พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๒๔) เวฬุวัน วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา


เวฬุวัน วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

                             ทางเข้าเวฬุวันมหาวิหาร

           พระวิหารเวฬุวัน ซึ่งหมายถึง พระวิหารที่เป็นสวนป่าไผ่ ( The bamboo grove temple) ชื่อเต็มคือ เวฬุวนาราม กลันทกะนิวาปะสถาน คือสวนป่าไผ่ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เหตุที่ได้ชื่อนี้เพราะเดิมเป็นป่าไผ่และพระเจ้าพิมพิสาร ครั้งหนึ่งทรงเคยรอดชีวิตจากงู เพราะการเตือนของกระแต จึงทรงสำนึกในบุญคุณของกระแต จึงให้สวนป่าไผ่ เป็นที่อภัยทาน และพระราชทานเหยื่อ อาหาร แก่ตัวกระแตทุกวันๆ

 

                       

พระเจ้าพิมพิสาร ทูลถวายเวฬุวัน

       สวนป่าไผ่เวฬุวัน แยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเรียกว่า กลันทกะนิวาปะ ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแตดังที่ว่าไปแล้ว ต่อมาได้อุทิศถวาย เป็นสังฆารามแห่งแรก ในพระพุทธศาสนา ต่อพระภิกษุทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข เมื่อคราวที่ พระองค์เสด็จมา โปรดชาวเมืองและกรุงราชคฤห์ ข้าราชบริพารและพระเจ้าพิมพิสาร จนได้บรรลุธรรม อีกส่วนหนึ่งของ สวนป่าไผ่ เรียกว่า โมรนิวาปะ ที่พระราชทาน เหยื่ แก่นกยูง เป็นที่พักของพวกนักบวชปริพาชก ซึ่งเป็นการแสดงถึง ความที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภ์ นอกจากจะทรงให้ความอุปถัมภ์ในพระพุทธศาสนาในฐานะทรงเป็นพุทธมามกะ ยังทรงเผื่อแผ่ถึงลัทธิศาสนาอื่นด้วย

                                          สวนไฝ่

             เวฬุวนารามเป็นที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาหลายพระสูตร และชาดก บางเรื่อง เช่น ทีฆลัฏฐสูตร นันทพสูตร จันทพสูตร อสัมปทานชาดก อุปหานชาดก นิโครธชาดก เป็นต้น นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติพระวินัยหลายสิกขาบทที่นี่ นอกจากนั้น พระเวฬุวันวิหาร ยังเป็นที่ ประดิษฐาน พระสถูปที่บรรจุพระธาตุ ของ พระอรหันต์ สาวกชั้นผู้ใหญ่ เช่นพระอัญญา โกณทัญญะ พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ นอกจากนั้น ยังเป็นสถานที่ที่ พระพุทธองค์ทรงประชุมสงฆ์ แสดงโอวาท    ปาฏิโมกข์ เมือวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 อันเป็นต้นกำเนิดวันมาฆบูชาอีกด้วย

พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

       เวฬุวนาราม มีความเป็นโรงพยาบาลสงฆ์แห่งแรกอีกด้วย เพราะหมอชีวกโกมารภัจจ์ นายแพทย์ประจำราชสำนัก ของพระเจ้าพิมพิสาร มีความเลื่อมใสในพระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ได้ปวารณาตนเป็นผู้ถวายการรักษา พระบรมศาสดา และพระภิกษุผู้ป่วยไข้ เมื่อครั้ง พระพุทธเจ้าทรงถูกพระเทวทัตทำร้าย โดยการกลิ้งหินจะให้มาทับ พระพุทธองค์ให้ถึงแก่ปรินิพพาน แต่หินใหญ่ถูกชะง่อนผาแตกละเอียด สะเก็ดหินกระเด็นมาถูกพระบาททำให้ห้อพระโลหิต พระภิกษุสงฆ์ จึงพา พระองค์มาที่เวฬุวันและหมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงถวายการรักษาให้กับพระองค์

                ครั้งหนึ่ง ในมคธมีโรคระบาด คนเป็นโรคลมบ้าหมู โรคเรือน โรคมงคร่อกันมาก ไปให้หมอชีวกรักษา แต่ท่านก็ไม่มีเวลารักษาให้ เพราะท่านมีหน้าที่ดูแลพระบรมศาสดา และพระภิกษุป่วยไข้ ตอนสายก็ต้องไปทำงานราชการในวัง พวกคนป่วยบางราย ได้ทราบก็เลย มาบวช จะได้ให้หมอชีวกรักษาให้ ปรากฏว่าคนเป็นโรคมาบวชกันเยอะ จนหมอชีวกท่านรักษาไม่หวาดไม่ไหว เห็นว่าเป็นคนป่วยที่มาบวช เพื่อให้รักษาแล้วก็จะสึก จึงได้ไปทูลขอพรจากพระพุทธองค์ว่า ขอภิกษุสงฆ์อย่าให้การบวชแก่คนเป็นโรคเรื้อน โรคติดต่อพวกมองคร่อ ลมบ้าหมู โรคกลาก โรคหืด พระองค์จึงทรงบัญญัติเป็นสิกขาบท ให้พระภิกษุอย่าบวชให้บุคคล ผู้เป็นโรค 5 อย่างนี้บวช

      เวฬุวนารามมีสระน้ำร้อนไหลผ่าน ชื่อว่า ตโปทานทีซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ตรัสว่า แม่น้ำนี้ไหลผ่านโลหะกุมภีมหานรกจึงมีความร้อนอยู่ ครั้งพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์มักจะมาสรงน้ำในตะโปทานทีนี้ พระเจ้าพิมพิสารจะเสด็จมาทรงสรงสนานก็เกรงใจพระรอให้ท่านขึ้นก่อนกว่าจะได้ทรงสรงน้ำ ก็เลยเวลาประตูพระราชวังปิด เสด็จกลับไม่ทัน ชาวเมืองไปร้องเรียนพระพุทธเจ้า ว่าพระภิกษุสรงน้ำในตโปทานทีนานเกินไป ทำให้พระราชาทรงรอนาน ทำให้เสด็จกลับพระราชวังไม่ทัน พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทให้พระภิกษุสรงน้ำ 15 วันได้ครั้งหนึ่ง ต่อมาทรงผ่อนผันเป็นอนุบัญญัติ เช่น หากอาพาธ สรงน้ำได้ เหงื่อออกสรงน้ำได้ ไม่สบายตัวสรงน้ำได้ ฯลฯ

 

                              สระน้ำใหญ่ในสวนเวฬุวัน

             ปัจจุบันตโปทานทีก็ยังมีอยู่ พวกพราหมณ์ไปจับจองเป็นของ ศาสนาตัวเอง แล้วก็กำหนดให้คนในวรรณะต่างๆอาบได้ลดหลั่นตามลำดับ คนที่เป็นวรรณะกษัตริย์ วรรณพราหมณ์ก็อาบที่ใกล้ๆต้นแม่น้ำที่สูงกว่า คนวรรณะต่ำๆก็อาบลดหลั่นลงมา บางทีน้ำไหลมาออกดำๆเขียวๆ เขาก็อาบกันได้ มีนักวิทยาศาสตร์ตักน้ำในแม่น้ำตโปทาไปวิจัย ก็พบว่ามีแร่ธาตุหลายอย่าง เช่นกำมะถัน เหล็ก ทองแดง เรเดี่ยมปนอยู่ในน้ำ ถ้าใครไปอาบน้ำแช่น้ำในตโปทา ก็จะเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เหมือนไปอาบออนเซน (แช่น้ำพุร้อน) ยังไงยังงั้น

       ปัจจุบันพระวิหารเวฬุวัน ได้รับการบูรณะปรับปรุงให้สวยงาม เมื่อครั้งฉลองพุทธชยันตี มีต้นไผ่เขียวขจีร่มเย็นพร้อมด้วย สระน้ำกลันทกะทำให้เห็นว่ายังรักษารูปเดิมในครั้งพุทธกาลไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยรอบบริเวณมีถนนตัดเป็นสี่เหลี่ยมมีศาลาทรงไทย ที่สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพุทธบริษัทชาวไทย คือ ศาลาไทย   เวฬุวัน เมื่อพ.ศ.2513โดยมี หลวงพ่อพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิมหาเถระ) ครั้งเมื่อดำรงตำแหน่ง ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา เป็นผู้ดำเนินการจัดการก่อสร้าง พร้อมทั้งรูปภาพติดฝาผนังหลังพระพุทธรูป ครั้งพระพุทธเจ้าทรงรับสวนเวฬุวันจาพระเจ้าพิมพิสาร และมีพระพุทธปฏิมากรศิลปกรรมไทย ตั้งไว้เป็นที่สักการะ

 

สระน้ำใหญ่ในสวนเวฬุวัน

      ทางด้านเหนือของสระใหญ่ มีพระพุทธรูปที่ชาวญี่ปุ่นสายมหายาน สร้างไว้ในที่สายมหายาน เชื่อกันว่า ณ ที่นี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ส่วนบริเวณสวนไม้ไผ่ด้านตะวันตก มีลานกว้าง พอนั่งได้ 50 คนพอดี ตรงกลางมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในซุ้มตั้งไว้กลางแจ้ง ชาวพุทธสายเถรวาท นิยมมาประกอบ การบูชาไหว้พระ สวดมนต์ เวียนเทียนกัน ด้วยเชื่อกันว่าเป็นที่หมู่อริยสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย เพื่อฟังโอวาทจากพระพุทธองค์ในวันมาฆบูชา

 

 

หมายเลขบันทึก: 247910เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2009 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ดีจังค่ะติดตามอ่านตลอดนะคะ
  • สบายดีนะคะ
  • อย่าให้เขาและเราเป็นคนนำ 

มาตั้งใจอ่านแล้วค่ะ

รอชมภาพ ตั้ง 2 ชั่วโมงน่ะค่ะ

ขอบคุณครับ พิมญดา

ที่ติดตามอ่าน

อากาศเชียงรายไม่ค่อยดี หมอกเยอะน่ะ

สวัสดี ครูอ้อย แซ่เฮ

ขออภัยที่ไม่ได้ลงรูป ไปคุมสอบ เดี่ยวประชุมอีกแล้วน่ะ

ตอนนี้ลงรูปให้แล้วน่ะครับ

และกรุณาติดตามต่อไปน่ะครับ

ขอบคุณมากเลยครับที่ให้ความรู้ที่ไม่คิดรู้มาก่อน ซึ่งทำให้รู้สึกดี และจะได้ไปบอกต่อให้ผู้สนใจได้รับรู้ต่อไป ขอบคุณครับ

นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย

เวฬุวันแห่งนี้ มีเนื้อที่ทั้งหมดกี่ไร่ครับ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท