พุทธสังเวชนียสถาน (ตอนที่ ๙) พระพุทธเมตตา


พระพุทธเมตตา

 


 

  สิ่งสำคัญที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณพุทธคยาอีกประการหนึ่ง ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบนมัสการกันมาก คือ พระพุทธรูปพระพุทธเมตตา เป็นพระพุทธปฏิมา ประดิษฐานที่ห้องบูชา ชั้นล่างสุดของมหาเจดีย์ ที่ประตูด้านทิศตะวันออก มีอายุถึง 1400 กว่าปี พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหรือปางภูมิสัมผัส ปิดทองเหลืองอร่าม เหตุที่เรียกว่า พระพุทธเมตตาเพราะพระพักตร์เปี่ยมไปด้วย ความอ่อนโยน เมตตากรุณา

  มีตำนานที่น่าสนใจ เกี่ยวกับพระพุทธเมตตา คือ ครั้งหนึ่งพระเจ้าศศางกา กษัตริย์ฮินดูจากเบงกอล เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็ทรงมีนโยบายทำลายพระพุทธศาสนา ได้ยกกองทัพมาถึงบริเวณพระศรีมหาโพธิ์ ได้สั่งให้กองทหารของตนทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์ พร้อมกับขุดรากขึ้นมาเผา (ภายหลังพระเจ้าปูรณวรมันได้เสด็จมาพบ ทรงเร่งให้บูรณะพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นใหม่ ) และได้เข้าไปในพระมหาเจดีย์ เห็นพระพุทธรูปพระองค์หนึ่ง คิดจะทำลายด้วยตนเอง แต่ทำลายไม่ลงเพราะพระพักตร์ อันเปี่ยมด้วยเมตตา เมื่อยกทัพกลับพระนคร คิดว่าหากปล่อยให้พระพุทธรูปอยู่ในพระวิหาร พุทธศาสนิกชนก็จะฟื้นฟูขึ้นมาอีก จึงให้นายทหารคนหนึ่งไปทำลายทิ้ง นายทหารนั้นไปถึงก็ไม่กล้าทำลายเพราะเป็นชาวพุทธ แต่ครั้นจะไม่ทำลายก็เกรงพระราชอาญา อาจจะถูกประหารทั้งครอบครัว จึงคิดว่าไม่ทำลายดีกว่า แต่แค่ซ่อนพระพุทธปฏิมานี้เอาไว้ก็พอ จึงเอาอิฐมาก่อปิดทางเข้าห้องบูชาเพื่อไม่ให้ใครเห็น แล้วตั้งรูปพระเมหศวร ไว้ด้านหน้า

  เมื่อกลับไปรายงานพระเจ้าศศางกาว่าทำลายพระพุทธรูปเรียบร้อยแล้ว แทนที่จะดีพระทัยกลับหวาดกลัวในอกุศลกรรม ภายหลังต่อมาได้ล้มป่วยลง พระ วรกายเน่าเปื่อยเนื้อหลุดเป็นชิ้นๆ ด้วยบาปกรรมที่สั่งให้ทำลายพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระเจ้าศศางกาสิ้นพระชนม์แล้ว ทหารคนนั้นจึงกลับไปที่พระมหาโพธิ์เจดีย์ นำเอาอิฐที่มุงบังพระพุทธรูปออก และจุดตะเกียงน้ำมันบูชา ปรากฏว่าดวงประทีบที่นายทหารคนนั้นจุดบูชาพระพุทธรูป ยังส่องสว่างอยู่ 

  พุทธคยาเป็นตำบลเล็กๆนอกเมืองคยา เป็นเจดีย์พฤกษ์สำหรับมวลพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ต่างปรารถนาจะมายังสถานที่แห่งนี้ เพราะที่นี่คือที่ๆอุบัติขึ้นแห่งพระบรมศาสดาเอกของโลก กว่าพุทธคยาจะเป็นดังเช่นปัจจุบันนี้ได้ ก็ด้วยแรงศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน ผู้ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ และแรงทุนทรัพย์ เพื่อฟื้นภาพอดีต ให้ได้ความยิ่งใหญ่ ในฐานะที่เป็นพุทธอนุสรณ์สถาน แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์

  สายน้ำในอินเดีย ย่อมหลั่งไหลมาจากทิวเขาหิมาลัยเป็นเบื้องต้นฉันใด ต้นสายธาราแห่งพุทธธรรม ย่อมถือกำเนิดขึ้นที่พุทธคยาฉันนั้น พุทธศาสนิกชนผู้มายังที่แห่งนี้ ต่างมาประพฤติดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส่ ดำเนินตามรอยพระพุทธบาท แห่งพระบรมศาสดา ผู้ทรงเป็นศาสดาเอกผู้ได้ตรัสรู้ธรรม ณ แท่น วัชรบัลลังก์ ณ พุทธคยานี้เอง

การเดินทางสู่พุทธคยา

  พุทธศาสนิกชนผู้ต้องการเดินทางไปยังพุทธคยา สามารถเดินทางไปได้ 3 ทาง ดังนี้  

การเดินทางโดยทางอากาศ

 

  สนามบินคยา

  การเดินทางโดยทางอากาศสามารถมาได้จากเมืองท่าใหญ่ๆ เช่นกรุงนิวเดลี และเมืองกัลกัตตาเป็นต้น เดินทางด้วยสายการสายอินเดียนแอไลน์มาลงที่เมือง ปัตนะแล้วต่อรถไฟหรือจะเหมาแท๊กซี่ก็สะดวก เข้าสู่เมืองคยาโดยลำดับ(ปัจจุบันมีสายการบินอินเดียแอไลน์จากดอนเมืองสู่พุทธคยาโดยตรง ออกจากเมืองไทยทุกวันพุธและจากสนามบินคยาทุกวันเสาร์และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 Druk Airของประเทศภูฎานลงที่สนามบินคยาทุกวัน จันทร์และพฤหัสบดี)

การเดินทางโดยรถไฟ

 สถานีรถไฟ นิวเดลี

 

  การเดินทางโดยรถไฟ จะมาจากเมืองหลวงคือนิวเดลี เมืองกัลกัตตาหรือเมืองปัตนะ สามารถที่จะมาลงที่ชานชาลา สถานีเมืองคยาแล้วเรียกแท๊กซี่ ตุ๊กตุ๊ก รถม้าหรือจะไปด้วยรถโดยสารประจำทางก็ได้ มีรถวิ่งเกือบทุกชั่วโมง จากตัวเมือง คยาสู่พุทธสถานที่พุทธคยา

การเดินทางโดยรถยนต์

  รถเมล์อินเดีย

 

 รถเมลอินเดีย์แน่นมาก ๆๆๆๆ

  การเดินทางโดยรถยนต์สู่เมืองคยาไปมาสะดวก จากตัวเมืองคยาและพุทธสถานพุทธคยา ระยะทางแค่ 11 กิโลเมตร ถนนดีพอสมควรยกเว้นเส้นทางเลียบแม่น้ำเนรัญชรา ภูเขาพรหมโยนีและภูเขาดงคะสิริ ถนนหนทางไม่ค่อยจะดีนัก สถานที่ใกล้เคียงที่นิยมในการมาทัศนศึกษาแสวงบุญ เช่น เมืองปัตนะ พาราณสี ราชคฤห์ นาลันทา

 พุทธคยา 

  ร้าค้าในพุทธคยา

 ฝูงชนในพุทธคยา 

 ด้านที่พักนั้น ในตัวเมืองคยาเองก็มีโรงแรมระดับปานกลางหลายแห่ง และภายในสถานีรถไฟก็มีห้องพักผู้โดยสาร ในกรณีที่จะมาขอพักที่ห้องพักผู้โดยสารในเวลากลางคืนจะต้องนำตั๋วเก่ามาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ความจริงการพักในสถานีรถไฟ จะดีกว่าการไปหาพักสถานที่ข้างนอก เพราะอาจเป็นเหยื่อให้พวกมิจฉาชีพได้ ส่วนท่านพุทธศาสนิกชนที่เป็นคนไทย สามารถติดต่อขอพักในวัดไทยได้ โดยเฉพาะวัดไทยพุทธคยา แต่ควรจะขอจองล่วงหน้าและแจ้งให้ทราบก่อน

 วัดไทยพุทธคยา

 

เพราะช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ บางปีถึงเดือนมีนาคมมักจะมีชาวพุทธไทย เดินทางมาจาริกแสวงบุญกันมาก ห้องพักอาจจะเต็มจึงควรติดต่อท่านแต่เนิ่นๆ ส่วนเรื่องอาหารการกิน ส่วนใหญ่มักจะมีร้านอาหารอยู่ตามรายทางและเป็นอาหารมังสวิรัติ โดยเฉพาะพวกถั่ว มันฝรั่ง นี่จะมีเยอะ ส่วนร้านอาหารต่างชาติเช่นอาหารจีน ก็มีบ้าง อาหารไทย ก็สามารถหาได้ที่วัดไทยพุทธคยา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พระพุทธเมตตา
หมายเลขบันทึก: 239982เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท