การเรียนรู้อย่างมีความหมายคืออะไร? (Meaningful Learning)


เราควรจะใช้เทคโนโลยีที่จะสนับสนุนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างตื่นตัว

     การสร้างความหมาย (Meaning Making) เป็นการกระตุ้นด้วยปัญหา คำถาม ความสับสน ความไม่เห็นด้วย หรือความต้องการที่อยากจะรู้ และความรู้สึกของการเป็นเจ้าของปัญหานั้นๆ

     อะไรคือ ผลของกระบวนการสร้างความรู้ที่เป็นความสอดคล้องกันระหว่างความรู้และสิ่งที่สังเกตได้ การสร้างความหมายมักเริ่มต้นที่ปัญหา คำถาม ความสับสน ความอยากรู้อยากเห็น ความงงงวย เป็นต้น พวกเราสามารถที่จดจำความคิด และไปสู่การทำกิจกรรมที่ไปสู่การสร้างความหมายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆ เมื่อผู้เรียนเข้าสู่ปัญหานั้นซึ่งไม่ใช่โดยครู หรืออาจสรุปได้ว่าผู้เรียนนั้นเป็นเจ้าของความคิดและปัญหานั้น นั่นก็คือผู้เรียนจะสร้างสิ่งที่เรียนนั้นด้วยตนเอง (ความรู้เป็นสิ่งที่สร้างขึ้น) อย่างเป็นสิ่งสำคัญและมีความหมาย เป้าหมายขั้นต้นของการศึกษาในทุกๆ ระดับควรจะสนับสนุนนักเรียนในเรื่องของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaningful Learning) ขณะที่โรงเรียนต่างๆจัดความหลากหลายเกี่ยวกับสังคมที่สำคัญๆ กลุ่มผู้ปกครอง และบทบาทการจัดการต่างๆในแบบชมรม ดังนั้น หน้าที่ในขั้นต้นของพวกเขาคือการช่วยให้นักเรียนสามารถที่จะเรียนรู้ คิดได้ และแก้ปัญหาเป็น เข้าใจในปรากฏการณ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้น สร้างแบบตัวอย่างเกี่ยวกับจิตใจของปรากฏการณ์เหล่านั้นได้ สามารถกำหนดสถานการณ์ใหม่และ ตั้งเป้าหมายเพื่อควบคุมการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ (เรียนรู้วิธีเรียนรู้)

     จากภาพ แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่มีผลกระทบกับคุณสมบัติทั้ง 5 ด้านของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ถ้าเรายอมรับในเป้าหมายนั้นของเรา หมายถึงการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจะเป็นสิ่งที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเราควรจะใช้เทคโนโลยีที่จะสนับสนุนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างตื่นตัว  การเรียนรู้อย่างตั้งใจ การเรียนรู้ในการสร้างความรู้ การเรียนรู้ตามสภาพจริง และการเรียนรู้โดยการร่วมมือกัน  ซึ่งคุณสมบัติของการเรียนรู้อย่างมีความหมายเป็นเป้าหมายสำหรับการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอน รวมทั้งใช้เป็นบรรทัดฐานสำหรับการประเมินค่าของการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนอีกด้วย

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 24209เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2006 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เปงไง

บายDEEป่าว

ปายล่ะ

จุ๊บบบบบบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท