ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


แม้แต่สถาบันการศึกษาในประเทศก็มีการแบ่งระดับว่าสถาบันการศึกษาไหนเบอร์ 1 เบอร์ 2 และเป็นค่านิยมให้บุตรหลานพยายามเข้าไปศึกษา แม้แต่เวลาไปสมัครงานหน่วยงานบางที่จะกำหนดไว้ว่า ต้องจุฬาและธรรมศาสตร์เท่านั้น แล้วอย่างนี้จะไม่เหลื่อมล้ำเหรอ

       วันนี้ผู้บังคับบัญชาเรียกหัวหน้าระดับผู้อำนวยการส่วนประชุมเพื่อบอกหลักเกณฑ์การประเมินลูกน้อง และให้เสนอชื่อผู้ที่สมควรได้ 1 ขั้น ผู้เขียนในฐานะรักษาการจึงเข้าร่วมการประชุมด้วย จากการประชุมในส่วนของผู้เขียนไม่มีปัญหาเพราะลูกน้องมีผลงานโดดเด่น ปริมาณงานมาก ผลงานมีคุณภาพและงานเสร็จทันเวลา

       แต่ส่วนงานของคนอื่นมีปัญหาตรงที่หัวหน้าไม่อยากเสนอชื่อลูกน้อง และบางคนเสนอชื่อลูกน้องมาก็มีคุณสมบัติที่ไม่ได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ผู้บังคับบัญชากำหนด คือ ถ้าให้เปรียบเทียบปริมาณงานทั้งสำนักบุคคลที่ถูกเสนอชื่อ งานอาจน้อยกว่าส่วนอื่นด้วยซ้ำ

       ถ้าให้เปรียบเทียบคนที่ถูกเสนอชื่อบางคนก็มีคุณสมบัติที่ไม่ได้แตกต่างไปจากคนอื่นมาก บางทีอาจมีปริมาณงานน้อยกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ และยังมีป่วย สาย ลาขาดมากกว่า เพียงแต่คนนั้นมีคุณสมบัติที่ดูดีกว่าตรงที่เป็นนักเรียนนอก จบการศึกษาในต่างประเทศ ขณะที่อีกคนจบการศึกษาในประเทศจึงไม่ได้รับการส่งเสริมจากผู้บังคับบัญชาเท่าที่ควร

       แต่คนที่ถูกเสนอชื่อและผู้บังคับบัญชาไม่เห็นควรก็มีพฤติกรรมที่ยังไม่สมควรได้รับการส่งเสริมตรงที่ไม่เคารพผู้บังคับบัญชา นินทาเจ้านาย แล้วอย่างนี้เจ้านายจะเมตตาได้อย่างไร ซึ่งการนินทาหรือการบ่นว่าเจ้านาย ถึงจะไม่ได้ตั้งใจแต่หน้าตามีหู ประตูมีตา คำพูดนั้นย่อมเข้าหูผู้ใหญ่จนได้ งานนี้มีแต่เข้าเนื้อตัวเองอย่างเดียว สู้อยู่เงียบๆ เฉยๆ น่าจะดีกว่า

       และจากการประชุมทำให้ทราบว่า ผู้ใหญ่คิดอย่างไรกับเด็กเคยแต่เป็นลูกน้องเขา พอต้องมารักษาการทำให้ทราบว่า หัวหน้าแต่ละคนเป็นอย่างไร แต่ก็บอกเล่าให้พรรคพวกฟังไม่ได้เพราะเดี๋ยวไปต่อต้านหัวหน้าจะยิ่งย่ำแย่กันไปใหญ่

       แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนแอบดีใจเล็ก ๆ คือ ผู้เขียนเคยขอย้ายจากงานประจำที่ทำอยู่ โดยขอย้ายไปอยู่อีกสำนักเลย ผลคือ ผู้ใหญ่ไม่ให้ไป คาดว่าคงกลัวไม่มีคนทำงาน เพราะส่วนงานที่ผู้เขียนทำอยู่ ตั้งใช้ประสบการณ์หากมีการปรับเปลี่ยนคนใหม่ งานอาจสะดุดได้

       และการทำงานทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งหนึ่งที่สมควรทำอย่างยิ่ง คือ การใฝ่รู้ ไม่จำเป็นต้องเป็นงานของเรา งานของเพื่อนๆ ในสำนักก็ควรรู้ เพราะเวลาไปชี้แจงกรรมาธิการต้องชี้แจงภาพรวม จึงต้องมีความรู้รอบทุกด้าน ไม่ใช่งานของตัวเองฝ่ายเดียว ผู้เขียนจึงชอบเข้าร่วมการประชุมกับงานของส่วนอื่น เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติม

       การศึกษาในต่างประเทศจึงเป็นเครดิตที่ดีสำหรับข้าราชการในกระทรวงเศรษฐกิจ เพราะถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างคนสองคนคือ นักเรียนในประเทศและนักเรียนนอก ไม่ต้องบอกว่าคนไหนเป็นที่ต้องการมากกว่ากัน ลูกน้องของผู้เขียนก็จบด็อกเตอร์จากอังกฤษ ยอมรับว่าเป็นคนที่มีคุณภาพดีทีเดียว

       ดังนั้น การนำสถาบันการศึกษาของบุคคลที่จบการศึกษามากำหนดเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งในการให้คุณและให้โทษ จึงถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งในสังคมเราในสมัยนี้

หมายเลขบันทึก: 258681เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 00:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เห็นบันทึกนี้เขียนถึงความเหลื่อมล้ำ เลยต้องขอรบกวนให้เพิ่มคำสำคัญ Digital Divide ในบันทึกนี้ด้วยค่ะ

ทางทีมงานจะได้รวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำหนังสือ ดังที่แจ้งไว้ในบันทึก ร่วม "เขียน และ ขุด" บันทึก เพื่อทำหนังสือ "เรื่องเล่าจากคนทำงาน " ค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

สวัสดีค่ะ คุณมะปรางเปรี้ยว

ได้เพิ่มคำสำคัญแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท