"การยอมรับ" ในการให้คำปรึกษา


การยอมรับอย่างสนิทใจ ถึงเหตุที่มาที่ไปของอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ของเขาเอง

       สิ่งหนึ่งที่สำคัญ ในลำดับต้นๆ ของการให้คำปรึกษา คือ การให้การยอมรับผู้มารับคำปรึกษา ซึ่งการยอมรับดังกล่าวนี้ เป็นการยอมรับที่ปราศจากเงื่อนไขใดใด ยอมรับในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีทั้งความดีและความไม่ดีอยู่ในตัวเอง ไม่ตำหนิ หรือสอดแทรกความรู้สึกส่วนตัวของเรา (ผู้ให้คำปรึกษา) ไปตัดสินความเป็น "มนุษย์" ของเขา

       กล่าว คือ..การยอมรับ ที่เกิดขึ้นนั้น ควรเป็นการยอมรับอย่างสนิทใจ ถึงเหตุที่มาที่ไปของอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก ของเขาเอง ว่าทุกอย่างที่เขาแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ปรากฏนั้น ย่อมมีสาเหตุ จะด้วยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม แต่ภายใต้ฐานความเป็น "มนุษย์" ของเขานั้นยังมีส่วนที่ดีที่เป็นอยู่ หากเราสามารถมองได้และมองเห็นในด้านที่ดีและที่ไม่ดี รวมไปถึงสาเหตุของเขานั้น จะทำให้เราเกิดความเข้าใจและยอมรับในตัวตนที่เป็นเขามากยิ่งขึ้น

       และสิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การยอมรับดังกล่าวนั้น ควรเริ่มมาจาก "การยอมรับในตัวเอง" ของเราก่อนว่า..เรามีข้อดีอะไร มีข้อเสียอะไร ขนาดตัวเรายังมีทั้งสองด้าน ดังนั้นคนอื่นก็มีเช่นกัน ยอมรับตัวเองในสิ่งที่ตัวเองเป็นอย่างแท้จริง  ไม่ใช่"ตัวตน"ในอุดมคติที่อยากไป เช่น เราพูดไม่เพราะ ยิ้มไม่เก่ง คุยไม่เก่ง (ตัวตนจริง) แต่เราอยากเป็นคนพูดเพราะ คุยเก่ง ยิ้มเก่ง (ตัวตนในอุดมคติ) หากแรกเริ่มเดิมทีเรายอมรับตัวตนเองจริงๆ ได้ และค่อยๆ พัฒนาตนเองไปสู่ลักษณะของการเป็นตัวตนในอุดมคติได้ แต่ตรงกันข้ามหากเราเริ่มตั้งแต่มองไม่เห็นตนเองตั้งแต่แรก การที่จะพัฒนาไปสู่อุดมคติดังกล่าว อาจทำได้ยาก

       เมื่อเราเองยอมรับตัวเองได้โอกาสของการยอมรับคนอื่นก็จะง่ายขึ้น..หากเราลองคิด ลองไตร่ตรอง ลองฝึก-ปฏิบัติ ก็อาจทำให้เรามองใครๆ ได้ง่ายและเป็นมิตรมากขึ้นได้นะคะ

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 24482เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2006 15:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
     เชื่อมั่นและศรัทธาครับว่า Dr.Ka-poom ทำได้ ไร้รูปแบบด้วย ไม่ว่าด้วยการสื่อสารทางใด ประจักษ์จริง

คุณชายขอบ

สิ่งสำคัญ คือ การตกผลึกทางความคิด...ในสิ่งที่เราทำ..

หากยังไม่ตกผลึกพอ..ก็เก็บเกี่ยว...สั่งสมประสบการณ์และความคิด...นั้นให้มากพอและพอเพียง..

ไม่ได้เข้ามาเขียน b สองวันแล้ว จึงเพิ่งรู้ว่าเปิด b ใหม่ ด้าน counselling จะคอยติดตามค่ะ

คุณ"น้อง"

อย่าลืมมาช่วยกันเติมเต็ม เรื่อง counseling กันบ้างนะคะ

เปิด Blog นี้รอคุณน้องอยู่นะคะ

ไม่ลงชื่อล่ะ เพราะเห็นลายมือก็คงคุ้นๆ

ไร้รูปแบบก็คือแบบ เรียกว่า แบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแบบที่มีผู้เคยเขียนไว้

 

คุณไม่ลงชื่อล่ะ เพราะเห็นลายมือก็คงคุ้นๆ

     ไร้รูปแบบ คือ ไม่ทราบว่าจะเป็นแบบไหน ทายไม่ถูก ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่เหมาะสมและสมดุลครับ...ยิ้ม ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท