กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทองคำ ตอนที่ 2


              การประกอบธุรกิจทองคำนอกจากมีปัญหาความไม่เข้าใจในเรื่องของระเบียบ ขั้นตอนของการประกอบธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจทองคำยังต้องศึกษาหาข้อมูลของการประกอบธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งกฎหมายต่าง ๆ ได้มีการออกมาบังคับใช้และบางฉบับก็ได้มีประกาศยกเลิกซึ่งถ้าไม่ติดตามก็อาจขาดข่าวสารในบางช่วงบางตอนได้ แม้แต่ผู้ปฏิบัติในบางครั้งถ้าไม่ค้นคว้าและติดตามก็อาจตามข้อมูลไม่ทันเหมือนกัน
             กฎหมายสำคัญที่มีประกาศยกเลิกและยังบังคับใช้ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่

1. พระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง พุทธศักราช 2482 (ยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522)

มาตรา 8   บทบัญญัติว่าด้วยการศุลกากร และอำนาจพนักงานศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เฉพาะอย่างยิ่งที่ว่าด้วยการตรวจของและป้องกันลักลอบหนีศุลกากร การตรวจค้น การยึดและริบของ หรือการจับกุมผู้กระทำผิด การแสดงเท็จ และการฟ้องร้องนั้น ให้ใช้แก่การส่งออกไปหรอนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าอันอยู่ในความควบคุมตามพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัตินี้

 2. พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522        (ยกเลิก ฉบับ 1-3)

     มาตรา 4  กำหนดว่า

        ส่งออก  หมายความว่า นำหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้า

        นำเข้า  หมายความว่า นำหรือส่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า

 มาตรา 5   ในกรณีจำเป็นหรือสมควรเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ การสาธารณสุข ความมั่นคงของประเทศ  ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดของรัฐ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติของรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ดังนี้

(1)  กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการส่งออกหรือในการนำเข้า

(2)  กำหนดสินค้าให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกหรือในการ

นำเข้า

(3)  กำหนดประเภท ชนิด คุณภาพ มาตรฐาน จำนวน ปริมาตร ขนาด น้ำหนัก

ราคา ชื่อที่ใช้ในทางการค้า ตรา เครื่องหมายการค้า ถิ่นกำเนิด สำหรับสินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้า ตลอดจนกำหนดประเทศที่ส่งไปหรือประเทศที่ส่งมาซึ่งสินค้าดังกล่าว

(4)  กำหนดประเภทและชนิดของสินค้าที่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษในการ

ส่งออกหรือในการนำเข้า

(5)  กำหนดให้สินค้าที่ส่งออกหรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่น

กำเนิดสินค้า หนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามความตกลง หรือประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ

(6)  กำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบ ในการส่งออก

หรือการนำเข้า ตามพระราชบัญญัตินี้

         การแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกประกาศตามมาตรานี้ ให้นำความในวรรคหนึ่ง

มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 มาตรา 7  เมื่อได้มีประกาศกำหนดสินค้าใดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกหรือในการนำเข้าตาม ม. 5(2) แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้านั้น เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย

 มาตรา 16  บทบัญญัติว่าด้วยการศุลกากร และอำนาจพนักงานศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ในส่วนที่ว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร การตรวจค้น การยึดและริบของ หรือการจับกุมผู้กระทำผิด การแสดงเท็จ และการฟ้องร้องนั้น ให้ใช้บังคับแก่การส่งออกหรือการนำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย

 

คำสำคัญ (Tags): #ทองคำ
หมายเลขบันทึก: 254582เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2009 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท