ทฤษฎีการพัฒนานิสิตนักศึกษา ของชิกเกอริ่ง และไรเซอร์


การพัฒนานักศึกษา

ทฤษฎีการพัฒนานิสิตนักศึกษา ของชิกเกอริ่ง และไรเซอร์ (Arthur W. Chickering & Reiser 1993)

การพัฒนานิสิตนักศึกษา ตามแนวคิดของชิกเกอริ่ง และไรเซอร(Arthur W. Chickering & Reiser 1993) ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่

1)   การพัฒนาความสามารถ (Developing Competence) ในระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยนิสิตนักศึกษาจะพัฒนาความสามารถ 3 ด้าน คือ ความสามารถด้านสติปัญญา ความสามารถทางร่างกาย และความสามารถในด้านความสัมพันธกับผู้อื่น หรือด้านสังคมนิสิตนักศึกษา จะมีความรู้สึกว่าตนมีความสามารถมากขึ้น เพื่อพวกเขาได้เรียนรู้ที่จะไว้วางใจในความสามารถของตนยอมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น และบูรณาการทักษะต่างๆ ของเขาให้กลายเป็นความมั่นใจในตนเอง

2)   การจัดการด้านอารมณ (Managing Emotions) นิสิตนักศึกษาหลายคนต้องประสบกับอารมณ์ในด้านไม่ดีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความกลัว ความเจ็บปวด ความคิดถึง ความเบื่อหน่าย หรือความเครียด ผลจากการศึกษาพบว่า ความวิตกกังวล ความโกรธ ความรู้สึกหดหู่ ความต้องการ ความรู้สึกผิด และความอายนั้น เมื่อมีมากเกินไป จะมีอิทธิพลต่อกระบวนการศึกษาดังนั้น จึงต้องมีการจัดการด้านอารมณ์ที่ดี งานสําคัญในการพัฒนานิสิตนักศึกษาด้านนี้ ไม่ได้เป็นการกําจัดอารมณ์ต่างๆ เหล่านี้ แต่ว่าจะต้องตระหนักและรับรู้ถึงอารมณเหล่านี้ว่าเป็นสัญญาณบอกสิ่งต่างๆ

3)   การพัฒนาจากความเป็นตัวของตัวเองไปสูการพึ่งพาอาศัยกัน (Moving Through Autonomy Toward Interdependence) สิ่งสําคัญที่ นิสิตนักศึกษาจะต้องพัฒนาในที่นี้ก็คือ การเรียนรู้ที่จะพอใจในตนเอง มีความรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายที่ตนได้เลือกไวไม่ถูกชักนําโดยความคิดเห็นของคนอื่น การพัฒนาในด้านนี้จะต้องนําไปสู่ความเป็นอิสระทั้งทางอารมณและในด้านความต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก และนําไปสู่การยอมรับการพึ่งพาอาศัยกันในขั้นต่อมา

4)   การพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่นอย่างมีวุฒิภาวะ (Developing Mature Interpersonal Relationships) รวมถึง การยอมรับและชื่นชมความแตกต่างระหว่างบุคคล และความสามารถในการใกล้ชิดผูกพันกับผู้อื่น การยอมรับความแตกต่าง นอกจากจะหมายถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ยังหมายความรวมถึงในบริบทที่มีความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมด้วย การตระหนักถึงความแตกต่าง การมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง ความเปิดเผย ความอยากรูอยากเห็น และการเป็นปรวิสัย (objective) ไมยึดติดกับความเห็นของตน

5)   การสร้างเอกลักษณเฉพาะตน (Establishing Identity) การสร้างเอกลักษณนั้น ขึ้นอยูกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ที่กล่าวมาก่อนแล้ว คือ ความสามารถ การจัดการกับอารมณการเปนตัวของตัวเอง และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การพัฒนาเอกลักษณนั้นเปนกระบวนการคนหาวาประสบการณชนิดใด ระดับใด และการทําประสบการณ์นั้นๆ บ่อยเท่าไร ที่จะทำให้เราพึงพอใจ รู้สึกปลอดภัย และมั่นใจในตนเอง

6)   การพัฒนาเปาหมาย (Developing Purpose) เปนการเพิ่มความสามารถในการเปนคนที่มีความตั้งใจแน่วแน่ ความสามารถในการประเมินความสนใจและทางเลือกตางๆ โดยจะตองมีการวางแผนสําหรับการะกระทำ และมีการกำหนดสิ่งที่ควรจะทำกอนใน 3 าน คือ แผนและแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพ ความสนใจสวนตัว และความผูกพันกับบุคคลอื่นและครอบครัว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงเปาหมายที่ แตกตางกันของตนใหอยูภายใตเปาหมายหลักที่ใหญกว่าและมีความหมายมากกวา และการมีความตั้งใจในการทําสิ่งตางๆ ในชีวิตประจําวัน

7)   การพัฒนาความมีคุณธรรม (Developing Integrity) การพัฒนาความมีคุณธรรมนั้นใกลกับการสรางเอกลักษณเฉพาะตน และการกําหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การพัฒนาความมีคุณธรรมประกอบด้วย 3 ขั้นตอนที่มีลําดับซอนกันอยูคือ

(1)  านิยมในดานเกี่ยวกั บมนุษยจะเปลี่ยนจากการทําตามความเชื่อต่างๆ โดยอัตโนมัติไปสูการรักษาความสมดุลระหวางความสนใจของตนเองกับความสนใจของเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ

(2)  ค่านิยมเกี่ยวกับบุคคล เป็นการยอมรับค่านิยมและความเชื่อต่างๆ อย่างมีสิตในขณะเดียวกันก็เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

(3)    การพัฒนาความเหมาะสม หมายถึง การประสานระหว่างค่านิยมส่วนตัว กับพฤติกรรมที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคม

หมายเลขบันทึก: 253385เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท