การปฏิเสธเมื่อผู้ป่วยมาขอใบความเห็นแพทย์เท็จ


          ผมคิดว่าวิชาชีพแพทย์คงหนีไม่พ้นที่ผู้ป่วยมาขอใบความเห็นแพทย์ และไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการขอรับรองว่าป่วยและให้พักรักษาตัวย้อนหลัง หรือให้พักนานๆเกินโรคที่เป็น
          แน่นอนแพทย์เองย่อมปฏิเสธการออกใบความเห็นแพทย์ในลักษณะแบบนี้ แต่หลายครั้งที่แพทย์เองต้องเจอบรรยากาศที่ทำให้เหมือนแพทย์ต้องรู้สึกผิดหากไม่ออกให้ อารมณ์โกรธ หงุดหงิด ที่คนไข้หรือญาติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าทำไมเขียนแค่นี้ก็ไม่ได้
        สมัยก่อนผมค่อนข้างแข็งกร้าวมากในเรื่องการปฏิเสธ จะปฏิเสธแบบไม่มีเยื่อใย ไม่สนเพราะเป็นเรื่องของคุณ มันเป็นความผิดของคุณเอง จะมาโยนมาให้แพทย์ร่วมรับผิดชอบได้ยังไงกัน แน่นอนว่าผลลัพธ์ย่อมไม่ดี
        ปัจจุบันผมว่าผม Soft ขึ้น ซึ่งแน่นอนผมยังยึดถือจรรยาบรรณเดิม คือไม่ออกใบความเห็นแพทย์เท็จให้โดยเด็ดขาด แต่จะใช้การพูดจาที่นุ่มนวลมากกว่าเดิม เช่น "ผมต้องขอโทษจริงๆนะครับที่ออกให้ไม่ได้(ทั้งๆที่เราเองก็ไม่ได้ผิดแต่ก็ต้องขอโทษ) ในเรื่องนี้ในวงการแพทย์เราถือธรรมเนียมปฏิบัติ และยึดมั่นเป็นจรรยาบรรณเสมอมา ลองพูดคุยกับเจ้านายถึงเหตุผลความจำเป็นจริงๆก่อนดีไหมครับ" ส่วนใหญ่ผมจะใช้เวลาในการพูดคุยถึงเหตุผลที่ออกไม่ได้และร่วมช่วยหาทางออกอย่างอื่นให้แก่ผู้ป่วยไปด้วย
        ผลลัพธ์ ดีกว่าแต่ก่อน รู้จากสีหน้าท่าทางของคนไข้หรือญาติตอนออกจากเราไป แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนนะครับ เพราะบางคนก็ไม่รับฟังอยู่ดี บอกเพียงแต่ว่า หากหมอไม่ออกให้ ผมต้องถูกไล่ออกจากงานแน่ๆ ผมก็จนใจ.........
หมายเลขบันทึก: 26025เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     เห็นด้วยอย่างยิ่งกับแนวทางของหมอครับ

    เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในโรงพยาบาล และก็จะมีโอกาสเกิดข้นได้้อีกไปเรื่อยๆ (ตราบที่ยังมีโรงพยาบาล และยังมีผู้ป่วยอยู่) วิธีแก้อาจมีหลายทางเลือกที่สามารถทำได้ค่ะ เช่น ก่อนที่ผู้รับบริการ (ขออณุญาติใช้แทนคำว่าผู้ป่วยนะคะ) จะมาถึงแพทย์ซึ่งเป็นขั้นตอนเกือบสุดท้ายก่อนไปการเงิน เขาจะผ่านด่านพยาบาล ที่ต้อง screen ก่อน อาจจะให้พยาบาลสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นก่อนการส่งต่อ ถ้าทราบวัตถุประสงค์ของผู้รับบริการแล้ว ก็ให้แนะนำ และปฏิเสธไปเลย โดยให้เหตุผลว่า คำรับรองจากแพทย์ (ใบรับรองแพทย์) เป็นการรับรองว่าคุณป่วยจริง และระยะเวลาการพักรักษาตัวควรจะมีกี่วันจริง  การที่แพทย์ต้องเขียนรับรองโดยไม่เคยเห็นอาการมาก่อน หรือต้องรับรองการพักนานเกินความจำเป็นจริงนั้น ไม่ได้จบลงเฉพาะที่เขียนแค่นี้เท่านั้น  นั่นหมายถึง จรรยาบรรณ วิชาชีพความเป็นแพทย์รวมอยูู่่ด้วย และ "เราก็ไม่ควรทำอะไรที่ไม่ตรงไปตรงมา ทั้งในส่วนของ(วิชาชีพ)แพทย์ ซึ่งหมายถึงหน้าตาของโรงพยาบาล และผู้รับบริการ ซึ่งหมายถึงบริษัทของคุณเอง ลองคิดดูสิถ้าพนักงานทุกคนปฏิบัติแบบคุณ(ผู้รับบริการ) บริษัทจะประสบปัญหาอย่างไรบ้าง และถ้าเขาเป็นเจ้าของบริษัทจะรู้สึกอย่างไร"  จะเห็นว่ามันจะเป็น domino ไปเรื่อยๆ  สิ่งที่ง่ายที่สุดคือ ต้องตรงไปตรงมาค่ะ คุณทำถูกต้องแล้วค่ะคุณหมอ

   

คุณ jaja     ขอบคุณที่ ลปรร.ครับ
       โรงพยาบาลผมปกติพี่พยาบาลหน้าห้องตรวจก็จะสกรีนผู้รับบริการให้อยู่แล้วเหมือนกันครับ(แต่เป็นบางคนครับ...เพราะสังเกตุได้ว่าบางครั้งก็ส่งเข้ามาเลยไม่ได้ซักถามอะไร โดยเฉพาะช่วงเกณฑ์ทหาร จะมาขอใบความเห็นแพทย์ว่าเป็นดรคนั้นโรคนี้ ไปเกณฑ์ไม่ได้) และพูดอธิบายให้ผู้ป่วยให้รับทราบก่อน(แต่ผมไม่เคยไปฟังว่าพี่เค้าอย่างไรนะครับ) แล้วผู้รับบริการคนไหนยังยืนยันที่จะขอพบแพทย์ก็ค่อยเข้าไปพบแพทย์ต่อไป
พี่ชายขอบ
     ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท