พืชผักสมุนไพรใกล้ครัว:กระถิน


เพื่อนครูให้หนังสือที่ทำแจกเป็นธรรมทานมาเล่มหนึ่งชื่อ ตำรายาสมุนไพร (เรียบเรียงโดย - นฤมล มงคลชัยภักดิ์ :สถาบันวิจัยสมุนไพรไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) มีเรื่องราวเกี่ยวกับพืชผักสมุนไพรใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าเผยแพร่เป็นธรรมทานต่อๆ กันไป และขอเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาการอีกเล็กน้อยเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจค่ะ

                 

ชื่อ  กระถินไทย

ชื่ออื่น   กระถิน กระถินบ้าน กะเส็ดโคก กะเส็ดบก ตอเบา สะตอเทศ สะตอเบา ผักก้านถิน 
            ผักหนองบก กันเชด (เขมร) กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก กิถินน้อย กะตง

 

ชื่อวิทยาศาสตร์    Leucaena leucocephala de Wit.   วงศ์  LEGUMINOSAE

 

ชื่อสามัญ      lpil – lpil , Lead Tree.

 

แหล่งที่พบ    พบทั่วไปของทุกภาค

 

ประเภทไม้     ลักษณะทั่วไป กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก
                    สูงได้ถึง
10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา ใบ ประกอบแบบขนนกสองชั้น
                    เรียงสลับ ก้านแขนงสั้น มีขน ใบย่อย เรียงตรงข้าม รูปแถบหรือรูปขอบขนาน
                    แกมรูปแถบ ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบมีขน ท้องใบสีนวล ดอก ออกเป็นช่อ
                    ช่อดอกออกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามง่ามใบ ช่อเป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอม
                    เล็กน้อย ผล เป็นฝัก ฝักออกเป็นช่อแบนยาว เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝักตลอดฝัก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 

      ต้น   เป็นไม้พุ่มยืนต้นสูง 3-5 เมตร ลำต้นแก่สีน้ำตาล ขรุขระ และมักหลุดเป็นขุยออกมา

      ใบ    เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ยาว 15-30 ซม. แตกออกเป็นช่อใบย่อย 3-10 คู่
      ยาวประมาณ 10 ซม. ใบมีขนาดเล็กคล้ายใบมะขาม จำนวน 5-20 คู่ รูปขอบขนาน
      ปลายแหลมยาว 6-12 มม. กว้าง 1.5-5 มม.

      ดอก   เป็นช่อขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ กลมฟูสีขาวมีกลิ่นหอมเล็กน้อย

      ผล    เป็นฝักแบนยาว 12-18 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม. มีเมล็ด 15-30 เมล็ด สีเขียว
              เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

 

การขยายพันธุ์      ใช้เมล็ด

 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม     ดินร่วนซุยหรือดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี กระถินทนความแห้งแล้งได้ดี และเติบโตเร็ว

ส่วนที่ใช้บริโภค     ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน เมล็ดอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการ
              ยอดอ่อนของกระถิน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย62กิโลแคลอรี
              ประกอบด้วยน้ำ
80.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8.4 กรัม
              ไขมัน
0.9 กรัม กาก 3.8 กรัม แคลเซียม 137 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม
               เหล็ก
9.2 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7883 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.33 มิลลิกรัม
              วิตามินบีสอง
0.09 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.7 มิลลิกรัม วิตามินซี 8 มิลลิกรัม

 

 

 

             

 

                                          

 

 

สรรพคุณทางยา

         ดอก รสมัน บำรุงตับ
        ราก รสจืดเฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว และเป็นยาอายุวัฒนะ
        เมล็ด ใช้ถ่ายพยาธิตัวกลม (ascariasis)
        เปลือกของกระถินมีรสฝาด เป็นยาฝาดสมานฝักของกระถินเป็นยาฝาดสมาน
        กระถินรับประทานแก้โรคท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด

 

                      

 

ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
       1. สารสกัดจากใบกระถินฉีดเข้าหลอดโลหิตสุนัข ทำให้ความดันโลหิตลดลง
อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง กระตุ้นการหายใจ ฤทธิ์ลดความดันโลหิต สามารถต้าน
ได้ด้วย
atropine และยาต้านฮีสตามีน ซึ่งถ้าใช้ antropine และยาต้านฮีสตามีนร่วมกัน
จะสามารถต้านฤทธิ์กระถินสมบูรณ์ และเมื่อใช้น้ำยาสกัดกระถิน กับหัวใจที่แยกออกมา
จากตัวกบและเต่า พบว่าอัตราการบีบของหัวใจลดลง และในระบบทางเดินอาหาร
ทั้งการทดลองแบบ
in vitro พบว่าน้ำสกัดทำให้แรงตึงตัวและแรงบีบตัวเพิ่มขึ้น
เมื่อทดลอง
in vivo การบีบของกระเพาะลำไส้ตามปกติลดลง
     2. ผลเมล็ดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และไขมันในเลือดในหนูขาว แต่เมล็ดมีสาร
leucenine ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับ mimosine ซึ่งจะทำให้เป็นหมันในสัตว์ได้

 

ประโยชน์อื่น
        เมล็ดกระถินสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับหลายชนิด เช่น สายสร้อย เข็มกลัด
เข็มขัด เปลือกให้เส้นใยสั้นใช้ทำกระดาษได้ แต่คุณภาพไม่ดี ในชนบทนิยมปลูกกันเป็น
แนวรั้วบ้าน ใบกระถินอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนและเกลือโพแทสเซียม นำมาหมักเป็นปุ๋ยได้
ใบ ยอด ฝักและเมล็ดอ่อน ใช้เป็นอาหารของ วัว ควาย แพะ แกะ ไก่

 

  

คติความเชื่อ         ตามตำราหลวงกล่าวไว้ว่า กระถินเป็นไม้มงคลที่ควรปลูกไว้
                           ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) โดยปลูกร่วมกับต้นสารภี
                           เชื่อว่าจะป้องกันสิ่งเลวร้ายได้

การปรุงอาหาร      ยอดอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน-แก่ รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
                          (ชาวอีสาน) ใช้เมล็ดอ่อนผสมในส้มตำมะละกอหรือรับประทานกับส้มตำ
                          (ชาวใต้)      ใช้เมล็ดอ่อน ใบอ่อนรับประทานกับหอยนางรม

ลักษณะพิเศษ    ยอดและใบอ่อนมีรสมัน เมล็ดอ่อนมีรสมันอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่น

 

                  

 

สรรพคุณ  : ยอดและฝัก  ใช้กินเป็นผัก  แก้ร้อนใน กระหายน้ำ  ช่วยให้เจริญอาหาร 
                
บำรุงหัวใจ      
                 เมล็ดแก่    แก้ขับลม  ขับระดูในสตรี  บำรุงไตและตับ  แก้อาการนอนไม่หลับ
 
                
เป็นยาอายุวัฒนะ
(นฤมล มงคลชัยภักดิ์ :สถาบันวิจัยสมุนไพรไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

 

 

หมายเลขบันทึก: 243565เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ได้ความรู้เพิ่มอีกครับ ขอบคุณมากครับ

ได้รับความรู้จากเดิมมากเลยค่ะ

กระถิน กับ หอยนางรม หวานดีจังค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

แวะมาไม่เสียเที่ยวค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

จะติดตามตอนต่อไปนะคะ

กระถินนี่ของชอบผมเลยนะครับ บ้านแม่ผมที่อุบลฯ ปลูกกระถินไว้รอบสวน เรากินกันทุกมื้อครับ จิ้มกับปลาร้า มีหัวหอมแกล้มหน่อย อูย....แทบลุกไม่ขึ้น

สวัสดีค่ะคุณ jip

ขอบคุณมากค่ะที่แวะมาเยี่ยม จะมีรายการอื่นติดตามมาเรื่อยๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ เปลวเทียน

ค่ะ กินกระถินทุกวัน รับรองปลอดโรค ปลอดภัยไร้สารพิษค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณบวร

ขอบคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยม ดีใจที่ได้ความรู้กลับไปค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อ้อย

อยากชิมหอยนางรมจังค่ะ

ประโยชน์มากจริงๆเลยค่ะ  โชคดีที่ชอบกินกระถินทั้งประหยัดเพราะสามารถเก็บได้ทั่วๆไป  ปลอดสารพิษ  ตอนแรกมีคนเค้าบอกว่ากินกระถินมากๆจะเป็นระดูขาวไม่ดี  ที่แท้ก็ขับฤดูขาวนี่เองดีจังเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะที่เอาสาระดีๆมาฝากค่ะ

                                                

สวัสดีค่ะคุณตุ๊กตา

ค่ะกระถินถิ่นไทยให้ประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ

ดีมากเลยค่ะ ได้ความรู้มากมาย

อยากทราบว่ากระถินไทยปลูกที่ต่างประเทศได้หรือเปล่า และการดูแลควรจะทำอย่างไรคะ ประเทศที่ดิฉันอาศัยอยู่ค่อนข้างจะหนาวและมีหิมะตกด้วยค่ะ ประมาณ สองถึงสามเดือนต่อปีค่ะ ตอนนี้ดิฉันมีต้นกระถินที่ยังเล็กอยู่ สองสามต้นค่ะ เอามาจากเมืองไทยบ้านเราค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท