ความหมายของการคิด


ความหมายของการคิด

ความหมายของการคิด

                เพียเจต์  (Piaget.1962,p 58)   ได้อธิบายเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นการกระทำสิ่งต่าง ๆ  ด้วยปัญญา  การคิดของบุคคลเป็นกระบวนการภายใน  2  ลักษณะคือ  เป็นกระบวนการปรับการคิดอย่างเป็นระบบ

                ยุดา  รักไทย  (2545,หน้า  12)    กล่าวถึงความสำคัญของการคิดว่า  การคิดเป็นไปเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตที่เพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญาไม่ว่าจะเป็นการคิดวางแผน  คิดพัฒนา  คิดสร้างสรรค์  คิดแก้ปัญหา  หรือคิดตัดสินใจ  แต่การคิดที่ว่านั้นมิใช่การคิดเพื่อผ่านพ้นว่าวันนี้หรือพรุ่งนี้ไปเท่านั้น  แต่เป็นการคิดที่ประกอบด้วย

                1.  การมองการณ์ที่กว้างไกล  ไตร่ตรองถึงสถานการณ์ปัจจุบันและผลของการกระทำตามความคิดนั้น  ที่จะตามมาภายหลังอย่างถี่ถ้วน

                2.  ข้อเท็จจริง  องค์ความรู้  (Knowledge)  และความคิดอื่น ๆ  รวมถึงทักษะที่มีอยู่  ซึ่งจะถูกรวบรวม  ประมวลผล  คัดสรร  และดัดแปลง  เพื่อให้ได้ความคิดใหม่ ๆ  และทางแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

                3.  ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม  เช่น  การธำรงรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างประโยชน์แก่สาธารณชน

                4.  ความคิดสร้างสรรค์  โดยปราศจากการติดยึดของกรอบความคิด  (Paradign)

                คำหมาน   คนไค  (2545, หน้า 5)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการคิดว่า  ความคิดนำไปสู่การกระทำ  ทั้งที่เป็นการพูด  การเขียน  และการปฏิบัติอย่างอื่น  คุณภาพของการคิดนอกจากจะขึ้นอยู่กับสมรรถภาพการคิดแล้วยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ  เช่น  ข้อมูลข่าวสาร  ความรู้  และสถานการณ์แวดล้อม  ดังนั้น  คนเราที่ทำดีหรือทำชั่วล้วนเกิดจากความคิดของเขา  ทั้งสิ้น  ถ้าจะฝึกให้คนพูดดี  ทำดี  ต้องฝึกให้คนคิดดี

                นอกจากนี้  ดุสิต  ศิริวรรณ  (อ้างใน  เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์,2545,หน้าคำนิยม)  ได้กล่าวถึงผลเสียของการขาดการคิดอย่างไตร่ตรองว่า  หากผู้คนในสังคมไทยยังคิดน้อย ๆ  คิดแคบ ๆ  ทำตามที่ถูกสั่งมาก ๆ  ชอบด่วนสรุปเหตุการณ์ต่าง ๆ  และตัดสินใจโดยขาดการไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ  ไม่รู้จักขวนขวายหาข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์เพิ่มเติม  ต่างคนต่างคิดแบบแยกส่วนไม่คิดแบบองค์รวมเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมของชาติแล้ว  ก็พอจะสรุปได้ว่าอนาคตของประเทศชาติคงมืดมนอย่างแน่นอน

                จากความสำคัญของการคิดดังกล่าวข้างต้น  จะเห็นว่า  การคิดเป็นทักษะสำคัญ  เพราะการที่บุคคลสามารถพูด  เขียน  ตลอดจนแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ  ได้นั้นต้องเกิดการคิดก่อนทั้งสิ้น  แต่การคิดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ  จะต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วย  เพราะถ้าคิดไม่เป็นหรือคิดอย่างไม่มีวิจารณญาณแล้วย่อมเกิดผลเสียต่อการศึกษา  และการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอนกับโครงสร้าง  (Assimilation)   โดยการจัดสิ่งเร้าหรือข้อความที่ได้รับให้เข้ากับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่กับกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่  (Accomodation)  โดยการปรับประสบการณ์เดิมให้เข้ากับความจริงที่รับรู้ใหม่  บุคคลจะใช้ความคิดทั้งสองลักษณะนี้ร่วมกันหรือสลับกัน  เพื่อปรับความคิดของตนให้เข้าใจสิ่งเร้ามากที่สุด  ผลของการปรับเปลี่ยนความคิดดังกล่าวจะช่วยพัฒนาวิธีคิดอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่า

                กิลฟอร์ด  (Guilford.1967,p 93)   ให้ทรรศนะว่า  การคิดเป็นการค้นหาหลักการ  โดยแยกแยะคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ  หรือข้อความจริงที่ได้รับแล้วทำการวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปอันเป็นหลักการของข้อความจริงนั้น ๆ  รวมทั้งการนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากเดิม

                สุจินดา  จารุชาต  (2540,  หน้า 9)  ได้ให้ความหมายของการคิดว่า  การคิดเป็นปฏิกิริยาทางสมองที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกสงสัยหรือความยุ่งยากในสมอง  การคิดมีพื้นฐานอยู่ที่ความจำและมีประโยชน์ในการทำให้เกิดการปรับตัวและสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

                ศรีฟ้า  จีรัตน์  (2543, หน้า 11)  กล่าวว่า  การคิด  คือ กระบวนการทางสมองในการสร้างสัญลักษณ์  หรือภาพให้ปรากฏในจิตใจ  ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติสำหรับพฤติกรรมทั้งภายใน  ภายนอกและการดำเนินชีวิต

                จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า  การคิด  คือกระบวนการทางสมองที่เกิดจากการกระทบจากสิ่งเร้า  หรือความรู้สึกสงสัย  แล้วทำการวิเคราะห์  แยกแยะเพื่อหาข้อสรุป  อันก่อให้เกิดแนวปฏิบัติสำหรับพฤติกรรมทั้งภายใน  ภายนอกและการดำเนินชีวิต

                                                                                                                                                                   ดร.ธารทิพย์    แก้วเหลี่ยม

หมายเลขบันทึก: 233001เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2009 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณสำหรับควาหมายดีีดีค่ะ มีประโยชน์และเข้าใจง่าย จะนำไปใช้ในการอ้างอิงนะคะ

เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์มากเลยคะ ถ้าจะให้ดีน่าจะอ้างแหล่งที่มามากกว่านี้จะได้ค้นคว้าต่อ

ความคิด จริงๆ แล้วเป็นคำที่ฟังดูแล้ว น่าจะให้ความหมายที่ไม่ยาก แต่คนส่วนใหญ่ก็ให้ความหมายมันผิดไม่มีใครที่บอกได้ถูกต้องสักคน  มีคนส่วนน้อยที่จะบอกมันได้ เราเลยอยากบอกให้คนที่อยากรู้จริง ๆ มันอาจฟังดูแปลก ๆ แต่เราอยากให้คนที่ได้อ่าน ลองเอาไปพิจารณาดู แล้วคุณจะรู้ว่ามันจริง แน่นอน ครับ

ความคิด  หมายถึง  สิ่งที่พูดอยู่ในหัวของคนเรา (ที่เรียกว่าพูดในใจ ก็ได้) ไม่ได้พูดออกจากปากนะครับ ความคิด มี 2 แบบนะครับ 1.ความคิดที่เราคิดเอง เช่น เราจะทำบางสิ่งบางอย่างด้วยใจเราที่ต้องการ (อาบน้ำ  ไปตลาด คิดเมนูอาหาร ฯ)  2.ความคิดที่ไม่ใช่เราคิดเอง  แต่มันจะโผล่เข้ามาในหัวของเรา แล้วเราก็ช่วยมันคิดปรุงแต่ง เป็นเรื่องเป็นราว เช่น ถ้าเราถูกล็อตเตอรี่ ลอยเข้ามา แล้วเราก็คิดต่อไปต่าง ๆ นานา นั้นเอง... เมื่่อจบความคิดนี้แล้ว ก็มีความคิดอันใหม่โผล่เข้ามา แล้วเราก็คิดอีกเป็นเช่นนี้ไม่จบไม่สิ้น  

ถ้าหากท่านใดต้องการหยุดความคิดให้ได้  และเข้าใจข้างต้น เมลมาหานะครับ แล้วผมจะแนะนำให้คุณหยุดความคิดที่เข้ามาได้ครับ  ขอบคุณครับ

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท