พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๑๕) กรุงกบิลพัสดุ์ ในปัจจุบัน


กรุงกบิลพัสดุ์ ในปัจจุบัน



ปัจจุบันกรุงกบิลพัสดุ์ เท่าที่ได้ค้นคว้ากันมาหลายๆท่านสรุปว่า เป็นบริเวณทั้งที่อยู่ในเนปาล และอินเดียบริเวณ ที่อยู่ในเนปาลเรียกว่า ติเลาราโกฏิ จากลุมพินีไปทางทิศใต้ ประมาณ 27 .. อยู่ในบริเวณเขตปาเคเรียในเนปาล ตอนนี้มีเหลืองเพียซากโบราณสถานเท่านั้น และพบซากพระราชฐาน ปราสาทที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงเคยใช้ชีวิตถึง 29 พรรษาและโบราณสถานอื่นๆ เมืองโบราณรกร้างแห่งหนึ่งชื่อติเลาราโกต หรือป้อมปราการแห่งติเลารา เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับเมืองกบิลพัสดุ์ ในเอกสารทางประวัติศาสตร์และคัมภีร์พุทธศาสนาหลายฉบับได้ระบุไว้ว่า ห่างออกไปทางทิศเหนือราว 16 กิโลเมตรคือเชิงเขาหิมาลัย มีสวนลุมพินีวันอยู่ทางทิศตะวันออก ในระยะ 35 กิโลเมตร ทิศตะวันตกมีแม่น้ำสายเล็กๆ สาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่าน ส่วนทางทิศใต้ คือตำแหน่งของเมืองโกติฮาวา เมืองโบราณที่ระบุไว้ในบันทึกพระถังซัมจั๋ง มีการขุดค้นทางโบราณคดีที่ติเลาราโกตหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2442 จนถึงวันนี้ ได้พบหลักฐานมากมายที่ยืนยันความเป็นนครโบราณที่มีอายุเก่าแก่ก่อน พระพุทธเจ้า ประสูติถึง 100 ปี และเจริญรุ่งเรืองเรื่อยมจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 7 ก่อนนครแห่งนี้จะถูกทิ้งร้างไป

 

            จากการขุดค้นของนักโปราณคดี พบว่าที่นี่เป็นเมืองเก่าราว 100 ปีก่อนพุทธกาลแน่นอน จากร่องรอยกำแพงเก่า มันเป็นแนวเส้นตรง แล้วเลี้ยวมาทางนี้ แสดงว่าต้องมีโครงสร้างของกลุ่มอาคารเก่าจากที่เราขุด เราพบว่าเมืองนี้มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน มีคูเมืองและประตูเมืองสี่ทิศ ภายในเมืองมีถนนกว้างเกือบ 6 เมตร ที่นี่เคยเป็นเมืองที่มั่งคั่ง มีร้านค้าตั้งอยู่สองฟากถนน ตรงนี้เป็นร้านช่างเหล็ก ประชาชนมีอาชีพค้าขาย ทำไร่ทำนา แล้วก็เลี้ยงสัตว์ ในจำนวนเนินดินทั้ง 8 แห่งภายในกำแพงเมือง หนึ่งในนั้นเราได้ขุดพบโครงสร้างของอาคารที่เราสันนิษฐานว่าเดิมอาจจะเป็น ปีกวังด้านเหนือของพระราชวังหลวงที่พระเจ้าสุทโธทนะประทับ วังหลวงมักอยู่ตรงกลางและมีอาคารต่อเนื่องไปรอบๆ แต่ละอาคารก็ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ กัน ตรงนี้อาจเป็นส่วนของเนินดินลูกอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ขุดสำรวจ โดยเฉพาะเนินลูกกลางที่สูงที่สุด อาจเป็นอาคารที่เป็นพระราชวังหลวง... เราจะเริ่มขุดกันอีกครั้งเร็ว ๆ นี้ฉันได้เห็นประตูกำแพงเมืองด้านตะวันออก ซึ่งเป็นจุดที่ระบุไว้ในพุทธประวัติว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชโดยทรง ม้ากัณฐกะไปทางประตูนี้ คุณพสันตาชี้ให้ฉันมองผ่านประตูออกไปที่ทุ่งนากว้าง จะเห็นสถูปเล็กๆ เชื่อว่าสร้างไว้เป็นอนุสรณ์สถานให้ม้ากัณฐกะที่ตายขณะที่เดินทางกลับวังมา ลำพัง

 

            ความสำคัญของกรุ งกบิลพัสดุ์ ไม่ได้จบลงพร้อมกับการเสด็จละทิ้งชีวิตในวังไปแสวงหาความหลุดพ้น แต่หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ระยะหนึ่ง พระเจ้า     สุทโธทนะพระราชบิดาก็ได้นิมนต์พระพุทธองค์เสด็จนิวัติกรุงกบิลพัสดุ์ จากเมืองโบราณกบิลพัสดุ์ไปทางใต้ราว 5 กิโลเมตร ทีมนักโบราณคดียังได้พบสถานที่ที่ พระพุทธเจ้า เสด็จมาประทับที่เมืองกบิลพัสดุ์ โดยอ้างอิงจากตำแหน่งที่พระถังซัมจั๋งระบุไว้ในบันทึก และจากคัมภีร์ พุทธศาสนา เช่นกัน นั่นคือวัดนิโครธาราม พระสถูปที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศก ณ ตำแหน่งที่พระนางปชาบดีถวายผ้าสังฆาฏิแด่ พระพุทธเจ้า และได้บูรณะใหม่อีกครั้งในสมัยคุปตะ คือเมื่อราว 1,000 ปีหลังยุคพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับที่วัดนิโครธารามหลายครั้งและได้แสดงธรรมโปรดชา วกบิลพัสดุ์ จนกล่าวกันว่าในสมัยนั้นมีชาวกบิลพัสดุ์ ทั้งประชาชนและพระญาติใน      ศากยวงศ์บวชเป็นพระสงฆ์นับหมื่นรูป



            การเดินทางสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ในเนปาลนั้น เดินทางนั่งเครื่องบินจากกาฐมัณฑุ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ยังบริเวณ ไพราวาห์ และลงที่ลุมพินี จากนั้นเดินทางจากลุมพินี ลงมาทางทิศใต้ราว 27 .. ดังได้กล่าวแล้ว

ขณะที่ทางเนปาล ค้นพบหลักฐานที่ทำให้เชื่อว่ากลุ่มโบราณสถานที่ติเลาราโกตเป็นเมืองกบิลพัส ดุ์ เวลาเดียวกัน ทางฝ่ายอินเดียเองก็อ้างว่าได้ค้นพบกรุงกบิลพัสดุ์เหมือนกัน เพราะมีการขุดค้นพบร่องรอยของโบราณสถานหลายแห่งที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ชื่อว่ากานวาเรีย ซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนอินเดีย-เนปาล ไม่กี่กิโลเมตร

เมืองกบิลพัสดุ์จริงๆ แล้วอยู่ที่ไหน ในอินเดีย หรือเนปาล เป็นไปได้หรือไม่ว่าทั้งสองแห่งอยู่ในอาณาเขตของเมืองเดียวกัน โบราณสถานที่กานวาเรีย (Ganwaria) เป็นตำแหน่งที่กองโบราณคดีอินเดียเชื่อว่าคือพระราชวังและตัวเมืองกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของแคว้นสักกะ ซึ่งขุดพบเมื่อปี พ.ศ.2441 ปัจจุบันการขุดค้นยังคงดำเนินต่อไป หลังจากที่ได้พบอาคารขนาดใหญ่สร้างด้วยอิฐเผาสองหลัง นักโบราณคดี พบว่าโครงสร้างอิฐนี้สร้างเมื่อ 100 ปีก่อนพุทธกาล ถึงพุทธศักราชที่ 300 มีลักษณะเป็นอาคารสี่เหลี่ยม มีลานกว้างตรงกลาง ล้อมรอบด้วยห้องขนาดเล็กทั้งสี่ด้านกว่า 20 ห้อง โบราณสถานหลังใหญ่นั้นเชื่อว่าเป็นพระราชวังกบิลพัสดุ์ กำแพงด้านตะวันออกของอาคารมีประตูใหญ่ที่อาจเป็นประตูที่เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จออกผนวช ปัจจุบัน นักโบราณคดี ทั้งสองฝ่ายยังคงมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ คุณฎสันตาซึ่งเป็น นักโบราณคดี เนปาลบอกว่า กลุ่มโบราณสถานในเขตอินเดียนี้น่าจะเป็นวัดมากกว่าวัง เพราะวังควรจะอยู่ในย่านชุมชนเมือง แต่กลับไม่พบหลักฐานที่แสดงความเป็นชุมชนเมืองแต่อย่างใด ที่สำคัญ ได้พบแผ่นจารึกอักษรว่า กบิลพัสดุ์สังฆาราม ซึ่งอาจเป็นชื่อกลุ่มอารามสงฆ์แห่งนี้ก็ได้

 

กรุงเทวทหะในปัจจุบัน



เทวทหะ ในปัจจุบันเรียกว่า Davedaha ขึ้นต่ออำเภอรูปันเวหิ กับ Nawalparais district ตามเส้นทาง มเหนทรา ไฮเวย์ จากลุมพินี ผ่านเมือง Butwal ไปกาฐมัณฑุ เมื่อผ่านแม่น้ำโรหิณี จะมีป่าสาละต้นใหญ่ๆจำนวนมาก มีป้ายข้างทาง บอกว่า Devadaha Capital of Ancient Koliya Kingdom Birth Place of Mayadevi the Mother of Lord Buddha (เทวทหะ เมืองหลวงสมัยโบราณของอาณาจักรโกลิยะ เป็นมาตุภูมิเดิมของพระนางมหามายา พุทธมารดา) แสดงว่า เข้าเขตเมืองเทวทหะแล้ว

 

 

        ระหว่างทางจะเห็นป่าสาละขึ้นอยู่ มีเนินดิน บ่อน้ำ กองหิน คูเมืองยาวประมาณ 3 .. ซากปรักหักพัง โบราณสถานอื่นๆ สถานที่สำคัญในเมืองเทวทหะนั้น มี เทวาลัยสองแห่ง (เทวาลัย สถานที่สร้างเพื่อบูชาเทพเจ้า) คือ วิหารมหามายา (คนละแห่งกับที่อยู่ที่ลุมพินี) เรียกว่า ไบริไม กับที่บูชาพระแม่มหาปชาบดี (พระน้านางของพระพุทธเจ้า , พระภิกษุณีองค์แรก) เรียกว่า กันยาไม

        สถานที่ที่ควรกล่าวถึงอีกสองแห่ง ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเมืองกบิลพัสดุ์       เทวทหะ และเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนเสด็จออกบรรพชา คือ แม่น้ำอโนมานที กับ แม่น้ำโรหีณี

 

 

หมายเลขบันทึก: 242874เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2009 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท