สงครามโลกครั้งที่1 The World War 1(ค.ศ.1914 -1918) ภาคสรุป


 

สงครามโลกครั้งที่1 The World War 1(ค.ศ.1914 -1918)

           สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1914-1918 เป็นการแย่งชิงความเป็นใหญ่และแข่งขันในการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจในยุโรป จนมีการแบ่งมหาอำนาจเป็นสองฝ่าย ซึ่งต่างแข่งขันในด้านการดำเนินนโยบายทางการทูตและทางการทหาร จนก่อให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ดังนี้

           1. เป็นผลสืบเนื่องมาจากสงครามฟรังโก-ปรัสเซียที่เกิดขึ้นในระหว่างปี (ค.ศ. 1870-1871) ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายแพ้ มีผลทำให้เกิดการรวมประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศสต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม 5 พันล้านฟรังก์ ต้องยกแคว้นอัลซัล-ลอเรนให้กับเยอรมนีและฝรั่งเศสต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว 23 ปี จึงสร้างความโกรธแค้นให้กับฝรั่งเศส, ฝรั่งเศสต้องการแก้แค้นเยอรมนี

           2. เกิดความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism) พลังแห่งการรักชาติหรือความภูมิใจในชาติตนเอง ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะในคาบสมุทรบอลข่าน

            - ขบวนการขยายอิทธิพลสลาฟ (Pan Slavism) ชาวสลาฟต้องการแยกตัวออกจากการปกครองตุรกี

            - ประชาชนในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจการปกครองของออสเตรีย-ฮังการี

          3. เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ (New Emperialism) อันเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้เกิดการแสวงหาอาณานิคมภายนอกเพื่อหาแหล่งวัตุดิบและระบายสินค้า เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ทางการทหาร ทำให้เกิดการบาดหมางกันระหว่างประเทศคู่แข่งกัน

          4. ความขัดแย้งทางการทหาร และการสะสมอาวุธทั้งบางบกและทางทะเล โดยต่างประเทศต้องการพยายามสร้างอาวุธให้ทัดเทียมชาติศตรู อันมาเนื่องจากความระแวง สงสัย หวาดกลัวซึ่งกันและกัน เช่น เยอรมนีแข่งขัดกันด้านอาวุธทางทะเล เยอรมนีแข่งขันกันขยายกำลังพลทางบกกับฝรั่งเศส

          5. ก่อนเกิดสงคราม เกิดการแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 2 กลุ่ม สมาชิกของแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยเหลือกันในยามที่เกิดวิกฤติการณ์ระหว่างประเทศ

           - ไตรภาคี (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลีฝ่าย

         -  ไตรพันธมิตร (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย


สาเหตุปัจจุบันของการเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 (W.W.1)

            ความไม่พอใจของประเทศเซอร์เบีย (Serbia) ที่ประเทศออสเตรีย – ฮังการี ผนวกดินแดนบอสเนีย – เฮอร์เชโกวีนา (Bosnia – Herzegovena) ซึ่งมีประชาชนเป็นชาวสลาฟ (Slavs) เช่นเดียวกับเซอร์เบีย และเซอร์เบียต้องการผนวกดินแดนดังกล่าวเจ้ากับเซอร์เบีย

                เพื่อเป็นการเอาใจประชาชนที่อาศัยอยู่ในบอสเนีย – เฮอร์เชโกวีนา อาร์ชดุ๊กฟรานซิส เฟอร์ดินาน (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งอาณาจักรออสเตรีย-ฮังการี จึงเสด็จไปเยือนซาราเจโว (Sarajevo) ซี่งเป็นเมืองหลวงของบอสเนีย – เฮอร์เชโกวีนา ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 แต่พระองศ์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยนักศึกาาชาวเซิร์บ ชื่อ กาวริโล ปรินซิป (Gavrilo Princip) ทำให้ออสเตรีย - ฮังการีตัดสินใจยื่นคำขาดต่อเซอร์เบียให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องใน 24 ชั่วโมง แต่เซอร์เบียไม่อาจรับได้ ดังนั้นจึงทำให้ฝ่ายสนับสนุนทั้งสองข้างถูกเข้ามาทำสงครามต่อกัน

          รัสเซียซึ่งถือว่าเป็นผู้นำของชาวสลาฟจึงสั่งระดมผลเพื่อช่วยเซอร์เบีย โดยมีฝรั่งเศสนับสนุน

          เยอรมนีซึ่งเป็นพันธมิตรของออสเตรีย – ฮังการีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศส

          เยอรมนียกกองทัพเข้าตีฝรั่งเศสผ่านเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นกลางและได้รับการคุ้มครองจากกลุ่มประเทสมหาอำนาจ โดยมีอังกฤษเป็นผู้นำ

          อังกฤษจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในฐานะละเมิดความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยี่ยม

         ในปี ค.ศ. 1914 เป็นเวลาที่ W.W.1 เกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นมหาอำนาจยุโรปถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย

         1. ฝ่ายมหาอำนาจกลาง (The Central Power) ได้แก่เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ตุรกี บัลแกเรีย

         2. ฝ่ายพันธมิตร (The Allied Power) ได้แก่ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ เซอร์เบีย อิตาลี สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไทย


สาเหตุที่ทำให้อิตาลีเข้าร่วมในสงคราม

          แต่เดิมอิตาลีอยู่ในกลุ่มไตรภาคี แต่ปฏิเสธการเข้าร่วมส่งครามด้วยเนื่องจากมองว่า เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี เป็นฝ่ายรุกรานก่อน จึงวางตัวเป็นกลาง แต่ตอนเริ่มสงครามอิตาลีหันไปรวมตัวกับฝ่ายไตรพันธมิตร เนื่องจากอิตาลีได้ทำสัญญาลอนดอนกับอังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ซึ่งเป็นสัญญาลับ โดยที่ฝ่ายพันธมิตรจะยกดินแดน    เทรนติโน ทริเอสเต และบางส่วนแถบดัลมาเทียให้แก่อิตาลี

 

สาเหตุที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงคราม

            - อเมริกาไม่พอใจที่เยอรมนีทำสงครามเรือดำน้ำอย่างไม่มีขอบเขต จนถึงการโจมตีเรือโดยสารลูสิตาเนีย ที่ไม่ติดอาวุธของอังกฤษจมลงใกล้ฝั่งทะเลของไอร์แลนด์ ซึ่งมีชาวอเมริกันเดินที่ทางมาด้วยเสียชีวิค 139 คน  ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1915 อเมริกาจึงประท้วงเยอรมนี

            - นายซิมเมอร์แมน (Zimmerman) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีได้ชวนเม๊กซิโกกับญี่ปุ่นให้มาร่วมทำสงครามกับสหรัฐอเมริกา โดยเม๊กซิโกจะได้รับผลตอบแทนคือ ดินแดนรัฐนิวเม็กซิโก เท็กซัสและอริโซนาคืนจากอเมริกา จึงทำให้อเมริกาไม่พอใจ

            - อเมริกาขายอาวุธให้กับกลุ่มพันธมิตร ถ้าพันธมิตรแพ้ อเมริกาจะสูญเสียรายได้จากการขายอาวุธ

 

สาเหตุที่ทำให้รัสเซียถอนตัว

          เกิดการปฏิวัติในประเทศรัสเซียของพวกบอลเซวิค (Bolsheviks) เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1917 ในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1918 เลนิน (Lenin) ผู้นำของโซเวียตรัสเซีย  (Soviet Russia)  ทำสัญยาสงบศึกเบรสท์ – ลิตอฟ (Brest – Litovsk) กับเยอรมนี เป็นการถอนตัวออกจากสงคราม  

 

สาเหตุของการสิ้นสุดสงคราม

         ฝ่ายประเทศมหาอำนาจกลาง ที่เป็นพันธมิตรกับประเทศเยอรมนี มักประสบความพ่ายแพ้ ส่งผลกระทบต่อแนวรบเยอรมนี เยอรมนีจึงอ่อนล้า ก่อให้เกิดการกบฏของทหารเรือที่คลองคีล (Kiel) เกิดการจลาจลวุ่นวายทั่วประเทศเยอรมนี

        วันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ไกเซอร์ วิลเลียมที่ 2 (Kaiser William II)  ลี้ภัยไปอยู่ฮอลแลนด์

       วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 เยอรมนีจึงยอมยุติสงครามเพื่อขอเจรจาทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายพันธมิตร

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1

        1.ประเทศในยุโรปทั้งที่เป็นฝ่ายผู้แพ้ (มหาอำนาจกลาง) และฝ่ายชนะ (พันธมิตร) รวมถึงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต่างได้รับผลกกระทบทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลมาจากสงคราม ระบบการเงินทั่วโลกกระทบกระเทือน

        2. แยกฮังการี ออกจาก ออสเตรีย

        3. ประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และตูรกี เปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบสาธารณรัฐ

        4.เกิดประเทศขึ้นใหม่เช่น ยูโกสลาเวีย เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ ลัทเวีย ลิโทเนีย

        5. มีทหารเสียชีวิตไปประมาน 8 ล้านคน บาดเจ็บประมาน 20 ล้านคน

        6. มีการจัดตั้งองค์กรสันนิบาตชาติ (League Of Nations) เพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ

        7. มีการจัดทำสนธิสัญญาสงบศึกเพื่อเป็นการลงโทษแก่ประเทศผู้แพ้สงคราม โดยข้อกล่าวหาว่าเป็นฝ่ายผู้ก่อสงคราม ผลของสัญญาเช่น ผู้แพ้ต้องเสียดินแดน เสียอาณานิคม เสียอำนาจการปกครองตนเอง เสียอำนาจทางการค้า และต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล  ซึ่งกลายมาเป็นสาเหตุและชนวนที่จะนำไปสู่การเกิดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน ค.ศ.1939-1945

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 247778เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบตุณครับที่ให้ข้อมูล

ขอบใจมั่กมาก เธอเป็นแสงในยามที่มืดมนจริงจิงงงงงงงงงงงงงงงงง

thang you very much for your information

ขอบคุณอีกครั้ง

พี่ค่ะ

ขอเพลงที่บรรเลงอยู่ใช่เขมรไทรโยคป่าวค่ะ

มีคนร้องด้วย อยากได้มากค่ะ

ไพเราะมากค่ะ ขอให้ส่งผ่านเมลได้ไหมค่ะ

[email protected]

อยากได้จริงๆๆค่ะ ได้โปรดส่งให้หน่อยนะค่ะ

แล้วก็เรื่องสงครามด้วยขอบคุณค่า

กำลังสอบเลยค่ะ แต๊งหลายๆ

เจ๋งอะ แจ่มแจ้งดี 

ขอบคุณคร้าบบ...

เดี๋ยวนะคะ

ทำไมในหนังสือที่เราอ่านมันเป็นแบบนี้อ่ะ

กลุ่มที่ 1 สนธิสัญญาพันธไมตรี ได้แก่ ออสเตรียฮังการี เยอรมันนี อิตาลี

กลุ่มที่ 2 สนธิสัญญาไมตรีภาคี ได้แก่ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท