การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551


โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรแกนกลางพุทธศักราช 2551 และโรงเรียนที่จะใช้หลักสูตรแกนกลางฯ ในปีการศึกษา 2553 ควรหาเอกสารประกอบหลักสูตรฯ ไว้ศึกษาด้วย โดยโหลดได้ที่ "เกาะติดหลักสูตร" ใน web สำนักวิชาการฯ สพฐ. เพื่อศึกษาเพิ่มเติมให้มีความชัดเจนในการใช้หลักสูตรฯ ให้ตรงกับเจตนารมณ์ของกระทรวงศึกษาธิการครับ

สพฐ.อบรมวิทยากรหลักหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551แล้วทุกเขต แต่ละเขตมีวิทยากร10คน จะต้องพาโรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่มีความพร้อมให้สามารถจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และใช้หลักสูตรสถานศึกษาได้ทันปีการศึกษา 2552 ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสาร และ Power point ที่ใช้ระหว่างการอบรมได้ที่ Curriculum51.net และควรขอยืมเอกสาร"แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร" และเอกสาร "แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้" จากวิทยากรหลักไปสำเนาไว้ศึกษาด้วย สิ่งที่วิทยากร สพฐ.ให้ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ที่เอกสารประกอบหลักสูตรฯ และเอกสารเพิ่มเติม 2 เล่มดังกล่าว(จากการประชุม ศน.และ บุคลากรโรงเรียนแกนนำการใช้หลักสูตรฯ 51 เมื่อปลายเดือน มิ.ย.ที่ พัทยา สพฐ.ได้แจกเอกสารประกอบหลักสูตร 3 เล่ม ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม เอกสารดังกล่าว ได้แก่ "แนวทางการบริหารหลักสูตรฯ" "แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้" "แนวการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน"ควรขอสำเนาจาก ศน. หรือ บุคลากรโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรฯ ที่เข้าร่วมประชุม หรือ Download ได้ที่ web site ของสำนักวิชาการ ที่เมนู "เกาะติดหลักสูตร" เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของการใช้หลักสูตรฯ เอกสาร 3 เล่ม ดังกล่าว ให้รายละเอียดที่เป็นประโยขน์มาก ปลายเดือนกันยายน 2552 ก็มีการประชุมการใช้หลักสูตรฯที่พัทยาอีก และมีเอกสารเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรเพิ่มอีก ติดตามได้จาก web site ดังกล่าว) ในการใช้หลักสูตรแกนกลางฯ โรงเรียนในโครงการควรดำเนินการ ดังนี้

1.จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ประกอบด้วย

  1.1กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนานักเรียน

  1.2กำหนดพันธกิจที่ต้องดำเนินการเพื่อให้วิสัยทัศน์บรรลุผล 

  1.3กำหนดเป้าหมายการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

  1.4กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์(8ข้อจากหลักสูตรแกนกลางฯ+คุณลักษณะที่โรงเรียนต้องการเพิ่มเติม)

  1.5กำหนดสมรรถนะของนักเรียนที่สำคัญ และอื่น ๆ ที่เห็นสมควร

  1.6จัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา(จำนวนชั่วโมงของวิชาพื้นฐาน วิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรแกนกลางฯกำหนด ถ้าโรงเรียนจำเป็นต้องจัดเกินจำนวนชั่วโมงที่หลักสูตรแกนกลางกำหนด-เฉพาะโรงเรียนที่มีห้องเรียนพิเศษเด็ก gifted ให้หมายเหตุไว้นอกกรอบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ แล้วระบุรายวิชาพร้อมจำนวนชั่วโมง)(การกำหนดรายวิชาในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรระดับท้องถิ่นที สพท.ที่โรงเรียนสังกัดกำหนดด้วย เนื่องจาก สพท.จะประเมินคุณภาพของนักเรียนถึงความเป็นท้องถิ่นด้วย)(ณ วันที่ 3 กรกฎาคม 2552 กระทรวงฯ ได้ประกาศให้เพิ่มจำนวนชั่วโมงของวิชาประวัติศาสตร์ในระดับชั้นประถม และมัธยมต้นอีก 40 ชั่วโมงต่อปี และมัธยมปลาย 80 ชั่วโมงตลอด 3 ปี ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาวิชาพื้นฐาน แล้วไปลดจำนวนชั่วโมงในวิชาเพิ่มเติมลงตามจำนวนชั่วโมงประวัติศาสตร์ที่เพิ่มในวิชาพื้นฐาน และเกณฑ์การจบหลักสูตรแต่ละระดับมีการเปลี่ยนแปลง ขอให้สอบถาม กลุ่มงานหลักสูตรฯ ของ สพท.ที่ท่านสังกัด หรือโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร) ระดับประถมศึกษา จัดการศึกษาเป็นปี มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดการศึกษาเป็นภาคเรียน   1.6จัดทำคำอธิบายรายวิชา(โดยนำตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้นของแต่ละปี/ภาคเรียน มาวิเคราะห์ทีละตัวชี้วัด ว่ามีอะไรเป็นความรู้ อะไรเป็นทักษะ/กระบวนการและอะไรเป็นคุณลักษณะ ใน 1 ตัวชี้วัด จากนั้นนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดทั้งหมดของปี/ภาคเรียน มาเรียบเรียงเขียนเป็นคำอธิบายรายวิชา โดยอาจจะเขียนแยกเป็นความรู้ ทักษะ/กระบวนการ และคุณลักษณะ หรือจะเขียนไม่แยกก็ได้ ซึ่งในคำอธิบายรายวิชา 1 วิชา จะต้องมีครบ 3 ส่วนร้อยรัดกันอยู่มีข้อความครบ(ความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะ)ตามที่วิเคราะห์ได้จากตัวชี้วัด และกำหนดรหัสตัวชี้วัดในส่วนท้ายด้วย)(คุณลักษณะในที่นี้ อาจจะซ้ำ หรือไม่ซ้ำกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่หลักสูตรสถานศึกษากำหนดก็ได้ เนื่องจากเป็นคุณลักษณะของวิชา)คำอธิบายรายวิชาระดับประถมศึกษา จะมีปีละ 1 คำอธิบายรายวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนระดับมัธยมศึกษาตั้งตอนต้นและตอนปลาย จะมีคำอธิบายรายวิชาวิชาละ 1 ภาคเรียน

2.โรงเรียนจัดทำเกณฑ์การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เกณฑ์การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และจัด ระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา

3.ครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชา โดยนำตัวชี้วัดชั้นปี/ช่วงชั้น ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกันมารวมกันเป็นหน่วยการเรียนรู้ ตั้งชื่อหน่วย ระบุสาระสำคัญของหน่วยฯ ระบุมาตรฐานและตัวชี้วัด กำหนดจำนวนชั่วโมงแต่ละหน่วยฯ รวมจำนวนชั่วโมงทั้งวิชาให้ตรงกับจำนวนชั่วโมงในโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

4.ครูนำแต่ละหน่วยฯมาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design(-เป้าหมายของหน่วยฯ คือ สาระสำคัญที่เขียนไว้ ตัวชี้วัดที่นำมาจัดทำหน่วยการเรียนรู้ คุณลักษณะของหน่วยฯ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์-กำหนดหลักฐานที่เป็นผลการเรียนรู้ของหน่วยฯ(อาจจะเป็นชิ้นงาน หรือภาระงาน) แล้วออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีภาระงาน หรือชิ้นงานที่เป็นหลักฐานผลการเรียนรู้ของหน่วยฯทั้งหมด แล้วจึง-จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างละเอียด ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้ควรแยกเป็นรายครั้ง่(นำเข้าสู่บทเรียน สอน และสรุป)ตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนดในตารางสอน-ทำแผนเป็นหน่วยฯ แต่กิจกรรมการเรียนรู้จัดเป็นครั้งย่อย ๆ ตามจำนวนชั่วโมงที่ตารางสอนกำหนด -กำหนดการประเมินผลการเรียนรู้(ตามที่ออกแบบไว้) เน้นการประเมินตามสภาพจริง

5.ครูดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนด และประเมินผลการเรียนรู้รายหน่วยฯ และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนที่สถานศึกษากำหนด

ลองศึกษารายละเอียดจากแหล่งข้อมูลที่แจ้งไว้เมื่อเริ่มต้น คิดว่าท่านสามารถเตรียมการใช้หลักสูตรแกนกลางได้ทันเวลาแน่นอน ขอเป็นกำลังใจให้ และอย่าลืมหมั่นปรึกษาวิทยากรหลักของเขตพื้นที่บ่อย ๆ ด้วย ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความสนใจ รายละเอียดดาวโหลดได้ที่บล๊อก "นิเทศonline" ใน web สพฐ. และ "ครูบ้านนอกดอทคอม" ได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 233214เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2009 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากให้นำแนวทางการวัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนมานำเสนอเพราะมีแต่คนผู้ว่าต้องวัดแต่วัดอย่างไร ด้วยวิธีใด ไม่ยักมีใครพูดถึง

ขอบคุณครับ ผมจะรีบศึกษาแล้วนำมาฝากครับ

เมื่อปลายเดือนกันยายน2552ที่ผ่านมา สำนักวิชาการฯ ได้จัดประชุมเรื่องหลักสูตรฯ ที่พัทยา และมี Power point เรื่องออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิค Backward Design และได้พูดถึงสมรรถนะสำคัญ เป็นเป้าหมายหนึ่งของหน่วยการเรียนรู้ด้วย สำหรับการประเมิน คงประเมินตาม Key words ในสมรรถนะสำคัญแต่ละข้อ เช่น หน่วยที่ 1 ถ้าเน้น ความสามารถในการคิด ผู้ออกแบบต้องทราบว่า หน่วยนี้เน้นการคิดแบบใดใน 5 คิด ของสมรรถนะสำคัญ เช่น เน้นการคิดวิเคราะห์ การประเมินสมรรถนะสำคัญ ต้องประเมินหาคำตอบให้ได้ว่า นักเรียนคิดวิเคราะห์เป็นหรือยัง เช่น เมื่อมอบหมายให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เรื่องใดเรื่องหนึ่งของหน่วยฯ นักเรียนมีการจำแนกส่วนประกอบของสิ่งที่ให้วิเคราะห์ได้หรือไม่ อธิบาย/บอกรายละเอียดของแต่ละส่วนประกอบได้สมบูรณ์หรือไม่ และจัดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบที่วิเคราะห์ได้ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร อธิบาย/บอกความสัมพันธ์นั้น ๆ ได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เป็นต้น ถ้าเป็นสมรรถนะสำคัญเป็นความสามารถในการแก้ปัญหา ก็ให้พิจารณาว่าในการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นักเรียนใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ครบถ้วนสมบูรณ์ของกระบวนการแก้ปัญหาหรือไม่ หรือ นักเรียนมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเรื่องที่ศึกษาหรือไม่ หรือนักเรียนได้แสวงหาความรู้หรือประยุกต์ความรู้ที่หามาได้ นำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือไม่ และมีการตัดสินใจแก้ปัญหามีประสิทธิภาพหรือไม่ เป็นต้น ขอให้ลองพิจารณาดู และควรอ่านรายละเอียดแต่ละสมรรถนะด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท