"สัมพันธภาพ" ในการให้คำปรึกษา


สิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างยิ่งเมื่อได้เจอผู้มารับคำปรึกษานั่นคือ ท่าทีที่เป็นมิตร

       ในกระบวนการให้คำปรึกษา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำปรึกษา เพราะเหตุใดจึงกล่าวเช่นนี้?

       เพราะ "สัมพันธภาพ" เป็นสิ่งซึ่งแสดงถึง การเริ่มเปิดเผยตนเองที่จะรู้จักกันระหว่าง "ผู้ให้" กับ "ผู้รับ" นั่นถือว่าเป็นหน้าต่างที่เริ่มเปิดไปสู่การเกิดความไว้วางใจ เพียงแค่ได้สบตากันครั้งแรก หากสัมผัสได้ถึงความจริงใจ นั่นก็ถือว่าสำเร็จไปแล้วเกินครึ่ง หากแต่จะยิ่งกระชับความสัมพันธ์ให้ขยับเพิ่มขึ้น ก็ต้องเริ่มเพิ่มเติมที่ภาษาพูด ภาษาท่าทางประกอบกับแววตาที่เป็นมิตร

       สัมพันธภาพนั้นสำคัญอย่างไร?...ในการช่วยเหลือพูดคุยทางด้านจิตใจนี้ ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะสัมพันธภาพที่ดี ย่อมจะนำมาซึ่งการเปิดเผยตนเอง...และบอกเล่าสู่กันฟังระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา เพราะการให้คำปรึกษานั้นเรามุ่งเน้นเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษา เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจที่เป็นความเข้าใจลึกถึงเหตุที่มาแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้น และมองเห็นถึงสาเหตุ เรื่อยไปจนมองเห็นถึงแนวทางในการแก้ไข"ทุกข์"นั้นด้วยเช่นกัน อีกทั้งช่วยส่งเสริมความเข้าใจให้ถึงในระดับการเข้าใจผู้อื่น และเข้าใจสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ"ตนเอง" เพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้มองเห็นความเป็นไปได้อย่างถ่องแท้ได้ตามความเป็นจริง

       ดังนั้น ผู้ให้คำปรึกษา สิ่งสำคัญที่ควรทำอย่างยิ่งเมื่อได้เจอผู้มารับคำปรึกษานั่นคือ ท่าทีที่เป็นมิตร ที่ทำให้ผู้รับคำปรึกษา รู้สึกและสัมผัสได้ว่า...เขาสามารถไว้วางใจและเล่าเรื่องราวอะไรให้ฟังได้...โจทย์นี้ไม่ยากสำหรับผู้ให้คำปรึกษา เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้ให้คำปรึกษารู้สึก "จริงใจ" อย่างแท้จริงที่จะพูดคุยรับฟัง เรื่องเล่าของผู้มารับคำปรึกษา สัมพันธภาพที่ดีก็ย่อมสามารถก่อเกิดขึ้นได้อย่างที่ไม่ยากนัก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 24737เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านบันทึกฉบับนี้แล้วนึกถึง "โจฮารี่วินโดว์" ที่เคยถามDr.ka-poom ไว้
ผมไม่ถนัดในเรื่องการใช้ทฤษฏีนัก แต่ไม่ทราบว่าทำไมถึงได้เข้าใจ "โจฮารี่วินโดว์" และนำมาใช้อยู่สม่ำเสมอ
หากเราต้องการให้เขาเปิดใจ เราก็จำเป็นต้องเปิดใจเราด้วยเช่นกัน.....
ต่างฝ่ายต่างเปิดใจโดย"เต็มใจ" และ"จริงใจ" จะทำให้การให้คำปรึกษาลุล่วงไปได้ ปัญหาก็คลี่คลาย

     ผมเชื่อว่าหากผู้ให้คำปรึกษาทำไปเพราะเป็นหน้าที่ของชีวิต ไม่ใช่ภาระ(กิจ)ของชีวิต โดยธรรมชาติแล้วการที่เขาเดินเข้ามาเพื่อขอคำปรึกษา เขาเปิดใจมาแล้วตั้งแต่บ้านครับ จะหน้าต่างอะไรก็ไม่สำคัญเท่า สำนึกว่าทำไปเพราะเป็นหน้าที่ของชีวิต หรือเป็นภาระของชีวิต
  • คุณตุมปัง...สิ่งสำคัญผู้ให้คำปรึกษา..ขอแค่มีใจอยากช่วยเหลือโดยปราศจากเงื่อนไขใดใด...ไม่เลือกว่าผู้มารับปรึกษาจะเป็นใครมาจากไหน..แต่เลือกที่จะช่วยเหลือ...ก็ลุล่วงแล้ว
  • คุณชายขอบ หน้าที่หากเนียนเข้าไปในเนื้อเดียวชีวิต...หลอมลวงได้อย่างลงตัว...โดยไม่เลือกว่าเป็นหน้าที่...ชวิตนี้ก็ไม่หนักแล้วคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท