ข้อมูลเพื่อการศึกษา


การบริหารการศึกษา
  1. การพัฒนามนุษย์  (Human  Development)      ต้องพัฒนาเป็น  2  ด้าน   คือ  1.  พัฒนามนุษย์ให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นแกนในการพัฒนาและบูรณาการให้เกิดความสมดุลอย่างถูกทาง  และเป็นการอำนวยประโยชน์แก่สังคมได้                    2.  พัฒนามนุษย์เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวมนุษย์เองทุกคน   การพัฒนามนุษย์ต้องพัฒนาทุกๆ ด้านไปพร้อมกัน คือ ด้านสุขภาพ  ความรู้  สติปัญญา  ความสามารถ  พฤติกรรม  สังคม  อารมณ์  และจิตใจด้วย  เพื่อจะทำให้มนุษย์เก่ง ดี  และมีความสุขได้นั่นเอง
  2. เพื่อแสวงหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการศึกษา
  3. ประการแรกที่ต้องการศึกษาคือการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรทางการศึกษา
  4. ขอฝากข้อคิดดีๆ สำหรับสมาชิกทุกท่าน  "ว่าด้วยการบริหารกระบวนการคิด"   คนโง่  ชอบไหลไปตามความคิด  จึงมีภารกิจอันไม่รู้ตัวอย่างไม่สิ้นสุด   คนฉลาด  ชอบสร้างความคิด  จึงมีจินตนาการอันสวยหรูที่ไม่เป็นจริงอย่างไม่สิ้นสุด    คนเจ้าปัญญา   ชอบบริหารความคิด  สร้างสรรค์  ตกแต่ง  ตัดต่อ  และละวางเมื่อสมควร  จึงได้ประโยชน์จากความคิดสูงสุด.ฯ  ข้อมูลจากหนังสือ  คนโง่  คนฉลาด  คนเจ้าปัญญา  ของ  ไชย  ณ พล.

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26055เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้วย

การจัดการเรียนการสอน 1. ความหมายของการจัดการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 17) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน หมายถึง วัตถุประสงค์ในการเรียนการสอน สาระ/เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน วิธีการ/กระบวนการ ที่ใช้ในการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ ในการเรียนการสอน รุจิร์ ภู่สาระ, และจันทรานี สงวนนาม (2545, หน้า 149) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน หมายถึง ครูผู้สอนจะต้องจัดกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลาย เน้นการเรียนการสอนตามสภาพจริง และเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการบวนการเรียนรู้ นำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สอดแทรกในการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระ วิทยา ประชากุล (2548, หน้า 20) กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย ผู้สอนต้องคำนึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ และการเรียนรู้แบบบูรณาการ การใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้การเรียนรู้คู่คุณธรรม ทั้งนี้ต้องพยายามนำกระบวนการจัดการกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปสอดแทรกในการเรียน การสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เนื้อหาและกระบวนการต่างๆ ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวม การบูรณาการเป็นการกำหนดเป้าหมายการเรียนร่วมกัน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระเดียวกัน หรือต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการในการจัด การเรียนการสอน สรุปได้ว่า การจัดการเรียนการสอน หมายถึง วัตถุประสงค์ สาระ/เนื้อหา วิธีการ/กระบวนการ การวัดและประเมินผล สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เป็นกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย ที่ผู้สอนนำมาจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนโดยคำนึงพัฒนาการทางด้านร่างกาย และ สติปัญญา วิธีการเรียนรู้ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่มีระบบ จุดหมายคือการเรียนรู้ ส่วนประกอบของระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ส่วนประกอบเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์เพื่อมุ่งไปสู่จุดหมายหรือเพื่อสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ กระบวนการจัดการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้สอนมีหน้าที่ตัดสินใจเลือกใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม ตามลักษณะของผู้เรียน ผู้สอน เนื้อหา สภาพแวดล้อมและข้อจำกัดอื่นๆ 2. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน คำว่า การเรียนการสอนเป็นกระบวนการ (Process) ที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 11) ได้นำเสนอวิวัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนไว้ดังนี้ เรื่องของการสอน เป็นเรื่องที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อมีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การสอนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะช่วยเหลือกันและกันเป็นการสอนที่ไม่มีรูปแบบการสอนที่แน่นอนตายตัว และค่อยๆ พัฒนาไปจนเกิดมีรูปแบบที่หลากหลาย การพัฒนาเปลี่ยนแปลงแนวคิดเด่นๆ เกี่ยวกับการสอนจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน สามารถจัดได้เป็น 2 ระยะหรือ 2 ยุค คือ 1. ยุคที่การสอนเป็นศิลปะ (Teaching as an Art) ในยุคนี้ถือว่าการสอนเป็นความสามารถเฉพาะตัว เป็นพรสวรรค์เฉพาะบุคคล ซึ่งติดตัวมาแต่กำเนิด แนวคิดเด่นๆ เกี่ยวกับการสอนที่ใช้กันในยุคนี้ คือ 1.1 การครอบงำความคิด (Indoctrination) เป็นลักษณะการสอนที่เจ้าลัทธิรวมทั้งนักปราชญ์และนักคิดในสมัยก่อนคริสต์สตวรรษที่ 20 ใช้ในการถ่ายทอดปลูกฝังลัทธิความเชื่อต่างๆ ให้เข้าสู่ความคิดของผู้อื่นอย่างเข้มงวด โดยมีวัตถุประสงค์ให้ละทิ้งลัทธิ ความเชื่ออื่น 1.2 การชักจูง โน้มน้าว (Inculcation) เกิดขึ้นเมื่อมีนักปราชญ์และนักคิดที่เชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและมีเสรีภาพที่จะคิดและเลือกเชื่อถือ การครอบงำความคิดเริ่มอ่อนตัวลง เจ้าลัทธิและนักปราชญ์หันมาใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ความเชื่อว่าโดยการใช้ศิลปะของการพูดชักจูงบ่อยๆ จนสามารถโน้มน้าวจิตใจให้เกิดความเชื่อ 1.3 การสอน (Teaching) หมายถึง การบอก การสั่ง การชี้แจง การแสดง วิธีนี้เริ่มขึ้นเมื่อการถ่ายทอดและปลูกฝังความคิด ความเชื่อในลัทธิต่างๆ เริ่มขยายตัวออกไปสู่เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งได้แก่ เรื่องอาชีพ บุคคลที่มีความสามารถในวิชาอาชีพต่างๆ เช่น วิชาล่าสัตว์ ยิงธนู ฟันดาบ หรือการเล่นตนตรีต่างๆ จะมีผู้มาสมัครเป็นศิษย์ขอเรียนรู้วิชาเหล่านั้นทำให้เกิดมีครูมีศิษย์ขึ้น การสอนเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ โดยครูมีบทบาทสำคัญเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นตามความคิดเห็นและความสามารถของครู ผู้เรียนเป็นผู้รับการถ่ายทอดตามแต่ครูจะให้การสอนนี้เกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ไม่จำกัดเวลาและสถานที่แล้วแต่สถานการณ์และความพอใจของครู 2. ยุคที่การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (Teaching as an Art and a Science) ในยุคนี้คือว่า นอกจากการสอนจะเป็นศิลป์แล้ว การสอนยังเป็นเรื่องที่เรียนรู้และฝึกฝนได้เนื่องจากมีข้อความรู้ที่สามารถนำมาใช้อธิบายชี้แจงให้เข้าใจและฝึกฝนได้ ซึ่งส่วนใหญ่ข้อความรู้นั้นมักได้มาจากศาสตร์สาขาจิตวิทยา 2.1 การสอน (Teaching) ยุคของการสอนเป็นยุคที่ยาวมาก โดยในระยะกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวความคิดยังอยู่ในยุคที่การสอนเป็นศิลปะ แต่ในระยะปลายคริสต์ศตวรรษการสอนก็เริ่มมีแบบแผน มีระบบระเบียบขึ้น มีขั้นตอนที่ชัดเจนขึ้น การสอน 5 ขั้นของ แฮร์บาร์ท (Harbart) ซึ่งประกอบด้วย 1. ขั้นนำ (Preparation), 2. ขั้นเสนอ (Presentation), 3. ชั้นสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (Camparision and Abstraction), 4. ขั้นสรุป (Generalization) และ 5. ขั้นประยุกต์ใช้ (Application) การสอน 5 ขั้นนี้นับเป็นแนวคิดที่ชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของ การสอนที่เปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับการสอนจาก “ศิลป์” มาเป็น “ศาสตร์” ที่ชัดเจน 2.2 การเรียนการสอน แม้แนวคิดเกี่ยวกับการสอนจะเริ่มปรับจาก “ศิลป์” มาเป็นศาสตร์” เพิ่มขึ้นแต่แนวคิด (Teaching) ที่เน้นบทบาทของครูยังคงอยู่ ปัญหาการเรียนการสอนของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการสอนของครูประกอบกับวิทยาการและเทคโนโลยีที่ได้ก้าวหน้าเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูจำเป็นต้องใช้ความรู้ในการวางแผนจัดการเรียน การสอนอย่างเป็นแบบแผนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วย ปฏิสัมพันธ์ผู้เรียนจึงขยายวงกว้างออกไป ไม่จำกัดอยู่ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เท่านั้น แต่ขยายรวมไปถึงปฏิสัมพันธ์กับสื่อต่างๆ ด้วย ระยะนี้จึงเป็นระยะของการเปลี่ยนแปลง จากแนวคิด “การสอน” มาเป็น “การเรียนการสอน” คือ เปลี่ยนจาก “Teaching” มาเป็น “Instruction” 2.3 การสอนซ่อมเสริม (Remedial and Enrichment Instruction) แม้ว่าแนวคิดของการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถตอบสนองความแตกต่างที่หลากหลายของผู้เรียนได้ จึงทำให้เกิดแนวคิดการสอนซ่อม (Remedial Instruction) และการสอนเสริม (Enrichment Instruction) ในรูปแบบต่างๆ ขึ้น เช่น การฝึกอบรม (Training) การติว (Tutoring) การกำกับชี้แนะ (Coaching) การนิเทศให้คำปรึกษา (Supervising) เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว 2.4 การสอนทางไกล (Distance Teaching) แนวคิดเกี่ยวกับการสอนได้เริ่มขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวางเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วการสอน ทางไกลผ่านสื่อโทรทัศน์ซึ่งเป็นการสอนในลักษณะใหม่ที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบครูผู้สอนโดยตรง จึงเริ่มเกิดขึ้น 2.5 การสอนแบบไม่มีครู (Instruction Without Teacher) แนวคิดเริ่มขยายตัวมากขึ้นในยุคที่สื่ออิเล็คทรอนิคส์ต่างๆ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทสูงในการเรียนรู้ของผู้เรียน การใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น สามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องมีครูอยู่ด้วย 2.6 การเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ (Construction) การเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับการสอนจาก “Instruction” มาเป็น “Construction” ซึ่งเป็นอยู่ขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง เนื่องจากเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของแนวคิดเกี่ยวกับการสอน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจุดเน้นจากบทบาทของครูในการสอน ไปเป็นบทบาทของผู้เรียนในการสร้างความรู้ด้วยตัวเอง กล่าวโดยสรุปว่า ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน หมายถึง การสอนเป็นพฤติกรรมทางธรรมชาติของมนุษย์ในการที่จะช่วยเหลือกันและกัน เป็นการสอนที่ไม่มีรูปแบบการสอนที่แน่นอนตายตัวและค่อยๆพัฒนาไปจนเกิดมีรูปแบบที่หลากหลาย การพัฒนาเปลี่ยนแปลงแนวคิดเด่นๆ เกี่ยวกับการสอนจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน สามารถจัดได้เป็น 2 ยุคคือ 1. ยุคที่การสอนเป็นศิลปะ (Teaching as an Art) 2. ยุคที่การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ (Teaching as an Art and a Science) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เกิดผลตามจุดมุ่งหมายต่อผู้เรียน การเรียนการสอนที่ดีจะต้องจัดขึ้นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้สอนได้มีการวางแผนก่อนสอน และเมื่อจบกระบวนการเรียนการสอนแล้วสามารถชี้บอกได้ว่า ผู้เรียน ได้ประสบผลประกอบด้วยจุดประสงค์ของการเรียนการสอน การประเมินผลก่อนสอน กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล รวมทั้งการให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยว่า มีข้อบกพร่องที่ใดหรือไม่ 3. การเรียนกับการสอน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 1) กล่าวว่า การเรียนและการสอน เป็นคำที่มักใช้คู่กันเรียกรวมกันว่า “การเรียนการสอน” ทั้งนี้เพราะคำทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ทั้งการสอนและการเรียนต่างเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกัน การสอนเป็นการตั้งใจกระทำให้เกิดการเรียนรู้ และการสอนที่ดีย่อมทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนที่สอนอย่างมีหลักการมีความรู้และมีทักษะ จะช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย มีคุณค่า เป็นการประหยัดเวลาและป้องกันการสูญเปล่า ดังนั้น ผู้สอนจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนการสอน ทั้งในด้านความหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ หลักการสอน หลักการเรียนรู้ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างหลักการสอนกับหลักการเรียนรู้เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติทำให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ 3.1 ความหมายของการสอน อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 2) กล่าวว่า การสอน คือ กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนด ซึ่งต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของผู้สอน กาญจนา เกียรติประวัติ (2542, หน้า 46) กล่าวว่า การสอน หมายถึง กระบวนการต่างๆ ที่บุคคลได้กระทำเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเจริญงอกงามในทุกด้าน และกระบวนการนั้นจะต้องสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับตัวได้อย่างมีความสุข ชูเกียรติ โพธิ์มั่น (2548, 15) กล่าวว่า การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้ ทักษะ เจตคติและค่านิยม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมไปตามลำดับขั้น อย่างต่อเนื่องตามบทบาทในสังคม (Morse, 1962) ซึ่งอาจจะทำด้วยวิธีการบอก ชักจูง แสดง สาธิต แนะนำ ชี้นำหรืออาจใช้หลาย ๆ วิธีการรวมกัน (Lefrancois, 1986) นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วยังมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการสอนไว้ ดังต่อไปนี้  การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้  การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ  การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้  การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้  การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม  การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะเพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น  การสอน จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม  การสอน (Teaching) คือการจัดประสบการณ์ที่เหมาะสม ให้นักเรียนได้ปะทะกับสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะก่อให้ความเจริญงอกงาม การสอนเป็นกระบวนการที่เกิดจากความเข้าใจในตัวผู้เรียน เข้าใจกระบวนการสอน การใช้สื่อการสอน การใช้บุคลิกท่าทางของครูร่วมทั้งการวัดผลและประเมินผล การสอนจึงต้องประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์จึงจะสามารถก่อให้เกิดประสบการณ์ที่มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ กู๊ด (Good, 1975, p. 588) อธิบายความหมายของการสอนในแนวแคบและแนวกว้างไว้ว่า 1) (ในความหมายแคบ) การสอน หมายถึง การกระทำอันเป็นการอบรมสั่งสอนนักเรียนในสถาบันการศึกษา 2) (ในความหมายกว้าง) การสอน หมายถึง การจัดสถานการณ์การเรียนการสอนซึ่งรวมถึง (1) การปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างครูกับนักเรียน (2) กระบวนการตัดสินใจในการวางแผนการออกแบบการสอน และด้านความสามารถของผู้สอน ซึ่งจะช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จได้ ฮิลส์ (Hills, 1982, p. 266) ให้คำจำกัดความของการสอนไว้ว่า การสอน คือ กระบวนการให้การศึกษาแก่นักเรียน ซึ่งต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน สรุปว่า การสอน เป็นกระบวนการที่ทำหน้าที่ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนได้มีประสบการณ์ที่ดีมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจนสามารถดำรงชีพได้อย่างราบรื่นเป็นประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม ซึ่งถือว่าเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษา การสอนจึงต้องประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์จึงจะสามารถก่อให้เกิดประสบการณ์ที่มีความหมายต่อ การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ 3.2 ลักษณะของการสอน จากความหมายของการสอน ดังได้สรุปไว้ข้างต้น สามารถให้ข้อสังเกตของลักษณะการสอนได้ 3 ประการ ได้แก่ 1. การสอนเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ข้อนี้ต้องเน้นการสอนในลักษณะของกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งหมายความว่า การสอนจะเกิดขึ้นได้นั้นทั้งผู้สอนและ ผู้เรียนต้องมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน และเป็นปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการจัดการเรียนการสอน ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนิ่ง คือไม่เกิดการเคลื่อนไหวทั้งทางกาย วาจาและทางปัญญา เช่น ครูอาจยืนบอกทั้งชั่วโมงโดยนักเรียนได้ยินเสียงครู แต่มิได้รับรู้ และเกิดประสบการณ์ใหม่ นักเรียนอาจทำเลขหรือคัดเขียนไปทั้งชั่วโมงตามบุญตามกรรมโดยครูนั่งนิ่งอยู่ที่โต๊ะครู อย่างนี้เรียกได้ว่าไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนก็ไม่จัดเป็นการสอน 2. การสอนมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อนี้ต้องการเน้นที่เป้าหมายของการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 2.1 ด้านความรู้ ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย กล่าวคือ ผู้เรียนเกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญา เกิดการพัฒนาขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจ คิดไม่เป็นมาเป็นมีความรู้ความเข้าใจ มีความคิดเป็น เช่น จากการอ่านเขียนไม่ได้ไม่เป็น มาเป็นอ่านออกเขียนได้ แสดงความคิดเห็นได้ ประเมินค่าและวิจารณ์ได้ ฯลฯ 2.2 ด้านเจตคติ หรือด้านจิตพิสัย เกี่ยวกับความรู้สึกเห็นคุณค่า ความดีความงาม ผู้เรียนเกิดการพัฒนาในด้านนี้ เช่น รู้สึกซาบซึ้งในบทกลอนที่ได้ฟังได้อ่านเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เกิดการยอมรับที่จะช่วยกันรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี เห็นคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้ 2.3 ด้านทักษะ หรือด้านทักษะพิสัย หมายถึง ความสามารถกระทำได้ ปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย เช่น สามารถว่ายน้ำได้ พิมพ์ดีดได้ ร้อยมาลัยได้ วาดภาพได้ โยนลูกบอลได้ ฟัง พูด อ่าน เขียนได้ ฯลฯ ผู้เรียนจะเกิดทักษะ ถ้าได้ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ ดังนั้น ในการสอนจึงตั้งจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิใช่ด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว จึงจะถือว่าเป็นการสอนที่สมบูรณ์ ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้ 3. การสอนจะบรรลุจุดประสงค์ได้ดี ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของผู้สอน ข้อนี้ต้องการเน้นที่สมรรถภาพของผู้สอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสอน การสอนจะบรรลุผลตามจุดประสงค์ได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของผู้สอนทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ ทักษะ และเทคนิคการสอนที่สำคัญ กล่าวคือ ผู้สอนต้องมีความรู้ดี (ศาสตร์) และเทคนิคการสอนดี (ศิลป์) อนึ่ง การสอนนี้เป็นการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนซึ่งเป็นคน เป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกนึกคิด มีอารมณ์ มีวิญญาณ ผู้สอนจึงต้องอาศัยศิลปะที่จะเข้าถึงจิตใจของผู้เรียน เช่น ศิลปะการพูด การอธิบาย การจูงใจ การสอนใจ ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การช่วยแก้ปัญหาให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน ศิลปะในการสอนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ศิลปะในการสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน ไม่ให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียน ศิลปะในการชักจูงผู้เรียนให้ตั้งใจเรียน ให้ทำการบ้าน ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเทคนิคเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องของศิลปะในการสอน ดังนั้น การสอนจึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า การสอน จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีเป้าหมายการสอน และการสอนจะประสบผลสำเร็จ ได้ดี ถ้าผู้สอนรู้จักศาสตร์อย่างมีศิลป์ 3.3 องค์ประกอบของการสอน การสอนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายด้าน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสอน และมีส่วนร่วมส่งเสริมให้การสอนประสบผลสำเร็จได้ จัดเป็นองค์ประกอบของการสอนทั้งสิ้น มีนักการศึกษาหลายท่านได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับองค์ประกอบของการสอนไว้ดังนี้ ชูเกียรติ โพธิ์มั่น (2548, หน้า 15) กล่าวถึง องค์ประกอบการเรียนการสอน ไว้ว่า กระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และหลักสูตร การเรียนการสอนจะมีประสิทธิภาพเมื่อองค์ประกอบทั้ง 3 นี้สัมพันธ์กันอย่างดี คือ 1. ผู้สอน มีบุคลิกภาพที่ดี โดยมีการแสดงออกทั้งทางกายและความคิดเห็นที่ดี เช่น มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ ร่างกายแข็งแรง แต่งกายสุภาพ เป็นคนมีเหตุมีผลและมีกิริยาท่าทางที่เหมาะสม เป็นต้น นอกจากนี้ผู้สอนจะต้องมีสมรรถภาพในด้านวิชาชีพ ได้แก่ ความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนและเข้าใจหลักสูตรเป็นอย่างดี 2. ผู้เรียน เป็นผู้ที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอน ความแตกต่างของผู้เรียน ได้แก่ สติปัญญา ผลสัมฤทธิ์ บุคลิกภาพ ความรู้เดิม สภาพครอบครัวและกลุ่มเพื่อน ถ้าผู้สอนรู้จักผู้เรียน ก็จะสามารถปรับวิธีสอนให้เหมาะกับผู้เรียนได้ และในการพัฒนาหลักสูตรผู้พัฒนาต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของหลักสูตรที่มีต่อผู้เรียนในแต่ละวัยและระดับชั้นเรียน 3. หลักสูตรจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษาของประเทศและ เป็นแนวทางสำหรับผู้สอนในการให้ความรู้ ทักษะและเจตคติแก่ผู้เรียน ผู้สอนที่เข้าใจจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้างของหลักสูตรจะสามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ ผู้สอนเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างหลักสูตรกับผู้เรียน ทำหน้าที่แปลงหลักสูตรออกมาในรูปของกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้เรียน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพียงใดจึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการสอนของผู้สอน ฮาร์นนิสคเฟเกอร์และวิเลย์ (Harnischfeger and Wiley, 1976) ได้เขียนแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียนไว้ ดังนี้ หลักสูตร ความรู้เดิมของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน พื้นความรู้ของผู้สอน กิจกรรมของผู้สอน ความพยายามของผู้เรียน ภาพ 1 : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตร ผู้สอนและผู้เรียน ที่มา : ฮาร์นนิสคเฟเกอร์และวิเลย์ (Harnischfeger & Wiley. 1976) ; ชูเกียรติ โพธิ์มั่น (2548, หน้า 15) สุพิน บุญชุวงศ์ (2532, หน้า 4-5) กล่าวถึงองค์ประกอบของการสอนไว้ 3 ประการ ได้แก่ ครู นักเรียน และสิ่งที่สอน 1. ครู/ผู้สอน เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ บุคลิกภาพและความสามารถของผู้สอนจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนควรมีบุคลิกภาพที่ดีและรู้จักเลือกใช้วิธีสอนที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ จึงควรต้องพัฒนาบุคลิกภาพของตน 2. นักเรียน/ผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญเท่ากับผู้สอน เนื่องจากความสำเร็จในการศึกษาของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการเรียนการสอนดังนั้น ผู้สอนจึงต้องเป็นผู้ทำหน้าที่แนะแนว แนะนำ และจัดมวลประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด 3. สิ่งที่จะสอน ได้แก่ เนื้อหาวิชาต่างๆ ครูจะต้องจัดเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์กัน น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของการเรียนการสอน ลำพอง บุญช่วย (2530, หน้า 1) กล่าวถึงองค์ประกอบของการเรียนการสอนไว้ 7 ประการ พร้อมทั้งแสดงภาพประกอบไว้ ดังนี้ 1. ครูผู้สอน 2. ผู้เรียน 3. หลักสูตร 4. วิธีสอน 5. วัตถุประสงค์ของการสอน 6. สื่อการสอน 7. การประเมินผล ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ดังแสดงในภาพ 2 วิธีสอน ครู วัตถุประสงค์ ผู้เรียน การประเมินผล หลักสูตร สื่อการสอน ภาพ 2 : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการเรียนการสอน ที่มา : อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 5) ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2526, หน้า 106) กล่าวว่า การสอนเป็นกระบวนการ สามเส้าอันประกอบด้วย OLE ได้แก่ 1) O = Objective = จุดมุ่งหมาย 2) L = Learning Experience = การจัดประสบการณ์การเรียนการสอน 3) E = Evaluation = การประเมินผล รวมเรียนว่า “ไตรยางศ์การสอน” ได้แสดงเป็นภาพที่ 3 จุดมุ่งหมาย การจัด การ ประสบการณ์ ประเมินผล ภาพ 3 : ไตรยางศ์การสอน, ที่มา : อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 6) จากองค์ประกอบของการสอนที่นักการศึกษาทั้ง 3 ท่านเสนอไว้ เมื่อนำมาพิจารณาสามารถวิเคราะห์แยกย่อยเป็นองค์ประกอบ 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านองค์ประกอบรวม หมายถึง องค์ประกอบด้านโครงสร้างที่มาประกอบการสอน อันประกอบด้วย 1.1 ครูหรือผู้สอน หรือวิทยากร 1.2 นักเรียน หรือผู้เรียน 1.3 หลักสูตร หรือสิ่งที่จะสอน 2. ด้านองค์ประกอบย่อย หมายถึง องค์ประกอบด้านรายละเอียดของการสอน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกระบวนการเหล่านี้ จึงจะทำให้เป็นการสอนที่สมบูรณ์ ได้แก่ 2.1 การตั้งจุดประสงค์การสอน 2.2 การกำหนดเนื้อหา 2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2.4 การใช้สื่อการสอน 2.5 การวัดผลประเมินผล องค์ประกอบทั้งสองด้าน สามารถแสดงได้ ดังภาพที่ 4 องค์ประกอบรวม องค์ประกอบย่อย ครู 1 2 3 4 5 ครู หมายเหตุ 1. คือ ตั้งจุดประสงค์ 2. คือ กำหนดเนื้อหา 3. คือ จัดกิจกรรมการเรียนการนอน 4. คือ ใช้สื่อการสอน 5. คือ วัดผลประเมินผล ภาพ 4 : แสดงองค์ประกอบการสอน, ที่มา : อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 7) จากภาพ 4 ถ้าเปรียบการสอนเป็นสามเหลี่ยม สามเหลี่ยมรูปนี้ ประกอบด้วยด้าน 3 ด้าน ด้านที่ 1 หมายถึง ครู ด้านที่ 2 หมายถึง นักเรียน ด้านที่ 3 หมายถึง หลักสูตร ทั้ง 3 ด้านมาประกอบกันเข้าเกิดเป็น 3 เหลี่ยม จะขาดด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดไป ก็จะไม่เป็น 3 เหลี่ยม ดังนั้น องค์ประกอบทั้ง 3 นี้ จึงเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการสอนขึ้น จัดเป็นองค์ประกอบรวม ส่วนภายใน 3 เหลี่ยมหรือในตัวการสอน จะต้องมีองค์ประกอบย่อยที่ทำให้การสอน เกิดความสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ได้แก่ 1. การตั้งจุดประสงค์การสอน 2. การกำหนดเนื้อหา 3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 4. การใช้สื่อการสอน 5. การวัดผลประเมินผล ทั้ง 5 องค์ประกอบย่อยนี้ ช่วยให้สามเหลี่ยมที่มีความหมาย หรือเป็นการสอนที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล ดังนี้ 1. การตั้งจุดประสงค์การสอน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรกของการของ การสอน ทำให้ผู้สอนทราบว่าจะสอนเพื่ออะไร ให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมใดบ้าง มากน้อยเพียงใด เป็นการสอนที่มีเป้าหมาย ขณะเดียวกันการตั้งจุดประสงค์การสอนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอน การเลือกใช้วิธีสอน เลือกใช้สื่อการสอน และการวัดผลให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน 2. การกำหนดเนื้อหา องค์ประกอบข้อนี้ หมายรวมถึง การเลือกและการจัดลำดับเนื้อหา ที่สอนด้วย การกำหนดเนื้อหาจะทำให้ผู้สอนได้ทราบว่าจะสอนอะไร ผู้เรียนควรได้รับประสบการณ์ใดบ้าง ประสบการณ์ใดควรได้รับก่อน และในขอบเขตมากน้อยเพียงใดจึงจะเหมาะสมการกำหนดเนื้อหาไว้ล่วงหน้าจะทำให้การสอนมีสาระคุ้มค่ากับเวลาที่ผ่านไปและมีคุณค่าแก่ผู้เรียน การกำหนดเนื้อหาไว้ล่วงหน้าจะทำให้การสอนมีสาระคุ้มค่ากับเวลาที่ผ่านไป และมีคุณค่าแก่ผู้เรียน 3. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ข้อนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญเช่นกัน เพราะทำให้ผู้สอนทราบว่าจะสอนอย่างไร ใช้วิธีการใดในการเสนอหรือสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาวิชา กับผู้เรียน กับสภาพห้องเรียน และสอดคล้องกับจุดประสงค์การสอน ที่กำหนดไว้ 4. การใช้สื่อการสอน สื่อการสอนเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ ชัดเจนและเร็วขึ้น ตลอดจนช่วยเร้าความสนใจได้ดี สื่อการสอนที่ดีจะช่วยให้การสอนดำเนินไปได้ราบรื่นและสะดวกคล่องตัวแก่ผู้เรียน การเตรียมสื่อการสอนทำให้ผู้สอนทราบว่าจะใช้อะไรเป็นสื่อช่วยสร้างประสบการณ์การสอนที่กำหนดไว้ 5. การวัดผลประเมินผล องค์ประกอบข้อนี้ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การสอนที่ผ่านมานั้นบรรลุผลหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่มีตอนใดหรือจุดประสงค์ใดบ้างที่ยังไม่บรรลุ ทำให้ผู้สอนสามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ตรงจุดการวัดผลประเมินผลนี้มีประโยชน์ทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอนผู้สอนจึงต้องทำการวัดผลประเมินผลทุกครั้งที่สอน สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการสอน หมายถึง ครู/ผู้สอน + นักเรียน/ผู้เรียน + หลักสูตร/สิ่งที่สอน และองค์ประกอบของการสอนนั้น มีทั้งองค์ประกอบรวมและองค์ประกอบย่อย องค์ประกอบรวมเป็นส่วนสร้างให้เกิดการสอน ส่วนองค์ประกอบย่อยนั้นเป็นส่วนเสริมให้การสอน มีความสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพ และมีคุณค่าแก่ผู้เรียน 3.4 หลักการพื้นฐานในการสอน ในการดำเนินการใดก็ตาม จำเป็นต้องมีหลักการเป็นเครื่องยึดถือ เพื่อให้งานดำเนินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในการสอนก็เช่นเดียวกันจำเป็นต้องมีหลักการสอน เพื่อให้งานการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตรงตามจุดหมายของหลักสูตร ดังนั้น หลักการสอนจึงเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู แม้ว่าผู้สอนแต่ละคนจะมีเทคนิคการสอนเฉพาะของตนแต่ก็จะยึดหลักการพื้นฐานเดียวกัน ในเรื่องของหลักการพื้นฐานสำหรับการสอนนี้มีนักการศึกษาได้แสดงทรรศนะไว้หลายท่าน เช่น สันต์ ธรรมบำรุง (2533, หน้า 56-60) กล่าวถึงหลักการจัดการเรียนการสอนไว้ 10 ประการ ได้แก่ 1. การเตรียมตัวนักเรียนก่อนสอน (ประเมินผู้เรียนก่อนสอน) 2. การให้แบบอย่างหรือให้เห็นผลงานที่ต้องการให้นักเรียนทำเมื่อจบบทเรียน 3. การจูงใจ 4. การให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการเรียน 5. การแนะแนวทางนักเรียน 6. การฝึกฝน ฝึกหัด 7. การรู้ผลของตนเอง 8. การจัดลำดับขั้นของสิ่งที่เรียน 9. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (=บัวสี่เหล่า) 10. การสอนของครู ปรีชา คัมภีรปกรณ์ (2532, หน้า 5) กล่าวถึง หลักการสอนว่า ควรจะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 1) มีวัตถุประสงค์ในการสอนที่แน่นอน 2) มีวิธีการสอนที่ดี 3) มีวิธีการประเมินผลที่ดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2525, หน้า 35-59) กล่าวถึงหลักการพื้นฐานในการสอนไว้ 4 ประการ 1) หลักการเตรียมความพร้อมพื้นฐาน ได้แก่ การเตรียมตัวผู้สอนด้านความรู้ ด้านทักษะการสอน และด้านการแก้ปัญหาการสอน 2) หลักการวางแผนและการเตรียมการสอน ได้แก่ การเตรียมเขียนแผนการสอน ผลิตสื่อเตรียมแบบทดสอบ และซ้อมสอน 3) หลักการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น หลักความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักการเร้าความสนใจ หลักการเสริมแรง ฯลฯ 4) หลักการประเมินผลและการรายงานผล ซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดจุดประสงค์การสอนการสร้างและใช้เครื่องมือประเมิน การตีความหมายและรายงานผลการประเมิน จากหลักการสอนที่ยกมากล่าวเป็นหลักพื้นฐานในการสอนที่ผู้สอนต้องคำนึงถึง ได้แก่ 1. ก่อนการสอน ผู้สอนต้องเตรีย

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

การสอนเชิงระบบ

1. ความเป็นมาของระบบการสอน

1.1 ความหมายของระบบการเรียนการสอน

คำว่า ระบบ ไม่ว่าจะพูดในลักษณะใดก็ตามจะหมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกันต่างก็ทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีระเบียบเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางที่กำหนดไว้ ดังนั้น ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้

ระบบ เป็นผลรวมของหน่วยย่อยซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกันแต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ เช่น การศึกษาก็เป็นระบบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นหน่วยย่อยลงไป คือ การเรียนการสอน การจัดการ/บริการอาคาร สถานที่และเครื่องอำนวยความสะดวก ชุมชนและผู้เรียน ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์กันในชนิด เป็นหน่วยใหญ่คือระบบการศึกษาขึ้น

หน่วยย่อยเหล่านั้นเมื่อพิจารณาที่ระบบย่อย หรือระบบเดี่ยวซึ่งมีอิสระไม่ขึ้นแก่กัน หากเกิดปัญหาขึ้นในระบบย่อยระบบใดระบบหนึ่งก็สามารถใช้วิธีการแก้ปัญหาให้บรรลุไปได้เฉพาะระบบย่อยนั้นโดยไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับโครงการของระบบย่อยอื่นๆเช่น การปรับปรุงการเรียนการสอนอาจกระทำได้โดยที่ไม่แตะต้องระบบการบริหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามการจะถือว่าระบบย่อยเหล่านั้นมีอิสระไม่ขึ้นแก่กันอย่างเด็ดขาดก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะระบบย่อยทุกระบบมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กันเป็นส่วนรวมมีสายใยเชื่อมโยงกันอย่างเด่นชัดเพียงแต่ว่า แต่ละระบบย่อยมีจุดมุ่งหมายการดำเนินงานสมบรูณ์ในตัวเองส่งเสริมจุดมุ่งหมายและการดำเนินงานของระบบใหญ่ ดังเช่นในด้านการศึกษาแต่ละหน่วยย่อยหรือระบบย่อย (ห้องเรียน โรงเรียน เขตการศึกษา) เมื่อนำมาบูรณาการหรือมารวมกันก็จะเป็นระบบการศึกษาการดำเนินงานการศึกษาจึงเป็นระบบ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ก็ต้องพิจารณาแต่ละหน่วยเพื่อแก้ปัญหาทีละจุดโดยยึดหลักว่า ระบบย่อยทั้งหลายซึ่งประกอบกันเป็นระบบใหญ่นั้นต่างดำเนินการทั้งที่เป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และทั้งสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหาการศึกษาจึงต้องใช้วิธีการจัดระบบเพื่อให้จะช่วยให้ผู้แก้ปัญหาพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ที่สลับซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น การจัดระบบจะกำหนดกระบวนการเพื่อให้หน่วยย่อย ซึ่งทำงานทั้งเป็นอิสระแก่กันและสัมพันธ์กันสามารถทำงานร่วมกันและดำเนินไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

การสอนเชิงระบบ (Systematic Instruction) หรือ ระบบการสอน (Instruction System ) เป็นการสอนที่นำเอาแนวคิดเรื่องการจัดระบบ (System Approach) ของการทำงานเข้ามาใช้ปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน

ระบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และผลผลิต การสอน ที่จะให้ได้ผลดีนั้น ผู้เป็นครูมืออาชีพจำเป็นต้องมีความสามารถในการออกแบบ การเรียนการสอน (Designing Instruction) ที่ดีที่มีประสิทธิภาพ ถือเป็นหัวใจสำคัญของวิชาชีพ ในการออกแบบการสอนที่ดี ครูจะต้องสามารถกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ และความคิดรวบยอดที่เหมาะสมกับผู้เรียน และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ รวมทั้งมีการวัดผลประเมินผลที่เหมาะสมตรงตามจุดมุ่งหมายด้วย

สรุปได้ว่า การจัดระบบการเรียนการสอน จะเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของครู การจัดระบบการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาการสอนจากศิลป์ให้เป็นศาสตร์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะเป็นการเน้นให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั่วไป

1.2 ความหมายของการสอนเชิงระบบ

ในการที่จะทำความเข้าใจเรื่องของ “ระบบการเรียนการสอน” ประการแรกจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของคำว่า “ระบบ” ให้ตรงกันเสียก่อน

คำว่า “ระบบ” มีให้คำจำกัดความไว้ต่าง ๆ กัน ดังต่อไปนี้

สงัด อุทรานันท์ (2526, หน้า 5) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่ร่วมกันและต่างทำหน้าที่ของตนอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้บรรลุจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้

ชัยยง พรหมวงศ์ (2528, หน้า 67) กล่าวว่า ระบบ เป็นผลรวมของหน่วยย่อย ซึ่งทำงานเป็นอิสระจากกัน แต่มีปฏิกิริยาสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 22) กล่าวว่า ระบบ คือ ผลรวมขององค์ประกอบย่อยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระเบียบและต่างหน้าที่ของตน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 196) กล่าวว่า ระบบจะต้องประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญอย่างน้อย 3 สิ่งด้วยกัน คือ (1) องค์ประกอบสำคัญ ๆ ของระบบ (2) ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนั้น (3) เป้าหมายหรือจุดหมายของระบบนั้น

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 22) กล่าวว่า การสอนเชิงระบบ หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการสอนไว้อย่างมีลำดับขั้นตอน และมีความสัมพันธ์กันเพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการสอนที่ได้กำหนดไว้

เซียเลส (Sear, 1967) กล่าวว่า ระบบ เป็นการจัดสิ่งต่างๆ ให้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นระเบียบเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

บานาธี (Banathy, 1968) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง การรวบรวมของส่วนประกอบ ซึ่งมีความสัมพันธ์และส่งเสริมต่อกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

กายเน่ และบริกส์ (Gagne & Briggs, 1974, p. 19) กล่าวว่า ระบบ หมายถึง วิธีการใดๆ ก็ได้ที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบเพื่อเป็นหลักให้สามารถทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้บรรลุผลตามเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นเป้าหมายในวงกว้าง เช่น เพื่อสังคมหรือเป้าหมายย่อย เช่น เพื่อคนส่วนหนึ่งของสังคม หรือเป้าหมายในวงแคบ เช่น เพื่อครูคนเดียวก็ได้

สรุปได้ว่า การจัดระบบการเรียนการสอน จะเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของครู การจัดระบบการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาการสอนจากศิลป์ให้เป็นศาสตร์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะเป็นการให้เห็นความสำคัญของวิชาชีพครูให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของคนทั่วไป

1.3 ความสำคัญของการสอนเชิงระบบ

ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 195) กล่าวว่า ระบบ ในการเรียนหรือการทำงานจะรู้จักวางแผนจัดระเบียบในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่จะช่วยให้ตนสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หวังหรือกำหนดไว้ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า “ความเป็นระบบ” เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานใด ๆ ประสบผลสำเร็จ มีประสิทธิภาพตามที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับสงัด อุทรานันท์ (2526, หน้า 7) ที่กล่าวไว้ว่า การทำงานอย่างมีระบบเป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะ (1) การทำงานอย่างเป็นระบบนั้นสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของระบบจะอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบไม่มีความสับสนและไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น (2) การทำงานอย่างเป็นระบบจะเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่าย (3) งานทุกอย่างจะสำเร็จตามเป้าหมายและได้ผลอย่างเต็มที่

ดังนั้น การนำวิธีการของระบบการทำงานเข้ามาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ย่อมทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 23) กล่าวว่า การสอนเชิงระบบ มีความสำคัญช่วยให้เป็นการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยเหตุผลดังนี้ (1) องค์ประกอบของการสอนที่กำหนดไว้นั้นมีความสัมพันธ์และมีความสำคัญต่อกัน หมายความว่าองค์ประกอบที่ 1 จะสัมพันธ์กับองค์ประกอบที่ 2 – 3- 4 ต่อเนื่องกันไป และองค์ประกอบที่ 1 จะให้แนวทางแก่องค์ประกอบที่ 2 หรือเป็นหลักให้องค์ประกอบที่ 2 ยกตัวอย่างเช่น จุดประสงค์การสอน (เป็นองค์ประกอบที่ 1) จะสัมพันธ์กับเนื้อหาสาระ (เป็นองค์ประกอบที่ 2) และการจัดเนื้อหาสาระให้ผู้เรียนก็ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การสอนเป็นหลัก หรือยึดจุดประสงค์การสอนเป็นแนวทาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (องค์ประกอบที่ 3) ก็ต้องจัดให้สอดคล้องสัมพันธ์กับจุดประสงค์การสอนและเนื้อหาสาระ ถ้าขาดจุดประสงค์การสอน การจัดเนื้อหาสาระและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะเป็นไปอย่างเลื่อนลอยไม่มีจุดหมายปลายทาง การเรียนการสอนย่อมไม่บรรลุผลสำเร็จ ดังนั้น การเรียนการสอนจะบรรลุผลสำเร็จได้องค์ประกอบของการสอนจะอยู่รวมกันอย่างเป็นระบบ มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันและมีความสำคัญต่อกันและกัน (2) การเรียนการสอนมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ไม่สับสน กระบวนการเรียนการสอนที่เป็นระบบจะประกอบด้วย การวางแผนการสอนซึ่งจัดอยู่ในขั้นตอนการป้อนข้อมูล (Input) การดำเนินการสอนและการวัดผลประเมินผลจัดอยู่ในขั้นดำเนินการ (Process) ส่วนผลการสอน (Output) จะนำมาพิจารณาผลย้อนกลับ (Feedback) ว่าการสอนได้ผลเพียงใด มีจุดใดบกพร่อง กระบวนการทั้งหมดนี้ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนและสามารถตรวจสอบได้ว่ามีจุดบกพร่องที่ใด ดังนั้นเมื่อการจัดการเรียนการสอนมีการจัดการอย่างเป็นระบบ มีการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด งานการสอนยิ่งบรรลุผลสำเร็จดังประสงค์ นั่นคือ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (3) การจัดระบบการสอนเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้ครูต้องวางแผนการสอน ต้องดำเนินการสอนตามแผนที่วางไว้ และต้องวัดผลประเมินผลให้สอดคล้องกับ จุดประสงค์ที่กำหนด เป็นการพัฒนาการสอนจากศิลป์ให้เป็นศาสตร์ยิ่งขึ้น (สงัด อุทรานันท์, 2529, หน้า 9) การจัดการเรียนการสอนก็จะมีคุณค่า ปัญหาด้านการสอนที่ไม่มีคุณภาพย่อมหมดไป

1.4 องค์ประกอบของการสอนเชิงระบบ

อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 26) กล่าวว่า จากองค์ประกอบของระบบที่กล่าวมาสามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดองค์ประกอบการสอนเชิงระบบได้อย่างกว้างๆ 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1. ข้อมูลสู่การสอน (Input) ได้แก่ การวางแผนการสอนทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาการจัดกิจกรรมการสอนการใช้สื่อการสอนและการวัดผลประเมินผลแล้วเขียนเป็น แผนการสอน

2. กระบวนการสอน (Process) เป็นขั้นดำเนินการสอนตามแผนการสอนที่เขียนไว้นับตั้งแต่ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นการสอน และขั้นสรุป ในขั้นนี้หัวใจสำคัญอยู่ที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ทักษะและเทคนิคการสอนของผู้สอนที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อดำเนินการสอนแล้วต้องมีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย

3. ผลการสอน (Output) เป็นขั้นประเมินผลพฤติกรรมผู้เรียนว่าเกิดผลสัมฤทธิ์มากน้อยเพียงใด หลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแล้ว โดยนำผลการวัดมาประกอบ ถ้าผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ

4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นขั้นการวิเคราะห์ผลหรือย้อนกลับมาพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง มีปัญหาประการใด โดยพิจารณาจากผลลัพธ์หรือผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่บรรลุผลตามจุดประสงค์ก็จำเป็นต้องพิจารณาหาสาเหตุว่ามีข้อบกพร่องในจุดใดแล้วปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้ระบบการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปใช้ต่อไป

องค์ประกอบของการสอนเชิงระบบทั้ง 4 นี้ จะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งจะมีผลต่อองค์ประกอบอื่นและมีข้อบกพร่องขององค์ประกอบหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์ประกอบอื่นบกพร่องด้วย ดังนั้น การเรียนการสอนจะบรรลุผลสำเร็จหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับทุกองค์ประกอบเกี่ยวข้องกัน แสดงได้ดังภาพ 10

ภาพ 9 : แสดงองค์ประกอบของการสอนเชิงระบบ

ที่มา : อาภรณ์ ใจเที่ยง (2540, หน้า 27)

ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 196-199) กล่าวไว้ว่า เนื่องจาก ระบบ มีความสำคัญในการช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ เกิดสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย จึงได้เกิดความคิดและนวัตกรรมในด้านนี้ขึ้น เรื่องนี้เรียกกันว่า วิธีการเชิงระบบ หรือ System Approach ซึ่งได้แพร่หลายไปในวงการต่าง ๆ รวมทั้งวงการศึกษาด้วย วิธีการเชิงระบบ เป็นแนวคิดที่ใช้ในการจัดสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการจำแนกแยกแยะองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งนั้นและการจัดความสำพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านนั้นให้ส่งเสริมกันอย่างเป็นระเบียบโดยที่มองว่า ระบบควรประกอบไปด้วยส่วนสำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ

1. ตัวป้อน (Input) คือองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนั้นหรืออีกนัยหนึ่งก็คือสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบนั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบใดระบบหนึ่งจะมีจำนวนและความสำคัญมากน้อยเพียงใด มักขึ้นอยู่กับความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของผู้จัดระบบ

2. กระบวนการ (Process) หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ของระบบให้มีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการบรรลุเป้าหมาย ระบบใดระบบหนึ่งอาจมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่อาจมีลักษณะของการจัดความสัมพันธ์แตกต่างกันได้ แล้วแต่ความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของผู้จัดระบบ

3. ผลผลิต (Product) ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงาน หากผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ แสดงว่า ระบบนั้นมีประสิทธิภาพ หากผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง แสดงว่าระบบนั้นยังมีจุดบกพร่อง ควรที่จะพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกระบวนการหรือตัวป้อนซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผลนั้น

ส่วนประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนประกอบเบื้องต้นของระบบ ระบบที่สมบูรณ์ ควรจะมีส่วนสำคัญเพิ่มขึ้นอีก 2 ส่วน คือ

4. กลไกควบคุม (Control) คือ กลไกวิธีการใช้ในการควบคุมหรือตรวจสอบกระบวนการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

5. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตกับจุดมุ่งหมายซึ่งจะเป็นข้อมูลป้อนกลับไปสู่การปรับปรุงกระบวนการและตัวป้อน ซึ่งสัมพันธ์กับผลผลิตและเป้าหมายนั้น ระบบที่สมบูรณ์แบบ จึงมีลักษณะดังแสดงในภาพ 9

ภาพ 10 : องค์ประกอบของระบบที่สมบูรณ์

ที่มา : ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 198)

การใช้วิธีเชิงระบบในการจัดระบบของสิ่งต่าง ๆ จึงหมายถึง การจำแนกองค์ประกอบและการจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ ในกรอบความคิดของตัวป้อน กระบวนการ กลไกควบคุม ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบ

ถึงแม้ว่า วิธีการเชิงระบบ จะเริ่มเข้ามาแพร่หลายเมื่อไม่นานนัก แต่ความจริงเรื่องของ การคิดเป็นระบบ (systematic thinking) มีคู่กับความคิดมนุษย์มาช้านานแล้ว โดยแสดงออกมาในลักษณะของการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับที่จะสามารถช่วยให้งานนั้นบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย หรือแม้แก่การคิดเชิงระบบหรือใช้วิธีการเชิงระบบ (system approach) ในการ จัดระบบให้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ในกรอบความคิดของตัวป้อน กระบวนการ กลไกควบคุม ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับนั้น ความจริงมีมานานแล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้แสดงออกเป็นระบบที่เห็นเด่นชัด หรือมีความสมบูรณ์มากนัก

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ความคิดเรื่อง ระบบ นั้นมีลักษณะที่สื่อสารกันอยู่ 2 แนว คือ

1. ระบบในแง่ของ การคิดเป็นระบบ (Systematic Thinking) หมายถึง การกำหนดองค์ประกอบและการจัดองค์ประกอบของระบบให้มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นลำดับขั้นตอน เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนด ระบบ ในลักษณะนี้ จะมีลักษณะเป็นผังการดำเนินงาน หรือการทำงานใดงานหนึ่งอย่างเป็นลำดับขั้นตอน

2. ระบบในแง่ของ การคิดเชิงระบบ หมายถึง การจัดระบบด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ได้แก่ การจัดองค์ประกอบของระบบในกรอบความคิดของตัวป้อน กระบวนการ กลไกควบคุม ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ และนำเสนอผังของระบบนั้นในรูปแบบของระบบ ที่สมบูรณ์ ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้น

2. รูปแบบการสอนของนักการศึกษาต่าง ๆ

ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 220) กล่าวไว้ว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ โดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอนโดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ เข้าไปช่วยทำให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามหลักการที่ยึดถือ

ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 222) กล่าวไว้ว่า สามารถจัดกลุ่มรูปแบบการเรียนการสอนได้เป็น 5 หมวด ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Effective Domain)

3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย (Psycho-Motor Domain)

4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะกระบวนการ (Process Skills)

5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (Integration)

การจัดหมวดหมู่ของรูปแบบเป็นเพียงเครื่องแสดงให้เห็นว่ารูปแบบนั้นมีวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นไปทางใดเท่านั้น แต่ส่วนประกอบด้านอื่น ๆ ก็ยังคงมีอยู่ เพียงแต่จะมีน้อยกว่าจุดเด่นเท่านั้น

เนื่องจากจำนวนรูปแบบและรายละเอียดของแต่ละรูปแบบมีมากเกินกว่าที่จะนำเสนอไว้ ในที่นี้ทั้งหมดได้ จึงขอนำเสนอไว้เฉพาะรูปแบบที่น่าสนใจ เป็นประโยชน์กับการนำไปใช้และเหมาะกับกาลสมัยพอเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

2.1 รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT

ก. ทฤษฎี/หลักการหรือแนวคิดของรูปแบบ แม็คคาร์ธี (Mc Carthy, อ้างในทิศนา แขมมณี, 2545, หน้า 260-262) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนขึ้นจากแนวคิดของโคล์ป (Kolb) ซึ่งอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของ 2 มิติ คือ การรับรู้ (Perception) และกระบวนการจัดกระทำข้อมูล (Processing) การรับรู้ของบุคคลมี 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม (Abstract Conceptualization) ส่วนกระบวนการจัดกระทำกับข้อมูลที่รับรู้นั้น มี 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ การลงมือทดลองปฏิบัติ และการสังเกตโดยใช้ความคิดอย่างไตร่ตรอง เมื่อลากเส้นตรงของช่องการรับรู้ 2 ช่องทาง และเส้นตรงกระบวนการจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มาตัดกัน แล้วเขียนเป็นวงกลมจะเกิดพื้นที่เป็น 4 ส่วนของวงกลม ซึ่งสามารถแทนลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 แบบ คือ

แบบที่ 1 เป็นผู้เรียนที่ถนัดจินตนาการ (Imaginative Learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปรูปธรรม และใช้กระบวนการจัดกระทำข้อมูลด้วยการสังเกตอย่างไตร่ตรอง

แบบที่ 2 เป็นผู้เรียนที่ถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม และชอบใช้กระบวนการสังเกตอย่างไตร่ตรอง

แบบที่ 3 เป็นผู้เรียนที่ถนัดใช้สามัญสำนึก (Common Sense Learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทางความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม และชอบใช้กระบวนการลงมือกระทำ

แบบที่ 4 เป็นผู้เรียนที่ถนัดในการปรับเปลี่ยน (Dynamic Learners) เพราะมีการรับรู้ผ่านทางประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และชอบใช้กระบวนการลงมือปฏิบัติ แมคคาร์ธีและคณะ ได้นำแนวคิดของโคล์ป มาประกอบกับแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานของสมองทั้งสองซีก ทำให้เกิดเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำถามหลัก 4 คำถาม คือ ทำไม (Why?) อะไร (What?) อย่างไร (How?) และถ้า (If?) ซึ่งสามารถพัฒนาผู้เรียนที่มีลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกันทั้ง 4 แบบให้สามารถใช้สมองทุกส่วนของตนในการพัฒนาศักยภาพของตนได้ อย่างเต็มที่ ดังแสดงในภาพ 11

ภาพ 11 : การเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT

ที่มา : ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 261)

ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน (Whole blain) ทั้งซีกซ้ายและขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ การเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT มีขั้นตอนดำเนินการ 8 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การสร้างประสบการณ์ ผู้สอนเริ่มต้นจากการจัดประสบการณ์ ให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมตนจึงต้องเรียนรู้เรื่องนี้

ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ หรือสะท้อนความคิดจากประสบการณ์ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้ และยอมรับความสำคัญของเรื่องที่เรียน

ขั้นที่ 3 การพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดหรือแนวคิด เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนแล้ว ผู้สอนจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความคิดรวบยอดขึ้นด้วยตนเอง

ขั้นที่ 4 การพัฒนาความรู้ความคิด เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์และเกิดความคิดรวบยอดหรือแนวคิดพอสมควรแล้ว ผู้สอนจึงกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความคิดของตนให้กว้างขวางและลึกซึ้ง โดยการให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ในขั้นที่ 3 และ 4 นี้คือการตอบคำถามว่า สิ่งที่ได้เรียนคือ อะไร

ขั้นที่ 5 การปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ ในขั้นนี้ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำความรู้ความคิดที่ได้รับจากการเรียนรู้ในชั้นที่ 3-4 มาทดลองปฏิบัติจริง และศึกษาผลที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 6 การสร้างชิ้นงานของตนเอง จากการปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้ในขั้นที่ 5 ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ถึงจุดเด่นจุดด้อยของแนวคิด ความเข้าใจแนวคิดนั้นจะกระจ่างขึ้น ในขั้นนี้ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถของตน โดยการนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้หรือปรับประยุกต์ใช้ในการสร้างชิ้นงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง ดังนั้นคำถามหลักที่ใช้ในขั้นที่ 5-6 ก็คือ จะทำอย่างไร

ขั้นที่ 7 การวิเคราะห์ผลงานและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ เมื่อผู้เรียนได้สร้างสรรค์ชิ้นงานของตนตามความถนัดแล้วผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงผลงานของตน ชื่นชมกับความสำเร็จ และเรียนรู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งรับฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น และการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

ขั้นที่ 8 การแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด ขั้นนี้เป็นขั้นของการขยายขอบข่ายของความรู้โดยการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดแก่กันและกัน และร่วมกันอภิปรายเพื่อการนำการเรียนรู้ไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริงในอนาคต คำถามหลักในการอภิปรายก็คือ ถ้า…? ซึ่งอาจนำไปสู่การเปิดประเด็นใหม่สำหรับผู้เรียนในการเริ่มต้นวัฏจักรของการเรียนรู้ในเรื่องใหม่ต่อไป

ง. ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ ผู้เรียนจะสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่เรียน จะเกิดความรู้ความเข้าใจและนำความรู้ความเข้าใจนั้นไปใช้ได้ และสามารถสร้างผลงานที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ อีกจำนวนมาก

2.2 รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Models of Cooperative Learning)

ก. ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ พัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือของจอห์นสัน และจอห์นสัน (Johnson & Johnson, 1974 pp. 213-240) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกัน เพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการแพ้ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทางด้านจิตใจ และสติปัญญา หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ ประกอบด้วย

1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน (Positive Interdependence) โดยถือว่าทุกคน มีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากัน เพื่อความสำเร็จร่วมกัน

2. การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (Face to Face Interaction) เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อมูล และการเรียนรู้ต่าง ๆ

3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (Social Skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน และ

4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (Group Processing) ที่ใช้ในการทำงาน และ

5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (Individual Accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกัน นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่างๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้วยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก

ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะความคิด การแก้ปัญหาและอื่น ๆ

ค. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการดำเนินการหลักๆ ซึ่งได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล แตกต่างกันออกไป เพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ต่างก็ใช้หลักการเดียวกัน คือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ และมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน คือ เพื่อช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัยการร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน และแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูปแบบจะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระ และวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล เป็นประการสำคัญ

2.3 กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Instruction)

รูปแบบพัฒนาขึ้นโดย เอลิซาเบธ โคเฮนและคณะ (Elizabeth Cohen) เป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ จี.ไอ. เพียงแต่จะเน้นการสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มมากกว่าการทำเป็นรายบุคคล นอกจากนั้นงานที่ให้ยังมีลักษณะของการประสานสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทักษะหลายประเภท และเน้นการให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยการจัดงานให้เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้น ครูจึงจำเป็นต้องค้นหาความสามารถเฉพาะทางของผู้เรียน ที่อ่อน โคเฮน เชื่อว่า หากผู้เรียนได้รับรู้ว่าตนมีความถนัดในด้านใด จะช่วยให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ในด้านอื่น ๆ ด้วย รูปแบบนี้จะไม่มีการใช้กลไกของการให้รางวัล เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ได้ออกแบบให้งานที่แต่ละบุคคลทำสามารถสนองตอบความสนใจของผู้เรียนและสามารถจูงใจผู้เรียนแต่ละคนอยู่แล้ว

ง. ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อนๆ ร่วมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการประสานสัมพันธ์ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการแก้ปัญหา ฯลฯ

2.4 รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทย

ในส่วนของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยนักการศึกษาไทยนั้น เนื่องจาก มีนักการศึกษาไทยหลายท่าน/หลายรูปแบบด้วยกัน คณะผู้จัดทำจึงขอนำเสนอเพียง 2 รูปแบบดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โดย สุมน อมรวิวัฒน์

ก. ทฤษฎี / หลักการ / แนวคิด ของรูปแบบ

ในปี พ.ศ. 2526 สุมน อมรวิวัฒน์ นักการศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและมีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก ได้นำแนวคิดจากหนังสือพุทธธรรมของราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต : พระพรหมคุณาภรณ์ ราชทินนามปัจจุบัน พ.ศ. 2549) เกี่ยวกับการสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ มาสร้างเป็นหลักการและขั้นตอนการสอนตามแนวพุทธวิธีขึ้น รูปแบบการเรียนการสอนนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการที่ว่าครูเป็นบุคคลสำคัญที่สามารถจัดสภาพแวดล้อมแรงจูงใจ และวิธีการสอนให้ศิษย์เกิดศรัทธาจะเรียนรู้ การได้ฝึกฝนวิธีการคิด โดยแยบคายและนำไปสู่การปฏิบัติจนประจักษ์จริงโดยครูทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรช่วยให้ศิษย์มีโอกาสคิด และแสดงออกอย่างถูกวิธี จะสามารถช่วยพัฒนาให้ศิษย์เกิดปัญญาและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์, 2533, 161)

ข. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ

รูปแบบนี้มุ่งพัฒนาความสามารถในการคิด (โยนิโสมนสิการ) การตัดสินใจและการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียน

ค. กระบวนการเรียนกา

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

การจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด

1. แนวคิด ความหมาย และแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

โลกและสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การดำรงชีวิตของคนจึงต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นครรลองของชีวิตที่เกิดได้ทุกแห่งทุกเวลา ต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิตตั้งแต่ปฏิสนธิจนตาย เริ่มจากการเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน ศูนย์การเรียน โรงเรียน สถาบันศาสนา แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ กว้างไกลครอบคลุมสถานการณ์ของสังคมไทยและสังคมโลก

การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ปฏิสนธิ ตลอดชีวิต

ภาพที่ 19 : การเรียนรู้ตลอดชีวิต

ที่มา : คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 15)

ปฐมบทการเรียนรู้เริ่มขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ปัจจุบันมีหลักฐานทางการแพทย์และจิตวิทยาที่พิสูจน์แน่นอนแล้วว่า เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสามารถที่จะเรียนได้ในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา ดนตรี จริยธรรม บิดามารดาให้ลูกได้เรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่นการให้ฟังดนตรี ให้ฟังเทปบันทึก เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำไหล นกร้อง ไก่ขัน การนับเลข การพูดคุยและการสัมผัสกับลูก เด็กที่ได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสมตั้งแต่ก่อนเกิดสามารถช่วยให้สมองได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ

การเรียนรู้ช่วงอายุ 0-6 ปี ถือได้ว่าเป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ เพราะวัยนี้สมองจะเติบโตอย่างรวมเร็ว โดยเฉพาะช่วย 3 ปีแรก สมองของเด็กมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อ สารเคมีในสมอง รวมทั้งรอยหยักที่พื้นผิวสมอง ซึ่งล้วนส่งผลต่อสติปัญญาและความฉลาดของเด็ก ถ้าเด็กได้รับการพัฒนาได้รับการกระตุ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว จะช่วยพัฒนาเซลล์สมอง เจตคติต่อการเรียนรู้ และวางพื้นฐานของการเรียน ช่วยให้ทักษะการเรียนรู้พัฒนาไปได้ตลอดชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

เด็กวัยนี้ชอบเคลื่อนไหว สัมผัส เป็นวัยที่ชอบเล่นใช้มือใช้เท้า เด็กชอบกิจกรรมการเล่น และการออกกำลังกาย เด็กชอบปั้นดิน ถอนหญ้า ปลูกต้นไม้ ฯลฯ เด็กเล่นและทำงานเล็กๆ น้อยๆ ไปพร้อมกัน วัยนี้การเล่นคือการเรียน

วัย 0 - 6 ปี เป็นวัยที่คิดฝัน จินตนาการ วัยแห้งการสัมผัส ความปรารถนาที่จะเรียนรู้ สื่อสาร และเล่นร่วมกับผู้อื่น เป็นวัยเริ่มแรกที่จะวางรากฐานของชีวิตข้างหน้า ว่าจะพัฒนาไปได้ดีเพียงใด

แหล่งการเรียนรู้ในวัย 0 - 6 ปี ที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัว ได้แก่ พ่อแม่และบุคคลในครอบครัว ฉะนั้น การเตรียมการศึกษาสำหรับพ่อและแม่ในฐานะเป็นครูคนแรกของลูก จึงมีความสำคัญควบคู่ไปกับการสอนเด็กปฐมวัย

การเรียนรู้ในช่วงอายุ 6 - 24 ปี เป็นวัยเรียนในสถานศึกษา โดยเริ่มต้นตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนกระทั้งถึงระดับอุดมศึกษา การเรียนในช่วงนี้จะเป็นการเรียนเพื่อให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมบูรณ์ ครบองค์ 4 คือ การพัฒนาทางด้านร่างกาย จะต้องฝึกให้สามารถพัฒนาได้ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่และสุขภาพโดยรวม การพัฒนาทางด้านสติปัญญา คือกระตุ้นสมองให้เติบโต ฝึกให้รู้จักกระบวนการคิดวิเคราะห์ จินตนาการและใช้เหตุผล การพัฒนาทางด้านอารมณ์และทางด้านจิตใจจะต้องฝึกเด็กให้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สามารถเรียนรู้วิชาควบคุมอารมณ์ให้มีศรัทธาและปฏิบัติตามหลักธรรมในศาสนา ผู้เรียนได้รับการฝึกหัดขัดเกลาทั้งกาย วาจา ใจ การพัฒนาทางด้านสังคม จะต้องฝึกเด็กให้เคารพปฏิบัติตามกฎและกติกาของสังคม เรียนรู้ ที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น

เด็กวัยนี้สามารถคิดเรื่องนามธรรม ใช้เหตุผลจำแนกความดี-เลวได้ จึงควรมีโอกาสได้เรียนรู้สัมผัส และสร้างประสบการณ์ ด้านภาษา การคิดคำนวณ ทักษะทางสังคมและวิทยาศาสตร์

วัย 6-24 ปี เป็นวัยเด็กที่เติบโตขึ้นเป็นเยาวชน หากเขาเรียนในระบบโรงเรียนก็สามารถจบระดับอุดมศึกษา ผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งทางสุขภาพอนามัย ทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม จิตใจ สุนทรียภาพ เพื่อสามารถดำรงตนในวัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีความสุข

แหล่งการเรียนรู้ของวัยเรียนนี้จะอยู่ที่สถานศึกษาเป็นหลัก แต่การเรียนรู้ที่จะต้องส่งเสริมให้มีมากขึ้นก็คือ การเรียนรู้จากครอบครัว ชุมชน สถานที่ต่าง ๆ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเรียนรู้จากเพื่อน ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ ฉะนั้น การจัดการศึกษาจะต้องมีความหลากหลาย ทุกส่วนของสังคมจะมีบทบาทและความสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเด็กและเยาวชนมากขึ้น

การเรียนรู้ช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง 25 – 60 ปี ผู้ใหญ่วัยทำงานสามารถเรียนรู้จากงานอาชีพ สถานประกอบการ เพื่อนร่วมงาน การท่องเที่ยว สื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ การเรียนรู้ของผู้ใหญ่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ผู้ใหญ่จำเป็นต้องพัฒนาสติปัญญา ความสามารถ และคุณธรรมอยู่อย่างต่อเนื่อง

การเรียนในช่วงวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) คนสูงอายุสามารถเรียนรู้ได้มากมายโดยผ่านกิจกรรมทางสังคม คนสูงอายุยังเป็นที่เคารพนับถือในสังคมไทย สามารถค้นคว้าหาความรู้ และเป็นที่พึ่งทางภูมิปัญญาในชุมชนท้องถิ่น ทำงานอาสาสมัครในองค์กรชุมชน ชมรม สมาคมต่าง ๆ ซึ่งทำให้ชีวิตมีคุณค่า และทำประโยชน์แก่สังคม

คน ชุมชน ประชาชนเป็นพลังที่สำคัญสุดของชาติ การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ถ้าเรานำแนวคิดสองส่วนคือ ความสำคัญของคนกับ ศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มาบูรณาการเข้าด้วยกันจะช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมการคิดเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศได้

1.1 แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด มิใช่เรื่องใหม่ ได้มีการใช้แนวคิดนี้สืบต่อกันมาอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

การเรียนรู้ตามแนวพุทธธรรมเน้น “คน” เป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการพัฒนา “คน” ทั้งในลักษณะที่เป็นปัจเจกชน (คือคนแต่ละคน)และการพัฒนา “กลุ่มคน” ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ เมื่อ “คน” มีความสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ วิธีการฝึกฝนอบรมจึงเป็นการพัฒนาทุกองค์ประกอบของความเป็น “คน”

การเรียนรู้ตามวิถีชีวิตไทยแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นการสั่งสอนรายบุคคล เมื่ออยู่ในครอบครัว พ่อแม่สอนลูกชายให้ขยันอ่านออกเขียนได้ สอนลูกหญิงให้ทำงานบ้านงานเรือน รู้จักรักนวลสงวนตัว เมื่อเติบโตขึ้นผู้ชายได้บวชเรียนกับพระที่วัด ได้ฝึกงานอาชีพ การทำมาหากิน ส่วนผู้หญิงฝึกคุณสมบัติของกุลสตรีและฝึกงานอาชีพกระบวนการเรียนรู้ตามวิถีวัฒนธรรมไทย สรุปได้คือ

1) เป็นกระบวนการบ่มเพาะ ซึมซับลักษณะนิสัย

2) กระบวนการถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรมประเพณีดันดีงาม

3) กระบวนการเรียนวิชาความรู้

4) กระบวนการอบรมกิริยามารยาททั้งทางกาย วาจา ใจ ตามหลักคุณธรรม

5) กระบวนการฝึกปฏิบัติด้วยการทำให้ดูแล้วฝึกให้ทำเป็น

6) กระบวนการส่งเสริม สัมมาทิฏฐิ ให้ลูกหลานเป็นคนคิดดี คิดชอบ

สื่อประกอบการเรียนรู้ นอกจากเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทำมาหากินแล้วเด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นิทานพื้นบ้าน ของเล่น การละเล่น บทกลอน สุภาษิต ปริศนาคำทาย

การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไทย มีลักษณะสัมพันธ์และสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมบูรณาการระหว่างความรู้ ความสามารถปฏิบัติได้จริง และความมีคุณธรรม สมควรที่นักการศึกษาทั้งหลายจะได้สนใจค้นคว้า เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกาลสมัย

การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดควรคำนึงถึงประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้

1. สมองของมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด

สมองของมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์เป็นโครงสร้างที่มหัศจรรย์ โดยธรรมชาติสมองมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดมีความต้องการที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ มนุษย์ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง ธรรมชาติ และทุกอย่างรอบตัว

มนุษย์สามารถรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ต้องอาศัยสมองและระบบประสาทสัมผัสซึ่งเป็นพื้นฐานของการรับรู้ ซึ่งรับความรู้สึกจากอวัยวะรับความรู้สึก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องสนใจ และให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมอง (Head) จิตใจ (Heart) มือ (Hand) และสุขภาพองค์รวม (Health)

2. ความหลากหลายของสติปัญญา

คนแต่ละคนมีความสามารถ หรือความเก่ง แตกต่างกัน และมีรูปแบบการพัฒนาเฉพาะของแต่ละคน สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาเสริมสร้างความสามารถให้แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสติปัญญาและได้จำแนกความสามารถของคนไว้ 10 ประเภทคือ ด้านภาษา ดนตรี ตรรกและคณิตศาสตร์ การเคลื่อนไหว ศิลปะมิติสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสารด้านความรู้สึก/ความลึกซึ้งภายในจิตใจ ด้านความเข้าใจธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านจิตวิญญาณ และด้านจิตนิยม

การจัดกระบวนเรียนรู้ ควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ความเก่ง/ความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถเก่งได้หลายด้าน

3. การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ได้ดำเนินการรวบรวมแนวคิดทาง

ทฤษฎีการเรียนรู้ และเสนอแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ดังนี้

3.1 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคลให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามความสามารถทั้งด้านความรู้ จิตใจ อารมณ์และ ทักษะต่าง ๆ

3.2 ลดการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาลง ผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกันใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ ให้ผู้เรียนได้เรียนจากสถานการณ์สิ่งแวดล้อมจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

3.3 กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ครูทำหน้าที่เตรียมการ จัดสิ่งเร้า ให้คำปรึกษา วางแนวกิจกรรม และประเมินผล

1.2 ความหมายกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด

กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด หมายถึง การกำหนดจุดหมาย สาระ กิจกรรม แหล่งเรียนรู้ และการจัดประเมินผล ที่มุ่งพัฒนา “คน” และ“ชีวิต” ให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้เต็มตามความสามารถ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน

กิจกรรมการเรียน คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติและเทคโนโลยี ผู้เรียนได้ค้นคว้า ทดลองฝึกปฏิบัติแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนค้นพบสาระสำคัญของบทเรียนได้ฝึกวิธีคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์จินตนาการ และสามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผล

ครูมีบทบาทปลุกเร้าและเสริมแรงศิษย์ในทุกกิจกรรม ให้ค้นพบคำตอบและแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งการร่วมทำงานเป็นกลุ่ม จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม ความมีวินัย รับผิดชอบในการทำงาน ผู้เรียนมีโอกาสฝึกการประเมินและปรับปรุงตนเองยอมรับผู้อื่น สร้างจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองและเป็นพลโลก

การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา เกิดขึ้นได้ในหลายระดับ ทั้งในตัวผู้เรียนในห้องเรียน และนอกเหนือไปจากห้องเรียนที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

ระดับผู้เรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย กิจกรรม และวิธีการเรียนรู้ ได้คิดเอง ปฏิบัติเอง ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งร่วมประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพ ความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของแต่ละคน

ระดับห้องเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่

ผู้เรียน (1) ได้คิดเอง ทำเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย (2) มีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย กิจกรรม และวิธีการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข (3) มีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนาการเรียนรู้

ครู เป็นผู้วางแผนขั้นต้น ทั้งเนื้อหาและวิธีการแก่ผู้เรียน จัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และช่วยชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

การจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับห้องเรียนนี้ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากครู และผู้เรียนแล้ว ผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนอย่างสำคัญ คือ ผู้บริหาร โรงเรียน บุคลากรสนับสนุนการสอน ตลอดจนการจัดสื่อการเรียนการสอน การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ๆ ตัวผู้เรียน

ระดับนอกเหนือห้องเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตในครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนทุกขั้นตอน

ระดับนอกเหนือห้องเรียนนี้ นอกจากผู้มีส่วนร่วมใน 2 ระดับที่กล่าวมาแล้ว ยังรวมถึงฝ่ายนโยบาย ผู้บริหาร พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน และฝ่ายสนับสนุนอื่น ๆ

กล่าวโดยสรุปว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่

 มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน

 ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ

 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

 ผู้เรียนสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

 ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

1.3. ปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้

1. กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีโอกาสคิด ทำ สร้างสรรค์โดยที่ครูช่วยจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อ และสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน

2. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความสามารถทางสติปัญญา อารมณ์ สังคม ความพร้อมของร่างกาย และจิตใจ และสร้างโอกาสให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ ที่หลากหลายและต่อเนื่อง

3. สาระการเรียนรู้มีความสมดุลเหมาะสมกับวัย ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนและความคาดหวังของสังคม ทั้งนี้ผลการเรียนรู้จากสาระและกระบวนการ จะต้องทำให้ผู้เรียน มีความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดี และมีความสุขในการเรียน

4. แหล่งเรียนรู้มีหลากหลายและเพียงพอที่จะให้ผู้เรียนได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ ตามความถนัด ความสนใจ

5. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับครูและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือเกื้อกูล ห่วงใย มีกิจกรรมร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้ คือ แลกเปลี่ยนความรู้ ถักทอความคิด พิชิตปัญหาร่วมกัน

6. ศิษย์มีความศรัทธาต่อครูผู้สอน สาระที่เรียนรวมทั้งกระบวนการที่จะก่อให้เกิด

การเรียนรู้ ผู้เรียนใฝ่รู้ มีใจรักที่จะเรียนรู้ ทั้งนี้ครูต้องมีความเชื่อว่าศิษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

7. สาระและกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้เรียน จนผู้เรียนสามารถนำผลจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

8. กระบวนการเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ เช่น ชุมชน ครอบครัวองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และร่วมมือกันให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้สูงสุด

เพื่อให้สถานศึกษาและครูผู้สอนได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้สอดคล้องกับมาตรา 24 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เอกสารนี้จึงเสนอตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดพอสังเขป ทั้งนี้มิได้หมายความว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องทำตามลำดับที่จะกล่าวต่อไปนี้เสมอไป ผู้สอนควรนำไปพิจารณาเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่ง ต่อจากนั้นเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยตนเองอย่างแน่นอน

ตัวอย่างการจัดกระบวนการเรียนรู้

1. การสำรวจความต้องการ

สำรวจความต้องการ/ความสนใจของผู้เรียน

สำรวจพื้นฐานความรู้เดิม

2. การเตรียมการ

 ครูเตรียมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 วางแผนการเรียนการสอน

3. การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น

 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรมการเรียนรู้

 วิเคราะห์ อภิปรายกระบวนการเรียนรู้

4. การประเมินผล

5. การสรุปและนำไปประยุกต์ใช้

1. การสำรวจความต้องการ

สำรวจความต้องการ/ความสนใจของผู้เรียน

สำรวจพื้นฐานความรู้เดิม

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นแรกควรศึกษาธรรมชาติและกำหนดความต้องการของผู้เรียนโดยการซักถามสังเกต

สัมภาษณ์ พูดคุย หรือทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อสร้าง/กระตุ้นความสนใจ สำรวจความสนใจและพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียนรายบุคคล รวมทั้งศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติในมาตรา 22 เป็นแนวสำหรับการดำเนินการ

2. การเตรียมการ

 ครูเตรียมเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

 วางแผนการเรียนการสอน

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ครูต้องเตรียมศึกษาสาระเนื้อหาวิชาในหลักสูตรและจุดประสงค์ของการเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า หลักสูตรต้องการอะไร แค่ไหน มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้อย่างไร และทำไมจึงต้องการอย่างนั้น เพื่อการวางแผนจัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน และหากเป็นไปได้ควรเชื่อมโยงและบูรณาการสาระการเรียนรู้แต่ละวิชาที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริง และให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงให้มากที่สุด ทั้งนี้ครูต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจและความถนัดอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจรายบุคคล เนื่องจากครูไม่ใช่ผู้บอกผู้สอนอย่างเดียว ครูจึงต้องเตรียมแหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นสื่อการเรียน ใบความรู้ ใบงานและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่มีข้อมูลความรู้ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษา ค้นคว้าตามความต้องการ การสำรวจแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์กีฬาและนันทนาการ เป็นต้น

3. การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น

 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรมการเรียนรู้

ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

3.1 นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนี้ครูควรใช้ประเด็นคำถามสถานการณ์หรือกิจกรรมที่กระตุ้นหรือท้าทายให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ ครูควรเป็นกัลยาณมิตรของผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าครู คือเพื่อนที่ช่วยเหลือเขาได้ในทุกเรื่อง ครูต้องรู้จักผู้เรียนรายบุคคลเป็นอย่างดี เพื่อใช้ความถนัด ความสนใจ ลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดกระตุ้นศักยภาพของแต่ละบุคคลและดึงดูดให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นและเต็มใจ

3.2 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูเป็นบุคคลสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพมุ่งจัดกิจกรรมและสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต โดยใช้สื่อที่หลากหลายในลักษณะขององค์รวมที่เหมาะสมกับความสามารถในการเรียนรู้และความสนใจของผู้เรียน คำนึงถึงการใช้สมองทุกส่วน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอกิจกรรมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน สรุปความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ทั้งสมาชิกภายในกลุ่มและสมาชิกระหว่างกลุ่มเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้

การเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องจำกัดตัวอยู่ในพื้นที่ห้องสี่เหลี่ยมในอาคารเป็นที่เรียนเสมอไป เพราะจะเป็นการทำให้ผู้เรียนรู้สึกเครียดกับบรรยากาศ พยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนประเภท ทุ่งนา ฟ้ากว้าง กลางป่า ก้อนกรวด ดิน หิน ทราย ดอกไม้ สายลม และวัสดุธรรมชาติให้มากเด็ก ๆ จะได้เคลื่อนไหวอย่างสนุกสนาน และเรียนรู้ไปพร้อมกัน

3.3 ขั้นวิเคราะห์ อภิปรายผลงาน/องค์ความรู้ ที่สรุปได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ ครูและ ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายผลที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยเน้นให้ผู้เรียน เกิดการค้นพบองค์ความรู้ด้วยตัวเอง ครูเป็นผู้สังเกต เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับให้องค์ความรู้ที่ได้รับชัดเจนเป็นการเสริมแรงและกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจการค้นหาความรู้ต่อไป

4. การประเมินผล

การประเมินผลสำเร็จของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เป็นการประเมินซึ่งมุ่งเน้นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยครูจะต้องศึกษามาตรา 26 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ในสาระและจุดเน้น การประเมินเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนของผู้เรียน ความ-ประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และการทดสอบเพื่อพัฒนาและค้นหาศักยภาพ จุดเด่นจุดด้อยของผู้เรียน และตรวจสอบว่ากระบวนการเรียนรู้ ได้พัฒนาผู้เรียน ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ อีกทั้งผลการเรียนของผู้เรียนจะเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการสอนของครูด้วย ดังนั้น การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องวัดและประเมินให้ครอบคลุมทุกด้านทั้งในส่วนของกระบวนการและผลงาน ทั้งด้านความรู้ ด้านความรู้สึก และทักษะการแสดงออกทุกด้าน และประเมินตามสภาพจริง ซึ่งในการประเมินผล สามารถประเมินระหว่างการเรียนการสอนและประเมินสรุปรวม โดยมีขั้นตอนในการประเมิน ดังนี้

4.1 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการประเมิน

4.2 พิจารณาขอบเขตเกณฑ์ วิธีการและสิ่งที่จะประเมิน เช่น

- ประเมินพัฒนาการด้านศิลปะและดนตรี คณิตศาสตร์ ภาษาวิทยาศาสตร์พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการของบุคลิกภาพ เป็นต้น

- ขอบเขตที่จะประเมิน เช่น ด้านความรู้ ทักษะความรู้สึกและคุณลักษณะ เป็นต้น

4.3 พิจารณากำหนดองค์ประกอบ และผู้ประเมินว่ามีใครบ้างที่จะเป็นผู้ประเมิน เช่นนักเรียนประเมินตนเอง เพื่อนนักเรียน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น

4.4 เลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือในการประเมินหลากหลายเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเกณฑ์ในการประเมิน เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึกพฤติกรรม แบบสำรวจความคิดเห็น บันทึกจากผู้เกี่ยวข้อง แฟ้มสะสมผลงาน ฯลฯ

4.5 กำหนดเวลาและสถานที่ที่จะประเมิน เช่น ประเมินระหว่างนักเรียนทำกิจกรรม ระหว่างทำงานกลุ่ม/โครงการ วันใดวันหนึ่งของสัปดาห์ เหตุการณ์/งานพิเศษ ฯลฯ

4.6 วิเคราะห์ผลและจัดการข้อมูลการประเมิน

- รายการกระบวนการ

- แฟ้มสะสมผลงาน

- การบันทึกข้อมูล

4.7 สรุปผลการประเมินเพื่อพัฒนาและปรับปรุงข้อบกพร่องการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอน ในกรณีที่เป็นการประเมิน สรุปรวมเพื่อพิจารณาตัดสินการเลื่อนชั้น โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำผลการประเมินระหว่างเรียนมาประกอบการพิจารณาด้วย

5. การสรุปและนำไปประยุกต์ใช้

เป็นขั้นการตกผลึกของกระบวนการเรียนรู้รายบุคคล กล่าวคือ ผู้เรียนแต่ละคนจะเกิดการมองสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม มองอย่างเชื่อมโยง หยั่งรู้ เกิดการค้นพบตัวเองว่า มีความสามารถ มีจุดเด่น-จุดด้อยทางด้านใดซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน หลังจากที่เขาได้ผ่านกิจกรรม การเรียนรู้ และการแสดงออกตามกระบวนการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งพิจารณาได้จากการหาข้อสรุป จากบทเรียน โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติม การแลกเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ การสะท้อนความคิด การแสดงผลงานการจัดนิทรรศการ การแสดงออกในลักษณะละคร การนำข้อค้นพบ การปรับปรุงตนเองของผู้เรียน เช่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ การเข้ากับคนอื่นได้ การเข้าใจผู้อื่น การเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ การเคารพสิทธิผู้อื่น ตลอดจนการสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ที่จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และการดำรงชีวิตประจำวัน

2. ลักษณะการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเรียนรู้ นักการศึกษา นักคิด ครูอาจารย์ ผู้บริหาร ผู้เรียน และทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะผู้เรียนและลักษณะกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ คือ

2.1 ลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์

ผู้เรียนที่พึงประสงค์คือ ผู้เรียนที่เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข

คนดี คือ คนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะพึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ พากเพียร ขยัน ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาสิ่งแวดล้อม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุข

คนเก่ง คือ คนที่มีสมรรถภาพสูง ในการดำเนินชีวิต โดยมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่ง หรือรอบด้าน หรือมีความสามารถพิเศษเฉพาะทาง เช่น ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถด้านภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา มีภาวะผู้นำ รู้จักตนเอง ควบคุมตนเองได้ เป็นต้น เป็นคนทันสมัย ทันเหตุการณ์ ทันโลก ทันเทคโนโลยีมีความเป็นไทย สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพและทำประโยชน์ ให้เกิดแก่ตน สังคม และประเทศชาติได้

คนมีความสุข คือคนที่มีสุขภาพดีทั้งกายและจิต เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรักต่อทุกสรรพสิ่ง มีอิสรภาพปลอดพ้นจากการตกเป็นทาสของอบายมุข และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ

2.2 ลักษณะกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์

กระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ คือกระบวนการทางปัญญาที่พัฒนาบุคคลอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มีความสุข บูรณาการเนื้อหาสาระตามความเหมาะสมของระดับการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน ทันสมัย เน้นกระบวนการคิด และการปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ตามสภาพจริง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างไกล เป็นกระบวนการที่มีทางเลือกและมีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายน่าสนใจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีผู้เรียน ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้ และมุ่งประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่งและคนมีความสุข

จากลักษณะการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สามารถสรุปเป็นแผนภาพได้ดังนี้

ภาพ 20 : ลักษณะของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ที่พึงประสงค์

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 13)

หากมีการจัดกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม หรือที่เรียกว่าบูรณาการตามที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้นแล้ว ย่อมส่งผลให้ได้คนไทยที่เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข คุณสมบัติ 3 ประการนี้ต่างเป็นปัจจัยอิงอาศัยกันและกัน มิได้เรียงลำดับก่อนหลัง เพราะถ้าพิจารณาอย่างบูรณาการแล้วก็ไม่จำเป็นต้องถกเถียงกันว่าคำใดควรมาก่อนคำใด

จุดหมายสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ การพัฒนาคุณภาพของคนไทย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ทุกฝ่ายต้องส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอ

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน 1. ความหมายของนวัตกรรม ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 416, 476) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอน จึงหมายถึง แนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือในช่วงเวลาหนึ่งหรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ อย่างไรก็ตาม ความใหม่ มิใช่คุณสมบัติประการเดียวของนวัตกรรม ถ้าเป็นเช่นนั้น ของทุกอย่างที่เข้ามาใหม่ๆ ก็จะเป็นนวัตกรรมทั้งสิ้น นวัตกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านใด จะเป็นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้ 1. เป็นสิ่งใหม่ ซึ่งมีความหมายในหลายลักษณะด้วยกันได้แก่ 1.1 เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน 1.2 เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำมาใช้ในที่นั้น กล่าวคือ เป็นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่ง แต่อาจเป็นของเก่าในอีกบริบทหนึ่ง ได้แก่ การนำสิ่งที่ใช้หรือปฏิบัติกันในสังคมหนึ่งมาปรับใช้ในอีกสังคมหนึ่ง นับเป็นนวัตกรรมในสังคมนั้น 1.3 เป็นสิ่งใหม่ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่อาจเป็นของเก่าในอีกช่วงเวลาหนึ่ง เช่นอาจเป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่ได้ผล เนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุน ต่อมาเมื่อปัจจัยและสถานการณ์อำนวย จึงนำมาเผยแพร่และทดลองใช้ใหม่ ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้ 2. เป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนพิสูจน์ทดสอบว่าจะได้ผลมากน้อยเพียงใดในบริบทนั้น 3. เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้แต่ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ หากการยอมรับนำไปใช้นั้น ได้กลายเป็นการใช้อย่างเป็นปกติในระบบงานของที่นั้นแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป 4. เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับนำไปใช้บ้างแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย คือยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง กิดานันท์ มลิทอง (2543, หน้า 255) กล่าวถึง นวัตกรรมไว้ว่า เทคโนโลยีระดับสูง ในปัจจุบันก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ ขึ้นเป็นอันมาก ทั้งด้านของวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในวิถีชีวิตที่แปลกใหม่ของคนเรา สิ่งเหล่านี้อาจเป็น ตั้งแต่เครื่องใช้สอยภายในบ้านและสำนักงานอัตโนมัติ วัสดุ อุปกรณ์ ในระบบดิจิทัลที่มีขนาดเล็กและพกพาสะดวก เช่น กล้องถ่ายภาพระบบดิจิทัล ซีดี-รอม ฯลฯ หรือการติดต่อสื่อสารกันโดยโครงข่าย โยงใยทั่วโลก ในลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งใหม่ที่เราเรียกว่าเป็น “นวัตกรรม” (Innovation) ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานของคนเราในปัจจุบันให้เป็นไปได้ด้วยความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และเมื่อนำเอานวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาแล้ว จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้นกว่าเดิม กิดานันท์ มลิทอง (2543, หน้า 255) ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า นวัตกรรม เป็นแนวคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานได้ด้วย นวัตกรรมเป็นคำกลาง ๆ ที่สามารถนำไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ หากนำไปใช้กับงานใดก็จะใช้คำของงานนั้นต่อท้ายคำนวัตกรรม เช่น นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึงการนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้กับการศึกษา เป็นต้น นวัตกรรมไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทุกหนทุกแห่ง ทั้งนี้เพราะสถานที่แต่ละแห่งย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องของทรัพยากรต่าง ๆ เช่น บุคลากร ทุนและอาคารสถานที่ ดังนั้นการรับเอานวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งจึงต้องมีการพิจารณาถึงประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำนวัตกรรมนั้นมาใช้ให้รอบคอบเสียก่อน โดยพิจารณาจากสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ (กิดานันท์ มลิทอง (2543, หน้า 256) 1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุอุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด 2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่ 3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ ที่คล้ายคลึงกันนี้ 4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง ในการพิจารณาถึงความเหมาะสมและความคุ้มค่าของการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่มีทรัพยากรจำกัดและไม่เท่าเทียมกันในแต่ละท้องถิ่นจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ มิเช่นนั้นแล้วจะเป็นความสูญเปล่าและสิ้นเปลืองโดยไม่ได้ประโยชน์อันใดเลย ตัวอย่างหนึ่งที่เรามองเห็นกันอยู่ในขณะนี้ก็คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารงานและด้านการเรียนการสอน ที่มิได้คำนึงถึงปัญหาด้านบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ การเตรียมห้องปรับอากาศเพื่อรักษาสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คงทนถาวร ค่าซ่อมบำรุง ตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์และวัสดุต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ประกอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ แผ่นบันทึกข้อมูล เป็นต้น การที่ไม่ได้พิจารณาให้รอบคอบถึงความพร้อมของสถานศึกษาและบุคลากรก่อนการนำนวัตกรรมมามาใช้ เป็นผลทำให้นวัตกรรมที่นำมาใช้ไม่ก่อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างคุ้มค่าหรืออาจจะไม่ได้ประโยชน์เลย ทั้งนี้เพราะไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่จะใช้นวัตกรรมนั้นอยู่ในองค์การนั้น ๆ กิดานันท์ มลิทอง (2543, หน้า 256) การนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในวงการศึกษา เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษาอยู่มากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ อาทิเช่น สื่อหลายมิติ ความเป็นจริงเสมือน อินเทอร์เน็ต และการสอนบนเว็บ เหล่านี้เป็นต้น 2. ลักษณะของนวัตกรรม ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 417-418) ทางด้านการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกับด้านอื่นๆ ที่ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากวิวัฒนาการของสภาพการเรียนการสอนเริ่มจากครูเป็นศูนย์กลาง หรือเน้นที่ตัวครูและการสอนของครู (teaching) ต่อมาจึงได้ขยายขอบเขตไปถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย การให้การศึกษาแก่ผู้เรียนเริ่มคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครูควบคู่กันไป จึงทำให้เกิดคำว่า การเรียนการสอน (instruction)ขึ้น เมื่อแนวคิดนี้เริ่มได้รับการยอมรับ นวัตกรรมต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นตามมาจำนวนมาก เพื่อช่วยให้แนวคิดนั้นสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้นวัตกรรมใช้เวลานานหลายปีกว่าจะได้รับการยอมรับและบางนวัตกรรมไม่ได้รับการยอมรับเลยก็มี นอกจากนั้น มีบางนวัตกรรมได้รับการนำไปใช้ในวงจำกัด แต่บางนวัตกรรมได้รับการนำไปใช้อย่างกว่างขวาง ในขณะที่บางนวัตกรรมไม่ได้รับการนิยม ก็จะค่อย ๆ สูญหายไป การที่นวัตกรรมใด ๆ ก็ตามจะได้รับความสนใจ และยอมรับนำไปใช้อย่างกว้างขวางเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นกับคุณสมบัติหรือลักษณะของนวัตกรรมนั้น รวมทั้งรูปแบบหรือลักษณะของการเผยแพร่นวัตกรรมนั้น นวัตกรรมที่มักได้รับความสนใจและยอมรับนำไปใช้อย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นนวัตกรรมที่ไม่ซับซ้อนและยากจนเกินไป ความยากง่ายของนวัตกรรมมีอิทธิพล อย่างมากต่อการยอมรับนำไปใช้ หากนวัตกรรมนั้นมีลักษณะที่ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายใช้ได้ง่าย ใช้ได้สะดวก การยอมรับนำไปใช้ ก็มักเกิดขึ้นได้ง่าย ไม่ต้องใช้เวลาในการเผยแพร่มากนัก 2. เป็นนวัตกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแพงจนเกินไป นวัตกรรมที่จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และการบำรุงรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงย่อมได้รับการยอมรับและนำไปใช้น้อยกว่านวัตกรรมที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ แม้จะมีความต้องการใช้ แต่ขาดงบประมาณก็ไม่สามารถใช้ได้ 3. เป็นนวัตกรรมที่สำเร็จรูป นวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกในการใช้ มักได้รับการยอมรับและนำไปใช้มากกว่านวัตกรรมที่ผู้ใช้จะต้องนำไปจัดทำเพิ่มเติมซึ่งผู้ใช้จะต้องใช้เวลาจัดเตรียมเพิ่มขึ้น 4. เป็นนวัตกรรมที่ไม่กระทบกระเทือนต่อบริบทเดิมมากนัก นวัตกรรมที่มีผลกระทบต่อบริบทเดิมมาก จำเป็นต้องปรับหรือเปลี่ยนแปลงบริบทเดิมมา การนำไปใช้ย่อมยากกว่านวัตกรรมที่ไม่มีผลกระทบต่อบริบทเดิมมากนัก 5. เป็นนวัตกรรมที่มีคนเกี่ยวข้องไม่มากนัก นวัตกรรมใดที่ต้องอาศัยคนหลายกลุ่มเข้ามาช่วยเหลือเกี่ยวข้องด้วย ทำให้ผู้ใช้ต้องประสานงานหลายฝ่าย การใช้ที่ขึ้นกับคนหลายฝ่ายย่อมทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้ จึงทำให้การยอมรับหรือการใช้นวัตกรรมนั้นยากขึ้น 6. เป็นนวัตกรรมที่ให้ผลชัดเจน นวัตกรรมที่ส่งผลเป็นรูปธรรมเห็นได้ชัดเจน มักได้รับการยอมรับสูงกว่านวัตกรรมที่ให้ผลไม่ชัดเจน 3. การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 419-421) กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยทั่วไปนั้น มีกระบวนการหลัก ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้ 1. การระบุปัญหา (Problem)ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่การมองเห็นปัญหาในเรื่องนั้น และมีความต้องการจะแก้ไขปัญหานั้นเพื่อให้เกิดสภาพการณ์หรือผลที่ดีขึ้น 2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Objective) เมื่อระบุปัญหาได้ชัดเจนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ การกำหนดจุดมุ่งหมายในการพัฒนานวัตกรรมว่า นวัตกรรมที่จะพัฒนานั้นควรมีคุณสมบัติหรือประสิทธิภาพอย่างไรและเพียงใด 3. การศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) ก่อนที่จะมีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ขึ้นมา ผู้พัฒนาจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของบัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ในบริบทที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถใช้ได้จริง โดยสะดวกในบริบทนั้น 4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ได้แก่ การแสดงหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูล และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมที่สร้างขึ้นอาจเป็นการนำของเก่ามาดัดแปลงหรือปรับปรุง เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจเป็นการคิดขึ้นใหม่ทั้งหมดก็ได้ นวัตกรรมอาจอยู่ในรูปแบบต่างๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของปัญหาและวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่น อาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการเทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด นวัตกรรมจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับหลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และรายละเอียดในการใช้นวัตกรรมนั้นให้ได้ผล 5. การทดลองใช้ (experimentation) เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมได้แล้วขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นมากก็คือ การทดลองใช้นวัตกรรมนั้นซึ่งประกอบด้วยการทดลองใช้การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข การทดลองใช้เป็นการศึกษาเพื่อดูว่านวัตกรรมนั้น สามารถนำไปใช้ได้จริงและได้ผลเพียงใด ผลการทดลองใช้จะช่วยให้ผู้พัฒนารู้จุดที่ควรปรับปรุงและหาทางแก้ไขเพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ การทดลองใช้ในขั้นนี้ หากสามารถดำเนินการ ก่อนนำออกเผยแพร่หลายครั้ง จนแน่ใจว่านวัตกรรมนั้นสามารถใช้ได้ผลจริง จะช่วยให้นวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จมากขึ้น 6. การเผยแพร่ (dissemination) เมื่อแน่ใจแล้วว่านวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ และ ประสิทธิภาพตามที่ต้องการ นวัตกรรมนั้นก็พร้อมที่จะได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย รูปแบบการเผยแพร่ที่ได้รับความนิยมกันมากโดยทั้งไปมีอยู่ 4 รูปแบบคือ (สำลี ทองทิว, 2541, หน้า 99-146) 6.1 การเผยแพร่ที่อิงการใช้อำนาจสนับสนุนจากเบื้องสูง (Authority Innovation- Decision Model) เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงให้ผู้มีอำนาจในระดับสูงเห็นความสำคัญของการใช้นวัตกรรมนั้น และตัดสินใจสั่งการไปยังผู้ใช้ ซึ่งอยู่ในระดับล่างให้ใช้นวัตกรรมนั้น 6.2 การเผยแพร่แบบใช้มนุษยสัมพันธ์ (Human Interaction Model) เป็นการเผยแพร่โดยการชักจูงบุคคลที่ใช้หรือเกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมนั้น โดยการให้ความรู้ความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือในการทดลองใช้หรือเกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมนั้น โดยการให้ตัดสินใจได้ว่า สมควรรับนวัตกรรมนั้นไว้ใช้ต่อไป หรือหยุดใช้นวัตกรรมนั้น 6.3 การเผยแพร่ใช้นวัตกรรม (User Participation Model) รูปแบบนี้เป็นการเผยแพร่ถึงตัวผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรง ซึ่งจะเป็นกลุ่มประชากรที่ต่างจากข้อ 6.2 ซึ่งถือว่าเป็นผู้ยอมรับ (adopter) นวัตกรรมนั้น แต่ไม่ใช่ใช้นวัตกรรมนั้นโดยตรง เช่น นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ผู้ยอมรับ (adopter) อาจเป็นศึกษานิเทศก์ หรือครูใหม่ ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ผู้ใช้โดยตรง ผู้ใช้นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนโดยตรงคือครู รูปแบบการเผยแพร่ถึงผู้ใช้โดยตรงนี้ จะให้ผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจในการที่จะยอมรับหรือไม่ยอมรับนวัตกรรมนั้น 6.4 การเผยแพร่แบบผสม (Eclectic Process of Change Model) การเผยแพร่แบบนี้เป็นการเผยแพร่นวัตกรรมผ่านตัวกลาง ซึ่งก็คือ ผู้ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกลุ่มผู้ที่ต้องการเผยแพร่นวัตกรรมกับกลุ่มผู้ต้องการใช้นวัตกรรม ซึ่งตัวกลางเผยแพร่นวัตกรรมนั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการ เผยแพร่ทั้ง 3 วิธีที่กล่าวข้างต้นผสมผสานกันไป 7. การยอมรับหรือต่อต้านนวัตกรรมนั้น เมื่อนวัตกรรมได้รับการเผยแพร่ผ่านไปในระยะเวลาพอสมควร นวัตกรรมนั้นจะได้รับการพิสูจน์อย่างแท้จริงว่า ได้รับการยอมรับในระดับใด บางนวัตกรรมอาจได้รับการยอมรับถึงขั้นนำไปใช้อย่างแพร่หลายในระบบงานปกติซึ่งต่อไปจะเปลี่ยนสภาพจากนวัตกรรมเป็นวิธีการปฏิบัติโดยทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบของนวัตกรรม ในขณะที่บางนวัตกรรมอาจได้รับการยอมรับนำไปใช้แต่ไม่แพร่หลายนัก บางนวัตกรรมอาจได้รับการนำไปใช้ในระยะหนึ่งและเลิกไป บางนวัตกรรมอาจไม่ได้รับการนำไปใช้อย่างสมบูรณ์เต็มรูป และบางนวัตกรรมก็ตายไป เพราะไม่ได้รับการยอมรับนำไปใช้เลยก็มี ซึ่งก็คงต้องมีการ เริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ขั้นแรกเป็นต้นไป 4. ความหมายของเทคโนโลยี เมื่อกล่าวถึงคำว่า “เทคโนโลยี” คนทั่วไปมักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเทคนิควิธีสมัยใหม่ เครื่องยนต์กลไกหรืออุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และมีราคาแพงหรืออาจจะเป็นในแง่ของความรู้ระดับสูง ทฤษฎี หรือหลักการใหม่ ๆ ที่นำไปใช้แล้วช่วยการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น จากความเข้าใจที่กล่าวเป็นการมองเทคโนโลยีในแง่ของวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเท่านั้น อย่างไรก็ดี สถาบันและนักการศึกษาหลายท่านได้ให้นิยามและความหมายของเทคโนโลยีไว้ต่าง ๆ กันดังนี้ ก่อ สวัสดิพาณิชย์ (2517, หน้า 84) นอกเหนือจากความหมายดังกล่าวแล้ว การนำเทคโนโลยีมาใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1. ประสิทธิภาพของงาน (efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรงและรวดเร็ว 2. ผลผลิต (productivity) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด 3. ประหยัด (economy) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานเพื่อการลงทุนน้อยแต่ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป ครรชิต มาลัยวงศ์ (2539, หน้า 76) ได้ให้ความเห็นว่า เมื่อพิจารณาคำนิยามของคำว่า เทคโนโลยี ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและพจนานุกรมเว็บสเทอรส์แล้วเห็นได้ว่า คำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานมีความหมายแคบกว่าความหมายที่ยอมรับกันทั่วไปในเวลานี้ และหากนำคำนิยามทั้งสองมาแยกเป็นข้อ ๆ แล้วจะได้รายละเอียดเพิ่มขึ้นว่า เทคโนโลยีนั้นหมายถึง 1. องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2. การประยุกต์วิทยาศาสตร์ 3. วัสดุ เครื่องยนต์กลไก เครื่องมือ 4. กรรมวิธี และวิธีดำเนินงานที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 5. ศิลปะ และทักษะในการจำแนกและรวบรวมวัสดุ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้างและ การใช้สิ่งของกระบวนการหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีอยู่ในธรรมชาตินั่นเอง พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีไว้ดังนี้ เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม สุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ (2540, หน้า 269) เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นิพนธ์ ศุขปรีดี (2545, หน้า 14) ได้สรุปความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยี คือระบบการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด พจนานุกรม ฉบับมติชน (2547, หน้า 437) ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่คิดค้นและพัฒนาจากธรรมชาติ นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ กัทเบรท (Galbraith, 1967, p 12) ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้คือ เทคโนโลยี เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ เอดการ์ เดล (Dale, Edgar, 1969, p 610) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี ประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือและกระบวนการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลองและได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาแล้ว กู๊ด วี คาร์เตอร์ (Carter V. Good, 1973, p 592) ได้จำแนก เทคโนโลยี ยังสามารถจำแนกออกเป็น 5 ความหมาย คือ 1. ระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค 2. การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติ 3.การจัดระบบของข้อเท็จจริงและหลักเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในทางปฏิบัติ และอาจรวมถึงหลักการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลทางการเรียนการสอนด้วย 4. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมศิลป์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประยุกต์ใช้ในโรงงานต่าง ๆ 5. การนำเอาความรู้ด้านตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อทำให้เกิดความเจริญทางด้านวัตถุ พจนานุกรมเว็บเทอรส์ (Websters, 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้ 1) ก. การใช้ทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรม และพาณิชกรรม ข. องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 2) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ สาราณุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta, 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี(Technology) ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne ซึ่งหมายถึงศิลปะ หรืองานช่างฝีมือ (art or craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (area of study)ดังนั้นถ้าแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึงหมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ ไฮนิค และคณะ (Heinich & Others, 1999, p. 410) ได้จำแนกตามลักษณะของเทคโนโลยีได้ 3 ลักษณะด้วยกันคือ 1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) หมายถึง กระบวนการของ การออกแบบแก้ปัญหาที่เชื่อถือได้และนำมาใช้ซ้ำได้ในงานต่าง ๆ 2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี เช่น ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพยนตร์ หรือหนังสือก็เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ เป็นต้น 3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการกับผลผลิต (process and product) ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกันใน 2 ลักษณะ คือ 3.1 ในลักษณะรวมของกระบวนการและผลผลิต เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับ-ส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลมาจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบการส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง 3.2 ในลักษณะของกระบวนการ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม เป็นต้น เทคโนโลยี นับว่าเป็นส่วนเสริมหรือตัวการพิเศษในระบบการดำรงอยู่ของมนุษย์ เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของเราได้ เนื่องจากเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์ โดยนำมาใช้ในงานสาขาต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น ในทางการเกษตรจะใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตและถนอมพืชผลทางการเกษตร ทางการแพทย์ใช้ในการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย วิธีการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ ตลอดจนการนำไมโครชิปใส่ลงไปในเครื่องมือเพื่อตรวจร่างกาย ในวงการทหารสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในการผลิตอาวุธสมัยใหม่ และคิดค้นยุทธวิธีการรบแบบต่าง ๆ หรือในวงการธุรกิจก็มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานเช่นสำนักงานอัตโนมัติหรือการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรับจ่ายเงินของธนาคาร ทำให้ผู้ใช้บริการธนาคารสามารถฝากหรือถอนเงินหรือใช้บริการต่าง ๆ จากธนาคารที่ตนมีบัญชีอยู่สาขาใดก็ได้ เป็นต้น 5. องค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนการสอน นิพนธ์ ศุขปรีดี (2545, หน้า 25) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอน หมายถึง การเรียนการสอนที่ทำให้ระบบการศึกษาบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการใช้ทรัพยากรการเรียนการสอนอย่างประหยัด เช่นระบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิชาคอมพิวเตอร์ นิพนธ์ ศุขปรีดี (2545, หน้า 14) ได้สรุปความหมายของเทคโนโลยีไว้ว่า เทคโนโลยี คือระบบการทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด และได้อธิบายต่อไปว่าเทคโนโลยีควรมีองค์ประกอบ เราพิจารณาจากเกณฑ์ 3 ประการต่อไปนี้ 1. เทคโนโลยีต้องเป็นระบบ 2. เทคโนโลยีต้องทำให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3. เทคโนโลยีต้องประหยัดทรัพยากร 1. เทคโนโลยีต้องเป็นระบบ หมายถึง เทคโนโลยีจะมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบของระบบ คือ (ก) ทรัพยากร (ข) กระบวนการ และ (ค) ผลลัพธ์ โดยสามารถเขียนเป็นภาพได้ดังนี้ ก) ทรัพยากร (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรม เช่น บุคลากร (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุ อุปกรณ์ (Materials) ปัจจัยที่เป็นนามธรรม เช่น พลังงาน การจัดการ (Management) แรงจูงใจ (Motivation) และการเสริมแรง (Reinforcement) ข) กระบวนการ (Process) หมายถึง ระเบียบ วิธี กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ เทคนิควิทยา วิทยศิลป์ การทำงานโดยธรรมชาติ เครื่องกลหรือวิธีการอื่นใดเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ค) ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง ผลผลิต (Product1) และผลกระทบของระบบ 2. เทคโนโลยีต้องทำให้งานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึง ระบบการทำงานทุกระบบจะเป็นเทคโนโลยีได้ต้องเป็นระบบที่มีเป้าหมายของผลลัพธ์ที่แน่ชัดว่าใครทำอะไร ทำเสร็จเมื่อไร ทำที่ไหน ได้ผลผลิตและมีผลกระทบอย่างไร ในกรณีที่ระบบมีการใช้ทรัพยากรเท่ากัน กระบวนการทำงานของระบบเหมือนกัน ระบบนั้นจะให้ผลลัพธ์ซึ่งรวมทั้งผลผลิตและผลกระทบเท่ากัน แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร หรือกระบวนการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 ประการ ก็จะมีผลทำให้ผลลัพธ์ไม่คงที่และไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นระบบที่จะให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายจะต้องมีความคงที่เป็นปกติทั้งทางด้านการใช้ทรัพยากรและกระบวนการของระบบทุกครั้งที่มีการใช้ระบบ 3. เทคโนโลยีต้องประหยัดทรัพยากร หมายถึง ระบบใด ๆ ก็ตามถ้าให้ผลลัพธ์เท่ากัน แต่ประหยัดทรัพยากรกว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ดีกว่า เช่น รถยนต์ยี่ห้อ “ชาติ” เติมน้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ 10 กิโลเมตร ในขณะที่รถยนต์ยี่ห้อ “ไทย” เติมน้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ถึง 15 กิโลเมตร ท่านตอบได้ทันที่ว่ารถยนต์ยี่ห้อไทยเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีการเดินทางในการเดินทางดีกว่ารถยนต์ยี่ห้อ “ชาติ” ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมผู้เขียนเรียกรถยนต์ว่า เครื่องมือเทคโนโลยีการเดินทาง แทนที่จะเรียนว่า เทคโนโลยีการเดินทาง ตำตอบคือ รถยนต์เป็นเพียงทรัพยากรหรือปัจจัยหนึ่งของระบบเดินทาง ซึ่งยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยทางด้านถนน ระยะทาง สภาพอากาศระหว่างการเดินทางและทรัพยากรอื่น ๆ อีกมากที่เป็นทรัพยากรทั้งหมดของการเดินทาง และสิ่งนี้เองมักจะมี ผู้สับสนระหว่างคำว่า “เทคโนโลยี” กับคำว่า “เครื่องมือเทคโนโลยี” “เทคโนโลยี” กับคำว่า “เครื่องมือเทคโนโลยี” เทคโนโลยีไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือราคาแพงหรือไม่ แต่…การใช้เทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของทรัพยากร เป้าหมายและกระบวนการของระบบเป็นสำคัญ (นิพนธ์ ศุขปรีดี, 2545, หน้า 17) 5.1 การสอนที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยี ชาญชัย อาจินสมาจาร (2545, 131) กล่าวถึง การสอนที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีไว้ว่าบางครั้งทรัพยากรการเรียนการสอนจำนวนมากที่ปัจจุบันมีอยู่เพื่อเสริมรูปแบบการเรียนการสอนแบบเก่าที่ครูพูดและอธิบาย และนักเรียนถาม อ่านและเขียน ทรัพยากรเหล่านี้อาจจะเป็นมนุษย์ เทคโนโลยี สิ่งพิมพ์และที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ อุปกรณ์การสอนหรือสื่อเบื้องต้นของการสอนยังพบทั้งภายในและภายนอก ฝาผนังของห้องเรียนหรือกำแพงโรงเรียน ขอบเขตของมันรวมถึงบุคคลใด ๆ เครื่องอำนวยความสะดวกหรือเทคโนโลยีการสอน หรือสื่อที่นำพาข้อมูล กระตุ้นความคิด และขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การสอนที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีถูกให้คำจำกัดความว่าเป็น “กระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งผสมผสานซึ่งเกี่ยวข้องกับคน วิธีการ แนวความคิด เครื่องมือและองค์การสำหรับการวิเคราะห์ปัญหา” และสร้างเครื่องมือนำไปใช้และประเมินผลและจัดการ การแก้ปัญหาเหล่านั้นให้การเรียนรู้ของมนุษย์ทุกลักษณะเข้ามีส่วนร่วม 5.2 เทคโนโลยี : สนับสนุนการสอน ชาญชัย อาจินสมาจาร (2545, 132-133) กล่าวถึง เทคโนโลยีสนับสนุนการสอนไว้ว่า บางคนอาจยังเชื่อว่าเทคโนโลยีสามารถทดแทนครู และครูกับเทคโนโลยีควรแข่งขันกันทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การสอนโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้าช่วยสามารถกำจัดความต้องการของครู และการศึกษาทางไกลสามารถลดปริมาณเวลาที่นักเรียนและครูต้องการเพื่อนการติดต่อกัน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะลดค่าใช้จ่ายในการให้การศึกษาอย่างสำคัญ อย่างไรก็ตาม นักการศึกษามืออาชีพรู้ว่าขณะที่เทคโนโลยีมีประโยชน์ในบางสถานการณ์ของการสอน และไม่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์เทคโนโลยีในตัวมันเองไม่ได้เพิ่มการเรียนรู้ มันเพียงแต่ให้ตัวเลือกต่อการนำเสนอของครูหรือการอ่านของนักเรียน ครูมืออาชีพที่แท้จริงใช้เทคโนโลยีในฐานะเครื่องช่วยในการสอนไม่ใช้สิ่งทดแทนการสอน คุณค่าส่วนใหญ่ของเทคโนโลยีอยู่ที่การใช้ของครูที่สามารถกระตุ้นนักเรียน จัดโครงสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ต่อความต้องการของเอกบุคคลแต่ละคนมีแนวทางการเรียนของตัวเอง นักเรียนบางคน เป็นนักกีฬาที่ดีคนอื่นอาจต้องดูสิ่งต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้ให้ดีที่สุด ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการสอนเพิ่มขอบเขตและความซับซ้อนของตัวเลือกการสอน ครูสามารถหาตัวเลือกของสื่อเพื่อการนำเสนอได้หลายอย่างมีคุณภาพสูง และง่ายต่อการเข้าถึงทบทวนเทคโนโลยีที่มีอยู่บ่อย ๆ และใช้มันเพื่อสนับสนุนการนำเสนอของครูหรือให้การฝึกแก่นักเรียน บางครั้งข้อมูลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยี และการนำเสนออาจจะกว้างกว่าและดีกว่าของครู อย่าลังเลที่จะใช้มันแต่จงจำไว้ว่าในการนำเสนอของครู ครูไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลใหม่อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลเท่านั้นแต่ครูยังเพิ่มมนุษย์ที่วิกฤติตอบสนองโดยตรงต่อนักเรียนด้วยความรู้สึกที่ไวและแม่นยำ แรกที่สุด การสอนคือธุรกิจคน แต่เทคโนโลยีเป็นเครื่องช่วยที่มีค่ามากมายในแนวทางสื่อผสมต่อการสอน 6. ความสำคัญของเทคโนโลยีการเรียนการสอน เทคโนโลยีการเรียนการสอนมีความสำคัญอย่างยิ่งสิ่งหนึ่ง ในการช่วยแก้ปัญหาการศึกษาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอนและการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ เข้ามาใช้ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้นรัฐบ

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

การประเมินผลการสอน 1. ความหมายของการประเมินผลการสอน การประเมินผลเป็นกระบวนที่สำคัญอีกกระบวนการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน เพราะทำให้ทราบพื้นฐานของความรู้ของผู้เรียน เพื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมตลอดจนใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน และเพื่อตัดสินเลื่อนชั้นให้กับผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 30) กล่าวว่า การวัดผลประเมินผล เป็นกระบวนการ ที่ผู้สอนใช้พัฒนา คุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาและดำเนินการวัดผลประเมินผลโดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การวัดผลประเมินผลระดับชั้นเรียน ซึ่งเป็นการวัดความก้าวหน้าของผู้เรียนและการประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า ด้านการเรียนรู้เป็นรายชั้นปี และช่วงชั้นของสถานศึกษา ธำรง บัวศรี (2542, หน้า 257) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการประเมินค่าและตัดสินใจ บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2535, หน้า 14) กล่าวว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการตัดสินคุณค่าของสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อสรุปว่า สิ่งนั้น ดีหรือเลว ปานใด การวัดผลและการประเมินผลเป็นสิ่ง จำเป็นในกระบวนการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 29) กล่าวถึง การประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล หมายถึง เป็นกลไกที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้เพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขในเรื่องใดบ้าง ผู้บริหารและครูที่เข้าใจระบบการประกันคุณภาพอย่างถูกต้อง จะตระหนักถึงความสำคัญของการ-ประเมินผล ไม่กลัวการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินตนเองซึ่งเป็นการประเมินที่มุ่งเพื่อการพัฒนาไม่ใช่การตัดสินถูก-ผิด ไม่ใช้การประเมินเพื่อประเมิน และไม่ใช่เรื่องที่ทำยาก ไม่ต้องคิดเครื่องมือหรือแบบประเมินมากมาย แต่เป็นการประเมินในงานที่ทำอยู่เป็นประจำ เครื่องมือที่ใช้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น สถิติที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของฝ่ายวิชาการ ผลงาน หรือการบ้าน ตลอดจนการทดสอบย่อยของผู้เรียนในชั้นเรียนซึ่งเป็นข้อมูลที่ครูมีอยู่แล้วเพียงแต่จัดเก็บให้เป็นระบบมากขึ้นเท่านั้น กระทรวงศึกษาธิการ (2545, หน้า 24-26) ให้ความหมายของการประเมินผลไว้ว่าการประเมินผลการเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการที่ให้ครูผู้สอนให้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของ ผู้เรียน รวมทั้งข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ วศิน กาญจนวณิชย์กุล (2545, หน้า 9) ให้ความหมายของการประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล หมายถึง การรวบรวมข้อมูล และการจัดข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้มีการตัดสินใจได้หลายทาง เช่น ตัดสินว่าบุคคลนั้น ๆ มีความสนใจและมีบุคลิกภาพอย่างไรหรือจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพประเภทใดบ้าง เป็นต้น นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม, และวลัยพร ศิริภิรมย์ (2545, หน้า ค) กล่าวถึงการประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล หมายถึง การตรวจสอบผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจและความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ มีสิ่งใดควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปานรวี ยงยุทธวิชัย (2546, หน้า 38-40) กล่าวถึงการประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วกำหนดค่าเป็นตัวเลขให้กับสิ่งหนึ่งใด โดยมีเกณฑ์ที่แน่นอนแล้วนำตัวเลขที่ได้มาตีค่าแล้วตัดสิน การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นการวัดความสำเร็จในการเรียนการสอน สำนักงานประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น (2547, หน้า 75) กล่าวถึงการประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล (Assessment) โดยทั่ว ๆ ไป หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรมหรือประมาณพฤติกรรมว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดหรือไม่โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และสรุปผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด วิทยา ประชากุล (2548, หน้า 30) กล่าวถึงการประเมินผลไว้ว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาและดำเนินการประเมินผลโดยแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่ การประเมินผลระดับชั้นเรียนซึ่งเป็นการวัดความก้าวหน้าของผู้เรียน และการประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า ด้านการเรียนรู้เป็นรายชั้นปี และช่วงชั้นของสถานศึกษา สรุปได้ว่า การประเมินผล หมายถึง กระบวนการที่ให้ครูผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบพื้นฐานของความรู้ของผู้เรียน แล้วนำมาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน วิธีการสอน เพื่อตัดสินเลื่อนชั้นให้กับผู้เรียน และเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2. องค์ประกอบ/ประเภทของการประเมินผลการสอน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535, หน้า 199) กล่าวว่า องค์ประกอบของการประเมินผล การประเมินผลแต่ละครั้งจะประกอบด้วย 1. ผลการวัดที่ได้จากกระบวนการต่าง ๆ เช่น จากการสังเกต การตรวจงาน การสัมภาษณ์ หรือการทดสอบ 2. เกณฑ์การพิจารณา เพื่อจะใช้เป็นแนวทาง หรือหลักในการพิจารณาว่า เก่ง - อ่อน พอใจ -ไม่พอใจ ผ่าน - ไม่ผ่าน โดยนำผลที่วัดได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3. การตัดสินใจ เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลของการวัด กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การวัดผลการเรียนรู้ และได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการวัดผลว่า เป็นการตรวจสอบการสอนของผู้สอน และการเรียนของผู้เรียนในด้านการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Domain) 2) ด้านทักษะการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) 3) ด้านเจตคติ (Affective Domain) วศิน กาญจนวณิชย์กุล (2545, หน้า 10-16) กล่าวว่า การประเมินผลมีหลายประเภท จำแนกตามเกณฑ์การแบ่งที่แตกต่างกันดังนี้ 1. แบ่งตามระบบของการประเมิน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินผลแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ 1.1 การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่นที่ทำงานหรือทำแบบทดสอบอย่างเดียวกัน จุดมุ่งหมายของการประเมินนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้น ๆ โดยยึดลำดับผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือในการจำแนก นั่นคือจำแนกตามระดับคะแนนสูงสุดจนต่ำสุด ตัวอย่างการตัดสินใจโดยใช้การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม เช่น การคัดเลือกนักศึกษาต่อในสถานศึกษา การสอบชิงทุนการศึกษาเป็นต้น เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการประเมินผลแบบนี้ ต้องการกระจายบุคคลให้แตกต่างกันมากเพื่อสามารถเปรียบเทียบกันได้ ฉะนั้นคุณภาพของแบบทดสอบนี้จึงมีความสำคัญมาก แบบทดสอบที่ใช้ควรมีเนื้อหาที่เป็นตัวอย่างของเนื้อหาทั้งหมดได้ มีความยากง่ายเหมาะสมไม่ยากหรือง่ายเกินไปและมีค่าอำนาจจำแนกสูง การประเมินแบบอิงกลุ่มนี้ ต้องการแบบทดสอบที่มีคะแนนกระจายมากๆ เพื่อเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างผู้สอบเข้าได้ และความเที่ยงตรงทุกแบบของแบบทดสอบมีส่วนสำคัญยิ่ง การประเมินผลแบบอิงกลุ่มนี้เป็นการประเมินตัวนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การได้คะแนนสูงต่ำของนักเรียนถือว่าเป็นเพราะความแตกต่างของนักเรียนเอง และเป็นความสามารถของแบบทดสอบที่สามารถทำให้นักเรียนต่างกันได้ 1.2 การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อต้องการทราบว่าบุคคลนั้นๆ มีความสามารถถึงเกณฑ์กำหนดไว้ในจุดหมายหรือไม่ การประเมินผลต้องนำคะแนนที่ได้ของบุคคลหนึ่งไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์จะใช้ได้ผลดีในสถานการณ์ที่ต้องการวัดสมรรถภาพเป็นรายบุคคล และเนื่องจากการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์มีจุดมุ่งหมายที่ชี้ว่า นักเรียนมีสัมฤทธิผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ จึงต้องมีการกำหนดเกณฑ์เพื่อใช้ในการแปลจากคะแนนของผลงาน โดยทั่วไปนิยมใช้เกณฑ์ 80-90 % ของข้อสอบทั้งหมดเป็นเกณฑ์การพิจารณา ถ้านักเรียนทำข้อสอบได้ถูกต้องที่กำหนดไว้ถือว่าได้เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายแล้ว การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์เหมาะสำหรับการเรียนการสอน การใช้การประเมินผลแบบนี้เน้นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ลำดับขั้นของการสอน การสอนรายบุคคล และแบบเรียนสำเร็จรูป นอกจากนี้ยังเน้นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ถ้าให้เวลาเข้าเพียงพอ ฉะนั้นการเรียนการสอนแบบนี้ถือว่า ผู้เรียนทุกคนจะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางเหมือนกัน แต่อาจใช้เวลาต่างกันตามระดับความสามารถของแต่ละคน เมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่าการวัดผลแบบอิงเกณฑ์ความยากง่ายของแบบทดสอบจึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ต้องเขียนข้อสอบและจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้แนวคิดนี้ถือว่าผู้เรียนเกือบทั้งหมดสามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายได้ ดังนั้น ผู้เรียนส่วนใหญ่จึงควรทำข้อสอบได้ค่าความยากง่ายของข้อสอบคำถามอาจสูงถึง 85 % หรือสูงกว่านั้น ซึ่งหมายความว่านักเรียนสามารถทำข้อสอบถูกประมาณ 85 % ของข้อสอบทั้งหมด และเนื่องจากแบบทดสอบที่ใช้ค่อนข้างง่าย นักเรียนส่วนใหญ่ทำได้ ฉะนั้น การกระจายของคะแนนจึงต่ำ แบบทดสอบจึงมีอำนาจจำแนกต่ำ การสอบและการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอน เป็นการสอบวัดเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน เมื่อผู้เรียนไม่สามารถทำข้อสอบได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ต้องมีการซ่อมเสริมในเนื้อหานั้นจนกว่าจะผ่านถึงเกณฑ์ จึงสามารถเรียนหน่วยต่อไปได้ การสอบแบบอิงเกณฑ์จึงเหมาะกับการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังตาราง7 - 9 2. แบ่งตามจุดประสงค์ของการประเมินผลตามหลักสูตร ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประเมินผลฉบับปัจจุบัน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้กำหนดให้มีการประเมินผล 2 ประเภทคือ การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนและการประเมินผลเพื่อตัดสินการเรียน มีรายละเอียดและหลักการดังต่อไปนี้ 2.1 การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียน การประเมินผลปรับปรุงการเรียน ควรกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดระยะการเรียนการสอนหรือเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละหน่วย เมื่อครูพบว่าผู้เรียนคนใดมีความสามารถไม่ถึงเกณฑ์ของแต่ละจุดประสงค์ ครูควรได้ศึกษาว่าผู้เรียนมีข้อบกพร่องในเรื่องใด แล้วจัดสอนซ่อมเสริมให้แล้วจึงประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนจะมีการประเมิน 2 ระยะ คือ 1) การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-evaluation) การประเมินผลก่อนเรียนมีจุดมุ่งหมาย เพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียนว่า มีความรู้เพียงพอที่จะเรียนต่อในรายวิชาใหม่หรือเนื้อหาใหม่หรือไม่ ถ้าพบว่ามีพื้นฐานความรู้ไม่พอหรือไม่มีพฤติกรรมขั้นต้นก่อนเรียน ให้ผู้สอนจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียนจนมีความรู้เพียงพอที่จะเรียนในเนื้อหาที่ครูจะสอนต่อไปได้ ตาราง 8 : แสดงข้อแตกต่างระหว่างการประเมินผลแบบอิงกลุ่ม และอิงเกณฑ์ อิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ 1. การประเมินผลเป็นการเปรียบเทียบคะแนนที่สอบได้กับคะแนนของคนอื่นในกลุ่ม 2. เหมาะสมสำหรับการคัดเลือกแข่งขันกันมากกว่าการเรียนการสอน 3. เสนอคะแนนในรูปของอันดับที่ ร้อยละ (Percentile rank) หรือคะแนนมาตรฐาน 4. ใช้แบบทดสอบเดียวกันสำหรับนักเรียนทั้งชั้นได้หรืออาจใช้แบบทดสอบคู่ขนานเพื่อทำให้สามารถเปรียบกันได้ 5. แบบทดสอบมีความยากง่ายพอเหมาะไม่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไปเนื้อหาที่ถามต้องเป็นตัวอย่างของเนื้อหาทั้งหมด 6. ความเที่ยงตรงของแบบทดสอบทุกแบบ มีความสำคัญ 7. แบบทดสอบมีอำนาจจำแนกสูง 1. การประเมินผล เป็นแบบการเปรียบเทียบคะแนนที่สอบได้กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. เหมาะสำหรับการเรียนการสอน เพราะเป็นการสอบวัดเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน 3. เสนอคะแนนในรูปแบบของการเรียนรู้ หรือยังไม่เรียนรู้ผ่านหรือไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 4. ไม่จำเป็นต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันทั้งชั้น เนื่องจากไม่มีการเปรียบเทียบกับคนอื่น 5. แบบทดสอบค่อนข้างง่าย เขียนตามเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ 6. ความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีความสำคัญมาก 7. แบบทดสอบมีอำนาจจำแนกต่ำ ตาราง 9 : แสดงข้อดี-ข้อเสียของการประเมินผลแบบอิงกลุ่ม ข้อดี ข้อเสีย 1. สามารถเปรียบเทียบคะแนนความสามารถของนักเรียนกับบุคคลอื่น 2. ใช้ได้ดีในการสอบคัดเลือกและพยากรณ์ 3. ส่งเสริมให้นักเรียน พัฒนาตนเองตลอดเวลาเพราะต้องนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับคนอื่น 4. สะดวกในการออกข้อสอบ เนื่องจากใช้ข้อสอบเดียวกันทั้งห้อง 1. การเปรียบเทียบคะแนนกันภายในกลุ่ม ก่อให้เกิดการแข่งขันชิงดีชิงเด่นขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 2. ไม่สามารถนำคะแนน ไปใช้ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ได้ 3. เป็นการประเมินผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้ประเมินผู้สอนหรือกระบวนการเรียนการสอน 4. เป็นผลเสียทางด้านจิตใจแก่ผู้ที่ได้คะแนนต่ำกว่าผู้อื่น ตาราง 10 : แสดง ข้อดี-ข้อเสีย ของการประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ ข้อดี ข้อเสีย 1. เป็นการวัดเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น สอดคล้องกับปรัชญา “สอบเพื่อค้นและพัฒนา” 2. ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างผู้เรียน 3. เป็นการประเมินทั้งผู้เรียน และผู้สอนรวมทั้งกระบวนการเรียนการสอน 4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย 1. ไม่คำนึงถึงความยากง่าย และอำนาจจำแนกของข้อสอบ อาจทำให้คุณภาพการเรียนการสอนต่ำได้ 2. การกำหนดเกณฑ์ที่เหมาะสมทำได้ยากเนื่องจากมีลักษณะเป็นอัตนัย 3. วิธีดำเนินการสอบเป็นภาระยุ่งยากแก่ผู้สอน การสอบก่อนเรียนไม่ใช่สอบเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement test) เพราะครูยังไม่ได้ทำการสอนในเนื้อหาเหล่านั้นมาก่อน แต่เป็นการสอบเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic test) 2) การประเมินผลระหว่างเรียน การประเมินผลระหว่างเรียนเป็นการวัดและการประเมินผลตามความสามารถของผู้เรียนว่า ได้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด มีข้อบกพร่องในเรื่องตอนใด การประเมินระหว่างเรียนเป็นกิจกรรมที่สอดแทรกไปกับการเรียนการสอนตลอดเวลา โดยมีจุดหมายดังนี้ (1) เพื่อศึกษาว่าผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด หากพบว่ามีข้อบกพร่องในจุดประสงค์ใด ก็จะได้ใช้ข้อมูลนั้น ๆ เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และเป็นพัฒนาวิธีการสอนของครูต่อไปด้วย (2) เพื่อจัดการสอนเสริม เมื่อผู้สอนทราบปัญหาหรือข้อบกพร่องของผู้เรียนแล้ว ก็นำข้อมูลมาใช้ในการพิจารณาจัดการสอนซ่อมเสริมให้แก่ผู้เรียน ฉะนั้น ในทางปฏิบัติเมื่อสอนจบแต่ละหน่วยผู้สอนควรประเมินผลทันที เมื่อพบว่าผู้เรียนคนใดไม่สามารถบรรลุจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในหน่วยก็จะได้จัดซ่อมเสริมให้ทันที การสอบระหว่างเรียนเป็นการสอบย่อย (Formative test)ในเนื้อหาที่สอนเท่านั้นเป็นการสอบเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า จุดประสงค์การเรียนเป็นเพียงการคาดคะเนว่าเมื่อผู้สอนได้ใช้เทคนิคการสอนแบบต่าง ๆ กับผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนจะเกิดพฤติกรรมตามที่ได้คาดหวังไว้หรือไม่ ฉะนั้นเมื่อสอนจบเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อย ผู้สอนจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโดยใช้วิธีการสอบหรือเทคนิคอื่นว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมตามที่ผู้สอนคาดหวังไว้หรือไม่ การประเมินผลขั้นนี้ เป็นหน้าที่ของผู้สอนโดยตรง ผู้สอนจะทำหน้าที่วัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบการสอนว่าบรรลุผลตามจุดประสงค์การเรียนหรือไม่ 2.2 การประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินผลรวม (Summative evaluation) หลังจากที่สิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชาหรือโปรแกรมการสอนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่านักเรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไร เก่งหรืออ่อนในวิชาใด เป็นการประเมินผลโดยส่วนรวมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ ผลจากการประเมินประเภทนี้ใช้ในการตัดสินการเรียน หรือตัดสินว่าผู้เรียนคนใดควรจะได้ระดับคะแนนใด และนอกจากนี้ยังใช้ในการพยากรณ์ผลสำเร็จในรายวิชาที่จะเรียนต่อเนื่องไปด้วย สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการประเมินผลประกอบด้วย (1) ผลการวัดที่ได้จากกระบวนการต่าง ๆ (2) เกณฑ์การพิจารณา (นำผลที่วัดได้มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ) (3) การตัดสินใจ ส่วนประเภทของการประเมินผลโดยสรุปคือ 1. แบ่งตามประเภทของการประเมินเป็น 2 คือ (1) การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (2) การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ 2. แบ่งตามจุดประสงค์ของการประเมินผลตามหลักสูตร เป็น 2 ประเภทคือ (1) การประเมินเพื่อปรับปรุงการเรียน (แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ การประเมินผลก่อนเรียน และการประเมินผลระหว่างเรียน) (2) การประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินผลรวม หลังจากที่สิ้นสุดการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา ด้านการวัดและการประเมินผล คือ ความเหมาะสมของเครื่องมือวัด และวิธีการวัดผล และประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินผล เป็นการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจและความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ มีสิ่งใดควรจะต้อง ปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2545, หน้า 95) กล่าวว่า การวัดผลประเมินผลควรมีลักษณะดังนี้ 1) ประเมินให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ระบุไว้ในแผนการสอน 2) เลือกวิธีการประเมินที่เชื่อถือได้และเหมาะสมกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ต้องการประเมิน 3) เลือกใช้วิธีการประเมินที่ง่ายและสะดวกในการใช้ประเมิน 4) ควรใช้เครื่องมือที่พอเชื่อถือได้ประกอบการประเมินทุกครั้ง 5) ควรให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม และมีบทบาทในการประเมินผลตนเองด้วยในบางโอกาส 6) ควรมีข้อมูลหรือสารสนเทศที่แสดงว่าทั้งผู้สอน และผู้เรียนได้นำเอาผลการประเมินใช้ประโยชน์เพื่อการปรับปรุงการเรียนการสอน 7) ในกรณีที่เป็นการประเมินผลการเรียนที่ค่อนข้างสำคัญ เช่น การทดสอบย่อย การสังเกตที่ต้องใช้เครื่องมือประกอบการใช้ ใบงานให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือแบบฝึกหัดผู้สอนอาจจะระบุไว้ในภาคผนวกก็ได้ควรคำนึงและยึดถือหลักการประเมินก่อนการเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนทุกครั้งในการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีที่ง่ายและเหมาะสม เช่น ประเมินก่อนเรียนโดยการซักถาม ทำแบบฝึกหัด เล่าเรื่องแสดงความคิดเห็นทดสอบสมรรถภาพย่อยด้านต่างๆ ทดลองปฏิบัติหรือแสดงออกอื่น ๆ ตามลักษณะเนื้อหาวิชาประเมินระหว่างเรียน โดยการสังเกต ซักถาม ทำแบบฝึกหัดทดสอบย่อย ตรวจสอบผลงาน/ผลการจัดกิจกรรมหรือการแสดงออกในเรื่องต่าง ๆ กระทรวงศึกษาธิการ (2545, หน้า 24-26) การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ให้ครูผู้สอนให้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ การวัดและการประเมินผลระดับชั้นเรียนมีจุดหมายสำคัญของการประเมินระดับชั้นเรียน คือมุ่งหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ อันเป็นผลเนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่/เพียงใด ดังนั้นการวัดและการประเมินต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปในกิจกรรมการเรียนรู้ของ ผู้เรียน โดยประเมินความประพฤติ พฤติกรรม การเรียน การร่วมกิจกรรม และผลงานจากโครงงานหรือแฟ้มสะสมงาน การประเมินผลในระดับชั้นเรียนที่สำคัญ คือตัวผู้เรียน ผู้สอน และพ่อแม่ ผู้ปกครองจำเป็นต้องใช้วิธีการที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยประเมินความประพฤติ พฤติกรรม การเรียนการร่วมกิจกรรม และผลงานจากโครงงานหรือแฟ้มสะสมงาน การประเมินผลในระดับชั้นเรียนที่สำคัญ คือตัวผู้เรียน ผู้สอน และพ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย วิธีการและค้นหาข้อมูลเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้สะท้อนให้เห็นภาพสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองได้ ขณะที่คะแนนหรือจัดกลุ่มผู้เรียนรวมทั้งประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของตนเองได้ขณะที่พ่อแม่ ผู้ปกครองจะได้ทราบระดับความสำเร็จของผู้เรียนสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ การประเมินโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา การประเมินผลระดับสถานศึกษา เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้เป็นรายชั้นปีและช่วงชั้นสถานศึกษานำข้อมูลที่ได้นี้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนและคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆสถานศึกษาต้องจัดให้มีการเรียนการสอนซ่อมเสริมและจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วย นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม, และวลัยพร ศิริภิรมย์ (2545, หน้า ค) กล่าวว่า ด้านการวัดและการประเมินผลคือ ความเหมาะสมของเครื่องมือวัด และวิธีการวัดผล และประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การปฏิบัติงาน และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินผล เป็นการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจและความสามารถตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ มีสิ่งใดควรจะต้อง ปรับปรุงแก้ไขอย่างไรหรือไม่ 3. ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินผลและการวัดผล ธำรง บัวศรี (2542, หน้า 256-257) กล่าวไว้ว่า ในการประเมินผล (Evaluation) มักมีผู้เข้าใจผิดและนำเอาไปปะปนกับการวัดผล (Measurement) อยู่เสมอ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า ในการประเมินผลทุกครั้งจะต้องมีการวัดผลควบคู่ไปด้วยเสมอ ขอยกตัวอย่างง่ายๆ สัก 2-3 ตัวอย่าง เราคงทราบแล้วว่าเมื่อเวลาทำคลอด พอทารกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่แพทย์กระทำก็คือ ชั่งน้ำหนักของทารก เมื่อทราบน้ำหนักแล้วแพทย์ก็จะนำเอาน้ำหนักนั้นมาเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่ อันเป็นมาตรฐานที่แสดงว่าน้ำหนักเท่าใดจึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติต่ำกว่าปกติ หรือสูงกว่าปกติ หลังจากเทียบกับน้ำหนักมาตรฐานแล้ว แพทย์จึงตัดสินใจลงความเห็นว่าน้ำหนักทารกนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ สมมติว่าเกณฑ์ปกติอยู่ระหว่าง 3-5 กิโลกรัม และทารกหนัก 3.6 กิโลกรัม แพทย์ก็จะตัดสินว่าน้ำหนักของทารกนั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ ลองมาพิจารณาอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ครูให้นักเรียนพิมพ์ดีดเป็นเวลา 5 นาที แล้วนำผลมาตรวจสอบดู ปรากฏว่านักเรียนสามารถพิมพ์ได้ 60 คำต่อนาที และมีคำผิด 10 คำ เมื่อครูนำเอาผลนี้ไปเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่ ครูให้คะแนน “B” ซึ่งหมายความว่า “ดี” จากตัวอย่างทั้งสองนี้จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะมีการตัดสินว่าอะไรเป็นอะไร จะต้องมีการวัดผล (Measure) เกิดขึ้นก่อนเสมอ อย่างในกรณีของทารกก็มีการวัดน้ำหนัก ในกรณีของนักเรียนก็มีการวัดอัตราเร็วในการพิมพ์ และหลังจากที่ได้มีการวัดแล้วจะมีการนำเอาผลที่วัดได้นั้นไปเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่ หรือที่กำหนดขึ้นไว้ หลังจากที่ได้นำมาเทียบกับมาตรฐานแล้วก็มีการตัดสินว่าน้ำหนักทารกและการพิมพ์ของนักเรียนเป็นอย่างไรในที่นี้เป็นการวัดน้ำหนักและวัดอัตราเร็วในการพิมพ์ขั้นที่สองได้แก่การเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่การเปรียบเทียบนี้เราเรียกว่าการประเมินค่า (Assessment or Value Judgement)และในขั้นที่สามได้แก่การตัดสินว่า น้ำหนักเป็นอย่างไรหรือการพิมพ์เป็นอย่างไร การกระทำในขั้นที่สามนี้เราเรียกว่า การประเมินผล (Evaluation) ถ้าจะสรุปในชั้นนี้ก็อาจกล่าวได้ว่า การประเมินผล จะต้องประกอบด้วยการวัดผลและ การประเมินค่า แต่มีความหมายมากกว่าองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้รวมกัน อนึ่งมีข้อสังเกตว่า การวัดนั้นในบางกรณีแทนที่จะเป็นการวัดในด้านปริมาณ อาจจะต้องวัดในด้านคุณภาพซึ่งสร้างความยุ่งยากและสลับซับซ้อนไม่น้อยที่เดียว จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้น เราอาจกำหนดนิยามของการวัดผล การประเมินค่าและการประเมินผล ได้ดังนี้ การวัดผล หมายถึง การวัดคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการวัดในด้านปริมาณหรือคุณภาพก็ได้ การวัดด้านปริมาณได้แก่การวัดความยาว ความกว้าง ความสูง น้ำหนัก ปริมาตร ความถี่ ความเร็ว ฯลฯ ส่วนในด้านคุณภาพก็ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์การเรียน ระดับเชาวน์ ปัญญา พฤติกรรม เจตคติ ฯลฯ การประเมินค่า หมายถึง การนำเอาค่าของการวัดผลมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่มีอยู่เป็นสากลหรือที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะเพื่อพิจารณาว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไรผลจากการประเมินค่านี้ ทำให้สามารถตกลงใจหรือตัดสินใจได้ว่าสิ่งที่นำมาประเมินผลนั้นเป็นอย่างไร การประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการประเมินค่าและตัดสินใจ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนรู้ ธำรง บัวศรี (2542, หน้า 257-258) กล่าวว่า อันที่จริงถ้ายอมรับว่า การประเมินผลการเรียนรู้คือการตรวจสอบว่าผลที่เกิดจากการเรียนการสอนเป็นอย่างไร การประเมินผลการเรียนรู้ก็ย่อมมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างแยกไม่ออก แต่เพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น ในที่นี้จะชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของกิจกรรมทั้งสองนั้นมีอยู่ในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน คือตั้งแต่ก่อนสอนไปจนกระทั้งสิ้นสุดการเรียนการสอนลง ขั้นแรกของการเรียนการสอนคือการกำหนดจุดประสงค์ เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปอย่างไรหลักจากที่การเรียนการสอนได้สิ้นสุดลงแล้ว จุดประสงค์ของการเรียนการสอนนี้ไม่ได้แตกต่างกับจุดประสงค์ของการประเมินผลการเรียนรู้เลย เป็นการแสดงว่าการเรียนการสอนมีความสัมพันธ์กับการประเมินผลตั้งแต่ยังไม่มีการเรียนการสอนเกิดขึ้น และความสัมพันธ์ในตอนนี้ก็มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการกำหนดจุดประสงค์จะต้องชัดเจน หาไม่แล้วการประเมินผลก็ไม่อาจทำให้เป็นที่เชื่อถือได้ ในขั้นที่สอง เป็นขั้นก่อนการเรียนการสอนอีกเช่นเดียวกัน แต่เป็นชั้นที่ผู้สอนกระทำการเพื่อทราบพื้นฐานความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ในการนี้จะต้องอาศัยการทดสอบและการประเมินผล แต่เป็นการประเมินผลการเรียนรู้ก่อนทำการสอน ผลที่ได้จะมีประโยชน์ในการปรับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนก่อนที่จะลงมือปฏิบัติการจริง ขั้นที่สามซึ่งเป็นขั้นดำเนินการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในขั้นนี้การทดสอบและการประเมินผลก็เป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะเป็นเครื่องช่วยควบคุมกำกับความก้าวหน้าของการเรียน และวินิจฉัยว่าปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น คือ อะไร การประเมินผลเป็นระยะๆ จะช่วยให้ผู้สอนได้รับข้อมูลป้อนกลับมา ทำให้สามารถปรับปรุงการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนได้เกือบตลอดเวลา ขั้นที่สี่ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย หลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนแล้ว ขั้นนี้เป็นขั้นการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์หรือไม่นับว่าเป็นการประเมินผลอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การทดสอบ การใช้เครื่องมือวัดแบบต่างๆ ฯลฯ จุดประสงค์ของ การประเมินผลในขั้นนี้ไม่แตกต่างกับจุดประสงค์ของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้แต่ต้น จากการที่ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทของการเรียนการสอนและการประเมินผลในขั้นต่างๆ จะเห็นได้ว่าทั้งสองกิจกรรมนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด 5. ขั้นตอนการประเมินผลการเรียนรู้ ธำรง บัวศรี (2542, หน้า 258-259) กล่าวไว้ว่า การประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มีระบบและมีขั้นตอน ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ 1. การกำหนดจุดประสงค์ของการประเมินผล จุดประสงค์นี้ไม่ต่างกับจุดประสงค์การเรียนการสอน เช่น จุดประสงค์การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์บอกว่า เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบวก ลบ คูณ หาร เลขสามหลักได้ จุดประสงค์ของการประเมินผลก็จะบอกว่า เพื่อตรวจสอบความสามารถของผู้เรียนในการบวก ลบ คูณ หาร เลขสมหลัก ดังนี้เป็นต้น 2. การเลือกเครื่องมือสำหรับวัดสิ่งที่ต้องการประเมินผล สิ่งสำคัญในขั้นนี้ก็คือจะต้อง แน่ใจว่าเครื่องมือที่เลือกใช้นั้น สามารถวัดสิ่งที่ต้องการได้แ

พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว

พุทธวิธีในการสอน โดย พระนิมิตร กลิ่นดอกแก้ว พุทธวิธีในการสอนหมายถึง วิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบสก อุบาสิกา หรือบุคคลทั่วไปทั้งเทวดาหรือมนุษย์ ตามพระนามที่ได้รับยกย่องว่า สตถา เทวมนุสสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 1. จุดมุ่งหมายในการที่ทรงสอน 3 อย่าง วศิน อินทสระ (2538, หน้า 8-37) กล่าวถึง จุดมุ่งหมายในการที่ทรงสอนของพระพุทธองค์นั้นประกอบไปด้วยลักษณะดังต่อไปนี้ 1) อภิญญายธรรมเทศนา ทรงสอนเพื่อให้ผู้ฟังรู้จริงเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น หมายความว่า สิ่งที่ทรงรู้แล้ว เห็นแล้ว แต่เมื่อทรงว่าไม่จำเป็นสำหรับสาวกนั้น ๆ เหมือนครูที่มีความรู้สูงมาก แต่ถึงกระนั้นก็ย่อมนำเอาเฉพาะความรู้เท่าที่จำเป็นแก่ศิษย์ในขั้นนั้น ๆ มาสอนเท่าที่ศิษย์จะรับได้เพื่อประโยชน์แก่ศิษย์ อนึ่งเหมือนบิดา/มารดา แม้มีทรัพย์มากปานใดก็ย่อมให้ทรัพย์แก่บุตรตามควรแก่วัย และความจำเป็นของบุตรนั้น 2) สนิธรรมเทศนา จุดมุ่งหมายในการสอน คือ เพื่อให้ผู้ฟังตรองตามแล้วเห็นจริงได้ ทรงแสดงธรรมอย่างมีเหตุผลที่ผู้ฟังพอตรองตามให้เห็นด้วยตนเอง เพราะพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ไม่ยากเกินไปจนถึงกับตรองตามแล้วก็ไม่เห็นและไม่ง่ายเกินไปจนไม่ต้องตรองขบคิดก็เห็นได้ พุทธวิธีในการสอนจึงอยู่ท่ามกลางระหว่างความยากเกินไปกับความง่ายเกินไป ส่วนใหญ่ทรงสอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาด้วยตนเอง เป็นต้น 3) ปาฏิหาริยธรรมเทศนา เพื่อให้ผู้ฟังได้รับผลแห่งการปฏิบัติ ตามสมควร ทรงแสดงธรรมมีคุณเป็นอัศจรรย์ สามารถยังผู้ปฏิบัติตามให้ได้รับผลตามสมควรแก่กำลังแห่งการปฏิบัติของตน ๆ ในบรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง 3 นั้น พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ อนุศาสนียปาฏิหาริย์ ว่าดีที่สุด ประณีตที่สุดและเป็นประโยชน์ที่สุด ข้อนี้เป็นความจริงอย่างยิ่ง พระพุทธศาสนาที่ดำรงเป็นประโยชน์แก่มหาชนมาจนกระทั้งบัดนี้ก็ด้วยอานุภาพของ อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั่นเอง ทรงเน้นการปฏิบัติตาม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์เพื่อประโยชน์ของผู้ปฏิบัติว่าเป็นการบูชาพระองค์อย่างยิ่ง มีเรื่องราวที่เป็นหลักฐานในสมัยพุทธกาลนั้น 2. วิธีที่ทรงสอน วศิน อินทสระ (2538, หน้า 8-37) กล่าวไว้ว่า วิธีที่ทรงสอนนั้นมีเป็นจำนวนมาก แต่..ในที่นี้ขอยกมาเพียง 5 วิธีคือ 1) ทรงสอนโดยวิธีเอกังสลักษณะ คือ ทรงสอนยืนยันไปข้างเดียว เช่น ความดีมีผลเป็นสุข ความชั่วมีผลเป็นทุกข์ หรือกุศลเป็นสิ่งที่ควรบำเพ็ญ อกุศลเป็นสิ่งที่ควรละ 2) ทรงสอนโดยวิธีภัชชลักษณะ คือ ทรงแยกประเด็นให้เห็นชัดเจน เป็นปัญหาที่ไม่สามารถตอบโดยประเด็นเดียว แต่ต้องแยกตอบให้เห็นอย่างชัดเจน 3) ทรงสอนด้วยปฏิปุจฉาลักษณะ คือ ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถามเสียก่อน เช่น จักษุฉันใด โสตะฉันนั้น โสตะฉันใด จักษุก็ฉันนั้น ใช้ไหม…? พึงย้อนถามว่า มุ่งความหมายในแง่ใด ถ้าถามโดยหมายถึงแง่ให้ดูหรือเห็น ก็ไม่ใช่ แต่ถ้ามุ่งหมายแง่ว่าไม่เที่ยงก็ใช่ 4) ทรงสอนด้วยฐปนลักษณะ คือ พักปัญหาไว้ไม่พึงพยากรณ์ คือปัญหาที่พึงยับยั้ง หรือพับเสีย ไม่ควรตอบเรื่องนั้น เช่น ถามว่า ชีวะกับสรีระ คือสิ่งเดียวกัน ใช่ไหม…? 5) ทรงสอนด้วยอุปมาลักษณะ คือ ทรงสอนแบบเปรียบเทียบ เช่นทรงเปรียบเทียบภิกษุด้วยผ้าเปลือกไม่และผ้ากาสี ทรงเปรียบเทียบมักขลิโคศาลว่าเหมือนผ้าที่ทำด้วยผมคน ซึ่งเป็นวิธีการที่ทรงใช้บ่อยมากที่สุด เพราะทำให้ผู้ฟังมองเห็นภาพและเข้าใจง่าย โดยไม่ต้องใช้เวลามากและยาวนาน คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยากปรากฏหมายความเด่นชัดเจนออกมา 3. ท่าทีที่ทรงสอน วศิน อินทสระ (2538, หน้า 8-37) กล่าวไว้ว่า ท่าทีที่พระพุทธองค์ทรงสอนดังนี้ 1. ทรงสอนอย่างละมุนละม่อม เช่นที่ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจะเป็นความงามหาน้อยไม่ ถ้าพวกเธอผู้บวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้วนี้ จะพึงเป็นผู้มีความอดทน มีความสุภาพ” 2. ทรงสอนอย่างเข้มงวดรุนแรง การสอนในลักษณะนี้เป็นการสอนที่รุนแรงของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับอุปนิสัย หรืออินทรีย์ของเวไนยสัตว์ทำนองเดียวกันกับช่างเหล็กจะต้องใช้ไฟแรงแก่เหล็กที่แข็งกล้า 1. ทรงสอนอย่างข้อร้องวิงวอน มีข้อธรรมในธรรมทายาทสูตร เป็นตัวอย่างแห่ง การสอนอย่างขอร้องวิงวอน พุทธวิธีในการสอนมีเป็นเอนกปริยาย นำมากล่าวไว้ในที่นี้เพียงเล็กน้อยพอเป็นตัวอย่าง เนื่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบรมครูของโลก ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาและพระพุทธจริยาอย่างสุขุมรอบคอบ สังเกตพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการย่อมได้แบบอย่างอันดีในการสอน แม้มิได้เรียนวิชาครูในสมัยปัจจุบันมาเลยก็อาจสอนให้เป็นที่ประทับใจของผู้เรียนได้เหมือนกันโดยได้อาศัยหลักของพระพุทธองค์นั่นเองเป็นแนวทาง 4. พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต) (2542) กล่าวถึง พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ทรงสอนสิ่งที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง 2. ทรงรู้เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้สมบูรณ์ 3. ทรงสอนด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคำสอนเป็นที่ตั้ง ไม่หวังผลตอบแทน 4. ทรงทำได้จริงอย่างที่สอน เป็นตัวอย่างที่ดี 5. ทรงมีบุคลิกภาพโน้มน้าวจิตใจให้เข้าใกล้ชิดสนิทสนมและพึงพอใจได้ความสุข 6. ทรงมีหลักการสอน และวิธีสอนยอดเยี่ยม 5. หลักทั่วไปในการสอน 1. เกี่ยวกับเนื้อหา หรือเรื่องที่สอน 1.1 สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจได้ยากหรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ 1.2 สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลำดับขั้น และความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา.. 1.3 ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียนได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่า ประสบการณ์ตรง 1.4 สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา 1.5 สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทานํ 1.6 สอนเท่าที่จำเป็นพอดี สำหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้การเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก 1.7 สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรู้ และเข้าใจ เป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเอง พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก 6 ประการคือ 1) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 2) คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 3) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส 4) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 5) คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส 6) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็นกาลวาที สัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรมวาที วินัยวาที 2. เกี่ยวกับตัวผู้เรียน 2.1 รู้ คำนึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล 2.2 ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคล อาจใช้ต่างวิธี 2.3 นอกจากคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ผู้สอนยังจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ หรือญาณ ที่บาลี เรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละบุคคลเป็นราย ๆ ไปด้วย 2.4 สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจน แม่นยำและได้ผลจริง เช่น ทรงสอนพระจูฬปันถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นำผ้าขาวไปลูบคลำ... 2.5 การสอนดำเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียนกับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ในการแสวงความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบเสรี หลักนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งต้องการอิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง ผู้เรียนก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง และมีความชัดเจนมั่นใจ หลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นประจำ และมักมาในรูปการถาม-ตอบ เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไปตามควรแก่กาลเทศะ และเหตุการณ์... ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา 2.6 เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นราย ๆ ไปตามควรแก่กาลเทศะ และเหตุการณ์ เช่น ชาวนาคนหนึ่งตั้งใจไว้แต่กลางคืนว่าจะไปฟังพุทธเทศนา บังเอิญวัวหายก็รีบออกไปตามหาจนได้วัวกลับมาแล้วก็รีบไปฟังธรรมแต่ก็ช้ามาก แต่ใจก็มุ่งมั่นคิดว่าทันฟังตอนท้ายหน่อยก็ยังดี ไปถึงวัดปรากฏว่าพระพุทธเจ้ายังทรงประทับรอนิ่ง ๆ ไม่เริ่มแสดง ยิ่งกว่านั้นยังจัดหาอาหารให้เขารับประทานจนอิ่มสบาย แล้วจึงทรงเริ่มแสดงธรรม เป็นต้น 2.7 ช่วยเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา ฯลฯ 3. เกี่ยวกับตัวการสอน 1. ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่ง การเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อย ก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนำเข้าสู่เนื้อหาได้ พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหาธรรมที่เดียว แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบ หรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่องที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่ 2. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึงเครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามีความภูมิใจในตัว 3. สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกตน ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ... 4. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ทำจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งมีค่า มองเห็นความสำคัญของผู้เรียน และงานสั่งสอนนั้น ไม่ใช้สักว่าทำ หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นชั้นต่ำ ๆ 5. ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย เข้าใจง่าย พระสมณโคดมมีพระดำรัสไพเราะ รู้จักตรัสถ้อยคำได้งดงาม มีพระวาจาสุภาพสละสลวย ไม่มีโทษ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง ขอนำพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่ตรัสสอนภิกษุผู้แสดงธรรมเรียกกันว่า องค์แห่งพระธรรมกถึก มาแสดงไว้ดังนี้ "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ 1. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ 2. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ 3. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา 4. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส 5. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น " 6. ลีลาการสอน คุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่าง ดังนี้ 1. อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือจูงมือไปดูเห็นกับตา (สันทัสสนา) 2. ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติ (สมาทปนา) 3. เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก (สมุตตเตชนา) 4. ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ (สัมปหังสนา) อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง - จูงใจ - หาญกล้า - ร่าเริง หรือ ชี้ชัด - เชิญชวน คึกคัก - เบิกบาน 7. วิธีสอนแบบต่างๆ วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้ 1. สนทนา (แบบสากัจฉา) 2. แบบบรรยาย 3. แบบตอบปัญหา ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ 1) ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณียปัญหา) 2) ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา) 3) ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา) 4) ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่องไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป 4. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นเป็นครั้งแรก 8. กลวิธี และอุบายประกอบการสอน 1. การยกอุทาหรณ์ และการเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย และการเล่านิทานประกอบการสอนช่วยให้เข้าใจความได้ง่าย และชัดเจน ช่วยให้จำแม่นยำ เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทำให้การเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น... 2. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความหมายเด่นชัดออกมา และเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้า... การใช้อุปมานี้ น่าจะเป็นกลวิธีประกอบการสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด มากกว่ากลวิธีอื่นใด 3. การใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิดต่างๆ ที่จัดทำขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะ เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะยังไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมากอย่างกว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ผู้คนใช้กันอยู่ 4. การทำเป็นตัวอย่าง วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการทำเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอนเป็นทำนองการสาธิตให้ดูแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำนั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นำที่ดี การสอนโดยทำเป็นตัวอย่าง ก็คือ พระจริยวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกตินั้นเอง แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราวเฉพาะก็มี... 5. การเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและการเล่นคำ เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ ข้อนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุกด้าน...แม้ในการสอนหลักธรรมทั่วไป พระองค์ก็ทรงรับเอาคำศัพท์ที่มีอยู่แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้ แต่ทรงกำหนดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ฟังผู้เรียนหันมาสนใจ และกำหนดคำสอนได้ง่าย เพียงแต่มาทำความเข้าใจเสียใหม่เท่านั้น และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร จึงเห็นได้ว่า คำว่า พรหม พราหมณ์ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งคำในลัทธิศาสนาเดิม ก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น แต่มีความหมายต่างออกไปเป็นอย่างใหม่ 6. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่ระยะแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธกิจด้วยพระพุทโธบายอย่าง ที่เรียกว่า การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง ทรงพิจารณาว่าเมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใครก่อน การรู้จักจังหวะ และโอกาส ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะ และโอกาสให้เป็นประโยชน์ ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัดตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ สุดแต่จะใช้กลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีที่สุด ก็จะทำในทางนั้น ไม่กลัวว่าจะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้ 7. การลงโทษ และให้รางวัล การใช้อำนาจลงโทษ ไม่ใช่การฝึกคนของพระพุทธเจ้า แม้ในการแสดงธรรมตามปกติพระองค์ ก็แสดงไปตามเนื้อหาธรรมไม่กระทบกระทั้งใคร...การสอนไม่ต้องลงโทษ เป็นการแสดงความสามารถของผู้สอนด้วย ในระดับสามัญ สำหรับผู้สอนทั่วไป อาจต้องคิดคำนึงว่าการลงโทษ ควรมีหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร แต่ผู้ที่สอนคนได้สำเร็จผล โดยไม่ต้องใช้อาญาโทษเลย ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถในการสอนมากที่สุด 8. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้ง ต่างคราว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธีต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมปนโน). (2548, หน้า 91). กล่าวไว้ว่า หลักการของครู / ผู้สอนที่ดีทั่วไปต้องมีลักษณะ 4 ประการ คือ 1) มีความรู้ดี 2) มีการสอนดี 3) มีการปกครองดี 3) มีความประพฤติดี 1. ครูที่มีความรู้ดี ต้องประกอบด้วยความรู้ 5 ประการ คือ 1. ความรู้ธรรม คือมีความรู้ถึงความหมายของธรรมะแต่ละหมวดแต่ละข้อโดยละเอียด ทั้งอรรถและพยัญชนะ สามารถวินิจฉัยได้ว่า อะไรถูกอะไรผิด โดยปราศจากความสงสัย 2. ความรู้ธรรมดา คือ มีความรู้ถึงสภาพธรรมดาโลก รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของชาวโลก ตลอดถึงรู้คติธรรมดาของมนุษย์ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น 3. ความรู้ภาษา คือ รู้ภาษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ รู้ความมุ่งหมายของพระธรรมคำสั่งสอน 4. ความรู้เหตุการณ์ คือ รู้เรื่องราวต่าง ๆ ของชาวโลก เป็นคนทันต่อเหตุการณ์ของบ้านเมืองของโลก 5. ความรู้คติ คือ ความรู้ความนิยมของชาวโลก เป็นคนทันต่อเหตุการณ์บ้านเมืองของโลก คติธรรมของนักปราชญ์ นักประพันธ์ ทัศนคติต่าง ๆ ของโลก เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 2. ครูผู้สอนที่มีการสอนดี ต้องประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการเหล่านี้ คือ 1. ต้องเตรียมการสอนมาดี 2. ต้องเตรียมกระบวนการต่าง ๆ ของการเรียนการสอนมาเรียบร้อย 3. ต้องมีการเร้าใจ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน 4. ต้องให้ผู้เรียนได้แสดงออกให้มากที่สุด 5. ต้องให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ให้มากที่สุด 6. ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบอยู่ตลอดเวลาที่ทำการสอน 7. ผู้สอนต้องยึดหลักการสอนที่ดี คือ หลักการสอนที่ดี ควรประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ คือ 1. สอนจากเรื่องง่าย ๆ ไปหาเรื่องยาก ๆ 2. สอนจากสิ่งที่นักเรียนรู้มาแล้ว ไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้ 3. สอนจาก(รูป)สิ่งที่มีตัวตน ไปหา(อรูป)สิ่งที่ไม่มีตัวตัน 4. สอนให้นักเรียนแสดงออกด้วยตัวเอง 5. สอนจากส่วนปลีกย่อยไปหาส่วนรวม 6. สอนโดยวิธีครูบอกให้น้อยที่สุด 7. สอนให้ผู้เรียนค้นคิดพิจารณาหาเหตุผลได้ด้วยตนเอง ครู/ผู้สอนต้องมีการปกครองดี ควรประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ คือ (1) ไม่ตกอยู่ในอำนาจอคติ 4 ประการ (2) ให้ความสนใจแก่นักเรียนทุกรูปเสมอกัน (3) ใช้หลักปกครองแบบ สระน้ำ ต้นยอ กอไผ่ (4) ใช้หลักการปกครองแบบยุทธวิธี คือ นิคคณเห นิคคารหํ กำหราบคนที่ควรกำหราบ ปคคณเห ปคคารหํ ยกย่องคนที่ควรยกย่อง (5) หมั่นเอาใจใส่ดูแลนักเรียนทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียน ครู/ผู้สอนที่มีความประพฤติดี ควรประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ คือ 1. สีลสมปนโน อาจารสมปนโน คือ สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ 2. เครื่องนุ่งห่มสะอาด สีผ้ากลมกลืนกัน ไม่มีกลิ่นเหม็น และนุ่งห่มเป็นปริมณฑล 3. หนวด เครา เล็บมือ เล็บเท้า โกนและตัดเรียบร้อย 4. มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว 5. วางตัวได้เหมาะสมแก่กาละ เทศะและบุคคลในที่ทุกสถานกาล คุณสมบัติของครูในทางพระพุทธศาสนามี ลักษณะ 7 ประการ ตามนัยพระบาลีว่า ปิโย ครุ ภาวนีโย วตตา จ วจนกขโม คมภีรจ กถํ สุตวา โน จฏฐาเน นิโยชเย ฯ 1. น่ารัก 2. หนักแน่น 3. น่ายกย่อง 4. คอยว่ากล่าว 5. อดทนต่อถ้อยคำ 6. อธิบายเรื่องยากให้ง่าย 7. ไม่ชักชวนในเรื่องที่ไม่ใช่ฐานะ ฯ ปิโย - น่ารัก องค์คุณแห่งการสร้างเสน่ห์น่ารัก สีลทสสนสมปนโน ธมมฏฐํ สจจวาทินํ อตตโน กมม กุพพานํ ตํ ชโน กุรุเต ปิยํฯ แปลความว่า ประชาชนย่อมกระทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ทัศนะ ตั้งอยู่ในธรรมมีปกติกล่าวความสัตย์ ผู้กระทำการงานของตน ให้เป็นที่รักฯ บุคคลที่สมบูรณ์ด้วยองค์คุณตามพระคาถาพุทธพจน์ ย่อมเป็นที่รักของประชาชน และประชาชนทั้งหลายย่อมมีจิตศรัทธาในบุคคลนั้น ดังต่อไปนี้ 1. ทฏฐุกาโม ประสงค์จะได้ประสบพบเจอ 2. วนทิตุกาโม ประสงค์จะกราบไหว้ 3. จตุปจจเยน ปูเชตุกาโม ประสงค์จะบูชาด้วยปัจจัย 4 ครุ - หนักแน่น คือ เป็นคนมีใจคอมั่นคง เป็นคนมีเหตุผล ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่ถืออัตตาธิปไตย และมีความรู้มั่นคง กล่าวคือ เป็นคนทั้งหนัก ทั้งแน่น คือ หนักด้วยเหตุผล และแน่นด้วยวิชาความรู้ กล่าวโดยสรุปมีลักษณะ 3 ประการ คือ 1. ทฏฐุกามโม ประสงค์จะได้ประสบพบเห็น 2. วนทิตุกาโม ประสงค์ที่จะกราบไหว้ 3. จตุปจจเยน ปูเชตุกาโม ประสงค์จะบูชาด้วยปัจจัย 5 ภาวนีโย - น่ายกย่อง ประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ ดังนี้ 1. ปริสุทธสีโล มีศีลบริสุทธิ์ 2. ปริสุทธาชีโว มีอาชีวะบริสุทธิ์ 3. ปริสุทธมมเทสโน มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ คือ อธิบายธรรมได้แจ่มแจ้ง 4. ปริสุทธเวยยากรโณ มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ คือ มีคำพูดไพเราะ 5. ปริสุทธาณทสสโน มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ คือ มีความรู้และความคิดถูกต้อง กล่าวโดยสรุป คือ “ยถาวาที ตถาการี” สอนอย่างไร ปฏิบัติได้อย่างนั้น วตตา - คอยว่ากล่าว คือ เอาใจใส่คอยว่ากล่าวตักเตือน แนะนำพร่ำสอนศิษย์ของตน ดังพระบาลีว่า “อิทํ น กปปติ” เป็นอาทิ แปลว่า สิ่งนี้ควร สิ่งนี้ไม่ควร เป็นต้น วจนกขโม - อดทนต่อถ้อยคำ คือ เป็นคนมีขันติธรรมสูง สามารถอดทนต่อถ้อยคำกล่าวล่วงเกินของศิษย์ได้ เก็บความรู้สึกไม่พอใจไว้ได้ ไม่แสดงกิริยาอาการที่ไม่พอใจที่ผิดปรกติ ให้ปรากฏออกมานอกหน้า คมภีรจ กถํ กตวา - อธิบายเรื่องยากให้ง่าย คือ พยายามอธิบายชี้แจงทำความกระจ่างแจ้งในข้อที่ลี้ลับให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายๆ โดยปราศจากความคลุมเครือเสมือนเปิดของที่ปิด เป็นต้น โน จฏฐาเน นิโยชเย ฯ - ไม่ชักชวนในเรื่องที่ไม่ใช้ฐานะ คือไม่แนะนำชักชวนศิษย์ของตนในทางที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ไม่ดีงาม คำว่า ไม่ใช่ฐานะ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของการสอนวิชาเฉพาะ มี 3 ประการ คือ 1. สอนให้เกิดความรู้ 2. สอนให้เกิดความเข้าใจ 3. สอนให้เกิดความจำได้ ความรู้จำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. สัญชานนะ ความรู้เกิดจากการจำแบบอย่างกันสืบ ๆ มา 2. วิชานนะ ความรู้เกิดจากการคิดค้นคว้าหาเหตุผล โดยใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองความจริงได้ด้วยตนเอง 3. ปฏิเวธะ ความรู้แตกฉาน รู้ตลอดสาย รู้ตลอดหมด รู้อย่างทั่วถึง รู้จบครบถ้วนกระบวนความ ความเข้าใจ คือ ทราบถึงความมุ่งหมาย จุดประสงค์ของเรื่องนั้น ๆ โดยย่อได้ ขยายได้ เปรียบเทียบได้ ความจำได้ คือ สามารถนำไปใช้ได้ เมื่อยามต้องการ โดยสอดคล้องปากและขึ้นใจ ลลล พระธรรมกิตติวงศ์ (2548, หน้า 96-103) กล่าวถึง หลักการสอนทั่วไปไว้ว่า 1. ก่อนสอน พระภิกษุได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นผู้สอนพระปริยัติธรรม ถือว่าเป็นบุคคลพิเศษสูงสุด เท่ากับได้รับมอบหมายจากพระบรมศาสดาให้เป็นตัวแทนของพระองค์ นำพระศาสนธรรมของพระองค์ไปเผยแพร่ ณ ที่นั้น ๆ เพื่อดำรงพระศาสนาต่อไปชั่วกาลนาน เหมือนเหล่าสาวกในปางก่อนได้ปฏิบัติต่อกันมา ถือว่าเป็นงานมีเกียรติสูงส่ง ทำหน้าที่ที่ทำได้โดยยาก มิใช่ทำได้ทุกรูปทุกนาม เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะลงมือสอน พึงปฏิบัติ ดังนี้ ก. ตั้งกัลยาณจิตเป็นกุศล ว่าจะสอนเพื่อหวังบุญหวังกุศล เพื่อเผยแพร่ศาสนธรรม ตามหน้าที่ของพุทธสาวก มิใช่สอนเพื่อคำสั่งเจ้าอาวาสหรือของใคร หรือมิใช่สอนแบบเสียมิได้หรือพอถึงเวลาก็ไปสอน ข. ตั้งปณิธานแน่วแน่ ว่าจะสอนให้ดีที่สุดจนเต็มความสามารถ ไม่ว่านักเรียนจะมีมากหรือน้อยเท่าไร ก็ตั้งใจสอนเสมอเหมือนกันหมด โดยยึดแบบพระบรมครู ซึ่งพระองค์ทรงเสียสละเวลาเป็นวันไปโปรดเพียงคนเดียวบ่อย ๆ ค. เตรียมหนังสือหลักสูตรและหนังสืออุปกรณ์อื่น ๆ ให้พร้อม ก่อนลงมือสอนแล้วตรวจดูหลักสูตรให้ตลอดทั้งหมด ดูให้เข้าใจทุกตอน ง. วางแผนระยะยาวไว้คร่าว ๆ ว่า หลักสูตรวิชานี้จะสอนนานเท่าไร บทไหนหมวดไหนตอนไหนจะใช้เวลาสอนกี่ชั่วโมง กี่วัน เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดไว้ล่วงหน้าว่า ในตอนนั้น ๆ จะเน้นตรงไหน อย่างไร เมื่อเป็นดังนี้ ก็จะเป็นครูที่ดี มีความกระตือรือร้นในการสอน และจะสอนได้ดีเยี่ยม หากไม่เช่นนี้แล้วจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการสอน ไม่มีความกระตือรือร้นที่จะสอน พลอยทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายไปด้วย 2. การวางแผนก่อนสอน การวางแผนก่อนสอน เป็นกิจเบื้องต้นที่สำคัญมาก เ ท่ากับได้วางโครงการสอนไว้ล่วงหน้า เวลาสอนจริง ๆ ก็ดำเนินไปตามขั้นตอนนั้น การสอนจึงจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การวางแผนนี้ ถ้าวางไว้เป็นตัวหนังสือซึ่งเรียกว่า บันทึกการสอนได้ก็จะเป็นการดีและเป็นประโยชน์มาก อาจใช้ได้ทุกปี ทุกครั้งที่สอนโดยมิต้องกลับมาวางแผนกันอีก เมื่อถึงปีใหม่ แผนที่วางนั้น ควรมีหลักใหญ่ ๆ ดังนี้ ก. ความมุ่งหมาย หมายถึง จุดประสงค์ที่จะสอนแต่ละตอน มีเพื่ออะไร โดยต้องการให้ผู้เรียน - มีความรู้อะไร - มีทักษะความสามารถแค่ไหน - มีทัศนคติความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างไร ข. เนื้อเรื่อง หมายถึง เรื่องที่จะสอนนั้นเป็นเรื่องอะไร มีเนื้อหาสาระอย่างไร จะสอนกว้างแคบแค่ไหน จึงจะสมภูมิชั้นของนักเรียน ค. วิธีสอน จะใช้แบบไหน เช่น - บรรยาย - อภิปราย ง. อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การสอนเป็นของง่ายขึ้น เพราะมีเครื่องช่วยให้มองเห็นเรื่องที่สอนได้ชัดเจน เช่น หนังสือ รูปภาพ แม้ชอล์ก และกระดานดำ ก็จัดเป็นอุปกรณ์เหมือนกัน จ. วัดผล หมายถึง การวัดระดับความรู้ความเข้าใจของนักเรียน ซึ่งผู้สอนได้ถ่ายทอดไปให้แล้วอาจวัดได้โดย - การสังเกต - การสอบถามขณะนั้น - การทดสอบด้วยการให้ทำแบบฝึกหัด แผนที่กล่าวนี้เป็นแผนกว้าง ๆ ซึ่งต้องวางไว้ก่อน ขณะสอนจริง ๆ อาจยืดหยุ่นได้ตามสถานหรืออาจมีเพิ่มเติมอีกก็ได้ ตามความจำเป็น ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจและความฉลาดสามารถของผู้สอน 3. ขณะทำการสอน ขณะทำการสอนจัดเป็นขั้นลงมือทำการ มีข้อปลีกย่อยมากมาย ไม่อาจกล่าวให้หมดสิ้นได้ แต่มีข้อสังเกตที่พอกำหนดให้เป็นแนวสำหรับผู้สอนได้ กล่าวคือ ผู้ทำหน้าที่ครูสอน ในขณะสอนนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักต่อไปนี้ คือ ก. บุคลิกและกิริยาท่าทาง บุคลิกของผู้สอนจะต้ององอาจ ผึ่งผายมีความเชื่อมั่นในตนเอง รูปร่างเล็กใหญ่ไม่สำคัญ เพราะเป็นรูปธรรมนามธรรม สิ่งที่จะส่งเสริมบุคลิกได้คือ การนุ่งห่มเรียบร้อย การแสดงความยิ้มแย้มแจ่มใส แสดงถึงความเต็มใจสอน ความเป็นกันเอง การพูดจาคมคายมีน้ำหนักและเชื่อมั่นตลอดทั้งกิริยาและท่าทาง เช่น การเดิน การนั่ง การยืน เป็นต้น ครูผู้มีกิริยาและบุคลิกท่าทางดี จะเป็นเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจและเต็มใจเรียนด้วย ข. เสียง เรื่องเสียงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการสอนส่วนมากใช้แบบบรรยาย จึงต้องอาศัยการพูดเป็นพื้น ครูจะต้องฝึกเรื่องเสียงนี้มาก ๆ คือ พูดให้ดังพอได้ยินกันทั่วห้อง มีกังวาน มีความชัดถ้อยชัดคำ ถูกหลัก ไม่ช้าและไม่เร็วเกินไป ครูมีเสียงแหบแห้งเสียงเบาเกินไป พูดไม่ชัดพูดแบบไม่มั่นใจ มักทำให้ผู้เรียนเบื่อและหลับในห้องเรียน ค. สายตา ครูต้องมองไปทางผู้เรียนขณะสอน และมองกวาดให้ทั่วถึงช้า ๆ และค่อย ๆ ไม่ใช่ก้มดูหนังสือไปพูดบรรยายไป หรือหันเข้าหากระดาน หันข้างหันหลังให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะเบื่อหน่าย และคิดว่าครูไม่สนใจตัว หากได้มองดูผู้เรียนอยู่เสมอ นอกจากจะทำให้ผู้เรียนไม่กล้าหลับหรือ ทำอย่างอื่นแล้ว ยังได้สังเกตว่าใครมีความสนใจไม่สนใจในตัวด้วย ง. อิริยาบถ ครูจะต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอขณะสอน มิใช่นั่งแช่อยู่ที่โต๊ะครูอย่างเดียว ต้องเดินไปเดินมาข้างหน้าชั้นหรือในชั้นบ้าง มิใช้พูดอย่างเดียว สิ่งที่ครูเขียนบนกระดานจะทำให้เกิดจุดสนใจหรือเป็นจุดสนใจของนักเรียน ปรากฏว่า ครูที่ยืนสอน และเขียนบนกระดานบ่อย ได้รับความสนใจจากผู้เรียนมากกว่านั่งอยู่บนโต๊ะพลางสอนไปพลาง ทั้งหมดนี้จัดเป็นเทคนิคการสอนอย่างหนึ่งของครู จัดเป็นเทคนิคการสอนแบบ ทั่วไป มิได้จำกัดวิชา 4. วิธีสอน ปัจจุบันนี้ วิธีสอนหรือหลักการสอนมีมากแบบด้วยกัน ต่างก็มีเหตุผลว่าแบบนั้น ๆ เป็นแบบการสอนที่ดีทั้งสิ้น ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงในตำราทางโลก ใคร่ขอเสนอวิธีสอนตามแบบพระพุทธศาสนา ซึ่งส่วนมากเป็นแบบของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระองค์ทรงใช้ได้ผลดีมาแล้ว แลเป็นแบบที่เกจิอาจารย์ประมวลแสดงไว้เป็นแนวทาง คือ ก. แบบ 4 โก - สันทัสสโก สอนให้เห็น - สมาทปโก สอนให้เชื่อ - สมุตเตชโก สอนให้กล้า - สัมปหังสโก สอนให้สนุก ข. แบบโบราณ - สุ สอนให้รู้จักฟัง - จิ สอนให้รู้จักคิด - ปุ สอนให้รู้จักถาม - ลิ สอนให้รู้จักจด (จดจำ – จดจาร) ค. แบบอริยสัจ - ทุกข์ สอนให้รู้จักปัญหา ให้เห็นปัญหา - สมุทัย สอนให้รู้จักสาเหตุของปัญหา - นิโรธ สอนให้รู้จักวิธีแก้ปัญหาด้วยการทดลอง เก็บข้อมูล - มรรค สอนให้รู้จักสรุปผล และหยิบยกไปใช้ในชีวิต วิธีสอนทั้งหมดนี้ จะเป็นไปแบบไหนก็ตาม เมื่อสรุปรวมยอดอันเป็นแนวทางสำหรับยึดถือปฏิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท