- ท่านที่ทำงานรับราชการ คงคุ้นๆกับคำว่า OT (ทำงานนอกเวลาราชการ / มีเบิกค่าตอบแทน?)
-
การทำงานในภาคธุรกิจเอกชน OT จะมีเฉพาะที่เร่งด่วนและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจจริงๆ คิดเป็นชั่วโมงทำงานล่วงเวลาที่ทำไป หากเป็นโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตหมายถึงยอดการผลิตที่เพิ่มในรอบเดือนที่ต้องผลิตเพิ่มส่งลูกค้าให้ทันกำหนด แต่ส่วนราชการจะพบ 3ประเด็นคือ
-
1.OT เพราะในเวลาราชการมีงานอื่นมาก ที่ไม่ใช่งานประจำ หรือ ทำไม่ทันเป็นเพราะตนเองขาดทักษะการทำงาน
-
2.OT เพราะต้องทำงานประจำเพิ่ม เช่น เพือนร่วมงานลาป่วย /ย้ายไปช้วยราชการที่อื่นหรือผู้บังคับบัญชามอบหมายงานเพิ่ม แบบนี้OT มีเหตุผล
-
3.OT เพราะองค์กร ทำเป็นประจำจนเคยชิน (อะไรๆก็OT งานจึงจะเสร็จ?)
-
ในยุคการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม/การทำงานของส่วนราชการ กรณีที่มีการขออนุมัติทำงานล่วงเวลาและเบิกเงินค่าตอบแทน วิธีตรวจสอบที่ดีก่อนอนุมัติ ควรให้บุคคลากรผุ้นั้นเขียนเป้าหมายการทำงานล่วงเวลาประกอบเหตุผลขออนุมัติค่าตอบแทน เช่น จะทำงานเสร็จกี่หน่วยหรืออื่นๆ ที่มีหน่วยวัดได้ชัดเจน ผู้บังคับบัญชาจึงจะอนุมัติค่าตอบแทนค่าOTให้ หลายครั้งการทำงานไม่ถึงชั่วโมง หรือไม่มาทำจริง แต่มีเบิก OT อยู่เสมอ
-
เป็นปัญหา ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามองหัวหน้าแบบไม่พอใจ หากไม่อนุมัติOT
-
เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่ปัญหามากครับ งบประมาณของรัฐ ต้องช่วยกันประหยัด เพราะเป็นภาษีที่เก็บจากประชาชน เขียนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ครับ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย พิชัย เล่งพานิชย์ ใน เลขานุการศูนย์บริการวิชาการ
ดีจัง OT 3 รูปแบบ ขอร่วมแจมว่า กรณี เวลาราชการมีงานอื่นมาก ที่ไม่ใช่งานประจำ หรือ ทำไม่ทัน ในส่วนของตนเองที่มาเป็นประจำคือ มาทำงานช่วงเสาร์-อาทิตย์ที่รับผิดชอบให้แล้วเสร็จ เพราะเป็นความรับผิดชอบค่ะ ก็เลยไม่เบิก OT