้เป็นกองทุนมูลนิธิ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินเป็นกองทุน ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ถ้ามีทรัพย์สินอย่างอื่น จะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอย่างอื่นแล้ว ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) แต่ถ้าหากมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสังคมสงเคราะห์ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อบำบัดรักษา ค้นคว้าป้องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยหน่วยงานของรัฐก็ให้ได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็นกองทุนมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ถ้ามีทรัพย์สินอย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอย่างอื่นแล้ว ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน)

 

การขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอตามแบบ ม.น.1 พร้อมด้วยหลักฐานจำนวน 3 ชุด ดังนี้

          1) รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ

          2) รายชื่อ ที่อยู่ อาชีพ ของผู้จะเป็นกรรมการทุกคน

          3) ข้อบังคับของมูลนิธิ

          4) คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1) ที่มีผลตามกฎหมาย

          5) สำเนาพินัยกรรม (กรณีตั้งโดยพินัยกรรม)

          6) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วนราชการออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

          7) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งของมูลนิธิ

          8) หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่

          9) สำเนารายงานการประชุม (ถ้ามี)

 

          โดยให้ยื่นที่ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ หรือสำนักงานเขต ซึ่งสำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งอยู่ในท้องที่นั้นแล้วแต่กรณี และเมื่ออำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต รับเรื่องแล้ว ให้ตรวจสอบหลักฐานและคุณสมบัติผู้จะเป็นกรรมการ แล้วเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน โดยส่งเรื่องไปจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เมื่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ตรวจดูแล้ว หากเห็นว่ามูลนิธิมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ให้ส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พิจารณาอนุญาตก่อน แล้วจึงเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด (กรณีมูลนิธิตั้งในเขตจังหวัด) ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัด หรือเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทย (กรณีมูลนิธิตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร) ในฐานะนายทะเบียนมูลนิธิกรุงเทพมหานคร พิจารณาอนุญาต โดยจะออกใบสำคัญ (มน.3) พร้อมเก็บค่าธรรมเนียม และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา แล้วสำเนาเรื่อง 1 ชุด รายงานให้กระทรวงมหาดไทย

 

          การขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือเปลี่ยนแปลงกรรมการมูลนิธิ ให้ยื่นคำขอตามแบบ มน.2 พร้อมด้วยหลักฐาน 3 ชุด ดังนี้

 

          1) บันทึกการประชุมให้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือให้เปลี่ยนแปลงกรรมการ

          2) บัญชีรายชื่อกรรมการชุดเดิม

          3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการใหม่

          4) สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ

          5) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

 

          อำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือเขต ตรวจสอบหลักฐานเห็นว่าถูกต้องให้เสนอนายทะเบียนพิจารณาอนุญาต โดยออกใบสำคัญตามแบบ มน.4 เก็บค่าธรรมเนียมแล้วสำเนาเรื่อง 1 ชุด รายงานให้กระทรวงมหาดไทย

 

          การขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ให้ยื่นคำขอตามแบบ มน.2 พร้อมด้วยหลักฐาน 3 ชุด ดังนี้

          1) สำเนารายงานการประชุม

          2) สำเนาข้อบังคับฉบับใหม่

          3) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้ง พร้อมหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่กรณีเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง

 

ขั้นตอนปฏิบัติเช่นเดียวกับการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ

 

          ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ให้มูลนิธิรายงานผลการดำเนินงานต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งหลักฐานดังนี้

          1) รายงานการดำเนินการของมูลนิธิในปีที่ผ่านมา

          2) บัญชีรายได้รายจ่าย และสำเนางบดุลของมูลนิธิในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับอรงความถูกต้องแล้ว

          3) สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมการของมูลนิธิทุกครั้งในปีที่ผ่านมา

 

ที่มา    http://www.phrae.go.th/dopaphrae/page13.htm

 

 

 

 

 

 

 

ทะเบียนมูลนิธิ

คำแนะนำการขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิเป็นนิติบุคคล

ที่มา  http://www.dopa.go.th/callcenter1548/monti.htm

1. กฏกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการทะเบียนมูลนิธิ 2545

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 136 (1)(4) และ(5) แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ อันเป็นกฏหมาย

ที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 45 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำ ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฏหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฏกระทรวงไว้ ดัง ต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิก
(1) กฏกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 97 แห่งประมวล กฏหมายแพ่งและพาณิชย์
(2) กฏกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2503) ออกตามความในมาตรา 97 แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์
(3) กฏกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2526) ออกตามความในประมวล กฏหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อ 2 ในกฏกระทรวงนี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการหรือข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายเป็นหนังสือให้ดำเนินการเกี่ยวกับมูลนิธิ "ที่ ว่าการอำเภอ ให้หมายความรวมถึง ที่ว่าการกิ่งอำเภอ

หมวด1 การยื่นคำขอจดทะเบียน

ข้อ 3 ให้ผู้ที่ประสงค์จะขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ตามแบบ ม.น.1 ท้ายกฏกระทรวง นี้ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะจัดตั้งขึ้นโดย ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานเขต ส่วนในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ พร้อมทั้งหลัก ฐานดังต่อไปนี้ จำนวนสามชุด
(1) รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับ มูลนิธิ
(2) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
(3) ข้อบังคับของมูลนิธิ
(4) คำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1)ที่มี ผลตามกฏหมาย
(5) สำเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือการจัดสรร ทรัพย์สินสำหรับมูลนิธิตาม(1)เกิดขึ้นโดยผล ของพินัยกรรมนั้น
(6) สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วน ราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม(1) และ(2) หรือ หลักฐานอื่นที่สามารถแสดงสถานภาพของบุคลและ ถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐาน ตามที่กำหนด เช่นคนต่างด้าวหรือพระภิกษุ
(7) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงาน สาขาทั้งปวง (ถ้ามี)
(8) หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตาม (7)
(9) สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ (ถ้ามี)

ข้อ 4 มูลนิธิที่จะได้รับการจดทะเบียนจะต้องเป็นมูลนิธิที่มีการใช้ชื่อมูลนิธิ ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) ชื่อมูลนิธิต้องเป็นภาษาไทยที่ไม่มีความหมายหยาบคาย แต่ในกรณีที่ มูลนิธิประสงค์จะใช้ชื่อเป็นภาษาต่างประเทศ ทั้งหมดหรือบางส่วนให้เขียนทับศัพท์เป็นอักษรไทยและอาจกำกับภาษา ต่างประเทศนั้นไว้ด้วยก็ได้
(2) ในกรณีที่ใช้ชื่อบุคคลเป็นชื่อมูลนิธิหรือประกอบกับชื่อมูลนิธิ ผู้ขอจัด ตั้งมูลนิธิต้องยื่นหลักฐานดังต่อไปนี้ มาพร้อมกับคำขอจดทะเบียนตามข้อ 3 ด้วย (ก) หนังสืออนุญาตให้ใช้ชื่อจากเจ้าของพระนาม เจ้าของชื่อ หรือทายาท (ข) หนังสืออนุญาตจากสำนักราชเลขาธิการในกรณีที่ใช้พระนามพระ มหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระเจ้า วรวงศ์เธอขึ้นไป
(3) ในกรณีที่ใช้ชื่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ นิติบุคคลใดเป็นชื่อมูลนิธิหรือประกอบมูลนิธิ ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต้องยื่นหนังสืออนุญาตให้ใช้ชื่อจากหน่วยงานหรือ นิติบุคคลนั้น ๆ มาพร้อมกับคำขอจดทะเบียน ตามข้อ 3 ด้วย

ข้อ 5 ข้อบังคับของมูลนิธิซึ่งผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นมาพร้อมกับคำขอจด ทะเบียนตามข้อ 3 จะต้องมีรายละเอียด เกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิและการจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิดัง ต่อไปนี้
(ก) อำนาจของคณะกรรมการของมูลนิธิในการใช้จ่ายทรัพย์สินที่เป็นทุน หรือดอกผลอันเกิดจากทุน
(ข) การเก็บรักษาทรัพย์สินของมูลนิธิที่เป็นทุนหรือดอกผลอันเกิดจากทุน

ข้อ 6 ในกรณีที่มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วประสงค์จะแต่งตั้งกรรมการ ของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลง กรรมการของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ท้ายกฏกระทรวง นี้ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้จำนวน สาม ชุด
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะ กรรมการของมูลนิธิที่ให้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ทั้งชุดหรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
(2) สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการของมูลนิธิชุดเดิม
(3) รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้ที่จะเป็นกรรมการของมูลนิธิที่ขอแต่งตั้ง ขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือที่ขอเปลี่ยนแปลง
(4) สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิ
(5) สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ส่วน ราชการหน่วยงานของรับ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้ และสำเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของกรรมการมูลนิธิที่จะต้องแต่งตั้งขึ้น ใหม่ตาม (3) หรือหลักฐานอื่นที่สามารถ แสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นที่อยู่ในทำนองเดียวกันในกรณีที่ บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีหลักฐานตามที่กำหนด เช่นคนต่างด้าวหรือพระภิกษุ

ข้อ 7 ในกรณีที่มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนฟว้แล้วประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับของมูลนิธิ ให้มูลนิธิยื่นคำขอตามแบบ ม.น.2 ท้ายกฏกระทรวงนี้ต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ ของมูลนิธิตั้งอยู่พร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ จำนวน สาม ชุด
(1) สำเนารายงานการประชุมหรือเอกสารอื่นที่แสดงถึงมติของคณะ กรรมการของมูลนิธิให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังคับของมูลนิธิ
(2) สำเนาข้อบังคับของมูลนิธิในปัจจุบันและข้อบังคับของมูลนิธิในส่วนที่ ประสงค์จะขอแก้ไขเพิ่มเติม
(3) แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขาแห่ง ใหม่ของมูลนิธิ และหนังสืออนุญาตจาก เจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ดังกล่าวในกรณีที่มีการเปลี่ยน แปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสำนักงานสาขา หรือมีการตั้งสำนักงานสาขาแห่งใหม่

หมวด2 การรับจดทะเบียนและการทะเบียนมูลนิธิ

ข้อ 8 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนจากผู้ขอจดทะเบียน แล้ว ให้ตรวจสอบคำขอและหลักฐานต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ แล้วจึงเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน ในกรณีที่เป็นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ สอบชื่อของมูลนิธิดังกล่าวว่าซ้ำกับชื่อ ของมูลนิธิที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ ก่อนเสนอความเห็นต่อนาย ทะเบียน

ข้อ 9 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามข้อ 8 แล้ว หากนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิตามคำขอจัดตั้งมูลนิธิตามคำขอจัดตั้งมูลนิธิตาม ข้อ 3 หรือตามคำขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ มูลนิธิตามข้อ 7 มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับงานของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งต้องอยู่ในความควบคุมของสภาวัฒนธรรม แห่งชาติ ให้นายทะเบียนส่งคำขอจดทะเบียนดังกล่าวไปให้สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติพิจารณาอนุญาต ตามกฏหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อนที่นายทะเบียนจะดำเนิน การพิจารณารับจดทะเบียนต่อไป

ข้อ 10 ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้ด้วยเหตุ ตามมาตรา 115 วรรคสาม ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียน เป็นหนังสือให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยมิชักช้า ซึ่งตามปกติให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ ขอจดทะเบียนมารับหนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าว จากนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง

ข้อ 11 ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อ
(1) เห็นว่ารับจดทะเบียนได้ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่า ด้วยมูลนิธิ
(2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ให้รับจด ทะเบียนตามมาตรา 115 วรรคห้า หรือ
(3) มีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้รับจดทะเบียน

ข้อ 12 เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียน ให้นายทะเบียนออกใบสำคัญ แสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิตามแบบ ม.น.3 ท้ายกฏกระทรวงนี้ หรืออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนแต่งตั้ง กรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุดหรือการเปลี่ยน แปลงกรรมการของมูลนิธิหรือการแก้ไขเพิ่มเติม ข้อบังบคับของมูลนิธิ ตามแบบ ม.น.4 ท้ายกฏกระทรวงนี้ แล้วแต่กรณีให้แก่ผู้ขอจดทะเบียและให้นายทะเบียนจัดทำทะเบียน มูลนิธิสำหรับมูลนิธินั้นตามแบบ ม.น.5 ท้าย กฏกระทรวงนี้ ในกรณีที่มูลนิธิใดมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนให้นายทะเบียน บันทึกการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในทะเบียนมูลนิธิ ของมูลนิธินั้นด้วย

หมวด3 การดำเนินการของมูลนิธิ

ข้อ 13 ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ให้มูลนิธิรายงานผลการดำเนิน การต่อนาายทะเบียนพร้อมทั้งหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) รายงานการดำเนินกิจการของมูลนิธิในปีที่ผ่านมา
(2) บัญชีรายได้รายจ่ายและสำเนางบดุลของมูลนิธิในรอบปีที่ผ่านมาซึ่งผู้ สอบบัญชีรับอนุญาตได้รับรองความถูกต้องแล้ว
(3) สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมการของมูลนิธิทุกครั้งในปีที่ผ่านมา

ข้อ 14 ในกรณีมีเหตุเกี่ยวกับการดำเนินการของมูลนิธิตามมาตรา 129 ที่นายทะเบียน อาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง ถอดถอนกรรมการของมูลนิธิผู้ใด หรือถอดถอนคณะกรรมการของมูลนิธิ ทั้งคณะ นายทะเบียนอาจร้องขอให้พนักงาน อัยการเป็นผู้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการแทนนาย ทะเบียนได้ ในกรณีที่นายทะเบียนร้องขอให้พนักงานอัยการดำเนินการตามวรรค หนึ่งให้นายทะเบียนช่วยเหลือพนักงานอัยการในการ รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

หมวด 4 การเลิกมูลนิธิ

ข้อ 15การแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนตามมาตรา 136 วรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะ มีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนตามแบบ ม.น.6 ท้ายกฏกระทรวงนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับแจ้งการเลิกมูลนิธิ จากนั้นให้ตรวจสอบ การแจ้งเลิกและหลักฐานต่าง ๆ ว่าเป็นไปตาม ข้อบังคับของมูลนิธิและตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมูลนิธิหรือไม่ แล้วจึงเสนอความเห็นต่อนายทะเบียน

ข้อ 16 เมื่อได้มีการแจ้งการเลิกมูลนิธิตามข้อ 15 หรือเมื่อศาลได้แจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้มูลนิธิล้มละลาย หรือแจ้งคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกมูลนิธิให้นายทะเบียนทราบตาม มาตรา 132 วรรคสองแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศการเลิก มูลนิธิในราชกิจจานุเบกษาโดยไม่ชักช้า

ข้อ 17 เมื่อนายทะเบียนประสงค์จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกมูลนิธิใดในกรณีหนึ่งกรณีใดตามมาตรา 131 ให้นายทะเบียน สอบสวนข้อเท็จจริงนั้นก่อน โดยมีหนังสือแจ้งให้มูลนิธิยื่นคำแถลงแสดงเหตุผลของตนเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากมูลนิธินั้นมิได้ชี้แจงต่อนายทะเบียนหรือคำชี้แจงของมูลนิธิ นั้นยังไม่เป็นที่พอใจแก่นายทะเบียนให้นายทะเบียนยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเลิกมูลนิธิต่อไป ในการนี้นายทะเบียน อาจร้องขอให้พนักงานอัยการเป็นผู้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการแทนนายทะเบียนก็ได้

ข้อ 18 ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิซึ่งจะต้องมีการชำระบัญชีมูลนิธิ ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอ รายงานการชำระบัญชีต่อ นายทะเบียนตามแบบ ม.น.7 ท้ายกฏกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2545 ร้อยตำรวจเอก ( ปุรุชัย เปี่ยมสมบูรณ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กฏกระทรวง ว่าด้วยค่าธรรมเนียมและการยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับมูลนิธิ พ.ศ.2545 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 136 (2) แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฏกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การคัดสำเนาเอกสารและค่าธรรมเนียม การขอให้นายทะเบียน

ดำเนินการใดเกี่ยวกับมูลนิธิ ให้เรียกเก็บตามอัตรา ดังต่อไปนี้

(1) ค่าคำขอ ฉบับละ 10 บาท

(2) ค่าจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ฉบับละ 200 บาท

(3) ค่าจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ ทั้งชุดหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูล่นิธิ ฉบับละ 50 บาท

(4) ค่าจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิ ฉบับละ 50 บาท

(5) ค่าขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิ สำหรับมูลนิธิหนึ่ง ครั้งละ 50 บาท

(6) ค่าคัดและรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 10 บาท

(7) ค่าขอให้นายทะเบียนดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับมูลนิธิซึ่งมิใช่ เป็นกรณีตาม (2) (3) (4) (5) หรือ (6) รายการหนึ่ง ครั้งละ 50บาท ในการรับเงินค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ยื่นคำขอ

ข้อ 2 ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 1 สำหรับมูลนิธิดังต่อไปนี้

(1) มูลนิธิที่ตั้งขึ้นตามพระราชดำริ

(2) มูลนิธิที่ตั้งขึ้นตามพระประสงค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอขึ้นไป หรือมูลนิธิที่มีพระบรม วงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอขึ้นไปเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ

(3) มูลนิธิที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์หรือพระบรมราชินูปถัมภ์

ข้อ 3 การขอตรวจ คัด และรับรองสำเนาเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ขอส่วนราชการ

หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ให้ยกเว้นไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ให้ไว้ ณ วันที่ 30 กรกฏาคม พ.ศ. 2545

 ร้อยตำรวจเอก (ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กฎกระทรวง ว่าด้วยแบบบัตร

 ประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมูลนิธิ 2545 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 136 (3) แห่งประมวลกฏหมายแพ่ง และพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกกฏกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
* ข้อ1. บัตรประจำตัวนายทะเบียนและบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับมูลนิธิให้เป็นไปตามแบบท้ายกฏกระทรวงนี้
* ข้อ 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวนาย ทะเบียน และให้นายทะเบียนเป็นผู้ออกบัตร ประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยให้ใช้ได้ไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกบัตร
* ข้อ 3. รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวให้ใช้รูปถ่ายไม่เกินหกเดือนก่อนวันที่ ออกบัตรปร

หมายเลขบันทึก: 261773เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นาย ดิเรก เซะวิเศษ

ขอถามว่า การขอจดทะเบียน มูลนิธิกับ การจดทะเบียน สมาคม มีความแตกต่างกัน

กันอย่างไร ผมทราบมาว่า หากจดทะเบียน มูลนิธิ ต้องมีเงินประกัน หนึ่งแสนห้าหมื่น

บาท เป็นความจริงหรือไม่

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล แต่ผมยังมีคำถามดังนี้ครับ

1 ผู้ก่อตั้งสามารถเป็นนิติบุคคลได้หรือไม่

2 ผู้ก่อตั้งต้องเป็นกรรมการหรือไม่

ละเอียด สกุลรัตน์

ขอความรู้เกี่ยวกับวาระของกรรมการมูลนิธิ  ดังนี้

 ข้อบังคับมิได้กำหนดว่ากรณีที่จดทะเบียนเพิ่มกรรมการกรณีกรรมการชุดเดิมยังไม่หมดวาระ    การนับวาระของกรรมการที่เพิ่มนั้นมีเท่ากับวาระที่เหลือของกรรมการชุดเดิมนั้นหรือมีวาระตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ (กรรมการชุดเดิมตั้งไว้ไม่ถึงจำนวนสูงสุด จึงตั้งเพิ่มอีก แต่ไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ)  หรือกรรมการที่ปรากฏตามเอกสาร มน.4 ฉบับใหม่นั้นนับวาระใหม่ทั้งหมด

ข้อมูลประกอบ  มูลนิธิชุดปัจจุบันมีวาระ 2 ปี สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2553  แต่ได้มีการจดทะเบียนเพิ่มกรรมการและได้รับการอนุญาต ตามเอกสาร มน.4 รายชื่อของกรรมการตามการจดทะเบียนใหม่คือ กก.เดิม (ที่จะหมดวาระในเดือนธันวาคม 2553) + กรรมการที่จดทะเบียนเพิ่ม)  โดยในตอนท้ายของเอกสาร มน.4 เขียนเพียงว่าให้ไว้ ณ วันที่.......กันยายน 2553  กรรมการมีความเห็นแตกต่างกันส่วนหนึ่งว่านับหนึ่งใหม่ตามเอกสาร มน.4 ฉบับใหม่  อีกส่วนหนึ่งเห็นว่าหมดวาระในเดือนธันวาคม 2553  ตาม มน.4 เก่า

ภาณุพงศ์ นาอนันต์

อยากทราบว่าถ้าสมาคมจะจดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณกุศลจะต้องทำยังไงบ้างครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท