การซื้อขายทองคำล่วงหน้า ตอนที่ 1


ขณะนี้การซื้อขายทองคำล่วงหน้าถือเป็นบริการทางการเงินแบบใหม่ซึ่งผู้ลงทุนควรมีความระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุน

                    ในช่วงปี พ.ศ. 2507 – 2522 การนำเข้าทองคำกระทรวงการคลังได้ใช้วิธีการประมูลการนำเข้าทองคำโดยผู้ประมูลต้องจ่ายเงินให้ทางการปีละไม่ต่ำกว่า 2ล้านบาท และหลังจากปี พ.ศ. 2522 ได้อนุญาตให้มีการนำเข้าทองคำเฉพาะผู้ผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ผู้ผลิตรายย่อยได้ร้องเรียนว่าไม่ได้รับความสะดวกประกอบกับมีการลักลอบนำทองคำที่ไม่ได้มาตรฐานเข้ามาผลิตเครื่องประดับส่งออกทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตในต่างประเทศได้ทางการจึงต้องปรับปรุงนโยบายการนำเข้าทองคำเพื่อขจัดทองคำที่มีการลักลอบให้น้อยลงและส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับด้วยการจัดตั้งคลังทองคำของทางการขึ้นมา

                    ทองคำที่นำเข้ามาจำหน่ายในคลังทองคำของทางการจะได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าและจะเสียภาษีการค้าเมื่อขายจากคลังทองคำของทางการให้แก่ผู้ผลิตต่อมาทางการมีนโยบายที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินโดยได้เริ่มผ่อนคลายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและได้ประกาศยอมรับพันธะ  ข้อ 8 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศโดยที่ทองคำมีค่าเทียบเท่าเงินตรา จึงควรที่จะปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกันซึ่งกระทรวงการคลังเห็นสมควรที่จะนำนโยบายนำเข้าทองคำโดยเสรีมาใช้โดยเริ่มผ่อนคลายทีละน้อยในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามลำดับ

                    ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 ให้ผ่อนคลายการนำเข้าและส่งออกทองคำให้เสรียิ่งขึ้นโดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ โดยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ผู้นำเข้า และ/หรือส่งออกทั่วไปให้สามารถส่งออกและ/หรือนำเข้าทองคำได้เองแต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและ/หรือส่งออกที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าหรือผู้ที่อยู่ในเขตอุตสาหกรรมส่งออกสามารถนำทองคำเข้ามาในคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือเขตอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิต และส่งออกไปได้โดยให้กรมศุลกากรเป็นผู้พิจารณาตรวจปล่อย

                     แม้ว่ารัฐบาลได้ผ่อนคลายให้ผู้นำเข้าและส่งออกทองคำสามารถนำเข้าและส่งออกทองคำได้สะดวกมากขึ้นแล้วแต่กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้นำเข้าและส่งออกทองคำในกรณีทั่วไป ยังคงต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและ/หรือส่งออก ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าและผู้ส่งออก คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เห็นชอบให้ผู้นำเข้าและส่งออกทองคำทั่วไปสามารถนำเข้าและส่งออกทองคำได้โดยไม่จำเป็นต้องขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและ/หรือส่งออกทองคำกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังโดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 98/2542 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2542 ยกเลิกการจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและ/หรือส่งออกทองคำ

                     สำหรับกฎหมายอื่นที่ควบคุมเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกทองคำที่สำคัญ คือ พระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2485  และพระราชกฤษฎีกาควบคุมการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2494  เป็นต้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 254603เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

เอาดอกไม้มาฝากฝั่งธนค่ะ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท