ดนตรีพื้นเมือง


ดนตรีพื้นเมืองล้านนา มรดกล้ำค่า

ดนตรีพื้นเมืองล้านนา มรดกล้ำค่า




    ดนตรีพื้นเมือง เป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนามาช้านาน ตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยดนตรีพื้นเมืองจะเป็นตัวชูโรงประเพณีสำคัญ งานพิธีต่าง ๆ และศาสนา เป็นสิ่งจรรโลงใจประชาชน กล่อมเกลาให้มีจิตใจอ่อนโยน แต่ในยุคปัจจุบันในโลกของการสื่อสารไร้พรหมแดน เยาวชนรุ่นใหม่เริ่มไม่เห็นความสำคัญของดนตรีพื้นเมืองเหมือนในอดีต ในอดีตนั้น การเล่นดนตรีพื้นเมืองจะแสดงถึงความศิวิไลซ์ในตัวคนเล่นและสังคมที่มีวัฒนธรรมดีงาม ชายหนุ่มรูปงามจะเปลือยอกดีดพิณเปี๊ยะ เป็นที่หมายปองของสาว ๆ ในอดีต หรือการตีกลองสะบัดชัย ที่ต้องเป็นผู้มีพละกำลัง มีร่างกายกำยำ โดยกลองสะบัดชัยนั้นจะใช้ตีในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการออกต่อสู้ ขณะที่สะล้อเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักสำหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอสามสายมีท่วงทำนองอ่อนหวาน หรือซึงเครื่องสายชนิดหนึ่งใช้บรรเลงด้วยการดีด ทำ ด้วยไม้สักหรือไม้เนื้อแข็ง มีช่องเสียงอยู่ ด้านหน้า กำหนดระดับเสียงด้วยนมเป็นระยะ ๆ ดีด ด้วยเขาสัตว์บาง ๆ มีสายทำด้วยโลหะ เช่น ลวด หรือทองเหลือง 2 สาย

   นายภาณุทัต อภิชนาธง หรือครูแอ๊ด ศิลปินพื้นบ้านที่มุ่งมั่นสอนดนตรีพื้นบ้าน โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนนานนับสิบปี มีลูกศิษย์เป็นเด็กรุ่นใหม่นับร้อยคนที่ศึกษาเล่าเรียน เดิมเคยเปิดสอนดนตรีพื้นเมืองที่วัดลอยเคราะห์ และปัจจุบันได้ย้ายมาตั้งเป็นชมรมดนตรีพื้นเมืองเชียงใหม่ จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดสวนดอก เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งดนตรีพื้นบ้านล้านนาให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา

เสียงนายภาณุทัต อภิชนาธง

     ขณะที่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่มองเห็นความสำคัญและหลงใหลในเสน่ห์ของดนตรีพื้นเมือง ดังเช่นที่ เด็กชายเกียรติศักดิ์ พัวศิริเล่าให้ฟังว่านับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้สืบทอดดนตรีพื้นเมืองล้านนา ในฐานะตัวแทนของประเทศไทยหลายครั้ง

เสียงเด็กชายเกียรติศักดิ์ พัวศิริ

     ส่วนนายธราธร แสนมโน หนึ่งในบรรดาศิษย์ของครูแอ๊ด เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยสนใจดนตรีสากล แต่เมื่อได้สัมผัสกับดนตรีล้านนาแล้ว ก็หลงเสน่ห์ ขณะนี้สามารถเล่นดนตรีล้านนาได้หลายชิ้น

เสียงนายธราธร แสนมโน



   ดนตรีพื้นบ้านล้านนา เสน่ห์และกลิ่นอายอารยธรรมที่สอดแทรกในวิถีชีวิตของผู้คน สิ่งบ่งชี้ทางประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรม จะไม่มีวันสืบทอดยืนยาว หากอนุชนรุ่นหลังไม่ให้ความสำคัญ

 ขอบคุณความรู้ดีดี จาก http://www.fm100cmu.com/blog/Lanna/content.php?id=148

หมายเลขบันทึก: 240003เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • สวัสดีครับ
  • ดนตรีพื้นเมืองน่าจะส่งเสริมให้คงอยู่กับคนเหนือตลอดไป
  • เสียดายคนปัจจุบันไม่เห็นคุณค่า หากมีการเผยแพร่เช่นนี้จะทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้ และต่อยอดในภูมิปัญญาท้องถิ่นดังกล่าว
  • แวะมาเยี่ยมขอให้กำลังจ๋ายครับ

สวัสดีครับ

นับว่าหายากที่คนจะสนใจเรื่องดนตรีล้านนา

หากใค่ฮู้ข้อมูลเพิ่มเติมอู้จ๋ากั๋นได้ตี่http://www.ketalanna.com/เน่อครับ

ขอบคุณทุกข้อคิดเห็นจ้าว..

ปุ้ยชอบอนุรักษ์ของพื้นบ้านของเฮาจ้าว..

จะได้อยู่กู้บ้านกู้เมืองเฮาไปนาน ๆ ๆ

传统音乐也是优秀的传统文化的重要组成部分,值得好好继承和发扬光大~~

davy..

这是泰国北部的音乐,我会玩ซึง,以后玩给你听,哈哈!!

小柔也会玩ซึง,真的吗?太好了,呵呵~~

到时候我一定“洗耳恭听”哦~~

6. davidhoo

เมื่อ อ. 10 ก.พ. 2552 @ 16:05

对,我会玩,小学的时候我学过,以后玩给你听哦!!~~

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท