GotoKnow

เล่าต่อ.."วิถี"..ผู้ป่วยเรา

Ka-Poom
เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2549 00:10 น. ()
แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2556 12:58 น. ()
จากวันนั้นเรากลัวคนไข้เราถูกบังคับให้นั่งเก้าอี้ เราจึงเลือกปูเสื่อในห้องรอตรวจให้ผู้ป่วยได้นั่ง และนอนเอกเขนกอย่างสบายใจ แม้จะคับแคบก็ตามที

       จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ อันสืบเนื่องจากการมุ่งพัฒนาคุณภาพนั้น องค์กรของเรามีการจัดระบบระเบียบบริการค่อนข้างดี มีเก้าอี้ให้ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้มารับบริการได้รับความสะดวกสบายและเกิดความพึงพอใจอย่างที่สุด

       ที่กลุ่มงานจิตเวชเองก็เช่นเดียวกัน หน้าห้องบริการมีเก้าอี้ตั้งวางเรียงรายมากมาย เพราะสาเหตุจากที่ได้รับการ comment ว่าผู้ป่วยจิตเวชนั่งระเกะระกะกับพื้นเป็นภาพที่ไม่สวยงามและไม่น่าดู  แต่ทราบไหมคะว่าเป็นที่น่าแปลกใจว่าเก้าอี้ดังกล่าวที่ตั้งวางเรียงรายมากมายนั้นแทบจะไม่มีใครนั่ง ผู้ป่วยก็ยังเลือกที่จะนั่งกับพื้นเหมือนเดิม และที่สำคัญคราวนี้ผู้ป่วยมีเสื่อที่ตนทอมือถือติดไม้ติดมือมาบริจาคให้กลุ่มงาน เพื่อใช้ปูพื้นให้ผู้ป่วยและญาตินั่งคอย-นอนคอยการรับบริการ...

       มีครั้งหนึ่งที่ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลเคยเดินมาดู เพราะมองลงมาจากชั้นสี่ เห็นคนเยอะแยะไปหมดนั่ง-นอน เต็มไปหมด จึงมาสอบถามพวกเรา"คนทำงาน"ว่า ทำไมไม่ให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ เราก็ตอบท่านได้ไม่ดีนัก ว่าก็เพราะผู้ป่วยไม่ชอบนั่งเก้าอี้เขาจึงไม่นั่ง จากวันนั้นเรากลัวคนไข้เราถูกบังคับให้นั่งเก้าอี้  เราจึงเลือกปูเสื่อในห้องรอตรวจให้ผู้ป่วยได้นั่ง และนอนเอกเขนกอย่างสบายใจ แม้จะคับแคบก็ตามที

 

 


ความเห็น

คนข้างนอก
เขียนเมื่อ

” ยา “ อาจเป็นคำตอบได้ในกรณีนี้ เพราะยาของผู้ป่วยจิตเวช มักมีผลข้างเคียงคือง่วง… การที่ต้องนั่งรอเป็นเวลานานอาการง่วงจะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก..การที่มีที่พักผ่อนโดยไม่เกะกะสายตามากนักน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

Dr.Ka-poom
เขียนเมื่อ

คุณ"คนข้างนอก"

น่าแปลกนะคะ...ความสบายของผู้ป่วย

กลับกลายเป็น"ความเกะกะในสายตามผู้อื่น"

โดยเฉพาะ "คุณภาพ"

คนข้างนอก
เขียนเมื่อ

Dr.Ka-poom

นี่อาจเป็นคำตอบ " สองคน...ยลตามช่อง

                         คนหนึ่งมอง...เห็นโคลนตม

                         คนหนึ่งมอง...เห็นดารา พร่างพราว "

จำ Figure & Ground ของ Gestalt ได้มั้ย.. ในหลายๆบริบท Figure ของคนๆหนึ่งอาจเป็น Ground ของอีกคนหนึ่งก็ได้ และ Ground ของคนๆหนึ่งก็อาจเป็น Figure ของอีกคนหนึ่งก็ได้

" การให้ความสำคัญ " กับสิ่งใดจึงขึ้นอยู่กับมุมมอง , ทัศนคติ ,หน้าที่ , บริบทและปัจจัยของแต่ละบุคคลในขณะนั้น

" ความขัดแย้ง " จึงเป็นหนทางหนึ่งที่สำคัญในการนำไปสู่การหาทางออกร่วมกัน... เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือที่เราเรียกว่า" การพัฒนา " นั่นเอง


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย