บันทึกดีดี...ดีที่ Rating จริงหรือ


ความนิยม"บันทึก"...ตัว"Rating"..ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดได้ชี้ชัดว่า "บันทึก"นั้นยอดนิยมจริง

          วันนี้วนๆ..แต่เรื่องบันทึก..สิ่งหนึ่งที่สงสัย..ว่าทำไมเราต้องมาจับจ้องกับ "ตัวเลข"...และ "เกณฑ์" หากเพียงเพื่อ..."บันทึกตัวความรู้"...ที่เป็น Tacit Knowledge..แล้ววนออกมาสู่ Explicit Knowledge วนไปวนมา..เกิดการถ่าย"วน"..ความรู้นั้น...

          หากแค่อยากทราบว่า..ความนิยม"บันทึก"...ตัว"Rating"..ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่กำหนดได้ชี้ชัดว่า "บันทึก"นั้นยอดนิยมจริง...หากว่าชุมชนใดมีสมาชิกเยอะ..ช่วยกันเปิดสลับ IP Address ตัว Rating ก็น่าจะพุ่งกระฉูดได้..แล้วจะเป็นการกระตุ้นแรงจูงใจได้อย่างไรเล่า...หรือหากมีบันทึก noname มา...ไม่มีพรรคพวกหรือชุมชน..บันทึกดีมีสาระ..แต่หากมี Rating ของคนเปิดเข้าไปอ่าน..ไม่ถึง 10 ครั้ง...แล้วจะจัดว่าเป็นบันทึกดีได้หรือไม่...

          และเมื่อเข้าไปเจองานที่คุณ beeman เขียนเรื่อง บล็อกที่น่าจับตามอง: PR.Library พบว่ามีการระบุ Rating เรียงตามลำดับเงื่อนเวลาของการบันทึก...สลับมากน้อยไปมา..ที่แน่ๆ ทราบว่า.."เงื่อนเวลาแต่ละบันทึก"แตกต่างกันแน่..และไม่ได้นำมาคิด..ดังนั้นภาพสะท้อนออกมา..แน่นอนบันทึกไหนเขียนนานหรือเปิดบ่อย..บันทึกนั้นอาจย่อมมี Rating เยอะแน่...หรือว่าอย่างไร ไม่แน่ใจ เพราะแค่คิดในแง่สถิติเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันก็ผิดแล้ว  หรือ..ในแง่เชิงคุณภาพก็ยังไม่ชัดเจนอีก...(ที่สำคัญการทำ Link ไว้ดังเช่น ไปที่บันทึกสองบันทึกดังกล่าวข้างต้นก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเพิ่ม Rating ได้เช่นกัน-จัดว่าเป็นความแปรปรวนจากตัวแปรสอดแทรกที่นักวิจัยเมื่อรู้ก็ควรตระหนัก ไม่ใช่จะทำเฉยและปล่อยวางไป)

          หากอยากจะตามหาบันทึกและบล็อกที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นการยากที่จะค้นหา หรือ ยากที่จะติดตามอ่านบันทึกดีๆ..นั้น ตามหลักการพัฒนา"ระบบ"...มีเพียงการใช้ "Rating"..อย่างเดียวเท่านั้นหรือ...ที่จะตามหา "บันทึก" ดีดีที่ว่านั้นได้...แล้วบันทึกดีแต่มี Rating การเปิดน้อย..จะดีได้หรือไม่ เช่น เป็นบันทึกที่มีเนื้อความรู้เหมาะบันทึก..มีการใช้ภาษาถูกต้อง..สื่อสารอย่างมีสาระ (ดั่งเขียนตามหลักการที่คุณ beeman กล่าวก่อนหน้านี้ในบันทึกเรื่อง "เขียนบันทึกอย่างไรให้น่าอ่าน")เป็นต้นเหล่านี้

 

และที่สำคัญ หากการพัฒนาระบบที่เน้น "ความยืดหยุ่น: Flexibility" จริง ไฉนแล้ว..ใครๆ จึงพยายามสร้างเกณฑ์และหลักการ...ขึ้นมา มากมายให้คนบันทึก..ต้องชวนอึดอัดใจ"เล่า"

 

 

หมายเลขบันทึก: 23892เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2006 03:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

     ความแปรปรวนที่เกิดจากตัวแปรสอดแทรกเช่น เทคนิคการนับโดยใช้ IP เปรียบเทียบกับ IP ล่าสุดเพียงตัวเดียว ในการเปรียบเทียบ rating ก็จะขึ้น หรือกรณีที่เรากำลังแก้ไขบันทึก แต่มีคนเข้ามาอ่าน อย่างนี้ก็จะขึ้นโดยเกินจริง

     ความแปรปรวนอื่น ๆ อีกเช่นเปิดโดยไม่อ่าน ฉะนั้น rating ที่ว่าคือการเปิด หาใช่การอ่านไม่ โดยที่การเปิด การอ่าน การนำไปใช้ มีนัยยะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในประเด็น KM

     ความแปรปรวนที่เกิดจากช่วงจังหวะ และเวลาที่ตีพิมพ์บันทึก ก็สำคัญต่อ rating หรือปัจจัยสอดแทรกอื่น ๆ อีกมากมาย ฉะนั้นการใช้ Rating เพียงอย่างเดียว จึงไม่น่าเพียงพอ ขอสนับสนุนที่ Dr.Ka-poom ตั้งข้อสังเกตไว้ครับ

  • เรื่องที่ Dr.Ka-poom ตั้งข้อสังเกตไว้ เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นครับ เราจะดูแค่ rating ตัวเดียวไม่ได้ อย่างเหตุผลคือ ถ้าชุมชนนั้นมีสมาชิก 20 คน ผลัดกันอ่านคนละ 2 ครั้ง IP address ต่างกัน ก็ได้ rating 40 แล้ว
  • ใช้ข้อคิดเห็น อย่างเดียวก็ไม่ได้ บางครั้ง เขียนข้อคิดเห็นคุยกันไปคุยกันมาแบบจดหมาย ประเดี๋ยวก็ได้ 20 ข้อคิดเห็นแล้ว หรือบางคนกด Enter ข้อคิดเห็น 2 ครั้งก็จะถูกบันทึกเป็น 2 ครั้ง ถ้ามีบ่อยๆ ก็ทำให้ข้อคิดเห็นมากกว่าปกติแล้ว
  • บันทึกดีๆ  ที่ตั้งใจเขียนบางครั้งก็ไม่ค่อยมีคนเข้าไปอ่านครับ บางครั้งเขียนดีเกินไป คนอ่านไม่รู้เรื่องไม่เข้าไปอ่านก็มีเหมือนกัน (อ่านเฉพาะคนในกลุ่ม)
  • นับจำนวนบันทึกอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะบางครั้งก็มีแต่ปริมาณ แต่ด้อยคุณภาพ
  • มีเรื่องจริงที่ปรากฏ คือคำ Keyword ก็มีผลให้มีผู้เข้ามาค้นหาบันทึกเหมือนกัน บางครั้งชื่อเรื่องดี (แต่เนื้อในไม่ดีเท่าไร) คนก็เปิดเข้ามาแต่ไม่ได้อ่าน ตัวเลข rating ก็เพิ่มแล้ว
  • คิดถึงเกณฑ์มากก็ปวดหัวมาก ยิ่งผู้พัฒนาระบบยิ่งปวดหัวใหญ่..ครับ :)

 

ขอแสดงความคิดเห็นในสองประเด็นครับ  ประเด็นแรก ตราบใดที่ไม่สามารถแยกได้ระหว่าง เปิดเฉยๆ ไม่อ่าน กับ อ่าน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การนับ Hit rate เป็นการรวมทั้งสองภาวะด้วยกัน  ประเด็นที่สองเรื่องการมีสมาชิกจำนวนมากในกลุ่ม แล้วเปิดอ่านกันในกลุ่ม ทำให้มีตัวเลขการอ่านสูง น่าเป็นไปได้จริง โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ 

อย่างไรก็ดี ในความเห็นของผมก็คือ น่าจะมองย้อนไปถึงวัตถุประสงค์ของการเขียน หรือบันทึกของเราเป็นประเด็นหลัก มองจำนวนครั้งของการเปิดเป็นตัวประกอบหรือเสริมเพื่อปรับปรุงหัวข้อ และเนื้อหา รวมทั้งการเขียนของเรา ให้มีการเปิด/อ่าน และแสดงความเห็นมากขึ้น มากขึ้นครับ

     บันทึกอย่าง "อิสระ" เข้ามาเถอะครับ ขอให้ผู้เสพเป็นผู้ตัดสินเอง ไม่ต้องมีการชี้นำใด ๆ ซึ่งผมและ Dr.Ka-poom ได้ discussion เรื่องนี้กันมาโดยตลอดนั้น คือ แล้วเราจะมาปวดหัวกันอยู่ทำไม ไม่ต้องใช้ยาอะไรเลยครับ เพียงแค่กลับกันเสียก็สิ้นเรื่อง คือที่บอกว่า"คิดถึงเกณฑ์มากก็ปวดหัวมาก ยิ่งผู้พัฒนาระบบยิ่งปวดหัวใหญ่..ครับ :)"

     หากจะมีการดำเนินการเรื่องนี้ ก็ต้องดำเนินการอย่างมีหลักการที่ดีเป็นวิชาการหน่อย รอบด้าน ไม่อคติ ก็ไม่เป็นไรครับกลับมองว่าเป็นเรื่องที่ดีเช่นเกิดคำถามวิจัยขึ้นว่า "บันทึกที่ดี เป็นอย่างไร" ผมคิดเห็นโดยส่วนตัวเช่นนี้ครับ

ในฐานะผู้พัฒนาระบบ Gotoknow.org

1) ดิฉันขอยืนยันว่า ไม่เคยคิดสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ๆ เข้ามาใน GotoKnow.org คะ

2) ส่วนเรื่อง rating นั้น เป็นเรื่องที่ยากคะ ไม่ใช่นำแค่ opinion มากำหนด แล้วจะได้ขึ้นหน้าหนึ่งนะคะ ดิฉันต้องมีการคิดและศึกษางานวิจัยด้าน Mathematical model เรื่อง rating เพื่อการ personalization ก่อนที่จะนำเอามา Implement คะ ซึ่งยากคะ ไม่ใช่จู่ๆ จะทำได้เลยคะ

3) แต่ดูๆ แล้ว users ไม่อยากได้ rating ทีมงานเราก็จะไม่ใส่ไว้ GotoKnow.org คะ

[email protected]

เขียนในฐานะ user และผู้เฝ้ามอง

มองเห็นนะคะเจตนาที่ดีงามของผู้พัฒนาระบบ ไม่งั้นคงไม่กระโดดเข้ามาร่วมด้วยเป็นแน่..หากแต่มองเห็นถึงความจริงใจของคนที่อยากทำงาน..แต่อยากให้เป็นการทำงานแบบมองอย่างรอบด้าน...และครอบคลุมได้ประโยชน์อย่างสูงสุด มากกว่าการไปเสียเวลากับเรื่องที่เป็นเรื่อง แต่บางครั้งอาจไม่เป็นเรื่อง..ก็เป็นได้(ต่างที่เงื่อนเวลา)...สิ่งสำคัญทำอย่างไรถึงจะให้ "คนไทย"...รักการบันทึกมากที่สุด...นี่คือประเด็นที่อยากให้คำนึง..และมีการถ่ายวนความรู้อย่างแท้จริงมากกว่าการบันทึกแล้วทิ้งไป...อย่างงั้น..จะดีกว่ามั๊ย...ทราบคะว่าผู้พัฒนาระบบมีการศึกษาวิจัยมาอย่างดี...แต่..ในบันทึกที่เขียนขึ้นนี้..อาจเป็นเพียงอีกมุมมอง...ที่เป็นสิ่งสะท้อนจาก user คนหนึ่งภายใต้ความอิสระ..ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน Blog Gotoknow.org ซึ่งทีมและผู้พัฒนาระบบจะรับฟังหรือไม่...ไม่สำคัญ...สำคัญตรงที่นี่คือ บันทึกอิสระ...ที่ผู้บันทึก...อยากบันทึกเพราะ get และอยากบันทึก...โดยไม่ต้องการไปครอบงำ "ความคิด" ใคร..เพราะนี่คือเวทีเสมือน...แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้...มิใช่หรือ

รับฟังคะ และขอบคุณมากๆ คะ สำหรับข้อคิดเห็น ดิฉันเองต้องการทำระบบให้ผู้ใช้ใช้ได้ง่ายๆ จริงๆ คะ

ดิฉันต้องขอโทษที่ไม่ได้อธิบายเรื่อง rating ให้ชัดเจนว่า ที่ดิฉันคิดอยู่นั้นมันซับซ้อน ไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆ อย่างไม่รอบคอบ :) ไว้ดิฉันจะเขียนไอเดียให้อ่านนะคะ

ขอบคุณอีกครั้งคะ สำหรับความคิดเห็นและบันทึกต่างๆ ในบล็อก และความพยายามในการช่วยกันกระตุ้นให้คนไทยรักการอ่านการเขียน และกล้าเขียนใน Gotoknow.org คะ

สุขสันต์วันสงกรานต์คะ :)

จันทวรรณ

เขียนถึง ดร.จันทวรรณ

เป็นกำลังใจและเฝ้าติดตามงานเสมอคะ

หากทดท้อ...และเหนื่อยล้า..

หันกลับมามอง Blog gotoknow.org นะคะ..

เพราะนี่ คือ ชีวิต..จิตวิญญาณ..ของผู้พัฒนาระบบ

และ.."คนไทย"..เรา "ทุกคน" ที่เข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน

*^__^*

 

 

 

ขอบคุณคะ และอยากให้ทุกคนใน Gotoknow.org ช่วยกันต้อนรับสมาชิกใหม่ๆ อย่างที่ Dr.Ka-poom และ คุณชายขอบ และเพื่อนๆ ช่วยๆ กันอยู่คะ :)

ดิฉันเองช่วงหลังๆ ต้องไปเดินสายอบรม ตอบคำถามต่างๆ ดูแลและพัฒนาระบบ ทั้ง Gotoknow.org และ Planetmatter, Feedspring ก็เลยไม่ค่อยได้มีเวลานั่งต้อนรับสมาชิกใหม่ๆใน GotoKnow.org

ต้องขอบคุณมากๆ อีกครั้งคะ :)

ขอบคุณนะคะ..ที่"ผู้พัฒนาระบบ" รับฟัง..

และอยากให้รับฟังทุกๆ คห. เพราะนั้นเป็น "คนคอเดียวกัน"

และรัก GotoKnow.org เช่นเดียวกัน

เชื่อว่าทุกคนมาที่นี่มีความสุข..จึงมา..

และชวนกันมาเรื่อย..

เรามาร่วมสร้าง..สังคมนี้เป็นสังคมแห่งมิตรภาพ..

ที่รังคสรรค์สิ่งที่ดีงาม..ภายใต้ "ภูมิปัญญา"..ของเรา "คนไทย"

นะคะ...

คลิกบ่อย เท่าใด

 อ่านมาก เท่าใด

  หากไม่ได้นำไป "ปรับ ปรุง ปฏิบัติ"

   เพื่อ "พัฒนา ตน ฅน งาน องค์การ"

    ก็ไร้ ซึ่ง ความหมาย

      THE END/JJ

ท่านอาจารย์หมอ JJ

จริงแท้แน่ชัดคะอาจารย์...

สิ่งใดหากไม่ลงมือทำ..สิ่งนั้นย่อมไร้ผล

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท