ความสำคัญของการศึกษาภาษาจีนกลางในประเทศไทย


                 จากการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และวัฒนธรรมส่งผลทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีนมีบทบาททั้งต่อภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และต่อภูมิภาคอื่นๆของโลก ดังจะเห็นได้จากการที่องค์การสหประชาชาติได้จัดให้ภาษาจีนกลางเป็นหนึ่งในห้าภาษาหลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารขององค์การสหประชาชาติ และด้วยความสำคัญของภาษาจีนกลางในเวทีโลกนี้เองที่ส่งผลให้ภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศในอันดับต้นๆที่ได้รับความสนใจจากผู้เรียนภาษาในหลายประเทศทั่วโลกไม่น้อยไปกว่าภาษาสำคัญอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปนหรือ ภาษาญี่ปุ่น

                สำหรับการศึกษาภาษาต่างประเทศปัจจุบันในประเทศไทยนั้น เราจะเห็นได้ว่าภาษาจีนกลางได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการที่ภาษาจีนกลางได้เข้ามามีบทบาทต่อตลาดแรงงานของไทยในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การติดต่อทำธุรกิจค้าขาย หรือการร่วมทุนกับนักธุรกิจชาวจีนทั้งจากแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ฮ่องกง หรือ สิงคโปร์ที่มีอัตราส่วนทางการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ในการใช้ภาษาจีนกลางเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

           จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาทำให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางในประเทศไทยของเราอย่างกว้างขวางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยจะเห็นได้ว่ามีการสอนภาษาจีนกลางอยู่ในทุกระดับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และในระดับมหาวิทยาลัย ตลอดจนสถาบันสอนภาษาเอกชนที่เปิดสอนภาษาจีนกลางให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป

               อย่างไรก็ตามเราจะเห็นได้ว่าสถานการณ์โดยรวมของการเรียนการสอนภาษาจีนกลางในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนนั้นยังไม่สามารถเรียกว่าประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะเหตุปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหลายประการ อันได้แก่ การขาดครูผู้สอนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ การขาดหลักสูตรและนโยบายในการจัดการการเรียนการสอนภาษาจีนกลางที่ชัดเจนและดีเพียงพอ และปัจจัยที่เกี่ยวกับความพร้อมของตัวผู้เรียนเอง

                ในส่วนตัวของผู้เขียน การส่งเสริมการศึกษาภาษาจีนกลางให้ประสบความสำเร็จในประเทศไทยนั้น การเน้นให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานจัดได้ว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการที่จะนำผู้เรียนไปสู่ความสำเร็จ ดังนั้นรัฐบาลและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยการเรียนการสอนอย่างจริงจังเพื่อจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ สามารถนำมาใช้อ้างอิงเพื่อช่วยอำนวยประโยชน์ให้กับผู้เรียนและผู้สอนมือใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดีกว่าที่จะเปิดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางแบบไร้ทิศทางตามกระแส ซึ่งขาดมาตรฐานในการชี้วัดและควบคุมจนนำไปสู่การเรียนการสอนที่สูญเปล่าอย่างที่เรากำลังประสบปัญหากันอยู่อย่างในทุกวันนี้

หมายเลขบันทึก: 236881เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2009 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 08:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

ขออนุญาตนำเนื้อหาเรานี้ไปอ้างอิงน่ะค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาเรานี้ไปอ้างอิงด้วยคนค่ะ ขอบคุณมากๆๆๆๆ ค่

ขออนุญาตนำเนื่อหาไปอ้างอิงน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการอ้างอิงนะคะ

ขออนุญาติ นำข้อมูลของท่านไปเป็นอ้างอิงหน่อยนะคับ ขอบคุณมากๆๆคับ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปใช้อ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาไปอ้างอิงค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาไปอ้างอิงค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาไปอ้างอิงค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหานี้ไปอ้างอิงนะคะ

ขออนุญาตนำเนื้อหานี้ไปอ้างอิงนะคะ

ขออนุญาตนำเนื้อหานี้ไปอ้างอิงนะคะ  พบเจอปัญหานี้จริงๆค่ะ

ขออนุญาตนำเนื่อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตินำเนื้อหาไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาไปอ้างอิงในวิทยานิพนจ์ของหนูหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนไปอ้่างอิงในเนื้อหางานวิจัยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตนำเนื้อหาบางส่วนไปอ้างอิงในงานวิจัยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท