ปัญญาที่ต้อง Load อย่างหนัก


อาจฟังดูเป็นภาษาแปลก แต่หลายคนอาจจะเคยได้ยิน แต่คำๆ นี้ในวงนักออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เน้นทางด้าน Cognitive จะใช้พูดคุยกันบ่อยๆ เมื่อเราเข้าสู่สภาวะที่ต้องใช้กระบวนการคิดอย่างมาก ... จะเกิด "Cognitive Load"...

เป็นสภาวะที่...การเรียนรู้ของเรามีความงงงวยต่อเรื่องบางเรื่อง ที่ต้องอาศัยความพยายามทำความเข้าใจ หากพูดกันในฐานของพุทธิปัญญา(Cognitive Theory) แล้วล่ะกระบวนการเชื่อมโยงและดูดซึมความรู้ใหม่และเก่าค่อนข้างจะทำงานหนักพอสมควร จึงจะสามารถทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ได้

ดั่งเช่น... ทำความเข้าใจเรื่อง Digital Divide หากว่าใครไม่มีฐานความรู้เรื่องนี้มาก่อน และพอมาฟังคนเขาพูดกันในเรื่องนี้ แล้วก็จะเกิดเป็นความไม่เข้าใจ กระบวนการทางปัญญาก็จะพยายามทำงานอย่างหนักที่จะพาเจ้าของทำความเข้าใจ เพราะในบางคนนั้นอาจจะไม่ได้มีฐานข้อมูลเดิม หรืออาจมีแต่มีน้อย คลังความรู้ภายในมีต้นทุนเสบียงในเรื่องนี้น้อย ... จึงเกิดเป็นความไม่เข้าใจ

และหากว่าจะทำความเข้าใจ...ก็ต้องมีการเสาะแสวงหาข้อมูลมาเพิ่มเติมเพื่อเชื่อมโยงและประสานกันระหว่างข้อมูลที่ได้มา ...

กระบวนการเหล่านี้จะเกิดทำงานอยู่ตลอดเวลา และบางครั้งอาจเป็นอัตโนมัติ หรือที่เคยได้ยินว่าเป็นปัญญาอัตโนมัติ...

และในบางครั้ง กระบวนการทางปัญญาอยู่ในสภาวะ "Load หนัก" ...

เรายังมีสภาวะของความเครียดผนวกเข้ามาด้วย เมื่อใดก็ตามที่มีสภาวะเครียด สมองเราจะเสียสมดุลในเรื่องของสารชีวเคมี แล้วสมอง (กายวิภาค) ก็ค่อนข้างจะทำงานอย่างหนักตามไปด้วย

นอกจากจะต้องใช้ในเรื่องการเรียนรู้แล้วยังต้องมาแบกรับสภาวะเครียดร่วมด้วย ดังนั้นจึงอาจมีว่าในหลายๆ ครั้งที่กระบวนการเรียนรู้ของคนเราอยู่ในสภาวะ Load อย่างหนักแล้วเครียดร่วมด้วย ==> ผลลัพธ์สุดท้ายจึงมีอาการปวดหัวร่วมด้วย บางคนอาจมีอาการมึนๆ ชาๆ...

ทำไมถึงต้อง Load อย่างหนัก?

นึกเอาแล้วกันว่า...เมื่อเรามาเจอเรื่องที่เราไม่เข้าใจ สภาวะของความไม่เข้าใจนั่นน่ะ เราเรียกว่า "เสียสมดุลทางปัญญาอย่างแรง" และกระบวนการทางปัญญาของเราก็จะมีความพยายามที่จะรักษาความสมดุลนั้น โดยพยายามที่จะดูดซึมข้อมูลและปรับโครงสร้างทางปัญญา นำไปสู่ความเข้าใจ

การที่เราจะทำให้กระบวนการนี้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น...เราต้องไม่เพิ่มภาระให้ปัญญาเราทำงานหนักเกินไปที่จะต้องมาแบกรับภาระอารมณ์และการเสียสมดุลของสารชีวเคมีด้วย จึงควรที่จะปรับการเรียนรู้ด้วยใจเบาเบา สบายไม่เคร่งเครียด หากว่าไม่เข้าใจ ก็ค่อยๆ พยายามทำความเข้าใจ เหล่านี้มันดำเนินไปตามธรรมชาติอยู่แล้ว ...

เมื่อไรที่เรารู้สึกว่าเราล้า สมองล้า...เมื่อยสมองหลังจากผ่านการได้ใช้ความคิดนั่นแหละ กระบวนการทางปัญญาของเราได้ผ่านการ Load อย่างหนักมา... ดังนั้นจึงควรให้เขาได้พัก อาจจะด้วยการนอน หรือการหยุดพักความคิด ...การพักทางความคิด คือ การเคลื่อนมาอยู่ที่ลมหายใจก็ได้

หรือถ้าอยากจะหลีกเลี่ยงการ Load อย่างหนัก...ก็ควรเป็นการเรียนรู้ที่มีความสุขไม่เครียด ผ่อนคลาย แล้วกระบวนการเรียนรู้ทางปัญญาจะเคลื่อนไปแบบไม่เป็นภาระหนักมากเกินไป ที่สุดแล้วการเรียนรู้ภายใต้บรรยากาศภายในเช่นนี้จะก่อเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด นั่นคือ การเรียนรู้แบบไม่เคร่งเครียด แล้วปัญญาเราก็จะไม่ตกอยู่ในสภาพที่ต้อง Load อย่างหนัก

 

๒๕ เมษายน ๒๕๕๒

 ------------------------------------------------------

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 257427เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2009 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เข้ามาซึมซับข้อมูลค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ นะคะ สำหรับข้อมูลดี ดี

หากเราคิดว่าทำงานเพื่อหาผลประโยชน์ Load จะหนัก

ทุกอย่างก้าวที่มีแต่ผลประโยชน์ ผลประโยชน์ และผลประโยชน์นั้น สมองจะคิดแต่ว่า "คุ้มหรือไม่คุ้ม"

แต่ถ้าหากเราทำไป ทำไป และทำไป ทำด้วยความดี และเสียสละ หนักเพียงใด เหนื่อยแค่ไหนก็ "สบาย"

ทำไปยิ้มไป "เหนื่อยแต่ไม่หนัก"

ถึงแม้ว่างานจะร้อน เลอะ สกปรก แต่จิตใจตระหนักในการทำความดี เพียงแค่นี้ก็ "สบาย"

คนทุกวันนี้โหลดหนักเพราะคิดสรตะแต่เพียงเงิน เงิน เงิน อันนี้ไม่คุ้มค่าเงิน อันนี้ไม่คุ้มกับเวลาที่ต้องเสียไป อันนี้เป็นการทำลายชีวิต เป็นการดูถูกจิตวิญญาณของตัวเอง

มนุษย์ทุกวันนี้ส่วนใหญ่สมองคิดแต่เรื่องเงิน คิดแบบนี้สมอง ร่างกาย จิตใจ "หนัก"

มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อหาเงินหรือผลประโยชน์ มนุษย์เกิดมาเพื่อทำความดีที่ชาติก่อนไม่ได้ทำ

มนุษย์ทั้งหลายจึงมีชีวิตอยู่อย่างผิดวัตถุประสงค์

เหมือนกับเอาเรือมาวิ่งบนถนน เหมือนกับเอารถไฟไปบินอยู่บนท้องฟ้า หรือเอารถมอเตอร์ไซด์ไปขนข้าวสาร ใช้ร่างกายนี้ผิดวัตถุประสงค์ จิตใจก็เลยย่ำแย่

การดำเนินชีวิตที่ผิดหลักการ ชาตินี้เสียเปล่า ชาติหน้ามีสิทธิลงอบาย

load มิได้หนักเพียงชาตินี้ แต่จะพาล load ไม่ดีไปถึงชาติหน้า...

คนเราหากคิดดีก็สบาย แต่ถ้าหากคิดไม่ดีก็ลำบาก

คนเราก็มีแค่นี้เอง...

"ปัญญา" ทั้งทาง "โลก" และทาง "ธรรม" คงต้องค่อย ๆ การฝึกฝนเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ แบบไม่เร่งรีบนะครับ...

จะได้ไม่เกิดการ "โหลด" จนเกิดสภาวะแห่งการ "ล้า"นะครับ...

ขอบคุณครับผม...

  • สวัสดีค่ะ น้อง ka-poom 
  • ต้นทุนน้อย ใช่เลยจะ load หนักมาก เพื่อสร้างความเข้าใจ
  • ชอบบทความนี้ค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณ Mr.Direct ที่สุดแล้วทุกอย่างคือ สภาวะเดียวกันค่ะ

ขอบคุณค่ะป้าแดง  pa_daeng ...ที่ชอบ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท