Ka-Poomเขียนเมื่อ 29 เมษายน 2549 00:46 น. ()
แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556 12:58 น. ()
KM คืออะไร จะมาช่วยอะไร HA ได้
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา
ได้เรียนรู้และรับรู้ และลงลึก"ศึกษา"
เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพในแง่เชิงวิชาการ ดิฉันได้รับโอกาสจากท่าน
ผศ.ดร.บุญใจ ศรีสถิตย์นรากรูและคณาจารย์ประจำหลักสูตร
ให้ทำวิจัยในส่วนของ "วิทยานิพนธ์"
สมัยเรียนในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
งานวิจัยที่ทำมีคำถามของการวิจัยในประเด็นที่ว่า
"ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพบริการ ในโรงพยาบาลที่ผ่าน HA
นั้นมีอะไรบ้าง" โดยกระบวนการวิจัยที่ใช้ในการศึกษานั้น คือ path
analysis โดยนำเสนอภายใต้ชื่อเรื่อง
การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อคุณภาพบริการการพยาบาล
โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ (AN ANALYSIS OF A CAUSAL
RELATIONSHIP MODEL ON NURSING SERVICE QUALITY, ACCREDITED
HOSPITALS)งานชิ้นนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการศึกษาเรื่อง
"คุณภาพ" อย่างเอาจริงเอาจังที่นอกเหนือจากการเรียนตามหลักสูตร
สิ่งที่ได้จากการทำวิจัยในครั้งนั้น
ก่อให้เกิดคำถามและการแสวงหาคำตอบในตนเองมากมาย เกี่ยวกับเรื่อง
"คุณภาพ" และการได้มาซึ่งคุณภาพ
สิ่งหนึ่งที่ดิฉัน get
อย่างมาก คือ คุณภาพบริการที่เกิดขึ้นได้นั้น เป็น"คุณภาพ"
ที่เกิดจากการเทียบเคียงภายในตนเองก่อนในเงื่อนของเวลา
ก่อนที่จะไปเทียบเคียงกับคนอื่น นั่นหมายถึง
คุณภาพที่ว่านั้นเราต้องมองภายใต้บริบทของตัวเราเอง
เราต้องวิเคราะห์ตัวเราเองก่อนว่า ตัวเรานั้นเป็นอย่างไร มีจุดเด่น
จุดด้อย อะไร อย่างไร และอะไรคือโอกาสในการพัฒนาที่เรามีอยู่
และเราควรจะมีทิศทาง
หรือแนวทางการดำเนินตนเองอย่างไรเพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกว่า คุณภาพ
และที่สำคัญ "คุณภาพ" ดังกล่าวนั้นเราทำไปเพื่ออะไร และเพื่อใคร
สิ่งเหล่านี้หากเราตอบได้ในเบื้องต้น น่าจะเป็นการดีอย่างมาก
ที่จะทำให้ตนเองชัดเจนขึ้นได้บ้าง มากกว่าการคลำช้าง...ทั้งตัว
แล้วไม่สามารถรู้หรือสรุปได้เลยว่า
ช้างตัวดังกล่าวมีลักษณะอะไรอย่างไร
เมื่อมีโอกาสได้เดินทางไปศึกษาการทำพัฒนาคุณภาพต่างๆ
ตามที่อาจารย์ประจำหลักสูตรพาไปนั้น ดิฉันสังเกตได้อย่างหนึ่งว่า
โรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป
หรือโรงพยาบาลศูนย์ อะไรคือความสำเร็จที่เขาได้รับ ทั้งที่ setting
ของแต่ละโรงพยาบาลไม่เหมือนกัน
แต่ทำไมได้ผ่านการรับรองคุณภาพเหมือนกัน
เมื่อเสาะแสวงหาคำตอบผ่านกระบวนการวิธีหลายรูปแบบเพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบ
ก็ถึงบางอ้อ! นั่นคือเขาสามารถตอบตนเองได้ว่าเขาคือใคร กำลังทำอะไร
ทำไปทำไม ทำไปเพื่อใคร และทำอย่างไร และที่สำคัญคือช่วยกันทำ
เมื่อทำได้ลุล่วงมาได้สักระยะหนึ่งจนเป็นที่พึงพอใจ
ก็ค่อยเริ่มมองคนข้างๆ บ้างว่าเขาทำอย่างไร
เพื่อนำข้อมูลนั้นมาใช้มองตนเองอีกครั้ง
และสิ่งหนึ่งที่ดิฉันได้มารับรู้เรียนรู้เพิ่มเติม เมื่อกาลเวลาผ่านมา
นั่นคือ กระแสเรื่อง KM และเกิดอาการ Think แว๊บ! อย่างแรง เนียนๆ
..มองเห็นเรามีอยู่แล้วในตัวเราเอง
แต่จะจัดกระบวนท่าอย่างไรให้เนียนยิ่งขึ้นเข้าไปในเนื้อในชีวิต(สำนวนคุณชายขอบ-ยืมมาใช้คะ)
ที่จะมาเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนและหมุนเกลียวให้เกิด
"คุณภาพ"...กลยุทธ์หนึ่งที่ได้จากการเรียนรู้ดังกล่าว
และมองเห็นการปรับเปลี่ยนและก่อเกิดวัฒนธรรมการทำงานในแนวใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมีคุณค่าในการทำงาน
ที่นำไปสู่การก่อเกิด "คุณภาพ" นั่นคือ R2R
ดิฉันเริ่มศึกษาอย่างจริงจังและศึกษาจาก Role Model ต่างๆ
จากโรงพยาบาลและองค์กรต่างๆ ที่ได้เริ่มนำมาใช้ในกระบวนการทำงาน
จากนั้นคิดว่าเป็นไปได้แน่ เรียนให้ผู้บริหารทราบ ท่านเปิดไฟเขียว
ให้นำเสนอ Porject
แต่เมื่อทุกอย่างก้าวมาสู่จุดที่เริ่มจะชัดขึ้นได้"ใจ"ของคนที่อยากทำมากมาย
แต่กลับต้องพบกับคำถามจากผู้บริหารท่านเดิมว่า R2R ทำไปทำไม ซ้ำซ้อน วิจัยใครๆ ก็ทำได้
ยิ่งคนที่จบปริญญาโทเยอะแยะในองค์กร...ให้เขาทำก็ได้
ทำไมต้องให้ระดับปฏิบัติการมาทำ เดี๋ยวจะยิ่งก่อให้เกิดความสับสน
เพราะตอนนี้ องค์กรเรากำลังขับเคลื่อนคุณภาพไปสู่การผ่าน
HA ...และที่สำคัญที่ทำให้ดิฉันมึนตึ๊บยิ่งขึ้นนั่นคือ
คำถามที่ว่า KM คืออะไร
จะมาช่วยอะไร HA ได้...ผมไม่สนใจหรอก
ให้คุณกลับไปทบทวนใหม่...และแล้ว R2R
ก็พับไป...และดิฉันก็เกิดอาการ "นิ่ง"
อีกครั้ง...
แต่ตอนนี้...อาการที่"นิ่ง"
นั้นไม่ใช่นิ่งสนิท...ดิฉันยังมุ่งมั่นที่อยากจะทำ
เพียงแต่รอจังหวะและโอกาส
และแล้ววันนี้โอกาสนั้นกำลังก้าวเข้ามาให้เราได้เดินตามหวังที่
"คนทำงาน"
อยากทำงานอย่างจริง...มากกว่าการทำในเอกสารแล้วส่งให้ผู้ประเมินมาตรวจประเมิน...ซึ่งโอกาสที่ว่านั้นเริ่มมองเห็นแสงสว่างเมื่อเริ่มมีการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างในองค์กร
และมี"พี่"ที่นับถือและเป็นคนจริงจังและจริงใจ ทุ่มเทในการทำงานมาก
มาชักชวนและบอกเล่าให้ช่วยกันทำอีกครั้ง...
ความเห็น
ขอแซว! เป็นบันทึกความเรียงของ Dr.Ka-poom
ที่ยาวมากบันทึกหนึ่ง และต้องอ่านแบบนิ่ง ๆ (คงโดนแซวกลับแน่ว่าบันทึก
“ชายขอบ” มีที่สั้น ๆ ด้วยเหรอ)
หากมองการทำงานแบบแยกส่วนไม่ว่าเรื่องอะไร
ก็พยายามทำความเข้าใจแบบแยกส่วน แม้จะผ่านการรับรอง HA ก็จะเป็น H และ
A ที่แยก ๆ อยู่ดี ครับ ย้อนกลับมาที่เดิมที่ผมเคยถามบ่อย ๆ
ได้การรับรอง HA แล้ว “ประชาชนได้อะไร”
R2R, KM, HA
หรือจะอะไรก็แล้วแต่สุดแท้จะนำมาใช้
มองเป็นแค่เครื่องมือในการพัฒนาองค์กรเพื่อประชาชนได้รับบริการที่ดีและปลอดภัย
ผู้ให้มีความสุขสบายใจ อย่างคิดอะไรไปมากว่านี้เลยครับ
สำหรับผู้บริหารท่านที่ว่า
ผมมองว่าหากระดับกระทรวงเลือกให้รางวัลเป็นโอกาสดี ๆ
แก่คนที่คิดและแสดงออกในลักษณะเช่นนี้
ผมก็คงนึกตำหนิกระทรวงนั้นล๊ะครับว่า “บ่มีกึ่น”
คงไม่นึกอะไรถึงท่านโดยตรง
เพราะอะไรเหรอเพราะท่านคงมีอายุมากพอที่เราน่าจะปล่อยให้เป็นไปตามกรรมได้มั้ง
ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะ การที่ผู้บริหารไม่รู้จักและไม่สนับสนุน
เป็นเรื่องที่เกือบทุกคนประสบมาแล้ว โดยเฉพาะเรื่องใหม่ๆ
เพราะมันเป็นธรรมชาติของคนที่ต้องต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
แม้จะยังไม่รู้ว่ามันดีหรือไม่ดี สำหรับ
Dr.Ka-Poom
ก็นิ่งและรอ
จนกระทั่งวันนี้มาถึง แต่มีหลายคนนะยังไม่มีโอกาสเหมือนคุณ
ยังคงรอ รอ…………….. สำหรับผมกำลังติดหล่มตรงที่
ผู้บริหารบอกว่าเข้าใจ KM ดี
แรกๆให้ผมดำเนินการตามกระบวนการไปเรื่อยๆ
ก็ดีใจที่ผู้บริหารเข้าใจและสนับสนุนอย่างดี แต่พอทำไประยะหนึ่ง
ไม่รู้ท่านมีเหตุผลหรืออะไรไม่ทราบ
ท่านก็สรุปว่าให้สรุปและผมนำเสนอผู้บริหารขั้นสูงขึ้นไปอีกขั้น
ผมงงมากๆ กระบวนการเพิ่งเริ่มต้นแต่ท่านสรุปว่าจบแล้ว
จบอย่างได้เป็นนวตกรรมใหม่ที่เยี่ยมมาก
ต้องนำเสนอให้ผู้บริหารขั้นสูงขึ้นไปได้เห็น
สิ่งที่ผมลำบากใจคือแล้วจะทำอย่างไร พยายามอธิบายท่านก็บอกผมรู้
ผมเข้าใจ ยังยืนยันว่านี่มันจบแล้ว ถ้าให้นำเสนอมีหวังโดนเบรกหัวคะมำ
เพราะผู้บริหารท่านนั้นท่านจับเรื่อง KM มานานแล้ว
ผมก็รู้ว่ามันไม่ใช่ แล้วท่านจะไม่รู้ได้อย่างไร
นี่คือความทุกข์อีกแบบของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีผู้บริหารที่คิดว่าตนเองเข้าใจ
KM มากกว่าใครในองค์กร
ผู้บริหารไม่ทราบ
หรือยังไม่เห็นรายละเอียด...คือความท้าทายของผู้ทำงานที่จะนำเสนอ
ผู้ทำงานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้
..คือความสามารถของผู้บริหารที่จะสร้างวิสัยทัศน์
ไม่มีใครรู้ทุกเรื่องที่เข้ามาในช่วงเวลาหนึ่ง
และไม่ใช่ทุกเรื่องที่ต้องรู้ในช่วงเวลาหนึ่งเช่นกัน
โครงสร้างขององค์กรเอื้อการเรียนรู้
ก็ขึ้นอยู่กับความเปิดใจเผื่อแผ่ความรู้ของคนในองค์กรด้วย
ไร้นามเขียนยาวไป...ไหม
พี่Dr.Ka-poom นอนดึกเหมือนกันนะครับ
รักษาสุขภาพนะครับพี่ ผมว่าควรนอนพักให้เพียงพอนะครับ
เมื่อก่อนผมจะนอนประมาณเที่ยงคืนไปแล้ว
ตื่นประมาณ 6-7โมงเช้า ตอนนี้นอนประมาณไม่เกิน 5 ทุ่ม
รู้สึกว่าร่างกายดีขึ้นนะครับ
เหนื่อย ก็ พัก
อย่า ห้ก อย่า โหม
ช่วยจรรโลง สังคมไทย
ค่อยๆไป พัฒนา
องค์กร
มีแซวนะคะ...รีบชิงออกตัวก่อนเลยนะคะ..นานทีเขียนอะไรยาวๆ
ก็ทึ่ง"ตน"ได้เหมือนกันว่าเขียนไปได้อย่างไร..แต่จริงก็เขียนได้แต่เมื่อยมือคะ..ชอบสั้นๆ
กระชับ..และเข้าใจมากกว่าคะ
สำหรับประเด็นที่ว่า..มอง+ทำ
แยกส่วน..มันก็ยังแยกๆ...เหมือนการดำรงชีวิตเรานี่แหละคะ...หากเมื่อใดได้หลอมรวมเราก็คงไปถึงฝั่งฝันได้ง่ายเข้าเหมือนกันนะคะ
"มนุษย์เรามักกลัวการเปลี่ยนแปลง...หากจะเปลี่ยนหรือแปลงอะไรแล้ว...ก็อย่าได้ติดหล่มนานเลยนะคะ...เราพยายาม"ลุก"...และช่วย"ตน"เดิน...เพราะเมื่อตนเดินได้...รอบด้านเราก็จะเดินไปด้วยได้...ไม่มากก็น้อยล่ะคะ
"ผู้บริหารไม่ทราบ
หรือยังไม่เห็นรายละเอียด"...หรือ"ผู้ทำงานไม่ทราบหรือไม่มีความรู้
.."
ไม่ใช่เรื่องของใคร หากแต่เป็นเรื่องของคนคนนั้น
ที่ต้องดำเนินตามหน้าที่ "ตน"
ในสิ่งที่แสวงหาในสิ่งที่ตนยังไม่รู้และไม่เข้าใจ...หากเราคนไทยสามารถปลูกฝังความเข้าใจในตนได้ว่า
อะไรคือตนรู้
อะไรคือตนไม่รู้...ก็จะก่อให้เกิดการพัฒนาใน"ตน"ได้อย่างดียิ่งนะคะ
(ตอบยาวไปมั๊ยคะ)
ขอบคุณมากๆ นะคะ...ที่ห่วงใย คุณหมอก็ดูแลตัวเองด้วยเช่นกันนะคะ
(ยิ้มๆๆ)
ยิ้มและ"ขำ" อารมณ์ดีมากเลยคะเมื่อมาเจอรูปการ์ตูน...
หน้าดิฉันคงไม่เหนื่อยขนาด...นั้นหรอกนะคะ(ขำๆๆ)
แม้เหนื่อยก็จะพัก...พัก..เพื่อเดินต่อ...
ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค...ใดใด
ไม่คิดว่า
การที่บุคคลไม่รู้ ต้องทำหน้าที่ให้รู้ด้วยตนเองเท่านั้นถึงจะพัฒนาตนเอง
เพราะการเรียนรู้สามารถร่วมมือกันได้ถ้าอยู่ในสังคมที่เปิดใจคุยกันจริงๆจังในเชิงวิชาการ
ไร้นามไม่รู้อะไรๆ เยอะมาก เลยยังไม่พัฒนาเสียที
...ตอบยาวอีกล่ะซิ
คุณ"ไร้นาม"
ไร้นามไม่รู้อะไรๆ
เยอะมาก
แค่"คุณ"รู้ว่า..ตนเอง
"ไม่รู้"...ก็เริ่มก่อเกิดอะไรบางอย่างได้บ้างนะคะ...ดีกว่าไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้...หรือว่าไม่รู้แต่บอกว่ารู้...และจะยิ่งดียิ่งขึ้นหากเมื่อรู้ว่าตัวเองรู้...เพราะจะได้ต่อยอด...ได้อีก
ทุกสิ่งควรก่อเกิด..ที่"ตน"...
แล้วค่อยมอง..วนออกไปรอบด้าน
หากมัววน...มองนอกตนมากไป
ไม่รู้ตน...ก็ยังคง...อยู่อย่างนั้น
เฉกเช่นเดิม...
รู้ว่าตัวเองไม่รู้...แต่ไม่ทำอะไร
ก็จะไม่รู้อยู่เช่นดั่งเดิม
ไม่รู้ และบางเรื่องที่ไม่รู้ก็ไม่อยากรู้
เพราะการไม่รู้บางเรื่องเป็นการรู้ตัวว่าไม่ต้องรู้และยินดีที่จะไม่รู้เช่นดังเดิม
เมื่อมองที่ตัวตนเป็นที่ตั้งก็ต้องไม่ไปว่าใครเขาว่าเขาไม่รู้
แต่ต้องมองที่ตัวเองว่าทำไมไม่รู้ว่าจะทำให้เขารู้สิ่งที่เรารู้ได้อย่างไร
อธิบายตามหลักการตัวตนของ Dr .Ka-Poom
บางครั้งสิ่งที่ไม่อยากรู้...กลับต้องรู้
และต้องตัดออกไป..จาก"ใจ"..เพราะไม่อยากรู้
ผู้บริหาร ( บริ=รอบ) (หาร=นำไป) คือ ต้องนำคน หน่วยงาน
ให้ไปรอบ ...ก้าวหน้า ผู้บริหารมีหลายแบบ
ไม่รู้ไม่ชี้
(ไม่รับผิดชอบ)
ไม่รู้แล้วชี้ (อวดดี
หลงตน)
ไม่รู้ แล้วไม่ชี้ (
ชื่อตรงประมาณตน)
รู้แล้วแต่ไม่ชี้(เห็นแก่ตัว)
ชี้แล้วไม่รู้(ไม่รู้จริง)
รู้แล้วชี้(เป็นบัณฑิต)
...สิ่งที่นำมา ลปรร นี้พระท่านให้มาอีกทีค่ะ...
สาธุ…คะ ขอบคุณนะคะ คุณ”น้อง” ที่นำสิ่งดีดี มา
ลปรร.
ใจของตัวผมเองก็กลัวการเปลี่ยนแปลง (ในทางลบ)
แต่คำว่าลบนั้นมันคือเกณฑ์ที่ตัวเองกำหนด
แล้วสิ่งที่องค์กรควรกำหนดนั้นน่าจะช่วยให้องค์กรเราก้าวพ้นหล่มได้
นั้นคือสิ่งที่หวัง.......และกำลังใช้วิธีการต่างๆ การ
ลปรร.ก็เป็นการหาพลังในการก้าวไปสู่จุดนั้นอีกทางหนึ่ง.........