กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจทองคำ ตอนที่ 1


              การประกอบธุรกิจทองคำสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่อาจมีปัญหาในเรื่องของนิยามของคำว่า "ทองคำ" มีความครอบคลุมเพียงใด ผู้เขียนขออธิบายว่า ตามพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 8) พุทธศักราช 2485 ลงวันที่ 9 มกราคม 2485 ได้กำหนด ดังนี้

มาตรา 4 (1) กำหนดคำนิยามของ “ทองคำ” และ “ทองคำขาว”  หมายความรวมถึง

ก.   แร่ทองคำ และแร่ทองคำขาว

ข.   เนื้อทองคำ และเนื้อทองคำขาว ไม่ว่าจะเป็นแท่ง ก้อน แผ่น หรือรูปอื่น หรือผสมกับสิ่งอื่นใด

ค.   เครื่องทองรูปพรรณทองคำ และเครื่องรูปพรรณทองคำขาว

มาตรา 4 (2) กำหนดคำนิยามของ “เพ็ชร์พลอย” หมายความรวมถึง ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล์ นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีอื่น ๆ ไม่ว่าในรูปใด ๆ

  

มาตรา 6 บทบัญญัติใน ม.5 ไม่ให้ใช้บังคับแก่ผู้เดินทางโดยสุจริตซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรชั่วระยะเวลาที่กำหนดในตั๋วเดินทางไป-กลับ หรือตั๋วเดินทางผ่านราชอาณาจักร ในการนำทองคำ ทองคำขาว และเพ็ชร์พลอยที่ทำเป็นรูปพรรณแล้ว และนำติดตัวเข้ามานั้นออกไปนอกราชอาณาจักร

            แต่ผู้เดินทางต้องแสดงหลักฐานการนำเข้ามาต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรตามระเบียบของกรมศุลกากร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทองคำ
หมายเลขบันทึก: 251023เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท