กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้ ทักษะจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนมาปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาตนเองเพื่อเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยและมีจิตสำนึกสาธารณะที่ดีงาม เป็นคนดีมีปัญญาในการใช้ทักษะชีวิต การคิด การสื่อสาร การแก้ปัญหาและการใช้เทคโนโลยีและเป็นคนมีความสุขในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงโดยอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสร้างสรรค์ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา 2552,2)

                  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นการตนเองอย่างรอบด้าน มุ่งเน้นการพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคมเสริมสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมสามารถบริหารจัดการตนเองได้และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้
                 
๑.      กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมที่ใช้กระบวนการทางจิตวิทยาและการแนะแนวในการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิต ทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตนเองได้อย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ที่สอดคล้อง ครอบคลุมด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัวและสังคม  กิจกรรมสำคัญในการพัฒนาได้แก่ กิจกรรมการรู้จัก  เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น กิจกรรมการปรับตัวและดำรงชีวิต กิจกรรมแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ กิจกรรมการตัดสินใจและแก้ปัญหา เป็นต้น กิจกรรมแนะแนวจะช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
              ๒.    กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย  ความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน เอื้ออาทรและสมานฉันท์ โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์ วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม และสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น  กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย
                      ๒.๑  กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหาร เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน การรู้จักแก้ปัญหา  การตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปันกัน การประนีประนอม เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสมบูรณ์  พร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นต้น
                       .  กิจกรรมชุมนุม ชมรม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเอง  ตั้งแต่การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กิจกรรมสำคัญในการพัฒนา ได้แก่ ชุมนุมหรือชมรมต่างๆ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น
               
๓.     กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ ต่อครอบครัว สังคม ชุมชนและต่อท้องถิ่น ตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม มีจิตสาธารณะ สังคม โดยการจัดกิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ และกิจกรรมสร้างสรรค์สำคัญได้แก่ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม กิจกรรมดำรงรักษา สืบสานศาสนา ศิลปะและวัฒนาธรรม กิจกรรมพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อสังคม เป็นต้น

                      หลักการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                            การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมีหลักการสำคัญ ดังนี้

                            ๑. ชี้ให้ชัด  :  มีการกำหนดเป้ามหมายของกิจกรรมที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมและครอบคลุมผู้เรียนทุกคน

                            ๒.พัฒนารอบด้าน :  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพ ความสนใจ ความถนัด ความต้องการและความเหมาะสมกับวุฒิภาวะ
                             ๓. เสริมสร้างจิตอาสา : เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและส่งเสริมกิจกรรมจิตสำนึกในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในลักษณะต่าง ๆที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
                             ๔. พัฒนาการมีส่วนร่วม : เป็นกิจกรรมที่ยึดหลักการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรและหน่วยงานอื่นม่ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
                             เป้าหมาย

                              ๑. พัฒนาความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิตและการใช้เทคโนโลยี
                              ๒. เสริมสร้างความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ความซื่อสัตยสุจริต   มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่พอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ

                            แนวการจัด

                            ๑. สมัครใจ : ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสมัครใจ

                            ๒. หลากหลายประสบการณ์ : ให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสบการที่หลากหลาย ฝึกการทำงาน ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง ตอลดจนสะท้อนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ของนักเรียน
                             ๓. สร้างความสมดุล: จัดกิจกรรมสมดุลทั้ง ๓ กิจกรรม คือ กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์มีความสมดุลในการจัดกิจกรรมรายบุคคล และกิจกรรมกลุ่ม รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกสถานศึกษา

                             ๔  มุ่งให้นักเรียนจัดกิจกรรม : โดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยการมีการสำรวจและใช้ข้อมูลประกอบการวางแผนอย่างเป็นระบบ เน้นการคิดวิเคราะห์และใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินกิจกรรม

                             ๕. เน้นการมีส่วนร่วม : ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้แบบร่วมมือมากกว่าเน้นการแข่งขันบนพื้นฐานการปฏิบัติตามวิถีประชาธิปไตย

                             ขอบข่าย

                             ๑. ส่งเสริมการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ให้กว้างขวางและลึกซึ่ง ในลักษณะเป็นกระบวนการเชิงบูรณาการโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนบูรณาการระหว่างกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียนและเกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

                             ๒. เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองความสนใจ ความถนัด และความต้องการของนักเรียน  ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลเน้นให้นักเรียนเห็นคุณค่าของวิชาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนเห็นแนวทางในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

                              ๓. เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังและส่งเสริมจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมในลักษณะต่าง ๆสนับสนุนค่านิยมที่ดีงามและเสริมสร้างคุณลักษระอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
                               ๔. เป็นกิจกรรมที่ฝึกการทำงานและการให้บริการด้านต่างๆทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อส่วนรวมเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจ ความเอื้ออาทร ความเป็นพลเมืองดี ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม

         เวลาเรียนสำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                   การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓  ปีละ ๑๒๐  ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖  จำนวน     ๓๖๐  ชั่วโมง  เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนดังนี้

                                   ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑-๖  รวม    ปี  จำนวน  ๖๐  ชั่วโมง (เฉลี่ยปีละ ๑๐  ชั่วโมง)
                                  
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓     รวม  ๓ ปี  จำนวน  ๔๕  ชั่วโมง (เฉลี่ยปีละ ๑๕  ชั่วโมง)
                                  
ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖     รวม  ๓ ปี  จำนวน  ๖๐  ชั่วโมง (เฉลี่ยปีละ ๒๐  ชั่วโมง)

                 การจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์  สามารถนำไปสอดแทรก หรือบูรณาการ ในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์และนักศึกษาวิชาทหาร ได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้ผู้เรียนรายงานแสดงการเข้าร่วมกิจกรรมและมีผู้รับรองผลการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย

       การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

                   เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมตามจุดประสงค์และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรมและใช้เป็นข้อมูลประเมินการเลื่อน ชั้นเรียนและการจบการศึกษาระดับ  ซึ่งในการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นจะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดและให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน  การประเมินผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งสำหรับ       การเลื่อนชั้นและการจบระดับการศึกษา  ผู้เรียนต้องมีเวลาเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนผ่านการประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด 

                 แนวดำเนินการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                                   สถานศึกษาควรมีการดำเนินการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน

                                   .  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรายกิจกรรม  มีแนวปฏิบัติดังนี้
                                        
. ประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจากการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ด้วยวิธีการที่หลากหลาย และใช้การประเมินตามสภาพจริง
                                         
. ตรวจสอบเวลาเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียนว่า  เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดไว้หรือไม่
                                        
. ในกรณีที่ กิจกรรมใดต้องใช้เวลาปฏิบัติตลอดปี เมื่อสิ้นภาคเรียนแรก ควรจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของผู้เรียน เพื่อสรุปความก้าวหน้า  ปรับปรุงแก้ไข และรายงานให้ผู้ปกครองทราบ (โดยนำผลการประเมินในภาคเรียนแรกไปรวมกับผลการประเมินในภาคเรียนที่สอง   เพื่อตัดสินผลการผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเมื่อจบปีการศึกษาในระดับประถมศึกษาและเมื่อสิ้นภาคเรียนในระดับมัธยมศึกษา)  
                              
.   ผู้เรียนที่มีเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  เป็นผู้ผ่านการประเมินรายกิจกรรมและนำผลการประเมินไปบันทึกในระเบียนแสดงผลการเรียน   
                                       
.  ผู้เรียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านในเกณฑ์เวลาการเข้าร่วมกิจกรรม หรือเกณฑ์การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนหรือทั้งสองเกณฑ์ ถือว่าไม่ผ่านการประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ผู้สอนต้องดำเนินการซ่อมเสริมและประเมินจนผ่าน ทั้งนี้ควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นในปีการศึกษานั้น ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัยให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา

                                   .  การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเลื่อนชั้นและจบระดับการศึกษา

                                           การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อเลื่อนชั้นและจบระดับการศึกษาเป็นการประเมินการผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เป็นรายปี / รายภาค เพื่อสรุปผลการผ่านในแต่ละกิจกรรม  สรุปผลรวมเพื่อเลื่อนชั้นและประมวลผลรวมในปีสุดท้ายเพื่อการจบแต่ละระดับการศึกษา โดยการดำเนินการดังกล่าวมีแนวปฏิบัติ  ดังนี้
                                           
. กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนทุกคนตลอดระดับการศึกษา
                                           
. ผู้รับผิดชอบสรุปและตัดสินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด  (เกณฑ์การจบแต่ละระดับการศึกษาที่สถานศึกษากำหนดนั้น ผู้เรียนจะต้องผ่านกิจกรรม    กิจกรรมสำคัญ ดังนี
                                                       (

หมายเลขบันทึก: 251539เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 17:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท